การแข็งตัวขององคชาต

(เปลี่ยนทางจาก Erection)

การแข็งตัวขององคชาต (อังกฤษ: erection, ศัพย์การแพทย์: penile erection, penile tumescence) เป็นปรากฏการณ์ทางสรีรภาพของอวัยวะเพศชายในสัตว์หลายสปีชีส์ ที่องคชาตแข็งตัวขึ้น คั่งไปด้วยเลือด และขยายใหญ่ขึ้น เป็นผลของปฏิกิริยาอันสลับซับซ้อนของจิตใจ ระบบประสาท ระบบหลอดเลือด และระบบต่อมไร้ท่อ มักจะเกิดขึ้นพร้อมกับอารมณ์ทางเพศ แต่จริง ๆ อาจจะเกิดขึ้นเมื่อไรก็ได้ รูปร่าง มุมตั้ง และทิศทางขององคชาตที่แข็งตัวมีความแตกต่างกันอย่างมากแม้ในหมู่มนุษย์

การแข็งตัวขององคชาต
(Erection)
เนื้อเยื่อที่ทำให้เกิดการแข็งตัวมี 3 ลำ กินเนื้อที่โดยมากในองคชาต ตามลำดับเลขในวงกลม (1) หลอดเลือดในเนื้อเยื่อ 3 ลำขยายตัว ทำให้เนื้อเยื่อเต็มไปด้วยเลือด (2) เนื้อเยื่อขยายออก ทำให้องคชาตแข็งตัว (3) เนื้อเยื่อที่ขยายออกบีบเส้นเลือดดำ (Deep dorsal veins) และเส้นเลือดดำย่อย (Penile venues) เมื่อไม่มี การไหลออกของเลือด (หรือมีน้อย) จึงทำให้การแข็งตัวดำรงอยู่ได้
ตัวระบุ
MeSHD010410
TETerminologia Embryologica {{{2}}}.html EE1.0.0.0.0.0.8 .{{{2}}}{{{3}}}
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์

โดยสรีรภาพแล้ว กระบวนการแข็งตัวขององคชาตเริ่มจากระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (ส่วนหนึ่งของระบบประสาทอัตโนมัติ) ที่เป็นเหตุให้ระดับก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ (เป็นสารขยายหลอดเลือด) สูงขึ้นในหลอดเลือด trabecular และในกล้ามเนื้อเรียบขององคชาต หลอดเลือดนั้นก็จะขยายใหญ่ขึ้นทำให้เนื้อเยื่อคล้ายฟองน้ำที่เรียกว่า corpora cavernosa (ดูรูป) (และ corpus spongiosum แม้ว่าจะน้อยกว่า) เต็มไปด้วยเลือด และในขณะเดียวกัน ก็จะทำให้กล้ามเนื้อ ischiocavernosus และ bulbospongiosus เข้าไปกดหลอดเลือดดำของเนื้อเยื่อ จำกัดการไหลออกของเลือด (จากเนื้อเยื่อ) และการไหลเวียนของโลหิตที่ไหลเข้าไป (ในเนื้อเยื่อ) การแข็งตัวจะลดลงเมื่อการทำงานในระบบประสาทพาราซิมพาเทติกลดระดับลงไปเป็นปกติ

เพราะว่าเป็นการตอบสนองอัตโนมัติ การแข็งตัวอาจเกิดขึ้นจากสิ่งเร้าหลายอย่างรวมทั้งการเร้าอารมณ์เพศ (sexual stimulation[1]) และอารมณ์ทางเพศ ดังนั้น จึงไม่ได้อยู่ใต้อำนาจจิตใจโดยสิ้นเชิง การแข็งตัวในระหว่างการนอนหลับหรือเมื่อตื่นนอนมีศัพท์ทางแพทย์ภาษาอังกฤษว่าnocturnal penile tumescence และความปราศจากการแข็งตัวในระหว่างการนอนหลับสามารถใช้ในการแยกแยะเหตุที่เป็นไปทางกายภาพหรือทางจิตใจของภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศสาเหตุทางร่างกาย (ICD-10 N48.4) หรืออวัยวะเพศไม่ตอบสนอง (เหตุทางใจ ICD-10 F52.2)

