หน่วยควบคุมผู้หลบหนีเข้าเมืองจากกัมพูชา

หน่วยเฉพาะกิจสำหรับควบคุมผู้อพยพจากกัมพูชา

หน่วยควบคุมผู้หลบหนีเข้าเมืองจากกัมพูชา (อังกฤษ: Displaced Persons Protection Unit: DPPU) ย่อว่า นคก.88 เป็นกำลังกึ่งทหารที่ได้รับการฝึกพิเศษ สังกัดศูนย์อำนวยการร่วม กองบัญชาการทหารสูงสุด และหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ ก่อตั้งขึ้นสำหรับรักษาความปลอดภัยและควบคุมผู้อพยพชาวกัมพูชาในค่ายผู้อพยพตามแนวชายแดนไทย–กัมพูชา

หน่วยควบคุมผู้หลบหนีเข้าเมืองจากกัมพูชา
นกค.88
เครื่องหมายหน่วย
ประจำการมิถุนายน 2531 (2531-06)–2536
ประเทศ ไทย
เหล่า กองบัญชาการทหารสูงสุด
รูปแบบหน่วยเฉพาะกิจ
บทบาทการสงครามพิเศษ
การสงครามกองโจร
การส่งกำลังทางอากาศ
รักษาความสงบเรียบร้อย
กำลังรบประมาณ 780–1224 นาย
ขึ้นกับศูนย์อำนวยการร่วม กองบัญชาการทหารสูงสุด
หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ
กองบัญชาการอำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว
คำขวัญเพื่อเกียรติศักดิ์ไทย
สีหน่วยสีกรมท่า
สัญลักษณ์นำโชคพิราบขาว
ปฏิบัติการสำคัญ
เครื่องหมายสังกัด
ตราหน้าหมวก
และกระเป๋าซ้าย

ประวัติ

แก้

จากสถานการณ์ความวุ่นวายภายในประเทศกัมพูชา เมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2518 กลุ่มเขมรแดงได้โค่นล้มรัฐบาลของ นายพล ลอน นอล และสามารถเข้าครองประเทศทั้งหมดได้ โดยใช้ระบบสังคมนิยมแบบเข้มข้นในการปกครอง ทำให้ประชาชนชาวกัมพูชาที่ไม่เห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าวต้องอพยพเพื่อลี้ภัยมายังประเทศเพื่อนบ้านคือประเทศไทย กระทั่งประเทศเวียดนามได้นำกำลังบุกเข้ามาเพื่อขับไล่รัฐบาลของเขมรแดงจนเป็นผลสำเร็จในปี พ.ศ. 2522 ซึ่งผลกระทบที่ตามมาทำให้ปริมาณผู้อพยพที่เข้ามาในประเทศไทยมีจำนวนมากขึ้น ประมาณการณ์ไม่ต่ำกว่า 361,456 ราย หรือประมาณ 83,200 ครัวเรือน ทำให้ประเทศไทยตลอดแนวชายแดนที่ติดกับกัมพูชาต้องแบกรับการอพยพจากชาวกัมพูชาจำนวนมหาศาล[1]

หน่วยเฉพาะกิจ 80

แก้

จากสถานการณ์ข้างตน รัฐบาลไทยโดย พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้ประกาศกฎอัยการศึกตลอดพื้นที่ชายแดนกัมพูชา และสั่งการให้กองบัญชาการทหารสูงสุดจัดหน่วยปฏิบัติการร่วมเพื่อควบคุมและรักษาความปลอดภัยให้กับผู้อพยพ[2] ทำให้กองบัญชาการทหารสูงสุดได้จัดตั้งกองร้อยอาสาสมัครทหารพราน หน่วยเฉพาะกิจ 80 (ฉก.80) ของทหารพรานขึ้นมาเพื่อปฏิบัติการในการควบคุมความสงบเรียบร้อยในแต่ละค่ายผู้อพยพในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523[3] โดยมีศูนย์ประสานงานในอำเภออรัญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี (สระแก้ว) ซึ่งแต่ละค่ายต่างก็มีขั่วอำนาจเดิมจากฝ่ายกัมพูชาปกครองอยู่ภายในเช่นกัน ทำให้หน่วยเฉพาะกิจ 80 เป็นหน่วยสำหรับประสานงานและจัดหาอาวุธให้กับกลุ่มต่อต้านรัฐบาลกัมพูชาในเวลานั้น ทั้งกลุ่มเขมรแดง[4]:30[5], แนวร่วมปลดปล่อยชาติเขมร และพรรคฟุนซินเปก เพื่อปฏิบัติการกองโจรในการต่อต้านกองทัพเวียดนามตามนโยบายที่รัฐบาลไทยสนับสนุน[6] หน่วยเฉพาะกิจ 80 ถูกยุบในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2531[7] เนื่องจากปัญหาการร้องเรียนเรื่องการข่มขู่ การทุจริต และการละเมิดสิทธิมนุษยชน[8][9][10][11]

