อำเภอท่าปลา
ท่าปลา (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดอุตรดิตถ์ เดิมสังกัดอยู่กับจังหวัดน่าน ต่อมาได้มีการย้ายมาสร้างเขตอำเภอใหม่ภายหลังจากสร้างเขื่อนสิริกิติ์ และขึ้นสังกัดอยู่กับจังหวัดอุตรดิตถ์จนปัจจุบัน ท่าปลา เป็นอำเภอเดียวที่ประชาชนส่วนหนึ่งพูดภาษาเหนือในจังหวัดอุตรดิตถ์ และกระจุกอยู่ในหมู่บ้านเขตผังที่ดินจัดสรรสำหรับประชาชนของหมู่บ้านที่โดนเวนคืนที่ดินสำหรับสร้างเขื่อน มีวัฒนธรรมคล้ายจังหวัดน่าน และเป็นแหล่งอารยธรรมและอดีตดินแดนล้านนาตะวันออก มีพื้นที่ 1,366.445 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 854,028.125 ไร่) ลักษณะส่วนใหญ่เป็นที่ราบที่อยู่ระหว่างเนินเขาและภูเขา มีอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์อยู่ตอนกลางเป็นพื้นที่แหล่งน้ำ 284.8 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่ของอำเภออยู่ในการดูแลของนิคมสร้างตนเองลำน้ำน่าน เขตอุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า และเขตป่าสงวนแห่งชาติ โดยมีพื้นที่ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของประชาชนน้อยมาก
อำเภอท่าปลา | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Tha Pla |
เขื่อนสิริกิติ์ หรือที่ชื่อท้องถิ่นว่า เขื่อนท่าปลา | |
คำขวัญ: ธาราเขียวขจี นารีอ่อนหวาน เขื่อนตระการตา ปลาอุดมสมบูรณ์ | |
แผนที่จังหวัดอุตรดิตถ์ เน้นอำเภอท่าปลา | |
พิกัด: 17°47′35″N 100°22′38″E / 17.79306°N 100.37722°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | อุตรดิตถ์ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 1,366.445 ตร.กม. (527.587 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 42,967 คน |
• ความหนาแน่น | 31.44 คน/ตร.กม. (81.4 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 53150 (ไปรษณีย์ท่าปลา - เฉพาะตำบลจริม ตำบลท่าปลา ตำบลนางพญา ตำบลน้ำหมัน และพื้นที่หมู่ 4-8 ตำบลหาดล้า), 53190 (ไปรษณีย์ร่วมจิต - เฉพาะตำบลผาเลือด ตำบลร่วมจิต และพื้นที่หมู่ 1-3, 9 ตำบลหาดล้า) |
รหัสภูมิศาสตร์ | 5303 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอท่าปลา หมู่ที่ 1 ตำบลท่าปลา อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ 53150 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอท่าปลามีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียงดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอสูงเม่น อำเภอเมืองแพร่ (จังหวัดแพร่) และอำเภอนาหมื่น (จังหวัดน่าน)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอน้ำปาด
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอน้ำปาด อำเภอทองแสนขัน และอำเภอเมืองอุตรดิตถ์
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ และอำเภอเด่นชัย (จังหวัดแพร่)
ประวัติ
แก้ชื่อเดิมเรียกว่า "ทับป่า" ขึ้นอยู่กับเมืองน่านในสมัยที่เมืองน่านยังมีเจ้าเมืองเป็นผู้ครองนครน่านเมื่อประมาณร้อยปีเศษ โดยรวมแขวงศีรษะเกษกับแขวงท่าปลาเข้าด้วยกันเป็นเขตน่าน ต่อมาในปี พ.ศ. 2466 จึงแยกมาขึ้นกับจังหวัดอุตรดิตถ์ ตามตำนานเคยมีสถานที่ริมแม่น้ำน่าน มีหินใสสีขาวเหมือนตาปลาอยู่ในน้ำลึก เชื่อว่าหินนี้ศักดิ์สิทธิ์มาก ในวันสงกรานต์จะทำพิธีบวงสรวงแล้วจึงจะนำหินไปสกัดและ เรียกบริเวณนี้ว่า "บ่อแก้วตาปลา" ต่อมาเรียกเพี้ยนเป็น "แก้วท่าปลา" และหมู่บ้านนี้เรียกต่อมาว่า "บ้านท่าปลา" ซึ่งเป็นคำเมืองหมายถึงรอปลาขึ้นและจับปลา
และเมื่อปี พ.ศ. 2513 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยกรมชลประทานได้เปิดโครงการพัฒนาลุ่มน้ำน่านและก่อสร้างเขื่อนสิริกิติ์[1][2][3] ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ พื้นที่อำเภอบางส่วนกลายเป็นอ่างเก็บน้ำ ราษฎรต้องอพยพออกมาตั้งรกรากถิ่นฐานใหม่บนพื้นที่จัดสรรของนิคมสร้างตนเองลำน้ำน่าน กรมประชาสงเคราะห์[4][5] ที่ว่าการอำเภอท่าปลาซึ่งเดิมตั้งอยู่ในเขตหมู่ที่ 3 ตำบลท่าปลา ถูกผลกระทบจากการก่อสร้างตามโครงการฯ จึงได้ปรับย้ายมาตั้งที่ทำการแห่งใหม่อยู่ในเขตหมู่ที่ 1 ซึ่งเป็นพื้นที่จัดสรรของนิคมสร้างตนเองลำน้ำน่านอยู่จนทุกวันนี้
- วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2450 ยกเลิกบริเวณน่านใต้ และรวมเมืองท่าปลา เมืองท่าแฝก และเมืองผาเลือด ตั้งเป็นแขวงเรียกว่า แขวงท่าปลา[6] ตั้งที่ว่าการแขวงที่เมืองท่าปลา
- วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2465 เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดน่านกับจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยโอนพื้นที่อำเภอท่าปลา จังหวัดน่าน มาขึ้นกับจังหวัดอุตรดิตถ์[7] และกำหนดเป็นอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์
- วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2490 ตั้งตำบลจริม แยกออกจากตำบลท่าปลา[8]
- วันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2500 จัดตั้งสุขาภิบาลท่าปลา ในท้องที่บางส่วนของตำบลท่าปลา[9]
- วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 ยุบสุขาภิบาลท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์[10] เนื่องจากท้องถิ่นภายในเขตสุขาภิบาลดังกล่าวเป็นเขตน้ำท่วมถึง และทางราชการได้อพยพราษฎรในเขตสุขาภิบาลออกไปอยู่ในเขตท้องที่ตำบลอื่น ท้องถิ่นแห่งนี้จึงหมดสภาพอันสมควรที่จะให้มีฐานะเป็นสุขาภิบาล
- วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2516 จัดตั้งสุขาภิบาลท่าปลา ในท้องที่หมู่ 27–28, 33 ตำบลน้ำหมัน[11]
- วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2516 โอนพื้นที่หมู่ 8–11 (ในขณะนั้น) ของตำบลหาดล้า และพื้นที่หมู่ 10 (ในขณะนั้น) ของตำบลท่าแฝก ไปตั้งเป็นหมู่ที่ 33–36 ของตำบลน้ำหมัน กับโอนพื้นที่หมู่ 1–2 (ในขณะนั้น) ของตำบลจริม ไปตั้งเป็นหมู่ 5,6 ของตำบลท่าแฝก กับโอนพื้นที่หมู่ 7–9 (ในขณะนั้น) ของตำบลท่าปลา ไปตั้งเป็นหมู่ 10–12 ของตำบลผาเลือด[12] ทำให้ท้องที่ตำบลหาดล้า ตำบลจริม และตำบลท่าปลา ไม่มีหมู่บ้านเหลืออยู่ จึงหมดความจำเป็นที่จะให้ตั้งเป็นตำบล จึงให้ยุบตำบลหาดล้า ตำบลจริม และตำบลท่าปลา[13] และตั้งตำบลท่าปลา (ใหม่) ตำบลจริม (ใหม่) และตำบลหาดล้า (ใหม่) แยกออกจากตำบลน้ำหมัน[14] ภายในวันเดียวกัน
- วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2517 โอนการจัดการทรัพย์สิน หนี้ สิทธิ และสิทธิเรียกร้องของสุขาภิบาลท่าปลา ปี พ.ศ. 2500[9] และถูกยุบปี พ.ศ. 2513[10] มาเป็นของสุขาภิบาลท่าปลา (ใหม่) ที่ตั้งขึ้นปี พ.ศ. 2516[11] และโอนท้องที่สุขาภิบาลท่าปลาจากตำบลน้ำหมัน มาขึ้นตำบลท่าปลา[14][15]
- วันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2519 ตั้งที่ทำการไปรษณีย์ท่าปลา[16] ท้องที่อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์
- วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2521 ตั้งตำบลนางพญา แยกออกจากตำบลท่าปลา[17]
- วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2523 เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอเมืองอุตรดิตถ์กับอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยโอนพื้นที่ตำบลร่วมจิตร (ตำบลร่วมจิต) อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ มาขึ้นกับอำเภอท่าปลา[18]
- วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2524 ตั้งที่ทำการไปรษณีย์ผาเลือด[19] ท้องที่อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์
- วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2526 จัดตั้งสุขาภิบาลร่วมจิต ในท้องที่หมู่ 1–3 ตำบลร่วมจิต[20]
- วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2535 ย้ายที่ทำการไปรษณีย์ผาเลือด จากตำบลผาเลือด มาตั้งที่ตำบลร่วมจิต และเปลี่ยนแปลงชื่อที่ทำการไปรษณีย์ผาเลือด อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็น ที่ทำการไปรษณีย์ร่วมจิต[21]
- วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลท่าปลา และสุขาภิบาลร่วมจิต เป็นเทศบาลตำบลท่าปลา และเทศบาลตำบลร่วมจิต ตามลำดับ[22] ด้วยผลของกฎหมาย
- วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลจริม จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็น เทศบาลตำบลจริม[23]
- วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอท่าปลากับอำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยโอนพื้นที่ตำบลท่าแฝก อำเภอท่าปลา ไปขึ้นกับอำเภอน้ำปาด[24]
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอท่าปลาแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 ตำบล 76 หมู่บ้าน ได้แก่
ลำดับ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[25] |
---|---|---|---|---|
1. | ท่าปลา | Tha Pla | 12
|
8,223
|
2. | หาดล้า | Hat La | 9
|
4,446
|
3. | ผาเลือด | Pha Lueat | 13
|
6,596
|
4. | จริม | Charim | 13
|
8,406
|
5. | น้ำหมัน | Nam Man | 12
|
6,920
|
