การหลั่งน้ำอสุจิ
การหลั่งน้ำอสุจิ (อังกฤษ: ejaculation) คือการหลั่งน้ำอสุจิออกจากองคชาต มักเกิดพร้อมกับการถึงจุดสุดยอดทางเพศ ถือเป็นด่านสุดท้ายและเป็นเป้าหมายทางธรรมชาติของการเร้าอารมณ์ทางเพศ[1] และเป็นสิ่งที่จำเป็นในการให้เกิดปฏิสนธิ (คือการตั้งครรภ์) การหลั่งอาจเกิดขึ้นได้เพราะโรคในต่อมลูกหมาก แม้จะเป็นกรณีที่หายาก และบางครั้งอาจเกิดขึ้นเองในขณะหลับ (เป็นการหลั่งในช่วงกลางคืน หรือที่เรียกว่า ฝันเปียก) มีภาวะหลายอย่างที่ทำให้ไม่สามารถหลั่งน้ำอสุจิ (เช่นอวัยวะเพศชายไม่แข็งตัว) หรือที่ทำให้เกิดมีความเจ็บปวดไม่รู้สึกสบายเมื่อมีการหลั่งน้ำอสุจิ

ขั้นตอนแก้ไข
การปลุกเร้าแก้ไข
ส่วนระยะเวลาที่ต้องการในการปลุกเร้าทางเพศ มีความหลากหลายกันไป ที่จะนำไปสู่การทำให้หลั่ง โดยปกติแล้วก่อนการเกิดการหลั่ง จะเกิดการตื่นตัวทางเพศของฝ่ายชาย ที่นำไปสู่การแข็งตัวขององคชาต แต่ว่าการตื่นตัวทางเพศทุกครั้งจะไม่นำไปสู่การหลั่งน้ำอสุจิ การเร้าอารมณ์ทางเพศ[1]ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยช่องคลอด ออรัลเซ็กซ์ การร่วมเพศทางทวารหนัก หรือการสำเร็จความใคร่ ล้วนสามารถนำไปสู่จุดสุดยอดทางเพศและการหลั่งน้ำอสุจิได้ โดยปกติผู้ชายสามารถถึงจุดสุดยอดทางเพศภายใน 5-10 นาทีหลังจากที่เริ่มการร่วมเพศ ขึ้นอยู่กับอารมณ์เพศทั้งของตนทั้งของคู่ขา[2][3]
การเล้าโลมกับคู่ขาก่อนการร่วมเพศ (เช่นการจูบกัน การลูบเล้าทางกาย หรือการถูกสัมผัสในจุดที่ให้เกิดความเสียว) หรือการช่วยตัวเอง (การสำเร็จความใคร่ให้ตนเองในเพศชาย) มักจะเร้าอารมณ์เพศให้เกิดมากขึ้น และอาจจะนำไปสู่การหลั่งน้ำหล่อลื่น (ที่เป็นน้ำใส ๆ) แม้จะเชื่อกันว่า โอกาสที่จะมีตัวอสุจิในน้ำหล่อลื่นเป็นไปได้น้อย แต่ตัวอสุจิที่ยังค้างอยู่ในท่อปัสสาวะหลังจากการหลั่งน้ำอสุจิครั้งสุดท้าย อาจจะไหลออกพร้อมกับน้ำหล่อลื่น[ต้องการอ้างอิง] นอกจากนั้นแล้ว เชื้อโรคและไวรัสต่าง ๆ รวมทั้งเชื้อเอชไอวี (เชื้อของโรคเอดส์) ก็อาจจะมีในน้ำหล่อลื่น
การหลั่งแก้ไข
เมื่อผู้ชายผ่านการเร้าอารมณ์ทางเพศมาในระดับที่สมควร การหลั่งน้ำอสุจิก็จะเริ่มขึ้น ภายใต้การควบคุมของระบบประสาทซิมพาเทติก[4] คือ ตัวอสุจิจะวิ่งออกจากอัณฑะ (scrotum ดูรูป) ผ่านหลอดน้ำอสุจิ (vas deferens) เข้าผสมกับของเหลวจากต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ (seminal vesicle) และต่อมลูกหมาก (prostate gland) หลังจากนั้นจะวิ่งผ่านท่อฉีดอสุจิ (ejaculatory duct) ผสมน้ำจากต่อมบัลโบยูรีทรัล (bulbourethral gland หรือ cowper's gland) ประกอบกันเป็นน้ำอสุจิ พุ่งผ่านท่อปัสสาวะ ออกทางปลายท่อปัสสาวะ (urethral openning) ขับออกโดยกล้ามเนื้อที่หดเกร็งเป็นจังหวะ[5] (ดูวิดีโอ)
การกระตุกของกล้ามเนื้อเป็นจังหวะ ๆ เป็นส่วนของการถึงจุดสุดยอดของผู้ชาย ซึ่งเกิดจากกล้ามเนื้อ bulbospongiosus ภายใต้การควบคุมของรีเฟล็กซ์ไขสันหลัง (spinal reflex) ในระดับเส้นประสาทไขสันหลัง S2-4 ผ่านเส้นประสาทอวัยวะเพศภายนอก (pudendal nerve) จุดสุดยอดในชายปกติมีระยะเวลาหลายวินาที
เมื่อการหลั่งน้ำอสุจิเริ่มขึ้นแล้ว ก็จะมีการขับน้ำอสุจิออกอย่างเป็นจังหวะจากท่อปัสสาวะ (ดูวิดีโอ) โดยหลั่งเริ่มจากระดับที่น้อยจนไปถึงระดับที่สูงสุด และหลังจากนั้นก็ลดลงอีก จะมีการกระตุกของกล้ามเนื้อประมาณ 10-15 ครั้งต่อการหลั่งน้ำอสุจิโดยปกติ (13 ครั้งในวิดีโอ) แม้ว่า บุคคลนั้นอาจจะไม่รู้ว่ามีเท่าไร เมื่อการกระตุกกล้ามเนื้อเกิดขึ้นแล้วเป็นครั้งแรก การหลั่งน้ำอสุจิจะดำเนินไปจนถึงที่สุดโดยที่ควบคุมไม่ได้ คือ เมื่อถึงขั้นนี้แล้ว จะไม่สามารถหยุดการหลั่งน้ำอสุจิได้ การกระตุกครั้งต้น ๆ เกิดขึ้นทุก ๆ 0.6 วินาทีโดยเฉลี่ย และเร็วขึ้น 0.1 วินาทีต่อการกระตุก เมื่อถึงระดับสูงสุดแล้ว อัตราการกระตุกจะค่อย ๆ ลดลง การกระตุกในชายโดยมาก เป็นจังหวะที่สม่ำเสมอตลอดช่วงการหลั่ง แต่ก็มีคนจำนวนมากที่มีการกระตุกที่ไม่สม่ำเสมอที่ช่วงสุดการหลั่ง[6]
น้ำอสุจิจะหลั่งออกโดยการกระตุกของกล้ามเนื้อในครั้งแรกหรือครั้งที่สอง (ครั้งแรกในวิดีโอ) โดยมากมักจะในครั้งที่สอง การขับน้ำอสุจิออกครั้งแรกหรือครั้งที่สองมักจะมีน้ำมากที่สุด อาจจะมีมากกว่า 40% ของน้ำที่ขับออกทั้งหมด หลังจากจุดการหลั่งสูงสุดนี้ อัตราการหลั่งในแต่ละการกระตุกของกล้ามเนื้อก็จะลดลง เมื่อน้ำไหลออกหมดแล้ว กล้ามเนื้อยังสามารถกระตุกต่อไปได้ โดยไม่มีการหลั่งน้ำออกมาอีก (ดูการกระตุกในวิดีโอครั้งสุดท้าย ๆ)
ในการศึกษาของกลุ่มศึกษาเล็ก ๆ ของผู้ชาย 7 คน พบว่า มีการหลั่งน้ำออก 7 ครั้งโดยเฉลี่ย (จากค่าระหว่าง 5-10 ครั้ง) ที่ตามมาด้วยการกระตุกอีก 10 ครั้งที่ไม่มีการหลั่งน้ำออกมาอีกโดยเฉลี่ย (โดยมีค่าระหว่าง 5-23 ครั้ง) งานวิจัยนี้ยังพบสหสัมพันธ์ระหว่างจำนวนการกระตุก (ที่มีการหลั่งน้ำ) กับปริมาตรของน้ำที่หลั่งออกทั้งหมด คือ ปริมาตรน้ำทั้งหมดที่หลั่งออกขึ้นอยู่กับจำนวนการกระตุกที่มีการหลั่งน้ำ ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับการกระตุกที่มีการหลั่งออกมากที่สุด[7]
ศ. ดร. อัลเฟร็ด คินซีย์ นักวิจัยทางเพศชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียง ได้วัดระยะทางการหลั่งน้ำอสุจิในชายอเมริกัน "หลายร้อย" 2 ใน 3 ของชายเหล่านั้นมีน้ำอสุจิที่เพียงไหลออกจากหัวองคชาต (ดูวิดีโอในการกระตุกครั้งสุดท้าย ๆ) "แต่ในชายพวกอื่น น้ำอสุจิจะพุ่งออกเป็นระยะทางหลายนิ้ว เป็นฟุต สองฟุต หรือแม้กระทั่ง 5-6 (หรือ 8 แต่มีน้อย) ฟุต"[8]
ส่วทีมนักวิจัยที่มีชื่อเสียงอีกชุดหนึ่งคือมาสเตอร์และจอห์นสันรายงานว่า ระยะทางการหลั่งน้ำจะไม่เกิน 30-60 เซนติเมตร[9] แต่ว่า จริง ๆ แล้ว ระยะทางการหลั่งน้ำอสุจิไม่มีผลอะไรทางเพศ เพราะว่า การไหลออกของน้ำอสุจิเพียงเล็กน้อยก็เพียงพอที่จะก่อให้เกิดการตั้งครรภ์ได้
"การหลั่งน้ำอสุจิเร็ว" (premature ejaculation[10]) เป็นภาวะที่หลั่งน้ำอสุจิก่อนที่จะต้องการ แต่ถ้าไม่สามารถหลั่งน้ำอสุจิได้ในกาลที่เหมาะสมแม้ว่าจะมีการเร้าอารมณ์ทางเพศ[1]มาเป็นเวลานาน แม้ว่าจะมีความต้องการ นี้เรียกว่า "การหลั่งน้ำอสุจิช้า" (delayed ejaculation) หรือ "การไม่สามารถบรรลุจุดสุดยอด" (anorgasmia[11]) และก็ยังมีการถึงจุดสุดยอดโดยไม่มีการหลั่งน้ำอสุจิ (dry orgasm) อีกด้วย
ระยะดื้อแก้ไข
หลังจากการถึงจุดสุดยอด ผู้ชายโดยมากจะตกอยู่ในระยะดื้อ ซึ่งในช่วงนี้ จะไม่สามารถเกิดการแข็งตัวขององคชาต และหลังจากนั้น ก็จะต้องใช้เวลายาวออกไปอีกระยะหนึ่ง ก่อนที่จะสามารถหลั่งน้ำอสุจิออกได้อีก
