แนวร่วมปิตุภูมิ (ออสเตรีย)

แนวร่วมปิตุภูมิ (เยอรมันแบบออสเตรีย: Vaterländische Front; อักษรย่อ: VF) เป็นองค์กรทางการเมืองฝ่ายขวา อนุรักษนิยม ชาตินิยม และบรรษัทนิยม ที่ปกครองประเทศออสเตรียในระหว่าง ค.ศ. 1933–1938 โดยองค์กรได้อ้างตนเป็นขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด และมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวมประชากรออสเตรียทั้งปวง และเอาชนะความแตกแยกทางการเมืองและสังคม[25] แนวร่วมปิตุภูมิก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 1933 โดยนายกรัฐมนตรีจากพรรคสังคมคริสตชน เอ็งเงิลแบร์ท ด็อลฟูส ในฐานะพรรคการเมืองตามกฎหมายเพียงหนึ่งเดียวของประเทศ โดยองค์กรได้รับการจัดระเบียบตามแนวทางของลัทธิฟาสซิสต์อิตาลีและสอดคล้องกับหลักการของโรมันคาทอลิก อีกทั้งยังไม่สนับสนุนการเหยียดเชื้อชาติเหมือนอย่างที่ฟาสซิสต์อิตาลีทำในภายหลังด้วย แนวร่วมปิตุภูมิสนับสนุนชาตินิยมออสเตรีย และความเป็นเอกราชจากเยอรมนีบนพื้นฐานแห่งการปกป้องเอกลักษณ์ทางศาสนาแบบคาทอลิกออสเตรียจากสิ่งที่พวกเขาพิจารณาว่าเป็นรัฐเยอรมันโปรเตสแตนท์[26]

แนวร่วมปิตุภูมิ
Vaterländische Front
ชื่อย่อVF
ผู้นำกลางเอ็งเงิลแบร์ท ด็อลฟูส
(ค.ศ. 1933–1934)[1]
แอ็นสท์ รือดีเกอร์ ชตาเริมแบร์ค
(ค.ศ. 1934–1936)[2][3]
คำขวัญ"Österreich, erwache!"[4]
(ออสเตรีย จงตื่นเถิด!)
ก่อตั้ง20 พฤษภาคม ค.ศ. 1933 (1933-05-20)[5]
ถูกแบน13 มีนาคม ค.ศ. 1938 (1938-03-13)
รวมตัวกับพรรคสังคมคริสตชน, ลันท์บันท์
ไฮม์แวร์ และกลุ่มอื่น ๆ[6]
ที่ทำการอัมฮ็อฟ 4 เวียนนา สหพันธรัฐออสเตรีย
ฝ่ายเยาวชนเอิสเตอร์ไรชิชยุงว็อล์ค[7]
กองกำลังกึ่งทหารชตรุมคอร์[8][9][10]
สมาชิกภาพ3,000,000 คน (ป. ค.ศ. 1937)[11]
อุดมการณ์
จุดยืนฝ่ายขวา[23] สู่ขวาจัด[ต้องการอ้างอิง]
ศาสนาโรมันคาทอลิก
สี  สีแดง   สีเขียว   สีขาว
เพลงลีดเดอร์จูเกินท์ [de][24]
ธงประจำพรรค

ธงรูปแบบอื่น:

การเมืองออสเตรีย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

แนวร่วมปิตุภูมิเกิดจากการรวมตัวของพรรคสังคมคริสตชนของด็อลฟูส สันนิบาตกสิกรรมลันท์บันท์ และกองกำลังกึ่งทหารฝ่ายขวาไฮม์แวร์ ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่ต่อต้านลัทธิมากซ์ ทุนนิยมแบบปล่อยให้ทำไป และประชาธิปไตยเสรีนิยมทั้งสิ้น องค์กรได้ก่อตั้งระบอบอำนาจนิยมและบรรษัทนิยมในสหพันธรัฐออสเตรีย ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในภาษาเยอรมันว่า Ständestaat ("รัฐบรรษัทนิยม") สำหรับมโนทัศน์การปกครองและสังคมขององค์กรดำเนินการตามอย่างหลักคำสอนทางสังคมในสารสันตะปาปากวาดราเจซิโมอันโน ค.ศ. 1931 ของสมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 11[17][27] มีการสั่งห้ามและข่มเหงฝ่ายค้านทางการเมืองทั้งหมดของแนวร่วมปิตุภูมิ อันประกอบด้วยพรรคคอมมิวนิสต์ พรรคประชาธิปไตยสังคมนิยม (ซึ่งต่อสู้กับองค์กรในสงครามกลางเมืองเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1934) และพรรคนาซีออสเตรีย (ซึ่งต้องการรวมประเทศเข้ากับเยอรมนี)[28] เมื่อนายกรัฐมนตรีด็อลฟูสถูกนักการเมืองนาซีลอบสังหารในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1934 ตำแหน่งหัวหน้าแนวร่วมและนายกรัฐมนตรีออสเตรียจึงได้รับการสืบต่อโดยควร์ท ชุชนิค ผู้ซึ่งปกครองประเทศจนกระทั่งพวกนาซีบังคับให้เขาลาออกในวันที่ 11 มีนาคม ค.ศ. 1938 และออสเตรียจึงถูกผนวกรวมกับเยอรมนีนาซีในวันถัดมา