6. | นางพญา | Nang Phaya | 6
|
2,673
|
7. | ร่วมจิต | Ruam Chit | 11
|
5,469
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอท่าปลาประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 9 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลท่าปลา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าปลา เฉพาะหมู่ที่ 1 และบางส่วนของหมู่ที่ 6, 8
- เทศบาลตำบลร่วมจิต ครอบคลุมพื้นที่ตำบลร่วมจิต เฉพาะหมู่ที่ 1, 4 และบางส่วนของหมู่ที่ 2–3, 10–11
- เทศบาลตำบลจริม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลจริมทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่าปลา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าปลา เฉพาะหมู่ที่ 2–5, 7, 9–12 และบางส่วนของหมู่ที่ 6, 8
- องค์การบริหารส่วนตำบลหาดล้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหาดล้าทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลผาเลือด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลผาเลือดทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำหมัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลน้ำหมันทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลนางพญา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนางพญาทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลร่วมจิต ครอบคลุมพื้นที่ตำบลร่วมจิต เฉพาะหมู่ที่ 5–9 และบางส่วนของหมู่ที่ 2–3, 10–11
อ้างอิง
แก้- ↑ "พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลส้าน ตำบลไหล่น่าน ตำบลขึ่ง ตำบลน้ำมวบ อำเภอสา ตำบลศรีสะเกษ ตำบลสถาน ตำบลเชียงของ ตำบลบ่อแก้ว ตำบลนาทะนุง อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน และตำบลท่าแฝก ตำบลหาดล้า ตำบลจริม ตำบลท่าปลา ตำบลน้ำหมัน ตำบลผาเลือด อำเภอท่าปลา ตำบลหาดงิ้ว ตำบลแสนตอ ตำบลบ้านด่าน ตำบลผาจุก ตำบลบ้านด่านนาขาม ตำบลงิ้วงาม ตำบลน้ำริด ตำบลท่าเสา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ พ.ศ. ๒๕๐๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 79 (110 ก): (ฉบับพิเศษ) 30-33. วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2505
- ↑ "พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน และอำเภอท่าปลา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ พ.ศ. ๒๕๑๑" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 85 (85 ก): 642–644. วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2511
- ↑ "พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่อำเภอท่าปลาและอำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ พ.ศ. ๒๕๑๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 86 (117 ก): 1099–1101. วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2513
- ↑ "ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๕๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 89 (190 ก): 259–260. วันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2515
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมสร้างตนเอง ในท้องที่อำเภอท่าปลา และอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ พ.ศ. ๒๕๒๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 102 (146 ก): (ฉบับพิเศษ) 4-5. วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2528
- ↑ "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 24 (23): 572. วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2450
- ↑ "ประกาศ โอนอำเภอท่าปลาจากจังหวัดน่านมาขึ้นจังหวัดอุตรดิฐ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 39 (0 ก): 55. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-01. สืบค้นเมื่อ 2019-07-13. วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2465
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (46 ง): 2507–2533. วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2490
- ↑ 9.0 9.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลท่าปลา อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตตรดิตถ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 74 (10 ง): (ฉบับพิเศษ) 63-64. วันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2500