องคชาตที่ไม่แข็งตัวเต็มที่มีศัพท์การแพทย์ภาษาอังกฤษว่า partial tumescence

กายภาพ แก้

 
ภาพประกอบแสดงลำดับการแข็งตัวขององคชาต

การแข็งตัวเกิดขึ้นเมื่อเนื้อเยื่อคล้ายฟองน้ำเป็นลำยาวตลอดองคชาตที่เรียกว่า corpora cavernosa เริ่มเต็มไปด้วยเลือด ซึ่งอาจะเกิดขึ้นจากการเร้าอารมณ์เพศ (sexual stimulation[1]) หรืออารมณ์ทางเพศ

ส่วน corpus spongiosum เป็นเนื้อเยื่อเดี่ยวมีรูปลำเป็นโพรง อยู่ใต้ corpora cavernosa ทั้งสอง และมีท่อปัสสาวะวิ่งผ่าน ซึ่งเป็นทางผ่านของทั้งน้ำปัสสาวะและทั้งน้ำอสุจิ เนื้อเยื่อนี้สามารถอมเลือดได้เช่นกัน แต่ว่าในระดับที่น้อยกว่า corpora cavernosa

การควบคุมจากระบบประสาทอัตโนมัติ แก้

ถ้าเกิดการกระตุ้นทางกาย การแข็งตัวจะเกิดขึ้นจากการสั่งการของระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (ส่วนหนึ่งของระบบประสาทอัตโนมัติ) โดยไม่มีส่วน (หรือมีแค่เล็กน้อย) จากระบบประสาทกลาง เส้นประสาทพาราซิมพาเทติกวิ่งไปจากข่ายประสาท sacral plexus[2] เข้าไปยังหลอดเลือดแดงที่ส่งเลือดไปให้เนื้อเยื่อในองคชาต ถ้าเกิดการกระตุ้น เส้นประสาทเหล่านี้จะหลั่งสาร acetylcholine[3] ซึ่งมีผลให้เกิดการหลั่งก๊าซไนโตรเจนออกไซด์จากเซลล์เนื้อเยื่อบุโพรง (endothelial cell) ในหลอดเลือดแดง trabecular ใน corpora cavernosa[4] แล้วก๊าซก็จะกระจายเข้าไปยังกล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือดแดง (ที่เรียกว่า trabecular smooth muscle[5]) โดยมีฤทธิ์เป็นสารขยายหลอดเลือด ดังนั้น หลอดเลือดก็จะขยายตัวออกทำ corpora spongiosum และ corpora cavernosa ให้เต็มไปด้วยเลือด และกล้ามเนื้อ ischiocavernosus และ bulbospongiosus ก็จะเข้าไปกดหลอดเลือดดำของ corpora cavernosa จำกัดการไหลออกของเลือด[6]

การแข็งตัวจะลดตัวลงเมื่อการกระตุ้นระบบประสาทพาราซิมพาเทติกยุติลง และสัญญาณกระตุ้นระดับปกติจากระบบประสาทซิมพาเทติกก็จะทำหลอดเลือดแดงในองคชาตให้เล็กลง บีบเลือดออกจากเนื้อเยื่อที่ทำให้องคชาตแข็ง[7]

หลังจากการหลั่งน้ำอสุจิหรือหลังจากการยุติของสิ่งเร้า องคชาตปกติจะอ่อนตัวลง แต่เวลาที่ใช้อาจจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับความยาวและความหนาขององคชาต[8]

การควบคุมใต้อำนาจจิตใจและนอกอำนาจจิตใจ แก้

เปลือกสมอง (cerebral cortex) อาจก่อให้เกิดการแข็งตัวได้แม้ปราศจากสิ่งเร้าทางกาย (โดยตอบสนองต่อสิ่งเร้าทางตา ทางหู ทางจมูก หรือจากจินตนาการ) โดยส่งสัญญาณผ่าน "ศูนย์การแข็งตัว" ที่ไขสันหลังเขต lumbar และ sacral และเปลือกสมองก็สามารถห้ามการแข็งตัวแม้จะมีสิ่งเร้าทางกายได้ด้วย เหมือนกับที่องค์ประกอบอื่น ๆ ทางใจ ทางอารมณ์ความรู้สึก และทางสิ่งแวดล้อมสามารถห้ามได้เช่นกัน

การแข็งตัวเวลากลางคืน แก้

องคชาตอาจแข็งตัวในระหว่างที่หลับ หรือในขณะที่ตื่นขึ้น ซึ่งมีศัพทย์ทางการแพทย์ภาษาอังกฤษว่า nocturnal penile tumescence (หรือศัพท์แสลงว่า "morning wood ท่อนไม้ในยามเช้า" หรือ "morning glory ความสง่างามในยามเช้า")[9][10][11][12]

มุมมองทางเพศ แก้

การแข็งตัวเป็นตัวชี้บอกอารมณ์ทางเพศอย่างหนึ่ง และเป็นสิ่งที่จะต้องมีสำหรับผู้ชายในการร่วมเพศ ถุงอัณฑะอาจจะเกิดการรัดตัว (แต่ไม่แน่นอน) และโดยทั่วไปแล้ว เยื่อหุ้มปลายก็จะค่อย ๆ ร่นลงโดยอัตโนมัติ ทำการเปิดหัวองคชาต แต่ว่าบางคนอาจจะต้องร่นเยื่อหุ้มปลายลงด้วยมือ

เมื่อถึงวัยเริ่มเจริญพันธุ์ (วัยแตกเนื้อหนุ่ม) การแข็งตัวจะเกิดบ่อยขึ้น[13] แต่การแข็งตัวขององคชาตเป็นเรื่องธรรมดาในเด็กและในทารก และเกิดขึ้นก่อนที่จะคลอดด้วยซ้ำ[14]

การแข็งตัวที่เกิดขึ้นเอง แก้

การแข็งตัวแบบเกิดขึ้นเอง หรือไม่อยู่ใต้อำนาจจิตใจ หรือในโอกาสที่ไม่ต้องการ เป็นเรื่องสามัญทางกายภาพของผู้ชาย โดยทางสังคม การแข็งตัวแบบนี้อาจจะเป็นเรื่องน่าอายโดยเฉพาะถ้าเกิดขึ้นในที่สาธารณะหรือในโอกาสที่ไม่ต้องการ[15] การแข็งตัวอาจเกิดขึ้นเองในเวลาไหนก็ได้ และถ้าใส่เสื้อผ้าอยู่ อาจจะทำให้เกิดรอยนูนขึ้น ซึ่งอาจซ่อนได้ (ถ้าจำเป็น) โดยใส่กางเกงในที่รัดตัว ใส่เสื้อชายยาว หรือใส่เสื้อผ้าที่หลวม ๆ[16]

ขนาดเมื่อแข็งตัว แก้

ความยาวขององคชาตที่อ่อนตัวไม่ได้เป็นตัวชี้บอกความยาวของอวัยวะเมื่อแข็งตัวที่แน่นอน องคชาตอ่อนตัวที่สั้นกว่าอาจจะแข็งตัวเป็นอวัยวะที่ยาวกว่ามาก ในขณะที่องคชาตอ่อนตัวที่ยาวอาจแข็งตัวมีขนาดที่สั้นกว่า[17] โดยทั่ว ๆ ไป หลังจากผ่านวัยเริ่มเจริญพันธุ์แล้ว อวัยวะที่แข็งตัวจะมีขนาดเท่ากันตลอดทั้งชีวิต แต่ก็อาจเพิ่มขึ้นได้โดยอาศัยการผ่าตัด[18] แต่ว่าการขยายขนาดองคชาตจะเป็นประเด็นที่ทำให้เกิดความเห็นหลายหลาก และในการศึกษาหนึ่งพบว่า ชายโดยมากที่ผ่านการขยายขนาดไม่แฮ็ปปี้กับผลที่ได้[19]

