อารยะ ชุมดวง
นายอารยะ ชุมดวง อดีตเลขาธิการพรรคมวลชน อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุโขทัย ได้รับการเลือกตั้งครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 สังกัดพรรคปวงชนชาวไทย
อารยะ ชุมดวง | |
---|---|
![]() | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 21 ตุลาคม พ.ศ. 2498 |
พรรค | ชาติไทยพัฒนา (2550-2561) เพื่อไทย (2561-ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | วาสนา ชุมดวง |
ประวัติแก้ไข
อารยะ ชุมดวง เกิดเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2498 เป็นบุตรคนสุดท้องของบุญธรรม ชุมดวง อดีต ส.ส.สุโขทัย กับนางวิเวียน ชุมดวง สำเร็จการศึกษา สาขาการปกครอง จากวิทยาลัยเคอร์รี่ สหรัฐอเมริกา สมรสกับนางวาสนา ชุมดวง
การทำงานแก้ไข
อารยะ ชุมดวง ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุโขทัย ครั้งแรกในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2526 สังกัดพรรคปวงชนชาวไทย สมัยที่สอง ในปี พ.ศ. 2529 สังกัดพรรคสหประชาธิปไตย สมัยที่สาม ในปี พ.ศ. 2535/2 และสมัยที่สี่ พ.ศ. 2539 สังกัดพรรคมวลชน อารยะ ชุมดวง เคยเป็นเลขาธิการพรรคมวลชน ในช่วงที่มีร้อยตำรวจเอกเฉลิม อยู่บำรุง เป็นหัวหน้าพรรค และเป็น 1 ใน 2 ส.ส.ของพรรคมวลชน ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2539 ต่อมาได้ย้ายมาสังกัดพรรคชาติไทย และพรรคชาติไทยพัฒนา และได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 5 ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550
ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 นายอารยะ ได้ลงสมัครในเขตเลือกตั้งที่ 4 จังหวัดสุโขทัย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[1]
ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 นายอารยะ ไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง แต่ให้การสนับสนุนผู้สมัครของพรรคเพื่อไทย[2]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2542 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ ชาติไทยพัฒนา ระบุผู้ว่าฯ สุโขทัยวางตัวไม่เป็นกลาง[ลิงก์เสีย]
- ↑ ‘หญิงหน่อย’ลุยสุโขทัย! สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ชาวบ้านอวยหนุนนั่ง‘นายกรัฐมนตรี’
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๓, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๙, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