บทบาทของแนวร่วมปิตุภูมิเป็นที่ถกเถียงกันในประวัติศาสตร์นิพนธ์ออสเตรียช่วงหลังสงคราม โดยขณะที่นักประวัติศาสตร์จำนวนมากพิจารณาว่าองค์กรเป็นตัวแทนแห่งชาวออสเตรียและลัทธิฟาสซิสต์เคร่งศาสนจักรคาทอลิก (หรือที่เรียกว่า "ฟาสซิสต์ออสเตรีย") และมีส่วนต้องรับผิดชอบต่อความล้มเหลวของระบอบประชาธิปไตยเสรีนิยมในออสเตรีย นักประพันธ์ฝ่ายขวาจัดได้มองว่าองค์กรมีส่วนอย่างแข็งขันสำหรับการปกป้องเอกราชของประเทศและการต่อต้านระบอบนาซี[29]

ผู้สนับสนุนชุชนิค (คนในรูปโปสเตอร์) กำลังรณรงค์เพื่อเอกราชของออสเตรียบนรถบรรทุกในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1938 (ก่อนเหตุการณ์อันชลุสเพียงไม่นาน)

อ้างอิง

แก้
  1. "AUSTRIA: Death for Freedom". Time. 6 สิงหาคม 1934. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2012. สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2010.
  2. Der Vizekanzler – Führer der Vaterländischen Front. ใน Neue Freie Presse, 31 กรกฎาคม 1934 (ภาษาเยอรมัน).
  3. Dr. v. Schuschnigg über die Führung der V. F. ใน Neue Freie Presse, 16 พฤษภาคม 1936 (ภาษาเยอรมัน).
  4. Jelavich, Barbara (1987). Modern Austria: Empire and Republic, 1815-1986. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. p. 200.
  5. Vaterländische Front, AEIOU, in: Austria-Forum, das Wissensnetz. 10 มีนาคม 2017
  6. Bundesgesetz über die „Vaterländische Front“. In: BGBl 1936/160. Wien 20. Mai 1936 (Online auf ALEX).
  7. Johanna Gehmacher: youth without a future. Hitler Youth and the Federation of German Girls in Austria before 1938, Picus, Vienna 1994, ISBN 3-85452-253-3, pp. 401–420 (dissertation Uni Wien 1993, under the title: National Socialist Youth Organizations in Austria, 479 pages).
  8. Robert Kriechbaumer (2002), Ein vaterländisches Bilderbuch: Propaganda, Selbstinszenierung und Ästhetik der Vaterländischen Front 1933–1938, Schriftenreihe des Forschungsinstitutes für politisch-historische Studien der Dr.-Wilfried-Haslauer-Bibliothek 17 Robert Kriechbaumer, Hubert Weinberger, Franz Schausberger (ภาษาเยอรมัน), เวียนนา: Böhlau, p. 48, ISBN 978-3-205-77011-4
  9. Emmerich Tálos (2013), Das austrofaschistische Herrschaftssystem: Österreich 1933–1938, Politik und Zeitgeschichte 8 (ภาษาเยอรมัน) (2 ed.), Münster: LIT Verlag, p. 226, doi:10.1093/ehr/cew289, ISBN 978-3-643-50494-4
  10. Arnd Bauerkämper, Grzegorz Rossoliński-Liebe, บ.ก. (2017), Fascism without Borders: Transnational Connections and Cooperation between Movements and Regimes in Europe from 1918 to 1945 (ภาษาเยอรมัน), นครนิวยอร์ก: Berghahn Books, p. 174, doi:10.2307/j.ctvw04hnr, ISBN 978-1-78533-469-6, JSTOR j.ctvw04hnr
  11. Payne, Stanley G. (1995). A History of Fascism, 1914–1945. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน. p. 249. ISBN 9780299148706.
  12. Seymour M. Lipset, "Social Stratification and 'Right-Wing Extremism'" British Journal of Sociology 10#4 (1959), pp. 346-382 on-line
  13. Günter J. Bischof, Anton Pelinka, Alexander Lassner. The Dollfuss/Schuschnigg Era in Austria: A Reassessment. Piscataway, NJ: Transaction Publishers, 2001. p. 26.
  14. Ryschka, Birgit (1 มกราคม 2008). Constructing and Deconstructing National Identity: Dramatic Discourse in Tom Murphy's The Patriot Game and Felix Mitterer's In Der Löwengrube. Peter Lang. ISBN 9783631581117 – โดยทาง กูเกิลบุ๊คส์.