หน่วยควบคุมผู้หลบหนีเข้าเมืองจากกัมพูชา

แก้

หลังจากการยุบหน่วยเฉพาะกิจ 80 กองบัญชาการทหารสูงสุดได้ก่อตั้งหน่วยสำหรับควบคุมผู้อพยพลี้ภัยชาวกัมพูชาที่หลบหนีเข้าเมืองมา ชื่อว่า หน่วยควบคุมผู้หลบหนีเข้าเมืองจากกัมพูชา (นคก.88)[12] โดยใช้กำลังพลส่วนใหญ่จาก หน่วยเฉพาะกิจ 80 ซึ่งเป็นอาสาสมัครทหารพราน จากนั้นในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2531 กองบัญชาการทหารสูงสุดได้โอนหน่วยมาขึ้นความรับผิดชอบต่อหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ และจัดกำลังหน่วยรบพิเศษและอาสาสมัครมาปฏิบัติงานประมาณ 780 นาย และใช้นายทหารจากหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษปฏิบัติหน้าที่เป็นหัวหน้าหน่วย[13] ส่วนของกำลังพลทั้งเพศชายและหญิงได้รับการฝึกที่กองพันฝึกรบพิเศษที่ 9 หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ ค่ายฝึกการรบพิเศษปากช่อง (ค่ายหนองตะกู) รุ่นละประมาณ 40 วัน[14]

การยุบหน่วยและภารกิจสืบเนื่อง

แก้

หน่วยควบคุมผู้หลบหนีเข้าเมืองจากกัมพูชายังมีส่วนสำคัญในการประสานงานการส่งกลับชาวกัมพูชาสู่บ้านเกิดกับสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR), สภาสูงสุดแห่งชาติกัมพูชา (SNC) และศูนย์ประสานงานการส่งชาวกัมพูชากลับมาตุภูมิ โดยสิ้นสุดการปฏิบัติหน้าที่ในปี พ.ศ. 2536 และได้รับคำชมเชยจากสหประชาชาติในการปฏิบัติงานตามภารกิจและได้มอบประกาศเกียรติคุณจากสหประชาชาติและศูนย์อำนวยการร่วม กองบัญชาการทหารสูงสุด ให้กับอาสาสมัครที่ปฏิบัติงานในหน่วย[1]

การคัดเลือก

แก้

สำหรับการคัดเลือกบุคลากรเพื่อมาปฏิบัติงานในหน่วยควบคุมผู้หลบหนีเข้าเมืองจากกัมพูชา[14] มีดังนี้

การทดสอบ

แก้

กำลังพลในการปฏิบัติงานในหน่วยควบคุมผู้หลบหนีเข้าเมืองจากกัมพูชา จากต้องผ่านการทดสอบ[14] ดังนี้

  • ทดสอบข้อเขียนในการใช้ภาษาต่างชาติ
  • ทดสอบความแข็งแรงของร่างกาย
  • ทดสอบสภาพจิตใจ
  • ทดสอบความถนัดเฉพาะด้าน

การฝึก

แก้

หลังจากำลังพลผ่านการทดสอบข้างต้นแล้วทั้งทางร่างกายและจิตใจ อาสาสมัครจะถูกส่งไปรับการฝึกหลักสูตรรบพิเศษ ณ กองพันฝึกรบพิเศษที่ 9 ค่ายฝึกการรบพิเศษปากช่อง (ค่ายหนองตะกู) อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา มีการฝึกได้ด้านต่าง ๆ เช่น การดำรงชีพในป่า การส่งกำลังทางอากาศ การใช้อาวุธฝ่ายตรงข้าม การหลบหลีกหนี สงครามกองโจร และการทำการรบเฉพาะส่วนบุคคล[14]

