สมเด็จพระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดี

กษัตริย์กัมพูชา
(เปลี่ยนทางจาก องค์ด้วง)

สมเด็จพระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดี หรือ นักองด้วง หรือ พระองค์ด้วง (เขมร: ព្រះបាទ អង្គ ឌួង; พระบาทองค์ด้วง) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 108 แห่งกัมพูชา

พระบาทสมเด็จพระหริรักษ์รามาธิบดี
รูปหล่อของพระบาทสมเด็จพระนโรดม หริรักษ์รามาธิบดี
พระมหากษัตริย์แห่งกัมพูชา
ครองราชย์พ.ศ. 2383 – 19 ตุลาคม 2403
ราชาภิเษก7 มีนาคม 2391
ก่อนหน้าพระองค์เจ้ามี
ถัดไปพระบาทสมเด็จพระนโรดม
พระราชสมภพ12 มิถุนายน พ.ศ. 2339
อุดงมีชัย อาณาจักรเขมร
สวรรคต19 ตุลาคม พ.ศ. 2403 (64 พรรษา)
อุดงมีชัย อาณาจักรเขมร
พระราชบุตรพระบาทสมเด็จพระนโรดม
พระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์
พระนามเต็ม
องค์พระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดี ศรีสุริโยประพันธ์ ธรรมิศวโรดม บรมศิรินทร บวรมหาจักรพรรดิราช พิกาศนารถบพิตร สถิตยเป็นอิศรกัมพูชารัตนราช โอภาศชาติวรวงศ์ ดำรงกัมพูชามหาประเทศราชนคร บวรวิวัฒนาดิเรก เอกอัครมหาเขมราธิบดินทร นรินทรวิสุทธิอุดม บรมบพิตร
ราชวงศ์ตรอซ็อกผแอม
พระราชบิดาสมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดีศรีสุริโยพรรณ
พระราชมารดาสมเด็จพระมไหยิกา ขัติยาวงษ์ศิริเสโฐวโรดม
ศาสนาศาสนาพุทธ

พระองค์ทรงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรกัมพูชาสมัยใหม่เป็นพระมหากษัตริย์ผู้กอบกู้เอกราชของกัมพูชา ซึ่งท่ามกลางการต่อสู้ระหว่างราชอาณาจักรสยาม และญวน

พระราชประวัติ

แก้
  พระมหากษัตริย์แห่งกัมพูชายุคใหม่
 สมเด็จพระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดี
 พระบาทสมเด็จพระนโรดม บรมรามเทวาวตาร
 พระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์
 พระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์
 พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ (ครั้งที่ 1)
 พระบาทสมเด็จพระนโรดม สุรามฤต
 พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ (ครั้งที่ 2)
 พระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี
 
ราชทูตตะวันตกเข้าเฝ้าสมเด็จพระหริรักษ์รามาธิบดีที่กรุงอุดงมีชัย

เสด็จพระราชสมภพเมี่อ พ.ศ. 2339 และสวรรคตเมี่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2403[1]

สมเด็จพระหริรักษ์รามาธิบดี หรือ นักองค์ด้วง พระราชสมภพเมี่อ พ.ศ. 2339[1] เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดีศรีสุริโยพรรณ (นักองเอง) ประสูติแต่นักนางรศ[2] และพระราชอนุชาในสมเด็จพระอุไทยราชาธิราชรามาธิบดี (นักองจันทร์)

เมื่อครั้งที่สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดีเสด็จสวรรคตนั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ นักองจันทร์ อภิเษกขึ้นครองราชย์ที่เขมรพระราชทานนามว่า สมเด็จพระอุทัยราชา แต่เมื่อสมเด็จพระอุทัยราชาขึ้นครองราชย์แล้วมีใจออกห่างกรุงสยามโดยหันไปพึ่งญวนแทน ในช่วงนั้นเจ้านายและขุนนางเขมรจึงแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย กล่าวคือ ฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับสมเด็จพระอุทัยราชา ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยนั้น ซึ่งรวมทั้ง นักองด้วง จึงต้องหนีเข้ามายังกรุงเทพมหานครในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ตั้งแต่มีพระชนมายุ 16 พรรษา โดยเข้ามาพำนัก ณ วังเจ้าเขมร ซึ่งเป็นวังที่สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดี พระบิดาเคยพำนักอยู่[3]

ต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อนักองด้วงมีพระชนมายุ 43 พรรษา หลังจากที่ทรงพำนักอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลา 27 ปี จึงเดินทางกลับเขมรพร้อมกับกองทัพเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เพื่อรบกับญวนที่กำลังแผ่อำนาจเข้าสู่เขมรในช่วงนั้น โดยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการว่า "หากเขมรสงบเรียบร้อยเมื่อใดให้อภิเษกพระองค์ด้วงขึ้นครองเขมร" ดังนั้น เมื่อกองทัพของเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) สามารถจัดการเหตุการณ์ในเขมรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงมีการอภิเษกนักองค์ด้วงขึ้นครองราชสมบัติที่เขมรเมื่อพระชนมายุ 51 พรรษา[4] มีพระนามว่า "พระหริรักษ์รามาธิบดี ศรีสุริโยพันธุ ธรรมมิกวโรดม บรมศรีอินทรา มหาจักรพรรดิราช บรมนารถบรมบพิตร สถิตย์เป็นอิศวรกัมพูชารัตนราช โอภาศชาติวรวงศ์ ดำรงกัมพูชามหาประเทศราชนคร บวรวิวัฒนาดิเรก เอกอัครมหาเขมราธิบดินทร นรินทรวิสุทธิอุดม บรมบพิตร เจ้ากรุงกัมพูชา" เมื่อวันพฤหัสบดีเดือน 4 ขึ้น 4 ค่ำ ปีมะแม จุลศักราช 1209 ตรงกับวันพุธที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2390[5][6]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2394 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แก้สร้อยพระนามของสมเด็จพระหริรักษ์รามาธิบดี ตามที่ทรงมีศุภอักษรเข้ามาขอเปลี่ยน เป็น "องค์พระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดี ศรีสุริโยประพันธ์ ธรรมิศวโรดม บรมศิรินทร บวรมหาจักรพรรดิราช พิกาศนารถบพิตร สถิตยเป็นอิศรกัมพูชารัตนราช โอภาศชาติวรวงศ์ ดำรงกัมพูชามหาประเทศราชนคร บวรวิวัฒนาดิเรก เอกอัครมหาเขมราธิบดินทร นรินทรวิสุทธิอุดม บรมบพิตร"[7]

สมเด็จพระหริรักษ์รามาธิบดี เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2403 ที่กรุงอุดง

พระราชบุตร

แก้

ตามพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ระบุพระนามพระราชโอรสและพระราชธิดาไว้รวม 18 พระองค์ ดังนี้[8]

พระราชโอรส 7 พระองค์ ได้แก่

  1. นักองค์ราชาวดี (ต่อมาคือ พระบาทสมเด็จพระนโรดม บรมรามเทวาวตาร) ประสูติแต่นักแป้น พระสนมชั้นแม่นาง ธิดาพระยาสุภาธิบดี[9]
  2. นักองค์ศรีสวัสดิ์ (ต่อมาคือ พระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์) ประสูติแต่นักเภา พระสนมชั้นแม่นาง ธิดาพระมนตรีธิราช[10]
  3. นักองค์วัตถา (นักองค์ศรีวัตถา) ประสูติแต่นักขำ ธิดาพระยาธรรมาเดโช[11]
  4. นักองค์ศิริวงศ์
  5. นักองค์แก้วมโนหอ
  6. นักองค์สุวรรณหงส์
  7. นักองค์ดรอหุก

พระราชธิดา 11 พระองค์ ได้แก่

  1. นักองค์จงกลนี
  2. นักองค์พระราชธิดา
  3. นักองค์ศรีวรกษัตริย์
  4. นักองค์อุบลปรีดา
  5. นักองค์กระเบน
  6. นักองค์สรออุก
  7. นักองค์กระเมียด
  8. นักองค์ดอกเดื่อ
  9. นักองค์ตรอลน
  10. นักองค์มุม
  11. นักองค์เภา

ส่วน ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา แปลโดยหลวงเรืองเดชอนันต์ (ทองดี ธนะรัชต์) ระบุรายนามพระสนมและพระราชบุตรเมื่อครั้งเสด็จประทับอยู่ที่กรุงเทพมหานครไว้ ดังนี้[12]

  1. นักองค์กระมล ต่อมามีพระนามว่า สมเด็จพระราชธิดามหากระษัตรี[2] ประสูติแต่นักนางแอว บุตรีพระพิพิธฤทธี
  2. นักองค์อู ประสูติแต่นักนางแอว
  3. นักองค์จรอเลิ้ง (แปลว่า งามกลม) ต่อมามีพระนามว่า พระองค์ราชาวดี ประสูติแต่นักนางแป้น (ต่อมาเป็น พระปิโยบรมท้าวธิดา)[2]
  4. พระองค์ศรีสวัสดิ ประสูติแต่นักนางเภา (ต่อมาเป็น พระปิโยบรมอัจฉราอับศร)[2]
  5. พระองค์วัตถา ประสูติแต่นักนางคำ

และมีพระราชบุตรที่ไม่ได้ประสูติในกรุงเทพมหานคร แต่ปรากฏพระนามในราชพงศาวดารได้แก่[13]

