ความเสียวสุดยอดทางเพศ

(เปลี่ยนทางจาก จุดสุดยอดทางเพศ)

ความเสียวสุดยอดทางเพศ (อังกฤษ: orgasm) หรือ จุดสุดยอดทางเพศ (อังกฤษ: sexual climax) เป็นการปลดปล่อยความตึงเครียดทางเพศ (sexual tension) ที่สะสมมาอย่างฉับพลันระหว่างวงจรการสนองทางเพศ ส่งผลให้กล้ามเนื้อหดตัวเป็นจังหวะในบริเวณเชิงกรานอันมีลักษณะของสุขารมณ์ทางเพศ[1][2][3] พบทั้งในเพศชายและหญิง ความเสียวสุดยอดทางเพศควบคุมโดยระบบประสาทอิสระ มักสัมพันธ์กับการทำงานนอกอำนาจใจอื่น เช่น กล้ามเนื้อในหลายบริเวณของร่างกายหดเกร็ง รู้สึกเคลิ้มสุขทั่วไป และบ่อยครั้งมักแสดงการเคลื่อนไหวกายและเปล่งเสียง[2] ระยะหลังความเสียวสุดยอดทางเพศ (เรียก ระยะดื้อ) มักเป็นประสบการณ์ผ่อนคลาย เนื่องจากการปล่อยฮอร์โมนออกซีโทซิน (oxytocin) และโปรแลกติน ตลอดจนเอนดอร์ฟิน[4]

ความเสียวสุดยอดทางเพศของมนุษย์โดยปกติเป็นผลจากการกระตุ้นทางเพศกายภาพขององคชาตในชาย (ตรงแบบเกี่ยวข้องกับการหลั่งน้ำอสุจิ) และปุ่มกระสันในหญิง[2][5][6] การกระตุ้นทางเพศสามารถทำด้วยตัวเอง (การสำเร็จความใคร่ด้วยตัวเอง) หรือคู่เพศสัมพันธ์ก็ได้ (เพศสัมพันธ์แบบสอดใส่ เพศสัมพันธ์แบบไม่สอดใส่หรือกิจกรรมทางเพศอื่น)

ผลกระทบทางสุขภาพเกี่ยวกับความเสียวสุดยอดของมนุษย์มีหลากหลาย มีการสนองทางสรีรวิทยามากมายระหว่างกิจกรรมทางเพศ ซึ่งรวมสถานะผ่อนคลายโดยโปรแลกติน ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงในระบบประสาทส่วนกลาง เช่น มีกัมมันตภาพเมแทบอลิซึมของเปลือกสมองขนาดใหญ่ลดลงชั่วคราว แต่กัมมันตภาพเมแทบอลิซึมในบริเวณลิมบิกของสมองไม่เปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มขึ้น[7] นอกจากนี้ ยังมีการทำหน้าที่ผิดปกติทางเพศหลายอย่าง เช่น การขาดความเสียวสุดยอดทางเพศ (anorgasmia) ผลเหล่านี้ส่งผลต่อมุมมองทางวัฒนธรรมต่อความเสียวสุดยอดทางเพศ เช่น ความเชื่อว่า ความเสียวสุดยอดทางเพศและความถี่/ความต่อเนื่องของมันสำคัญหรือไม่เกี่ยวกับความพอใจในความสัมพันธ์ทางเพศ[8] และทฤษฎีเกี่ยวกับหน้าที่ทางชีววิทยาและวิวัฒนาการของความเสียวสุดยอดทางเพศ[9][10]