- ↑ 10.0 10.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยุบสุขาภิบาลท่าปลา อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 87 (105 ง): 3182. วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513
- ↑ 11.0 11.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลท่าปลา อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (147 ง): 3819–3821. วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2516
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (170 ง): (ฉบับพิเศษ) 27-31. วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2516
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยุบตำบลในท้องที่อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (170 ง): (ฉบับพิเศษ) 32. วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2516
- ↑ 14.0 14.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (170 ง): (ฉบับพิเศษ) 33-42. วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2516
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดการทรัพย์สิน หนี้ สิทธิ และสิทธิเรียกร้องของสุขาภิบาลท่าปลา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (58 ง): 799–800. วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2517
- ↑ "ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง ตั้งที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขหนองโดน, สามโก้, บางบาล, บ้านแพรก, ปลวกแดง, วังน้ำเย็น, สนามชัยเขต, ขามทะเลสอ, จอหอ, ไพรบึง, หนองบัวแดง, น้ำยืน, ดอนตาล, ปทุมรัตต์, ศรีธาตุ, ห้วยเม็ก, แวงน้อย, สะเมิง, แม่วัง, ป่าแดด, ฟากท่า, ท่าปลา, ชาติตะการ, บ่อพลอย, ท่าฉลอม, เขาพระ, เหนือคลอง, ทุ่งใหญ่, บ้านตาขุน, บ้านนาเดิม, เก้าเส้ง, ควนกาหลง, หนองจิกและยะรัง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 93 (150 ง): 3685–3686. วันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2519
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอท่าปลาและอำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 95 (76 ง): 2446–2451. วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2521
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ กับอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ พ.ศ. ๒๕๒๓" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 97 (139 ก): (ฉบับพิเศษ) 7-8. วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2523
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลหางดง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 74 (4 ง): (ฉบับพิเศษ) 31-32. วันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2500
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลร่วมจิต อำเภอท่าปลา จังหวัดอุดรดิตถ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (197 ง): 4689–4690. วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2526
- ↑ "ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง ย้ายสถานที่ตั้งและเปลี่ยนชื่อที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขผาเลือด" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (153 ง): 13647. วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2535
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2022-04-16 – โดยทาง ให้บรรดาสุขาภิบาลตามกฎหมายว่าด้วยสุขาภิบาลที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีฐานะเป็นเทศบาลตำบลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาลในพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
- ↑ "จัดตั้งเทศบาลจากองค์การบริหารส่วนตำบล จริม เป็น เทศบาลตำบลจริม".
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 - ↑ "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนเขตอำเภอท่าปลากับอำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ พ.ศ. ๒๕๕๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 132 (10 ก): 62–64. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-02-13. สืบค้นเมื่อ 2016-07-04. วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
- ↑ "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- แหล่งท่องเที่ยวในอำเภอท่าปลา เก็บถาวร 2007-06-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน