หมากล้อม หรือ โกะ (ญี่ปุ่น: 囲碁 (いご)โรมาจิigoทับศัพท์อิโงะ; จีนตัวย่อ: 围棋; จีนตัวเต็ม: 圍棋; พินอิน: wéiqí เหวยฉี; เกาหลี바둑; อาร์อาร์Baduk; เอ็มอาร์Paduk) เป็นเกมหมากกระดานชนิดหนึ่ง เป็นเกมกลยุทธ์ซึ่งผู้เล่นสองคนต่างมุ่งหมายล้อมเอาพื้นที่ในกระดานให้ได้มากกว่าคู่แข่ง เดิมถือกำเนิดขึ้นในประเทศจีน เมื่อประมาณ 3,000-4,000 ปีมาแล้ว เป็นสิ่งแสดงถึงความเก่าแก่และลึกซึ้งของอารยธรรมจีน

หมากล้อม
กระดานหมากล้อมมาตรฐานเป็นตารางขนาด 19×19 แล้วฝั่งดำกับขาวสลับกันลงหมากที่จุดตัดของเส้นตาราง
คำที่มีความหมายเหมือนกันเหวยฉี (จีน)
อิโงะ (ญี่ปุ่น)
พาดุก, -บาดุก(เกาหลี)
อายุของเกมราชวงศ์โจว (1046 – 256 ก่อนปีค.ศ. ถึง ปัจจุบัน)
ประเภทของเกมเกมกระดาน
เกมกลยุทธ์
จำนวนผู้เล่น2 คน
ระยะเวลาเล่นปกติ: 20–90 นาที
ทัวร์นาเมนท์: 1–6 ชั่วโมง
โอกาสสุ่มไม่มี
ทักษะที่จำเป็นกลยุทธ์
ชั้นเชิง
การสังเกต

เหวยฉีเป็นที่นิยมเล่นกันในหมู่ปัญญาชนชั้นสูงและขุนนางผู้บริหารประเทศ ในสมัยนั้น เหวยฉีหรือหมากล้อมเป็นหมากกระดานประจำชาติจีน ถูกจัดเป็น 1 ใน 4 ศิลปะประจำชาติจีน (ได้แก่ หมากล้อม ดนตรี กลอน ภาพ) เป็นภูมิปัญญาจีนแท้ ในขณะที่หมากรุกจีนยังมีเค้าว่ารับมาจากอินเดียและเพิ่งจะแพร่หลายในสมัยราชวงศ์ถังเท่านั้น

ต่อมา เหวยฉี ได้แพร่เข้าสู่ประเทศญี่ปุ่นและเกาหลี ที่ญี่ปุ่นนี้เอง ที่เป็นแผ่นดินทองของ "โกะ" ซึ่งเป็นคำที่ญี่ปุ่นใช้เรียกเหวยฉีหรือหมากล้อม

โกะรุ่งเรืองอย่างมากในญี่ปุ่น สมัยโชกุนโทะกุงะวะ ได้สนับสนุนให้ทหารเล่นโกะ เปลี่ยนวิธีการรบด้วยกำลังเป็นการรบด้วยปัญญา และยังสนับสนุนให้โกะแพร่หลายมากยิ่งขึ้นอีก โชกุนโทะกุงะวะได้ตั้งสำนักโกะขึ้น 4 สำนัก เพื่อคัดเลือกผู้เป็นยอดฝีมือโกะของญี่ปุ่น โดยจัดให้สำนักทั้ง 4 คือ ฮงอินโบ, อิโนะอูเอะ, ยาสุอิ และ ฮายาชิ ส่งตัวแทนมาประลองฝีมือเพื่อชิงตำแหน่ง "เมย์จิน" จากการส่งเสริมโกะของญี่ปุ่น ทำให้อีกประมาณ 100 ปีต่อมา มาตรฐานฝีมือนักเล่นโกะของญี่ปุ่นก็ก้าวนำจีน ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของโกะรวมทั้งประเทศเกาหลีไปไกลแล้ว

ปัจจุบันทั่วโลกเล่นโกะกันอย่างแพร่หลาย โกะเรียกเป็นสากลว่า "Go" ปัจจุบัน โกะแพร่หลายในกว่า 50 ประเทศ ทวีปออสเตรเลียและอเมริกาเหนือทุกประเทศ อเมริกาใต้, ยุโรป, เอเชีย เกือบทุกประเทศรวมทั้งประเทศไทย ในทวีปแอฟริกาแพร่หลายในประเทศแอฟริกาใต้

ประชากรที่เล่นโกะในจีนประมาณว่ามี 10 ล้านคน, ญี่ปุ่น 10 ล้านคน, เกาหลีใต้ 10 ล้านคน (เกาหลีใต้มีประชากรทั้งหมด 44 ล้านคน ประชากรที่เล่นโกะมีถึงเกือบ 1 ใน 4 ของประชากรประเทศ), ในไต้หวัน 1 ล้านคน, สหรัฐ 1 ล้านคน

สมาคมหมากล้อมแห่งประเทศญี่ปุ่น (อังกฤษ: Japan Go Association) ได้จัดการแข่งขันหมากล้อมสมัครเล่นชิงแชมป์โลกขึ้นครั้งแรกใน พ.ศ. 2522 มีประเทศต่าง ๆ เข้าร่วมแข่งขัน 15 ประเทศ และเพิ่มเป็น 29 ประเทศใน พ.ศ. 2525 จึงได้มีการจัดตั้งสหพันธ์หมากล้อมนานาชาติ (อังกฤษ: International Go Federation) ขึ้น ต่อมามีสมาชิกเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ล่าสุดเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2558 มีสมาชิกจำนวน 75 ประเทศ ส่วนใหญ่เป็นประเทศในยุโรป

ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกสหพันธ์หมากล้อมนานาชาติ ตั้งแต่ พ.ศ. 2526 และต่อมาใน พ.ศ. 2527 ได้มีการส่งตัวแทนไปแข่งครั้งแรกที่กรุงโตเกียว ญี่ปุ่น สำหรับการก่อตั้งสมาคมอย่างเป็นทางการเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2536 ซึ่งมีการก่อตั้ง ชมรมหมากล้อม (โกะ) ประเทศไทย โดยนายก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ทำให้มีคนไทยเล่นมากขึ้น มีการบรรจุเป็นกีฬาอย่างเป็นทางการในกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 23 ตั้งแต่ พ.ศ. 2539 เป็นต้นมา ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2544 จึงมีการจดทะเบียนเป็นสมาคมกีฬาหมากล้อม และต่อมาใน พ.ศ. 2546 ได้กลายเป็นสมาคมกีฬาหมากล้อมแห่งประเทศไทย สำนักงานตั้งอยู่ที่ ถนนสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร ทำให้กีฬาหมากล้อมในประเทศไทยมีการแพร่หลายมากขึ้นจนได้รับการบรรจุในกีฬาเยาวชนแห่งชาติครั้งแรกในการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 24 ที่จังหวัดอุบลราชธานี ตั้งแต่ พ.ศ. 2551 เป็นต้นมา

รูปร่างสำคัญของหมากล้อม

แก้

1. สามจุดตรง

สามจุดตรงกลางจะไม่ดูจากเม็ดภายนอก ให้ดูจากจุดที่ว่างด้านใน มีด้วยกัน3จุดเรียงกันเป็นเส้นตรง มีความสำคัญตรงที่สามจุดนี้มีจุดกลาง ถ้าต้องการสร้างสองห้องรอดให้นำหมากไปวางที่จุดกลางหรือจะฆ่าก็ให้สกัดจุดนำหมากไปวางที่จุดกลางเช่นกัน

2. สามจุดงอ(ไม่ตรง)

ลักษณะของสามจุดงอหรือโค้งงอส่วนมากเป็นรูปตัวแอล จุดกลางของสามจุดงอจะอยู่ที่ข้องอของตัวแอล ถ้าต้องการรอดให้นำหมากไปวางที่จุดกลางหรือต้องการฆ่าก็ให้สกัดจุดที่จุดกลางเช่นเดียวกัน

3. สี่จุดตัวที

มีลักษณะเหมือนตัวทีในภาษาอังกฤษ มีสี่จุด จุดกลางของสี่จุดตัวทีอยู่ที่ เส้นแนวตั้งชนกับกลางเส้นแนวนอนพอดี อยากรอดหรืออยากฆ่าให้นำหมากไปวางที่จุดกึ่งกลาง

4. สี่จุดสี่เหลี่ยม

สี่จุดสี่เหลี่ยมนี้สำคัญที่สุด ไม่มีจุดกลาง สำคัญตรงที่ต่อให้วางก่อนก็ไม่รอด ไม่ว่าจะวางหมากจุดไหนก็จะทำให้เกิดสามจุดงอ เมื่อเกิดสามจุดงอคู่แข่งสามารถสกัดและวางหมากที่จุดกึ่งกลางได้ ดังนั้นรูปสี่จุดสี่เหลี่ยมจึงพิเศษที่ว่ายังไงก็ตาย

5. ห้าจุดปังตอ

มีรูปร่างลักษณะหมือนมีดปังตอ จุดกึ่งกลางของห้าจุดปังตอคือรอยต่อระหว่างด้ามจับและตัวมีด

อยากรอดให้นำหมากวางตรงจุดนี้หรืออยากฆ่าก็ให้นำหมากวางไว้จุดนี้เช่นกัน

6. ห้าจุดดอกไม้

มีลักษณะเหมือนดอกไม้ ด้านข้างสี่จุดคือกลีบดอกและตรงกลางคือเกสร จุดกลางของห้าจุดดอกไม้คือจุดตรงเกสร เมื่อนำหมากมาวางจุดนี้ก็จะเกิดสี่ห้อง ถ้าอยากรอดหรืออยากฆ่าให้นำหมากวางไว้จุดนี้

7. หกจุดปลาตะเพียน

มีลักษณะเหมือนปลา กำหนดปากอยู่ด้านบนหันหางไปด้านล่าง จุดอ่อนของหกจุดปลาตะเพียนคือจุดระหว่างหางละตัว อยากรอดหรืออยากกินให้นำหมากวางจุดนี้

ประวัติ

แก้

อ้างอิง

แก้

หนังสือ:

เว็บไซต์ :

  • [1] เว็บไซต์ thaigogenius

ประวัติศาสตร์:

  • Boorman, Scott A. (1969), The Protracted Game: A Wei Ch'i Interpretation of Maoist Revolutionary Strategy, New York, NY: Oxford University Press, ISBN 9780195014938
  • De Havilland, Augustus Walter (1910), The ABC of Go: The National War Game of Japan, Yokohama, Kelly & Walsh, OCLC 4800147
  • Korschelt, Oscar (1966), The Theory and Practice of Go, C.E. Tuttle Co, ISBN 9780804805728
  • Smith, Arthur (1956), The Game of Go: The National Game of Japan, C.E. Tuttle Co, OCLC 912228

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้