การสนองทางสรีรวิทยา แก้

เพศชาย แก้

เมื่อชายใกล้ความเสียวสุดยอดทางเพศระหว่างการกระตุ้นองคชาต จะมีความรู้สึกเคลิ้มสุขของประสาทกล้ามเนื้อเต้นเป็นจังหวะซึ่งรุนแรงและสำราญอย่างมาก การเต้นเหล่านี้เป็นชุดการเต้นเป็นจังหวะของกล้ามเนื้อบัลโบสปองจิโอซัส (bulbospongiosus) ซึ่งเริ่มในหูรูดทวารหนักแล้วแล่นไปยังปลายสุดองคชาต สุดท้ายการเต้นดังกล่าวมีความเร็วและแรงเพิ่มขึ้นเมื่อเข้าใกล้ความเสียวสุดยอดทางเพศ จนสุขารมณ์ "สูงราบ" (หรือเสียวสุดยอดทางเพศ) สุดท้ายซึ่งคงอยู่หลายวินาที[11] ความยาวของความเสียวสุดยอดทางเพศของชายประมาณไว้เฉลี่ย 10–15 วินาที แต่อาจกินเวลาได้ถึง 30 วินาที

ระหว่างความเสียวสุดยอดทางเพศนั้น จะเกิดการหดตัวเป็นจังหวะเร็วของหูรูดทวารหนัก ต่อมลูกหมากและกล้ามเนื้อขององคชาต อสุจิถูกส่งขึ้นจากหลอดนำอสุจิ (vas deferens) จากอัณฑะเข้าสู่ต่อมลูกหมาก เช่นเดียวกับผ่านถุงน้ำอสุจิเพื่อสร้างสิ่งที่เรียก น้ำอสุจิ[11] ต่อมลูกหมากผลิตสิ่งคัดหลั่งซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งของการหลั่งน้ำอสุจิ การหดตัวของหูรูดและต่อมลูกหมากบีบไล่น้ำอสุจิผ่านรูเปิดท่อปัสสาวะ ยกเว้นกรณีความเสียวสุดยอดทางเพศแห้ง กระบวนการดังกล่าวกินเวลาสามถึงสิบวินาที และให้ความรู้สึกสำราญ[12][13] [11] การหลั่งน้ำอสุจิอาจดำเนินต่อไปอีกไม่กี่วินาทีหลังการรู้สึกเคลิ้มสุขค่อย ๆ หายไป เชื่อว่า ความรู้สึกแน่ชัดของ "ความเสียวสุดยอดทางเพศ" แตกต่างกันไปในชายแต่ละคน[12] ปกติ เมื่อชายสูงอายุขึ้น ปริมาณน้ำอสุจิที่หลั่งจะลดลง และระยะของความเสียวสุดยอดทางเพศ แต่ปกติไม่มีผลต่อความแรงของสุขารมณ์ เพียงย่นช่วงเวลาเท่านั้น ปกติหลังการหลั่งน้ำอสุจิจะเกิดระยะดื้อ ซึ่งระหว่างนั้น ชายไม่สามารถบรรลุความเสียวสุดยอดทางเพศได้อีกครั้ง ระยะดื้อสามารถกินเวลาได้ตั้งแต่น้อยกว่าหนึ่งนาทีจนหลายชั่วโมงหรือวัน ขึ้นอยู่กับอายุและปัจจัยรายบุคคลอื่น[14][15][16]

เพศหญิง แก้

ความเสียวสุดยอดทางเพศของหญิงอาจกินเวลานานกว่าของชายเล็กน้อยหรือมาก[17][14][18][19] ความเสียวสุดยอดทางเพศของหญิงประมาณว่าเฉลี่ย 20 วินาที และประกอบด้วยกลุ่มการหดตัวของกล้ามเนื้อบริเวณเชิงกรานซึ่งรวมช่องคลอด มดลูกและทวารหนัก[18] สำหรับหญิงบางคน ในบางโอกาส การหดตัวเหล่านี้เริ่มไม่นานหลังหญิงนั้นรายงานว่าความเสียวสุดยอดทางเพศเริ่มและดำเนินต่อโดยมีช่วงห่างประมาณหนึ่งวินาทีซึ่งความแรงทีแรกเพิ่มขึ้นแล้วค่อยลดลง ในบางสถานการณ์ กลุ่มการหดตัวสม่ำเสมอดังกล่าวอาจตามด้วยการหดตัวหรือสั่นกระตุกโดยมีช่วงห่างไม่สม่ำเสมอเพิ่มอีกไม่กี่ครั้ง[18] ในกรณีอื่น หญิงรายงานว่ากำลังมีความเสียวสุดยอด แต่ไม่สามารถวัดการหดตัวของเชิงกรานได้[20]

ความเสียวสุดยอดทางเพศของหญิงเกิดขึ้นหลังการตั้งของปุ่มกระสันและการหลั่งน้ำหล่อลื่นทางเปิดของช่องคลอด หญิงบางคนแสดงเซ็กซ์ฟลัช (sex flush) คือ ผิวหนังเป็นพื้นที่กว้างของกายแดงขึ้นเนื่องจากเลือดไหลไปผิวหนังเพิ่มขึ้น เมื่อหญิงเข้าใกล้ความเสียวสุดยอดทางเพศ ส่วนหัวปุ่มกระสันร่นอยู่ใต้คลิตอรอลฮูด (clitoral hood) และแคมเล็กมีสีเข้มขึ้น เมื่อความเสียวสุดยอดเฉียด ด้านนอกหนึ่งในสามของช่องคลอดตึงและแคบขึ้น ขณะที่ช่องคลอดโดยรวมยาวขึ้นและขยายและเต็มแน่นด้วยเนื้อเยื่ออ่อนคั่งคัด[21]

ที่อื่นในกาย เซลล์สร้างเส้นใยกล้ามเนื้อของกลุ่มรวมหัวนม-ฐานหัวนม (areolar) หดตัว ทำให้เกิดการตั้งของหัวนมและลดเส้นผ่านศูนย์กลางของฐานหัวนม โดยมากที่สุดเมื่อเริ่มความเสียวสุดยอดทางเพศ[22] หญิงคนหนึ่งรู้สึกเสียวสุดยอดทางเพศเต็ม (full orgasm) เมื่อมดลูก ช่องคลอด ทวารหนักและกล้ามเนื้อเชิงกรานของเธอผ่านกลุ่มการหดตัวเป็นจังหวะ หญิงส่วนใหญ่เห็นว่าการหดตัวเหล่านี้สำราญอย่างยิ่ง