  1. พระองค์เจ้าขลิบ ภายหลังได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระบรมมงคลเทวี[2]
  2. พระองค์เจ้าจอจแรด ต่อมาพระราชทานนามว่า ศิริวงษ์[14] ประสูติแต่พระแม่นางผลทิพย์สุวรรณ (เขียว)[15]
  3. พระองค์เจ้าสัตรีอุบล (แฝด) ประสูติแต่นักแม่นางมณีโชติ
  4. พระองค์เจ้ากระมล (แฝด) ประสูติแต่นักแม่นางมณีโชติ
  5. พระองค์เจ้าไหหงษ์ ประสูติแต่นักแม่นางจันทรทุรส
  6. พระองค์เจ้าตรอหุก ประสูติแต่นักแม่นางนวน
  7. พระองค์เจ้าสรออุก ประสูติแต่นักแม่นางลันแต
  8. พระองค์เจ้าแก้วมโนหอ ประสูติแต่พระแม่นางสุชาตินารี
  9. พระองค์เจ้าตรอลน ประสูติแต่นักแม่นางเฉิดโฉม
  10. พระองค์เจ้าเภา ประสูติแต่นักแม่นางอิ่ม
  11. พระองค์เจ้าจงกลนี ประสูติแต่พระปิโยบรมท้าวธิดา เป็นพระชายาในพระองค์เจ้าศรีสวัสดิ พระเชษฐาต่างพระชนนี[16]
พงศาวลีของสมเด็จพระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดี
 
นักองค์ตน
 
นักองค์เอง
 
นักองค์จัน
 
นักองค์ด้วง
นักองค์แบน 
นักองค์เม็ญ
นักองค์เภานักองค์สงวน 
นักองค์ราชาวดี
 
นักองค์ศรีสวัสดิ
นักองค์วัตถา

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 HM King ANG DUONG
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 เรืองเดชอนันต์ (ทองดี ธนะรัชต์), นายพันตรี. ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา. กรุงเทพฯ : ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ (2006) จำกัด, 2563, หน้า 267-268
  3. จุลลดา ภักดีภูมินทร์, "นักองเอง" เก็บถาวร 2005-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน,สกุลไทย, ฉบับที่ 2499, ปีที่ 48, ประจำวันอังคารที่ 10 กันยายน 2545
  4. จุลลดา ภักดีภูมินทร์, นักองเอง เก็บถาวร 2011-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สกุลไทย, ฉบับที่ 2605, ปีที่ 50, ประจำวันอังคารที่ 21 กันยายน 2547
  5. พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ 3 ฉะบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ตอนที่ 234. พระองค์ด้วงเป็นพระเจ้ากรุงกัมพูชา ในราชพงศาวดารกรุงกัมพูชาระบุว่า “พระหริรักษ์รามาอิศราธิบดี พระศรีสุริโยพรรณ ธรรมิกวโรดม บรมสุรินทรา มหาจักรพรรดิราช บรมนาถบรมบพิตร สถิตย์เป็นอิศวรยอดรัฐราษฎร์ โอภาษชาติวงษ์ บำรุงกัมพูชามหาอินทปัตนคร บวรอดิเรกเอกราช วัติโยมหาธิบดินทร์ นรินทรวิสุทธิอุดมบรมบพิตร”
  6. จุลลดา ภักดีภูมินทร์, พระองค์ด้วง เก็บถาวร 2004-12-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สกุลไทย, ฉบับที่ 2606, ปีที่ 50, ประจำวันอังคารที่ 28 กันยายน 2547
  7. พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ 4 พ.ศ. 2394 – 2411 ฉะบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ตอนที่ 16 ทรงแก้สร้อยพระนาม องค์สมเด็จหริรักษรามา เจ้ากรุงกัมพูชา
  8. พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ 4 พ.ศ. 2394 – 2411 ฉะบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ตอนที่ 86. องค์พระหริรักษ์ เจ้ากรุงกัมพูชา สุรคต
  9. ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3. กรุงเทพฯ : ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ (2006), 2560, หน้า 177
  10. ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3. กรุงเทพฯ : ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ (2006), 2560, หน้า 234
  11. ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3. กรุงเทพฯ : ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ (2006), 2560, หน้า 255
  12. เรืองเดชอนันต์ (ทองดี ธนะรัชต์), นายพันตรี. ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา. กรุงเทพฯ : ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ (2006) จำกัด, 2563, หน้า 186
  13. เรืองเดชอนันต์ (ทองดี ธนะรัชต์), นายพันตรี. ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา. กรุงเทพฯ : ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ (2006) จำกัด, 2563, หน้า 283-284
  14. เรืองเดชอนันต์ (ทองดี ธนะรัชต์), นายพันตรี. ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา. กรุงเทพฯ : ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ (2006) จำกัด, 2563, หน้า 291
  15. เรืองเดชอนันต์ (ทองดี ธนะรัชต์), นายพันตรี. ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา. กรุงเทพฯ : ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ (2006) จำกัด, 2563, หน้า 305
  16. เรืองเดชอนันต์ (ทองดี ธนะรัชต์), นายพันตรี. ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา. กรุงเทพฯ : ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ (2006) จำกัด, 2563, หน้า 294


ก่อนหน้า สมเด็จพระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดี ถัดไป
สมเด็จพระมหาราชินีองค์มี    
พระมหากษัตริย์กัมพูชา
(ราชวงศ์วรมัน)

(พ.ศ. 2384 – 19 ตุลาคม พ.ศ. 2403)
  พระบาทสมเด็จพระนโรดม