ในช่วงนี้ ผู้ชายจะมีความรู้สึกผ่อนคลายที่ประกอบด้วยความสุขอย่างยิ่ง ซึ่งมักจะรู้สึกตรงที่ขาหนีบและต้นขา ระยะดื้อจะแตกต่างกันไปในระหว่างบุคคล อายุและวัยอาจจะมีผล คือผู้ที่อายุน้อยกว่าอาจจะแข็งตัวหลั่งน้ำอสุจิได้อีก เร็วกว่าผู้มีอายุมากกว่า แต่ก็ไม่จำเป็นเสมอไป[9]
ความแตกต่างอีกอย่างหนึ่งก็คือ ชายบางพวกสามารถเกิดอารมณ์เพศพอที่จะเกิดการแข็งตัวได้อีกทันทีหลังจากการหลั่งน้ำอสุจิ และบางพวกอาจจะเกิดขึ้นอีกภายใน 15 นาที การมีระยะดื้อที่สั้นอาจจะทำให้ชายบางพวกสามารถเริ่มปลุกเร้าอารมณ์ทางเพศกับคู่ขาต่อไปได้อย่างสืบเนื่อง จากช่วงการหลั่งน้ำอสุจิ ไปยังการปลุกเร้าอารมณ์ทางเพศกับคู่ขาอีก เพื่อที่จะถึงการหลั่งน้ำอสุจิในครั้งต่อไป แต่ว่า ชายอีกพวกหนึ่งจะไม่ชอบการปลุกเร้าทางเพศในระยะดื้อช่วงแรก ๆ
มีชายบางพวกที่สามารถถึงจุดสุดยอดหลายครั้งติดต่อกัน โดยที่มี หรือว่าไม่มี ลำดับปกติของการหลั่งน้ำอสุจิและระยะดื้อ ชายเหล่านี้บางคนรายงานว่า ไม่เห็นมีระยะดื้อ หรือว่าสามารถรักษาการแข็งตัวขององคชาตต่อไปได้โดย "ทำกิจกรรมทางเพศต่อไป พร้อมกับมีอวัยวะที่แข็งตัวเต็มที่ จนกระทั่งผ่านระยะดื้อที่ไม่สามารถถึงจุดสุดยอด และทำการต่อไปเพื่อที่จะถึงจุดสุดยอดเป็นครั้งที่สองและครั้งที่สาม"[12]
ปริมาณแก้ไข
แรงพุ่งและปริมาณของน้ำอสุจิที่หลั่งออกมีความแตกต่างกันไปในระหว่างบุคคลและอาจจะมีปริมาณระหว่าง 0.1-10 มิลลิลิตร[13] (5 มิลลิลิตร = 1 ช้อนชา, 15 มิลลิลิตร = 1 ช้อนโต๊ะ, คืออาจจะมีถึง 2 ช้อนชา ไม่ถึง 1 ช้อนโต๊ะ) ปริมาณของน้ำอสุจิในผู้ใหญ่ขึ้นอยู่กับเวลาที่ผ่านไปหลังจากการหลั่งน้ำอสุจิครั้งสุดท้าย คือ น้ำอสุจิมักจะมีปริมาณมากกว่าถ้ามีการเว้นการหลั่งน้ำอสุจิเป็นเวลายาวนานกว่า ระยะเวลาที่ใช้เร้าอารมณ์ทางเพศ[1]ก่อนจะหลั่ง ก็สามารถมีผลต่อปริมาณได้ด้วย[14] ปริมาณน้ำอสุจิที่ต่ำกว่าปกติเรียกว่า hypospermia เหตุอย่างหนึ่งในการมีปริมาณน้ำอสุจิที่ต่ำกว่าปกติหรือไม่มีเลยก็คือ การมีท่อฉีดอสุจิอุดตัน (ejaculatory duct obstruction) และเป็นเรื่องปกติถ้าปริมาณน้ำอสุจิจะลดลงไปตามวัย
คุณภาพแก้ไข
จำนวนตัวอสุจิที่หลั่งออกมีความแตกต่างกันอย่างหลายหลาก ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่าง ๆ รวมทั้งระยะเวลาจากครั้งสุดท้ายที่มีการหลั่งน้ำอสุจิ[15]อายุ ระดับความเครียด[16] และระดับฮอร์โมนเพศชาย ช่วงระยะเวลาที่ยาวนานกว่าในการเล้าโลมทางเพศก่อนที่จะมีการหลั่งน้ำอสุจิ อาจมีผลทำให้ระดับความเข้มข้นของตัวอสุจิสูงขึ้น[14] การมีระดับตัวอสุจิต่ำ ซึ่งไม่ใช่ภาวะเดียวกันกับการมีปริมาณน้ำอสุจิต่ำ เรียกว่า ภาวะเชื้ออสุจิน้อย[17] (oligospermia) และการไม่มีตัวอสุจิในน้ำอสุจิ เรียกว่า ภาวะน้ำกามไร้ตัวอสุจิ[17] (azoospermia)
พัฒนาการแก้ไข
วัยเจริญพันธุ์แก้ไข
เวลาหลังการหลั่งครั้งแรก (เดือน) |
ปริมาตรเฉลี่ย (มิลลิลิตร) |
ละลายเป็นน้ำ | ค่าเฉลี่ยสเปิร์ม (ล้านตัว/มิลลิลิตร) |
---|---|---|---|
0 | 0.5 | ไม่ (1) | 0 |
6 | 1.0 | ไม่ (1) | 20 |
12 | 2.5 | ก้ำกึ่ง (2) | 50 |
18 | 3.0 | ใช่ (3) | 70 |
24 | 3.5 | ใช่ (3) | 80 |
หมายเหตุ (1) - น้ำที่หลั่งออกจะคงสภาพเหมือนวุ้น ไม่ละลายเป็นน้ำ หมายเหตุ (2) - โดยมากจะละลายเป็นน้ำ แต่บางส่วนก็ยังเป็นวุ้น หมายเหตุ (3) - จากสภาพวุ้น จะละลายเป็นน้ำภายใน 1 ชั่วโมง |
การหลั่งน้ำอสุจิครั้งแรกจะเกิดขึ้นประมาณ 12 เดือนหลังจากถึงวัยเริ่มเจริญพันธุ์ (แตกเนื้อหนุ่ม) ซึ่งโดยทั่ว ๆ ไปก็เพราะการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองหรือการฝันเปียก อย่างไรก็ตามพบว่าผู้ชายส่วนใหญ่มากกว่าร้อยละ 80 จะมีการหลั่งน้ำอสุจิครั้งแรกมาจากการช่วยเหลือตัวเองซึ่งโดยทั่วไปจะเกิดขึ้นในช่วงอายุ 12-15 ปี ขณะที่ส่วนน้อยที่เหลือมาจากการฝันเปียก เริ่มแรกเมื่อผู้ชายเข้าสู่วัยแตกหนุ่มก็มักจะบอกไม่ได้ว่าร่างกายของตนเองจะเริ่มผลิตน้ำอสุจิและพร้อมจะหลั่งเมื่อใด แต่ในช่วงเวลาดังกล่าวจะมีแรงขับดันทางเพศที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกอารมณ์ทางเพศและ/หรือการแข็งตัวขององคชาต เด็กหนุ่มจะเริ่มมีการสำรวจร่างกายตนเองและเริ่มทดลองกิจกรรมทางเพศกับอวัยวะของตนเองในหลาย ๆ รูปแบบ จนกระทั่งอัณฑะสามารถสร้างตัวอสุจิได้ และในที่สุดก็จะกลายเป็นการค้นพบวิธีการสำเร็จความใคร่ จากประสบการณ์ของวัยรุ่นชายส่วนใหญ่ขณะเริ่มมีการสำเร็จความใคร่และหลั่งน้ำอสุจิครั้งแรก มักบรรยายความรู้สึกว่าคล้ายกับการปวดปัสสาวะซึ่งกลั้นไม่อยู่ และลงเอยด้วยการหลั่งของเหลวสีขาวขุ่นออกมา
ปริมาตรการหลั่งน้ำอสุจิครั้งแรก ๆ จะมีน้อย คือ ในระยะ 3 เดือนแรกจะมีน้อยกว่า 1 มิลลิลิตร น้ำอสุจิในระยะแรกของวัยเจริญพันธุ์จะใส และจะคงสภาพความเป็นวุ้น คือจะไม่ละลายเป็นน้ำเหมือนกับในของผู้ใหญ่ ลำดับการพัฒนาการของน้ำอสุจิเห็นได้ในตาราง 1
การหลั่งน้ำอสุจิครั้งแรก มักจะไม่มีตัวอสุจิ (90%) และสำหรับส่วนน้อยที่มีตัวอสุจิ ตัวอสุจิโดยมาก (97%) จะไม่มีการเคลื่อนไหว และส่วนน้อยที่เหลือ (3%) จะมีการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ[18]
เมื่อเจริญวัยต่อไปเรื่อย ๆ น้ำอสุจิจะเริ่มมีลักษณะต่าง ๆ เหมือนของผู้ใหญ่มากขึ้นและมีปริมาณตัวอสุจิปกติที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ น้ำอสุจิในช่วง 12-14 เดือนหลังจากการหลั่งน้ำอสุจิครั้งแรก น้ำอสุจิจะมีการละลาย (จากลักษณะคล้ายวุ้นเป็นน้ำ) หลังจากการหลั่งออกไม่นาน ภายใน 24 เดือนหลังจากการหลั่งน้ำอสุจิครั้งแรก ทั้งปริมาณน้ำอสุจิ ปริมาณตัวอสุจิ และลักษณะต่าง ๆ ของตัวอสุจิ จะเหมือนกับของผู้ใหญ่[18]
การควบคุมจากระบบประสาทกลางแก้ไข
เพื่อที่จะวาดแผนที่การทำงานของเซลล์ประสาทในสมองในช่วงที่เกิดการหลั่งน้ำอสุจิ นักวิจัยได้ทำการศึกษาโดยใช้การแสดงออกของ c-fos[19] ซึ่งเป็น proto-oncogene[20] ที่มีการแสดงออกในนิวรอนตอบสนองต่อการกระตุ้นด้วยฮอร์โมนและสารสื่อประสาท (คือเช็คการแสดงออกของ c-fos เพื่อจะดูว่าเซลล์ประสาทในส่วนไหนมีการทำงาน)[21] การแสดงออกของ c-fos พบในส่วนต่าง ๆ ต่อไปนี้ คือ[22][23]
- medial preoptic area (MPOA)
- lateral septum, ซึ่งเป็น bed nucleus of the stria terminalis
- paraventricular nucleus of the hypothalamus (PVN)
- ventromedial hypothalamus, และอะมิกดะลาด้านใน
- ventral premammillary nuclei
- ventral tegmentum
- central tegmental field
- mesencephalic central gray
- peripeduncular nuclei
- parvocellular subparafascicular nucleus (SPF) ที่ทาลามัสด้านหลัง
การหลั่งน้ำอสุจิโดยไม่ต้องถูกต้องแก้ไข
แม้ว่าจะไม่เกิดขึ้นโดยทั่วไป ชายบางพวกสามารถหลั่งน้ำอสุจิโดยไม่มีการถูกต้องอวัยวะ คือทำให้เกิดการหลั่งได้โดยไม่ต้องมีการเร้าอารมณ์ทางเพศ[1]โดยสัมผัส บางพวกทำโดยเกร็งและคลายกล้ามเนื้อที่ท้องและที่แก้มก้นพร้อม ๆ กับการจินตนาการ และบางพวกทำโดยผ่อนคลายกล้ามเนื้อใกล้ ๆ กับองคชาต ซึ่งอาจทำให้องคชาตแข็งตัวยิ่งขึ้นโดยเฉพาะเมื่อเกิดอารมณ์ทางเพศอย่างรุนแรง[24]
การกดที่ฝีเย็บและการหลั่งน้ำอสุจิย้อนทางแก้ไข
ในขณะที่จะเกิดการหลั่งน้ำอสุจิ การกดที่ฝีเย็บ (บริเวณระหว่างอวัยวะเพศกับทวารหนัก) หรือบีบท่อปัสสาวะไว้ อาจจะมีผลเป็นการกักน้ำอสุจิไว้ในภายใน โดยที่น้ำอสุจิจะไหลย้อนกลับเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ (ดูรูป) บางคนทำแบบนี้เพื่อจะป้องกันไม่ให้เลอะเปรอะเปื้อนโดยจงใจกักน้ำอสุจิไว้ในภายใน[25] ถ้าเป็นภาวะทางการแพทย์ ก็จะเรียกว่า การหลั่งน้ำอสุจิย้อนทาง[17] (retrograde ejaculation) ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อหูรูดของกระเพาะปัสสาวะมีความผิดปกติ[26]
ปัญหาสุขภาพแก้ไข
สำหรับคนโดยมาก ยังไม่ปรากฏความเสียหายด้านสุขภาพจากการหลั่งน้ำอสุจิบ่อย ๆ แม้ว่า กิจกรรมทางเพศโดยทั่ว ๆ ไปสามารถที่จะมีผลทางด้านสุขภาพและทางจิตใจได้ แต่ว่า มีชายเป็นส่วนน้อยพวกหนึ่งที่อาจจจะประสบกับอาการ postorgasmic illness syndrome (แปลว่า กลุ่มอาการเจ็บป่วยหลังการถึงจุดสุดยอด) ซึ่งจะมีเพียงแค่ชั่วคราวหลังการหลั่งน้ำอสุจิ[27][28] อาการมักจะปรากฏภายในครึ่งชั่วโมงหลังจากการถึงจุดสุดยอดและมักจะหายไปภายใน 2-3 วัน[27][28] ผู้มีปัญหานี้จะประสบอาการต่าง ๆ ทางจิตใจ ทางกาย หรือทั้งสองทาง อาการทั่ว ๆ ไปรวมทั้งปัญหาเกี่ยวกับประชานด้านต่าง ๆ ความรู้สึกไม่สบาย ความฉุนเฉียวง่าย ความวิตกกังวล ความอยากจะหาย ความซึมเศร้า และความยากลำบากในการสื่อความ การจำคำต่าง ๆ การอ่านหนังสือและจำความได้ การตั้งสมาธิ และการเข้าสังคม[29][27][28][30] อาการทางกายรวมทั้งความล้าอย่างรุนแรง การปวดศีรษะตั้งแต่เบา ๆ จนถึงรุนแรง และอาการเหมือนกับเป็นหวัดหรือภูมิแพ้เช่น อาการจาม คันตา การเคืองจมูก และการปวดกล้ามเนื้อ[27][28] และอาจจะมีอาการร้อนมาก[29][31]
ยังไม่ชัดเจนว่า การหลั่งน้ำอสุจิบ่อย ๆ จะเพิ่ม[32] ลด[33] หรือไม่มีผลต่อ[34] ความเสี่ยงการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก
งานวิจัยขนาดใหญ่สองงานคือ[35][36][37] "Ejaculation Frequency and Subsequent Risk of Prostate Cancer (ความถี่การหลั่งน้ำอสุจิและความเสี่ยงที่เกิดขึ้นเนื่องจากมะเร็งต่อมลูกหมาก)"[38] และ "Sexual Factors and Prostate Cancer ([ความสัมพันธุ์ระหว่าง]องค์ประกอบทางเพศกับมะเร็งต่อมลูกหมาก)"[39] เสนอว่า การหลั่งน้ำอสุจิบ่อย ๆ ตลอดชีวิตเป็นการป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมาก ส่วนงานวิจัยในประเทศสหรัฐอเมริกาใน "ชาย 29,342 คนอายุระหว่าง 46-81 ปี"[38] เสนอว่า "ความถี่ในการหลั่งน้ำอสุจิสูงมีความสัมพันธุ์กับความเสี่ยงต่อมะเร็งต่อมลูกหมากที่ลดลง"[38] ส่วนงานวิจัยในประเทศออสเตรเลียใน "ชาย 1,079 คนที่มีมะเร็งต่อมลูกหมากและชายที่ไม่มีโรคอีก 1,259 คน" พบว่า "มีหลักฐานว่า ชายวัย 20-50 ปีที่ยิ่งมีการหลั่งน้ำอสุจิบ่อยครั้งเท่าไร ก็มีโอกาสน้อยลงในการเกิดขึ้นของมะเร็งต่อมลูกหมากเท่านั้น"[40]
ผลป้องกันของการหลั่งน้ำอสุจิอยู่ในระดับสูงสุดถ้าชายในวัยช่วง 20-30 หลั่งน้ำอสุจิโดยเฉลี่ยอาทิตย์ละ 7 ครั้งหรือมากกว่านั้น
กลุ่มนี้ปรากฏว่ามีโอกาสเป็น 1/3 ในการมีมะเร็งต่อมลูกหมากชนิดรุนแรงน้อยกว่า
เมื่อเทียบกับชายผู้หลั่งน้ำอสุจิน้อยกว่า 3 ครั้งต่ออาทิตย์ในช่วงอายุนี้
— คณะกรรมการมะเร็งรัฐวิกตอเรีย (Cancer Council Victoria) [40]
ในสัตว์อื่นแก้ไข
ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและสัตว์ปีก การหลั่งน้ำอสุจิหลายครั้งต่อ ๆ กันเป็นเรื่องสามัญ[41] ในระหว่างการผสมพันธุ์ ตัวกินมดอีคิดนาประเภท Tachyglossus aculeatus จะใช้องคชาตแค่ครึ่งเดียวโดยสลับข้างกัน โดยที่อีกข้างหนึ่งจะไม่มีการทำงาน[42] เมื่อหมาป่าหลั่งน้ำอสุจิ การขยับสะโพก (ที่ทำเพื่อผสมพันธุ์) ครั้งสุดท้ายอาจจะใช้ระยะเวลายาวขึ้นเล็กน้อย[43]ลิงวอกปกติจะหลั่งน้ำอสุจิภายใน 15 วินาทีหลังจากเริ่มการร่วมเพศ[44] มีรายงานและคลิปวิดีโอของการหลั่งน้ำอสุจิที่เกิดขึ้นเองในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในน้ำเป็นครั้งแรก คือ ในโลมาปากขวดอินโดแปซิฟิกใกล้เกาะมิกุระ ประเทศญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2555[45]
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: การหลั่งน้ำอสุจิ |
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 การเร้าอารมณ์ทางเพศ (sexual stimulation) เป็นตัวกระตุ้นอะไรก็ได้ รวมทั้งสัมผัสทางกาย ที่เพิ่มและรักษาอารมณ์เพศ ซึ่งอาจนำไปสู่การหลั่งน้ำอสุจิและ/หรือจุดสุดยอดทางเพศในที่สุด ถึงแม้ว่าอารมณ์เพศอาจเกิดขึ้นได้โดยไม่ต้องอาศัยการกระตุ้น แต่จะถึงจุดสุดยอดทางเพศได้ ปกติต้องมีการกระตุ้นทางเพศ
- ↑ Waldinger, M.D., Quinn, P., Dilleen, M., Mundayat, R., Schweitzer, D.H., & Boolell, M. (2005). "A Multinational Population Survey of Intravaginal Ejaculation Latency Time". Journal of Sexual Medicine. 2 (4): 492–497. doi:10.1111/j.1743-6109.2005.00070.x. PMID 16422843.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Giuliano, F., Patrick, D., Porst, R., La Pera, G., Kokoszka, A., Merchant, S., Rothman, M., Gagnon, D., & Polverejan, E. (2008). "Premature Ejaculation: Results from a Five-Country European Observational Study". European Urology. 53 (5): 1048–1057. doi:10.1016/j.eururo.2007.10.015. PMID 17950985.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Bruce M. Koeppen, Bruce A. Stanton, (2008). Berne & Levy Physiology. Philadelphia, PA: Elsevier/Mosby. ISBN 978-0-323-04582-7.
{{cite book}}
: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์) CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Walter F. Boron, Emile L. Boulpaep, (2005). Medical Physiology: A Cellular and Molecular Approach. Philadelphia, PA: Elsevier/Saunders. ISBN 1-4160-2328-3.
{{cite book}}
: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์) CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Bolen, J. G., (1980-12-09). "The male orgasm: pelvic contractions measured by anal probe". Archives of Sexual Behavior. 9 (6): 503–21. doi:10.1007/BF01542155. PMID 7458658.
{{cite journal}}
: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์) CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Gerstenburg, T. C.; Levin, RJ; Wagner, G (1990). "Erection and ejaculation in man. Assessment of the electromyographic activity of the bulbocavernosus and ischiocavernosus muscles". British Journal of Urology. 65 (4): 395–402. doi:10.1111/j.1464-410X.1990.tb14764.x. PMID 2340374.
- ↑ Kinsey, A. C., Pomeroy, W. B., Martin, C. E. & Gebhard, P. H. (1998). Sexual Behavior in the Human Female. Indiana University Press. p. 634. ISBN 978-0-253-33411-4. สืบค้นเมื่อ 2013-11-07.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ 9.0 9.1 Masters, W.H., & Johnson, V.E. (1970). Human Sexual Response. Boston: Little, Brown and Company.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ premature ejaculation มีกำหนดรหัส ICD-10 เป็น F52.4 F52.4
- ↑ anorgasmia มีกำหนดรหัส ICD-10 เป็น F52.3 F52.3
- ↑ Dunn, M.E., & Trost, J.E. (1989). "Male Multiple Orgasms: A Descriptive Study". Archives of Sexual Behavior. 18 (5): 377–387. doi:10.1007/BF01541970. PMID 2818169.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Rehan N, Sobrero AJ, Fertig JW. (1975). "The semen of fertile men: statistical analysis of 1300 men". Fertility and Sterility. 26 (6): 492–502. PMID 1169171.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ 14.0 14.1 PMID 12127009 (PMID 12127009)
Citation will be completed automatically in a few minutes. Jump the queue or expand by hand - ↑ "Semen and sperm quality". Dr John Dean, netdoctor.co.uk. สืบค้นเมื่อ 2009-03-04.
- ↑ "Biological Basis of Heredity: Cell Reproduction". Dr. Dennis O'Neil, Behavioral Sciences Department, Palomar College, San Marcos, California. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-16. สืบค้นเมื่อ 2009-03-04.
- ↑ 17.0 17.1 17.2 "ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ oligospermia ว่า "เชื้ออสุจิน้อย", azoospermia ว่า "น้ำกามไร้ตัวอสุจิ", และ retrograde ว่า "ย้อนทาง, สวนทาง"
- ↑ 18.0 18.1 Janczewski, Z. and Bablok, L. (1985). "Semen Characteristics in Pubertal Boys". Archives of Andrology. 15 (2–3): 199–205. doi:10.3109/01485018508986912. PMID 3833078.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ c-fos เป็นโปรตีนที่ยีน FOS เข้ารหัส การแสดงออกของ c-fos เป็นตัวบ่งชี้โดยอ้อมของการทำงานในประสาทเพราะว่า c-fos มักจะมีการแสดงออกเมื่อนิวรอนยิงศักยะงาน
- ↑ proto-oncogene เป็นยีนปกติที่สามารถกลายเป็น oncogene คือยีนที่ก่อมะเร็งเนื่องจากการกลายพันธุ์และการแสดงออกของยีนที่มีเพิ่มผิดปกติ
- ↑ Sagar SM; และคณะ (1988). "Expression of c-fos protein in brain: metabolic mapping at the cellular level". Science. 240 (4857): 1328–1332. doi:10.1126/science.3131879. PMID 3131879.
{{cite journal}}
: ใช้ et al. อย่างชัดเจน ใน|author=
(help) - ↑ PMID 9370204 (PMID 9370204)
Citation will be completed automatically in a few minutes. Jump the queue or expand by hand - ↑ PMID 9638960 (PMID 9638960)
Citation will be completed automatically in a few minutes. Jump the queue or expand by hand - ↑ The Rough Guide to Sex retrieved February 2012
- ↑ 65+ --Gateway to Sexual Adventure: For Women and Men, Herb Hirata - 2012
- ↑ Andrology: Male Reproductive Health and Dysfunction - Page 317, E. Nieschlag, Hermann M. Behre, Susan Nieschlag - 2010
- ↑ 27.0 27.1 27.2 27.3 Dexter S (2010). "Benign coital headache relieved by partner's pregnancies with implications for future treatment". British Medical Journal.
- ↑ 28.0 28.1 28.2 28.3 Richard Balon, R. Taylor Segraves (2005). Handbook of sexual dysfunction. Informa Health Care. ISBN 978-0-8247-5826-4. สืบค้นเมื่อ 2009-05-11.
- ↑ 29.0 29.1 Waldinger MD, Meinardi M, Zwinderman A, Schweitzer, D. (April 2011). "Postorgasmic Illness Syndrome (POIS) in 45 Dutch Caucasian Males: Clinical Characteristics and Evidence for an Immunogenic Pathogenesis (Part 1)". The Journal of Sexual Medicine. doi:10.1111/j.1743-6109.2010.02166.x.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ "The Naked Scientists". 2010.
- ↑ Waldinger MD, Schweitzer DH (2002). content=a7l3847004?words=waldinger "Postorgasmic illness syndrome: two cases". J Sex Marital Ther. 28 (3): 251–5. doi:10.1080/009262302760328280. PMID 11995603.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่า|url=
(help) - ↑ Dimitropoulou, Polyxeni (November 11, 2008). "Sexual activity and prostate cancer risk in men diagnosed at a younger age". BJU International. 103 (2): 178–185. doi:10.1111/j.1464-410X.2008.08030.x. OCLC 10.1111/j.1464-410X.2008.08030.x. PMID 19016689.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่า|oclc=
(help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - ↑ "Masturbation Cuts Cancer Risk". BBC News Online. 2003-07-16. สืบค้นเมื่อ 2009-03-04., Giles GG, Severi G, English DR, Hopper JL. (2004). "Frequency of ejaculation and risk of prostate cancer". JAMA. 292 (3): 329. doi:10.1001/jama.292.3.329-a. PMID 15265846.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Leitzmann MF, Platz EA, Stampfer MJ, Willett WC, Giovannucci E. (2004). "Ejaculation frequency and subsequent risk of prostate cancer". JAMA. 291 (13): 1578–86. doi:10.1001/jama.291.13.1578. PMID 15069045.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Garnick, Marc (24 February 2011). "Does frequent ejaculation help ward off prostate cancer?". Harvard Medical School Prostate Knowledge. Harvard University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-06. สืบค้นเมื่อ 9 February 2013.
{{cite web}}
: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า :|coauthors=
(help) - ↑ "Masturbation 'cuts cancer risk'". BBC News. BBC. 16 July 2003. สืบค้นเมื่อ 9 February 2013.
{{cite news}}
: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า :|coauthors=
(help) - ↑ Bhattacharya, Shaoni (6 April 2004). "Frequent ejaculation may protect against cancer". New Scientist. UK: Reed Business Information. สืบค้นเมื่อ 9 February 2013.
{{cite news}}
: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า :|coauthors=
(help) - ↑ 38.0 38.1 38.2 Leitzmann MD, Michael F (7 April 2004). "Ejaculation Frequency and Subsequent Risk of Prostate Cancer". Journal of the American Medical Association. American Medical Association. 291 (13): 1578–86. doi:10.1001/jama.291.13.1578. PMID 15069045. สืบค้นเมื่อ 9 February 2013.
{{cite journal}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - ↑ Giles BSc, MSc, PhD, Graham G (August 2003). "Sexual factors and prostate cancer". BJU International. BJUI. 92 (3): 211–16. doi:10.1046/j.1464-410X.2003.04319.x. PMID 12887469.
{{cite journal}}
:|access-date=
ต้องการ|url=
(help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ 40.0 40.1 "New findings on prostate cancer risk and sexual activity". Cancer Council Victoria website. Cancer Council Victoria. 17 July 2003. สืบค้นเมื่อ 9 February 2013.
{{cite web}}
: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า :|coauthors=
(help) - ↑ Robert L. Smith (28 December 1984). Sperm Competition and the Evolution of Animal Mating systems. Elsevier. ISBN 978-0-323-14313-4. สืบค้นเมื่อ 19 April 2013.
- ↑ Johnston S.D., Smith B., Pyne M., Stenzel D., and Holt W.V. One-Sided Ejaculation of Echidna Sperm Bundles (Tachyglossus aculeatus) . Am. Nat. 2007. Vol. 170, p. E000. [AN:42629 ] doi:10.1086/522847
- ↑ L. David Mech; Luigi Boitani (1 October 2010). Wolves: Behavior, Ecology, and Conservation. University of Chicago Press. pp. 44–. ISBN 978-0-226-51698-1. สืบค้นเมื่อ 19 April 2013.
- ↑ The pursuit of pleasure. Transaction Publishers. 1992. ISBN 978-1-4128-3867-2. สืบค้นเมื่อ 19 April 2013.
- ↑ Morisaka, Tadamichi (27 August 2013). "Spontaneous Ejaculation in a Wild Indo-Pacific Bottlenose Dolphin (Tursiops aduncus)". PLoS ONE. 8 (8): e72879. doi:10.1371/journal.pone.0072879. สืบค้นเมื่อ 8 September 2013.
{{cite journal}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help)
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
- "Swimming Toward Conception: The Semen Analysis". Focus on Fertility, American Infertility Association and Organon Pharmaceuticals USA Inc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-12.
- Tim Glover (30 June 2012). Mating Males: An Evolutionary Perspective on Mammalian Reproduction. Cambridge University Press. pp. 105–. ISBN 978-1-107-00001-8. สืบค้นเมื่อ 28 May 2013.
- Robert L. Smith (28 December 1984). Sperm Competition and the Evolution of Animal Mating systems. Elsevier. ISBN 978-0-323-14313-4. สืบค้นเมื่อ 28 May 2013.
- Peter B. Gray (1 April 2013). Evolution and Human Sexual Behavior. Harvard University Press. pp. 9–. ISBN 978-0-674-07437-8. สืบค้นเมื่อ 28 May 2013.
- Michael D. Breed; Janice Moore (2010). Encyclopedia of Animal Behavior. Elsevier. ISBN 978-0-08-045336-1. สืบค้นเมื่อ 28 May 2013.