  15. Payne, Stanley G. (1995), A History of Fascism, 1914–1945, แมดิสัน: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน, p. 58
  16. Binder, Dieter A. (2009). The Christian Corporatist State: Austria from 1934 to 1938. Austria in the Twentieth Century. Transaction Publishers. p. 75.
  17. 17.0 17.1 Pyrah (2008). Enacting Encyclicals? Cultural Politics and 'Clerical Fascism' in Austria. p. 162.
  18. Stanley G. Payne (1984). Spanish Catholicism: An Historical Overview. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน. p. xiii. ISBN 978-0-299-09804-9.
  19. Badie, Bertrand; Berg-Schlosser, Dirk; Morlino, Leonardo, บ.ก. (7 September 2011). International Encyclopedia of Political Science. SAGE Publications (ตีพิมพ์ 2011). ISBN 9781483305394. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2020. [...] fascist Italy [...] developed a state structure known as the corporate state with the ruling party acting as a mediator between 'corporations' making up the body of the nation. Similar designs were quite popular elsewhere in the 1930s. The most prominent examples were Estado Novo in Portugal (1932-1968) and Brazil (1937-1945), the Austrian Standestaat (1933-1938), and authoritarian experiments in Estonia, Romania, and some other countries of East and East-Central Europe.
  20. Pelinka, Anton (2017). The Dollfuss/Schuschnigg Era in Austria: A Reassessment. Routledge. p. 249.
  21. H.R. Trevor-Roper, "The Phenomenon of Fascism", in S. Woolf (ed.), Fascism in Europe (London: Methuen, 1981), especially p. 26. Cited in Roger Eatwell, "Reflections on Fascism and Religion" เก็บถาวร 2007-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  22. Kriechbaumer, Robert, บ.ก. (2005). Österreich! und Front Heil!: aus den Akten des Generalsekretariats der Vaterländischen Front; Innenansichten eines Regimes (ภาษาเยอรมัน). เวียนนา: Böhlau Verlag. p. 39. ISBN 9783205773245. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2017.
  23. "1934 to 1938: Ständestaat in the Name of "God, the Almighty"". City of Vienna. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2019. His politics were supported by the Fatherland Front, a reservoir for nationalist, Christian and generally right-wing conservative forces.
  24. Erlebte Geschichte (Autobiografie, geschrieben 2000), Seite 173 (online).
  25. Thuswaldner, Gregor (2006). "Dollfuss, Engelbert (1892–1934)". ใน Domenico, Roy Palmer; Hanley, Mark Y. (บ.ก.). Encyclopedia of Modern Christian Politics. สำนักพิมพ์กรีนวู๊ด. p. 174.
  26. Atsuko Ichijō, Willfried Spohn. Entangled identities: nations and Europe. Ashgate Publishing, Ltd., 2005, p. 61.
  27. Binder, Dieter A. (2009). The Christian Corporatist State: Austria from 1934 to 1938. Austria in the Twentieth Century. Transaction Publishers. p. 75.
  28. Binder (2009). The Christian Corporatist State. p. 73.
  29. Tálos, Emmerich; Neugebauer, Wolfgang (2014). "Vorwort". Austrofaschismus: Politik, Ökonomie, Kultur, 1933-1938 (7th ed.). Lit Verlag. pp. 1–2.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้