ทิศทางการแข็งตัว แก้

แม้ว่าองคชาตมักจะแข็งตัวแล้วชี้ขึ้น แต่ก็เป็นเรื่องทั่วไปที่เป็นปกติถ้าชี้ขึ้นจนเกือบตั้ง หรือชี้ลงจนเกือบเป็นแนวตั้ง หรือแม้แต่จะชี้เป็นแนวตรงออกไป ขึ้นอยู่กับความตึงของเส้นเอ็นที่รั้งอวัยวะไว้ อวัยวะที่แข็งตัวยังมีรูปร่างต่าง ๆ กันไปอีกด้วย เริ่มตั้งแต่ลำตรง ๆ หรือลำที่โค้งขึ้น โค้งลง โค้งไปทางซ้าย หรือโค้งไปทางขวา แต่ว่า ระดับความโค้งที่เพิ่มขึ้นสามารถเกิดจากโรค Peyronie's disease ได้ ซึ่งมีผลทางกายภายและทางใจต่อคนไข้ และอาจจะมีอาการเป็นภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศสาเหตุทางร่างกาย และเจ็บเมื่ออวัยวะแข็งตัว การบำบัดมักจะใช้ยาทาน (เช่นยา colchicine) หรือแม้แต่การผ่าตัดซึ่งจะใช้เป็นขั้นสุดท้าย

ตารางต่อไปนี้แสดงมุมต่าง ๆ ขององคชาตที่แข็งตัวสำหรับผู้ยืนอยู่ ในตาราง มุมที่ 0 องศาหมายถึงอวัยวะที่ชี้ขึ้นแนบกับท้อง มุม 90 องศาก็คือชี้ตรงออกไปในแนวนอน และมุมที่ 180 องศาก็คือชี้ตรงไปที่เท้า แต่ในบรรดามุมทั้งหมด การชี้ไปในแนวขึ้นเกิดขึ้นมากที่สุด

มุมขององคชาตที่แข็งตัว[20]
องศา (°) อัตราร้อยละในประชากร
0–30 5
30–60 30
60–85 31
85–95 10
95–120 20
120–180 5

วิธีการแข็งตัว แก้

การแข็งตัวของอวัยวะเพศจะทำให้มีการสร้าง Prostaglandin E1 สารตัวนี้จะมีหน้าที่สองประการคือ ทำให้หลอดเลือดแดงไม่แข็ง ตัวเลือดแดงไปเลี้ยงอวัยวะเพศเพิ่มขึ้น ประการที่สองคือสารนี้จะลดการสร้าง คอลลาเจนซึ่งทำให้เกิดพังผืดในอวัยวะเพศ ทำให้การแข็งตัวไม่ดี ร่างกายของคนเรามีระบบให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะเพศโดยมีการแข็งตัวของอวัยวะเพศในตอนนอนเพื่อให้อวัยวะเพศสร้างสาร Prostaglandin E1

สำหรับวัยรุ่นการแข็งตัวของน้องชาย 3-5 ครั้งต่อคืน ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร แต่ละครั้งใช้เวลา 20-30 นาที ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องบริหาร

แต่สำหรับคนที่อายุ 30 ปีขึ้นไป ระดับฮอร์โมนเริ่มลดลง การแข็งตัวก็ลดลงเช่นกัน และไม่นาน จึงมีความจำเป็นต้องบริหารให้อวัยวะเพศมีการแข็งตัวบ่อยเพื่อให้มีเลือดไปเลี้ยงอวัยวะเพศเพิ่ม และมีการสร้าง Prostaglandin E1

การบริหารอวัยวะเพศจะต้องทำให้อวัยวะเพศมีการแข็งตัว 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์ และแข็งแต่ละครั้งนาน 20-30 นาทีเพื่อให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะเพศ และป้องกันเส้นเลือดแข็ง

วิธีง่ายสำหรับการบริหารเพื่อคืนความเปล่งปลั่งให้กับน้องชายคือการบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน เพราะเป็นจุดสำคัญที่ควบคุมการหลั่งน้ำอสุจิและปัสสาวะ หากหมั่นบริหารให้แข็งแรงอยู่เสมอ จะช่วยให้น้องชายแข็งตัวดีขึ้น สามารถควบคุมไคลแมกซ์ หรือชะลอการหลั่ง และปฏิบัติกามกิจได้นานขึ้น รวมถึงทำให้มีน้ำเชื้ออสุจิเพิ่มขึ้นและพุ่งแรงขึ้น