นอกจากนี้ยังมีการฝีกภาคทฤษฎีเพิ่มเติมคือ การเรียนภาษาอังกฤษ ภาษาเวียดนาม และภาษาเขมร[14] และมีแผนในการฝึกอบรมกฎหมายระหว่างประเทศเกี่ยวกับผู้ลี้ภัยให้กับอาสาสมัครหน่วยควบคุมผู้หลบหนีเข้าเมืองจากกัมพูชาที่ปฏิบัติงานร่วมกันกับเจ้าหน้าที่ในศูนย์อำนวยการร่วม ประกอบด้วย ฝ่ายไทยคือ กระทรวงมหาดไทย, สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ และกระทรวงการต่างประเทศ ฝ่ายหน่วยงานระหว่างประเทศคือ ผู้แทนจากหน่วยบรรเทาทุกข์ชายแดนแห่งสหประชาชาติ (UNBRO), คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) และเจ้าหน้าที่ UNHCR ในพื้นที่[15]

กำลังพล

แก้
 
ศูนย์ฯ เขาอีด่างเป็นพื้นที่ปฏิบัติงานของชุดควบคุมพื้นที่ 883 ร้อย.อส.คก.ที่ 8831
 
กำลังพล นคก.88 รุ่น6 กองพันฝึกรบพิเศษที่ 9 ค่ายหนองตะกู ปากช่อง

หน่วยควบคุมผู้หลบหนีเข้าเมืองจากกัมพูชา มีทั้งกำลังพลประจำการจากหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ กองทัพบก และกำลังพลจากอาสาสมัคร ทั้งอาสาสมัครทหารพราน ทหารกองหนุน และบุคคลทั่วไปที่สนใจและผ่านการทดสอบตามข้อกำหนดทุกด้าน

สำหรับกำลังพลหมุนเวียนซึ่งเป็นอาสาสมัคร มีการฝึกอบรมจำนวน 6 รุ่น กรอบอัตรากำลัง 1300 นาย มีกำลังพลจากคำสั่งบรรจุแต่งตั้งจริง 1224 นาย แบ่งเป็นจำนวนกำลังพลแต่ละรุ่น[16] ดังนี้

  • รุ่นที่ 1 จำนวน 326 นาย
  • รุ่นที่ 2 จำนวน 234 นาย
  • รุ่นที่ 3 จำนวน 200 นาย
  • รุ่นที่ 4 จำนวน 222 นาย
  • รุ่นที่ 5 จำนวน 112 นาย
  • รุ่นที่ 6 จำนวน 130 นาย

การจัดหน่วย

แก้

หน่วยควบคุมผู้หลบหนีเข้าเมืองจากกัมพูชา แบ่งหน่วยสำหรับปฏิบัติการ ดังนี้

ภารกิจ

แก้

หน่วยควบคุมผู้หลบหนีเข้าเมืองจากกัมพูชา มีภารกิจในการดูแลในพื้นที่ที่เป็นที่ตั้งของศูนย์ผู้อพยพตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา[17] ตั้งแต่จังหวัดตราดไปจนถึงจังหวัดศรีสะเกศ จำนวน 7 พื้นที่ รวมไปถึงการประสานงานกับองค์การระหว่างประเทศและองค์การอาสาสมัครในการให้ความช่วยเหลือผู้อพยพ โดยเฉพาะสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR)[1][18]

สำหรับพื้นที่รับผิดชอบของหน่วยควบคุมผู้หลบหนีเข้าเมืองจากกัมพูชาทั้ง 7 แห่ง[1] ได้แก่

  1. พื้นที่อพยพโอตราว – จังหวัดศรีสะเกษ
  2. พื้นที่อพยพ บี – จังหวัดสุรินทร์
  3. พื้นที่อพยพที่ 2 – จังหวัดสระแก้ว
  4. ศูนย์ฯ เขาอีด่าง – จังหวัดสระแก้ว
  5. พื้นที่อพยพที่ 8 – จังหวัดสระแก้ว
  6. พื้นที่อพยพสุขสันต์ – จังหวัดตราด
  7. พื้นที่อพยพ เค – จังหวัดตราด