อ้างอิง แก้

  1. Masters, William H.; Johnson, Virginia E.; Reproductive Biology Research Foundation (U.S.) (1966). Human Sexual Response. Little, Brown. p. 366. ISBN 0-316-54987-8.
  2. 2.0 2.1 2.2 See 133–135 for orgasm information, and page 76 for G-spot and vaginal nerve ending information. Rosenthal, Martha (2012). Human Sexuality: From Cells to Society. Cengage Learning. ISBN 0618755713.
  3. "Orgasm". Health.discovery.com. สืบค้นเมื่อ 21 April 2010.
  4. Exton MS, Krüger TH, Koch M; และคณะ (April 2001). "Coitus-induced orgasm stimulates prolactin secretion in healthy subjects". Psychoneuroendocrinology. 26 (3): 287–94. doi:10.1016/S0306-4530(00)00053-6. PMID 11166491. {{cite journal}}: ใช้ et al. อย่างชัดเจน ใน |author2= (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  5. Wayne Weiten, Dana S. Dunn, Elizabeth Yost Hammer (2011). Psychology Applied to Modern Life: Adjustment in the 21st Century. Cengage Learning. p. 386. ISBN 1-111-18663-4. สืบค้นเมื่อ 5 January 2012.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  6. O'Connell HE, Sanjeevan KV, Hutson JM; Sanjeevan; Hutson (October 2005). "Anatomy of the clitoris". The Journal of Urology. 174 (4 Pt 1): 1189–95. doi:10.1097/01.ju.0000173639.38898.cd. PMID 16145367. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |laydate= ถูกละเว้น (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |laysource= ถูกละเว้น (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |layurl= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  7. Georgiadis JR, Reinders AA, Paans AM, Renken R, Kortekaas R; Reinders; Paans; Renken; Kortekaas (October 2009). "Men versus women on sexual brain function: prominent differences during tactile genital stimulation, but not during orgasm". Human Brain Mapping. 30 (10): 3089–101. doi:10.1002/hbm.20733. PMID 19219848.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  8. "Frequently Asked Sexuality Questions to the Kinsey Institute: Orgasm". iub.edu/~kinsey/resources. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-05. สืบค้นเมื่อ 3 January 2012.
  9. Geoffrey Miller (2011). The Mating Mind: How Sexual Choice Shaped the Evolution of Human Nature. Random House Digital. pp. 238–239. ISBN 0307813746. สืบค้นเมื่อ 27 August 2012.
  10. Wallen K, Lloyd EA.; Lloyd (May 2011). "Female sexual arousal: genital anatomy and orgasm in intercourse". Hormones and Behavior. 59 (5): 780–92. doi:10.1016/j.yhbeh.2010.12.004. PMC 3894744. PMID 21195073.
  11. 11.0 11.1 11.2 Dunn ME, Trost JE; Trost (October 1989). "Male multiple orgasms: a descriptive study". Archives of Sexual Behavior. 18 (5): 377–87. doi:10.1007/BF01541970. PMID 2818169.
  12. 12.0 12.1 Mah, K.; Binik, Y. M. (May 2002). "Do all orgasms feel alike? Evaluating a two-dimensional model of the orgasm experience across gender and sexual context". Journal of Sex Research. 39 (2): 104–13. doi:10.1080/00224490209552129. PMID 12476242.
  13. Komisaruk, B., & Whipple, B.; Whipple (2005). "Functional MRI of the brain during orgasm in women". Annual Review of Sex Research. 16: 62–86. PMID 16913288. สืบค้นเมื่อ 3 January 2012.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  14. 14.0 14.1 "The Sexual Response Cycle". University of California, Santa Barbara. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 July 2011. สืบค้นเมื่อ 6 August 2012 {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)CS1 maint: postscript (ลิงก์)
  15. Daniel L. Schacter; Daniel T. Gilbert; Daniel M. Wegner (2010). Psychology. Macmillan. p. 336. ISBN 1429237198. สืบค้นเมื่อ 10 November 2012.
  16. Irving B. Weiner; W. Edward Craighead (2010). The Corsini Encyclopedia of Psychology, Volume 2. John Wiley & Sons. p. 761. ISBN 0470170263. สืบค้นเมื่อ 10 November 2012.
  17. Rathus, Spencer A.; Nevid, Jeffrey S.; Fichner-Rathus, Lois; Herold, Edward S.; McKenzie, Sue Wicks (2005). Human Sexuality In A World Of Diversity (Second ed.). New Jersey, USA: Pearson Education.
  18. 18.0 18.1 18.2 Levin, Roy J.; Gorm Wagner (1985). "Orgasm in women in the laboratory—quantitative studies on duration, intensity, latency, and vaginal blood flow". Archives of Sexual Behavior. 14 (5): 439. doi:10.1007/BF01542004. สืบค้นเมื่อ 10 August 2010.
  19. "Women fall into 'trance' during orgasm". The Times. London. 20 June 2005. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-15. สืบค้นเมื่อ 6 August 2012.
  20. Bohlen, Joseph G.; James P. Held; Margaret Olwen Sanderson; Andrew Ahlgren (1982). "The female orgasm: Pelvic contractions". Archives of Sexual Behavior. 11 (5): 367. doi:10.1007/BF01541570. สืบค้นเมื่อ 10 August 2010.
  21. "Anatomic and physiologic changes during female sexual response". Clinical Proceedings. Association of Reproductive Health Professionals. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-08. สืบค้นเมื่อ 1 February 2007.
  22. Levin, Roy (2 May 2006). "The Breast/Nipple/Areola Complex and Human Sexuality". Sexual and Relationship Therapy. Routledge. 21 (1): 237–249. doi:10.1080/14681990600674674. สืบค้นเมื่อ 2 April 2011. Areola corrugation immediately after orgasm physically signals that orgasm has occurred