[1]

ภาวะทางการแพทย์ แก้

Erectile dysfunction (ความผิดปกติของการแข็งตัว) แก้

ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ (ICD-10 N48.4, ICD-10 F52.2, อังกฤษ: Erectile dysfunction, หรือ impotence) เป็นความผิดปกติทางเพศ มีอาการเป็นความไม่สามารถที่จะมีหรือรักษาการแข็งตัวไว้ได้[21][22] การศึกษาโรคเกี่ยวกับภาวะนี้เป็นสาขาย่อยทางการแพทย์ที่เรียกว่าบุรุษเวชศาสตร์ (andrology) เป็นส่วนของสาขาวิทยาทางเดินปัสสาวะ (urology)[23]

ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศอาจเกิดขึ้นเพราะสาเหตุทางกายหรือทางใจ ซึ่งโดยมากสามารถรักษาได้ เหตุกายภาพรวมทั้งโรคเบาหวาน, โรคไต, โรคพิษสุราเรื้อรัง, multiple sclerosis, โรคหลอดเลือดแดงแข็ง, โรคเกี่ยวกับหลอดเลือด, และโรคเกี่ยวกับระบบประสาท ซึ่งรวม ๆ กันแล้ว เป็นเหตุประมาณร้อยละ 70 ของภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ยาบางประเภทที่ใช้รักษาโรคอื่น เช่น Lithium (ยารักษาโรคจิตมีโรคอารมณ์สองขั้วเป็นต้น) และ paroxetine (ยารักษาโรคจิตมีโรคซึมเศร้าเป็นต้น) อาจมีผลข้างเคียงเป็นภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ[22][24]

ถ้าสมรรถภาพทางเพศ เป็นตัวบ่งชี้สถานภาพทางสังคมหรือความเป็นชายของคนไข้ (ซึ่งเป็นแนวความคิดเฉพาะสังคม) ภาวะนี้สามารถส่งผลเป็นความเสียหายทางจิตใจรวมทั้งความรู้สึกอาย ความเศร้าโศก และความรู้สึกบกพร่อง[25] ในบางสังคม จะมีวัฒนธรรมที่จะไม่พูดถึง และทำให้ไม่สามารถพูดถึงเรื่องนี้ แต่ว่าจริง ๆ แล้ว ชาย 1 ใน 10 จะประสบภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ กันในชีวิตของตน[26]

ภาวะองคชาตแข็งค้าง แก้

ภาวะองคชาตแข็งค้างเป็นภาวะทางกายที่มีผลเป็นความเจ็บปวด เป็นการแข็งตัวขององคชาตเป็นเวลาอย่างน้อย 4 ช.ม. ที่ไม่ยอมอ่อนตัวลง แม้ว่าจะไม่มีการกระตุ้นใด ๆ ทั้งทางกายและทางใจ

ในสัตว์อื่น แก้

ก่อนที่จะร่วมเพศ องคชาตของสุนัขไม่ได้มี "การแข็งตัว" แต่สามารถร่วมเพศได้ก็เพราะอวัยวะมีกระดูกแคบ ๆ ที่เรียกว่า baculum ซึ่งเป็นลักษณะสามัญของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีรก (eutheria) โดยมาก หลังจากที่สัตว์ตัวผู้สอดอวัยวะเข้าไปแล้ว ก็มักจะรัดสัตว์ตัวเมียแน่นขึ้นแล้วทำการร่วมเพศเร็วขึ้น และก็จะอยู่ในช่วงระยะเวลานี้ที่องคชาตขยายออก โดยไม่เหมือนกับการร่วมเพศในมนุษย์ ที่องคชาตโดยปกติจะแข็งตัวก่อนการสอดเข้าไป การร่วมเพศในสุนัขจะมีการสอดเข้าไปก่อน แล้วการขยายออกของอวัยวะจนถึง "ความแข็งตัว" (erection) ก็จะเกิดขึ้น[27]

องคชาตของช้างเมื่อแข็งตัวเต็มที่มีรูปร่างเป็นรูปตัว S และมีช่องรูปัสสาวะเป็นรูปตัว Y[28]

เนื่องจากว่า มีเนื้อเยื่อที่ทำให้แข็งตัวเพียงเล็กน้อยในองคชาตของวัว เมื่อเกิด "การแข็งตัว" องคชาตจึงขยายออกเพียงแค่เล็กน้อย แต่ปกติองคชาตนั้นก็แข็งอยู่แล้วเมื่อ "อ่อนตัว" และแข็งเพิ่มขึ้นอีกเมื่อแข็งตัว การยื่นออกมาขององคชาตไม่มีผลจากการแข็งตัว แต่มีผลจากการคลายตัวของ retractor penis muscle (กล้ามเนื้อการหดตัวที่องคชาต) และการทำ sigmoid flexure (ส่วนของลำไส้ใหญ่ที่ใกล้ที่สุดต่อลำไส้ตรงและทวารหนัก) ให้ตรง[29][30]

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกินเนื้อคล้ายแมวประจำถิ่นอยู่ในเกาะมาดากัสการ์สปีชีส์ Cryptoprocta ferox มีองคชาตแข็งตัวที่ยื่นออกไปจนถึงขาหน้า[31]

เมื่อไม่แข็ง องคชาตของม้าจะอยู่ในหนังหุ้มปลาย โดยมีความยาว 50 ซ.ม. และความหนา 2.5-6 ซ.ม. ที่หัวหนา 15-20 ซ.ม. กล้ามเนื้อ retractor penis muscle จะเกร็งตัวเพื่อดึงองคชาตเข้าไปในฝัก และคลายออกเพื่อให้องคชาตยื่นออกจากฝัก[32] เมื่อแข็งตัว องคชาตจะยาวขึ้นเป็นสองเท่า[33] และความหนาขององคชาตและหัวองคชาตจะขยายเพิ่มขึ้นถึง 3-4 เท่า[32] การแข็งตัวและการยื่นตัวออกของอวัยวะค่อย ๆ เป็นไป โดยการขยายออกของเนื้อเยื่อ (corpus cavernosum) ที่คั่งเต็มไปด้วยเลือดมีผลให้อวัยวะแข็ง[34][35] ม้าตัวผู้โตเต็มที่จะแข็งตัวภายใน 2 นาทีที่มาอยู่ใกล้ๆ ม้าตัวเมียที่พร้อมจะผสมพันธ์ และจะขึ้นคร่อมตัวเมีย 5-10 วินาทีหลังจากนั้น[36]

ส่วนองคชาตของนกมีโครงสร้างแตกต่างจากของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม คือมีการแข็งตัวจากการขยายออกของผนังทวารร่วม (cloaca) และเกิดจากการคั่งด้วยน้ำเหลือง ไม่ใช่เลือด[37] องคชาตแข็งตัวของเป็ดประจำถิ่นทวีปอเมริกาใต้สปีชีส์ Oxyura vittata อาจจะมีความยาวถึงเท่ากับตัว แต่ปกติมักจะยาวประมาณครึ่งหนึ่งของตัวเท่านั้น[38][39]

ศัพท์ในภาษาอังกฤษ แก้

ในการแพทย์ภาษาอังกฤษ การแข็งตัวขององคชาตบ่อยครั้งเรียกว่า "penile erection" และภาวะที่แข็งตัวหรือกระบวนการแข็งตัวเรียกว่า "tumescence" หรือ "penile tumescence"

ส่วนศัพท์สแลงภาษาอังกฤษใช้คำคุณศัพท์ว่า stiffy, hard-on, boner และ woody[40] มีคำสแลง เสาวพจน์ และคำเหมือนสำหรับภาวะนี้ในภาษาอังกฤษและภาษาอื่น ๆ ดูรายการคำภาษาอังกฤษอื่นใน WikiSaurus

ดูเพิ่ม แก้

เชิงอรรถและอ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 การเร้าอารมณ์เพศ (sexual stimulation) เป็นตัวกระตุ้นอะไรก็ได้ รวมทั้งสัมผัสทางกาย ที่เพิ่มและรักษาอารมณ์เพศ ซึ่งอาจนำไปสู่การหลั่งน้ำอสุจิและ/หรือจุดสุดยอดทางเพศในที่สุด ถึงแม้ว่าอารมณ์เพศอาจเกิดขึ้นได้โดยไม่ต้องอาศัยการกระตุ้น แต่จะถึงจุดสุดยอดทางเพศได้ ปกติต้องมีการกระตุ้นทางเพศ
  2. sacral plexus เป็นข่ายประสาท (nerve plexus) ซึ่งส่งเส้นประสาทสั่งการและรับความรู้สึกไปยังต้นขาด้านหลัง ขาด้านล่างโดยมาก เท้าทั้งหมด และเชิงกรานเป็นบางส่วน เป็นส่วนของข่ายประสาท lumbosacral plexus และออกมากจากไขสันหลังที่ sacral vertebrae (S2-S4)
  3. acetylcholine เป็นแคตไอออนอินทรีย์มีหลายอะตอมที่มีกัมมันภาพเป็นสารสื่อประสาททั้งในระบบประสาทส่วนปลายและระบบประสาทส่วนกลางในสัตว์จำนวนมากรวมทั้งมนุษย์ด้วย
  4. wiley.com > Viagra function image Retrieved on Mars 11, 2010
  5. APDVS > 31. Anatomy and Physiology of Normal Erection เก็บถาวร 2010-07-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Retrieved on Mars 11, 2010
  6. Moore, Keith (2007). Essential Clinical Anatomy, Third Edition. Lippincott Williams & Wilkins. p. 265. ISBN 0-7817-6274-X. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  7. Drake, Richard, Wayne Vogl and Adam Mitchell, Grey's Anatomy for Students. Philadelphia, 2004. (ISBN 0-443-06612-4)
  8. Harris, Robie H. (et al.), It's Perfectly Normal: Changing Bodies, Growing Up, Sex And Sexual Health. Boston, 1994. (ISBN 1-56402-199-8)
  9. Morning Erections: Sizemed retrieved 28 February 2012
  10. After Prostate Cancer: A What-Comes-Next Guide to a Safe and Informed recovery: p.48
  11. Listen To Your Hormones, Abraham Harvey Kryger - 2004. p.32
  12. Janell L. Carroll (29 January 2009). Sexuality Now: Embracing Diversity: Embracing Diversity. Cengage Learning. p. 149. ISBN 978-0-495-60274-3.
  13. Lynda Madaras (8 June 2007). What's Happening to My Body? Book for Boys: Revised Edition. Newmarket Press. p. 119. ISBN 978-1-55704-769-4. สืบค้นเมื่อ 22 July 2013.
  14. erections in babies retrieved 11 February 2012
  15. Lynda Madaras (8 June 2007). What's Happening to My Body? Book for Boys: Revised Edition. Newmarket Press. p. 145. ISBN 978-1-55704-769-4. สืบค้นเมื่อ 22 July 2013.
  16. Sarah Attwood (15 May 2008). Making Sense of Sex: A Forthright Guide to Puberty, Sex and Relationships for People with Asperger's Syndrome. Jessica Kingsley Publishers. p. 62. ISBN 978-1-84642-797-8. สืบค้นเมื่อ 22 July 2013.
  17. "Penis Size FAQ & Bibliography". Kinsey Institute. 2009. สืบค้นเมื่อ 2013-11-07.
  18. Li CY, Kayes O, Kell PD, Christopher N, Minhas S, Ralph DJ (2006). "Penile suspensory ligament division for penile augmentation: indications and results". Eur. Urol. 49 (4): 729–733. doi:10.1016/j.eururo.2006.01.020. PMID 16473458.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  19. "Most Men Unsatisfied With Penis Enlargement Results". Fox News. 2006-02-16. สืบค้นเมื่อ 2008-08-17.
  20. Sparling J (1997). "Penile erections: shape, angle, and length". Journal of Sex & Marital Therapy. 23 (3): 195–207. doi:10.1080/00926239708403924. PMID 9292834.
  21. Milsten, Richard (et al.), The Sexual Male. Problems And Solutions. London, 2000. (ISBN 0-393-32127-4)
  22. 22.0 22.1 Sadeghipour H, Ghasemi M, Ebrahimi F, Dehpour AR (2007). "Effect of lithium on endothelium-dependent and neurogenic relaxation of rat corpus cavernosum: role of nitric oxide pathway". Nitric Oxide. 16 (1): 54–63. doi:10.1016/j.niox.2006.05.004. PMID 16828320.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  23. Williams, Warwick, It's Up To You: Overcoming Erection Problems. London, 1989. (ISBN 0-7225-1915-X)
  24. Sadeghipour H, Ghasemi M, Nobakht M, Ebrahimi F, Dehpour AR (2007). "Effect of chronic lithium administration on endothelium-dependent relaxation of rat corpus cavernosum: the role of nitric oxide and cyclooxygenase pathways". BJU Int. 99 (1): 177–182. doi:10.1111/j.1464-410X.2006.06530.x. PMID 17034495.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  25. Tanagho, Emil A. (et al.), Smith's General Urology. London, 2000. (ISBN 0-8385-8607-4)
  26. NHS Direct – Health encyclopaedia -Erectile dysfunction
  27. "Semen Collection from Dogs". Arbl.cvmbs.colostate.edu. 2002-09-14. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-05. สืบค้นเมื่อ 2012-01-29.
  28. Shoshani, p. 80.
  29. William O. Reece (4 March 2009). Functional Anatomy and Physiology of Domestic Animals. John Wiley & Sons. ISBN 978-0-8138-1451-3. สืบค้นเมื่อ 22 July 2013.
  30. James R. Gillespie; Frank Bennie Flanders (28 January 2009). Modern Livestock & Poultry Production. Cengage Learning. ISBN 978-1-4283-1808-3. สืบค้นเมื่อ 22 July 2013.
  31. Köhncke, M.; Leonhardt, K. (1986). "Cryptoprocta ferox" (PDF). Mammalian Species (254): 1–5. สืบค้นเมื่อ 19 May 2010.
  32. 32.0 32.1 "The Stallion: Breeding Soundness Examination & Reproductive Anatomy". University of Wisconsin-Madison. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-16. สืบค้นเมื่อ 7 July 2007.
  33. James Warren Evans (15 February 1990). The Horse. W. H. Freeman. ISBN 978-0-7167-1811-6. สืบค้นเมื่อ 22 July 2013.
  34. Sarkar, A. (2003). Sexual Behaviour In Animals. Discovery Publishing House. ISBN 978-81-7141-746-9.
  35. Juan C. Samper, Ph.D.; Jonathan F. Pycock, Ph.D.; Angus O. McKinnon (2007). Current Therapy in Equine Reproduction. Elsevier Health Sciences. p. 176. ISBN 978-0-7216-0252-3. สืบค้นเมื่อ 22 July 2013.
  36. Juan C. Samper (2009). Equine Breeding Management and Artificial Insemination. Elsevier Health Sciences. ISBN 978-1-4160-5234-0. สืบค้นเมื่อ 22 July 2013.
  37. Frank B. Gill (6 October 2006). Ornithology. Macmillan. pp. 414–. ISBN 978-0-7167-4983-7. สืบค้นเมื่อ 5 December 2012.
  38. McCracken, Kevin G. (2000). "The 20-cm Spiny Penis of the Argentine Lake Duck (Oxyura vittata)" (PDF). The Auk. 117 (3): 820–825. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-12-15. สืบค้นเมื่อ 2014-03-06.
  39. McCracken, Kevin G.; Wilson, Robert E.; McCracken, Pamela J.; Johnson, Kevin P. (2001). "Sexual selection: Are ducks impressed by drakes' display?" (PDF). Nature. 413: 128. doi:10.1038/35093160. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-12-15. สืบค้นเมื่อ 2014-03-06.
  40. Gabrielle Morrissey (27 January 2005). Urge: Hot Secrets For Great Sex. HarperCollins Publishers. p. 6. ISBN 978-0-7304-4527-2. สืบค้นเมื่อ 22 July 2013.