เจ้าหน้าที่สันติสุข

แก้

เจ้าหน้าที่สันติสุข คือเจ้าหน้าที่ตำรวจชาวเขมรที่ปฏิบัติการในการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในค่ายผู้อพยพ ซึ่งเป็นอดีตเจ้าหน้าที่ตำรวจก่อนการอพยพลี้ภัย ได้รับการฝึกและอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของหน่วยควบคุมผู้หลบหนีเข้าเมืองจากกัมพูชา[19]

อาวุธ

แก้

หน่วยควบคุมผู้หลบหนีเข้าเมืองจากกัมพูชา จะใช้อาวุธนอกอัตรารูปแบบเดียวกันกับทหารพราน เช่น เอเค 47, อาร์พีจี

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 กาลานุกรม หน่วยรบพิเศษกองทัพบกไทยจากอดีตสู่ปัจจุบัน. หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ.
  2. Thai Ministry of the Interior, "An Instrument of Foreign Policy: Indochinese Displaced Persons," 1981, p. 41. Cited in W. Courtland Robinson, Terms of Refuge: The Indochinese Exodus and the International Response, Zed Books, Ltd., London, 1998, p. 70.
  3. French LC. Enduring Holocaust, Surviving History: Displaced Cambodians on the Thai-Cambodian Border, 1989-1991. Harvard University, 1994, p. 77.
  4. Ball D. The Boys in Black: The Thahan Phran (Rangers), Thailand's Para-Military Border Guards. Bangkok, Thailand: White Lotus Press, 2004, 2007. ISBN 9744800461 and ISBN 978-9744800466
  5. Pilger J. "The Long Secret Alliance: Uncle Sam and Pol Pot." Covert Action Quarterly 1997:5-9. เก็บถาวร 2011-07-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  6. ไพเราะ, วันชัย (2559). "พื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา อำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว : พื้นที่ ผู้คน อำนาจ และการปรับตัว". {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  7. New York Times, "Thailand to Phase Out Unit Accused of Abusing Refugees," April 7, 1988.
  8. Abrams F, Orentlicher D, Heder SR. Kampuchea: After the Worst: A Report on Current Violations of Human Rights. New York: Lawyers Committee for Human Rights, 1985. ISBN 0-934143-29-3
  9. Lawyers Committee for Human Rights (U.S.). Seeking Shelter: Cambodians in Thailand: A Report on Human Rights. New York: Lawyers Committee for Human Rights, 1987. ISBN 0-934143-14-5
  10. Al Santoli, Eisenstein LJ, Rubenstein R, Helton AC, Refuge Denied: Problems in the Protection of Vietnamese and Cambodians in Thailand and the Admission of Indochinese Refugees into the United States. New York: Lawyers Committee for Human Rights, No.: ISBN 0-934143-20-X, 1989.
  11. "Chronik Thailands 1988 / B. E. 2531 Juli bis Dezember". www.payer.de.
  12. French 1994, p. 104.
  13. กาลานุกรม หน่วยรบพิเศษกองทัพบกไทยจากอดีตสู่ปัจจุบัน. หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ.
  14. 14.0 14.1 14.2 14.3 14.4 "DPPU (the Displaced Persons Protection Unit), นคก88". www.tarin9.com.
  15. "Information Note on UNHCR's Activities for Promotion and Dissemination of Refugee Law for 1988". Refworld (ภาษาอังกฤษ).
  16. ข้อมูลสรุปยอดรายชื่อทุกรุ่น "หน่วยควบคุมผู้หลบหนีเข้าเมืองจากกัมพูชา DPPU นคก.88 - Facebook". www.facebook.com.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  17. HELTON, ARTHUR C. "Asylum and Refugee Protection in Thailand | International Journal of Refugee Law | Oxford Academic". academic.oup.com.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  18. "Information Note on UNHCR's Activities for Promotion and Dissemination of Refugee Law for 1988". Refworld (ภาษาอังกฤษ).
  19. อนุสาร ชค.พท.882. หน่วยควบคุมผู้หลบหนีเข้าเมืองจากกัมพูชา ชุดควบคุมพื้นที่ 882.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้