วิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
การแข่งขันวิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (อังกฤษ: International Junior Science Olympiad: IJSO) เป็นสาขาหนึ่งในสาขาของโอลิมปิกวิชาการประเภทเดียวที่ผู้เข้าแข่งขันต้องเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เนื่องจากการแข่งขันมีข้อกำหนดว่าผู้เข้าแข่งขันต้องมีอายุน้อยกว่า 15 ปีในวันแข่งขัน โดยมีการเริ่มแข่งขันครั้งแรกในปี พ.ศ. 2547 ที่เมืองจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย โดยประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขันจะหมุนเวียนในการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน และมีการจัดการแข่งขันทุกๆ ปี โดยแต่ละประเทศสามารถส่งผู้เข้าร่วมการแข่งขันได้ 6 คน และสามารถส่งอาจารย์ผู้คุมทีมได้อีก 3 คน
ข้อสอบในการแข่งขัน
แก้ข้อสอบแบ่งออกเป็น 3 ส่วนซึ่งจะแข่งในแต่ละวัน ตามกำหนดการที่เจ้าภาพจัดไว้ ซึ่งข้อสอบจะวัดความรู้ผู้เข้าสอบในรายวิชา ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา โดยมีคะแนนรวมทั้งหมด 100 คะแนน
ข้อสอบภาคทฤษฎีแบบปรนัย (Test Examination)
แก้ข้อสอบภาคทฤษฎีแบบปรนัยจะเป็นข้อสอบแบบเลือกตอบทั้งหมด 30 ข้อ โดย 10 ข้อเป็นวิชาฟิสิกส์ 10 ข้อเป็นวิชาเคมี และอีก 10 ข้อเป็นวิชาชีววิทยา ซึ่งแต่ละข้อจะมีคำตอบให้เลือกทั้งหมด 4 ตัวเลือก ถ้าผู้เข้าแข่งขันตอบถูกจะได้รับ 1 คะแนน ไม่ได้คะแนนหากไม่ตอบคำตอบ และจะโดนหักลบ 0.25 คะแนนสำหรับข้อที่ตอบผิด ซึ่งในส่วนนี้มีคะแนนเต็ม 30 คะแนน
ข้อสอบภาคทฤษฎีแบบอัตนัย (Theoretical Examination)
แก้ข้อสอบภาคทฤษฎีแบบอัตนัยจะแบ่งเป็น 3 วิชาเช่นเดียวกัน โดยต้องแสดงวิธีทำในการหาคำตอบ ในส่วนนี้จะมีคะแนนเต็มทั้งหมด 30 คะแนน
ข้อสอบภาคปฏิบัติการ (Experiment Examination)
แก้การสอบภาคปฏิบัติการจะสอบเป็นทีม ทีมละ 3 คน โดยสมาชิกแต่ละคนต้องเป็นผู้แทนประเทศจากประเทศเดียวกันเดียวกัน แต่ละประเทศจะมีทีมแข่งขันมากที่สุดทั้งหมด 2 ทีม โดยแต่ละทีมจะต้องทำตามคำสั่งและตอบคำถามตามที่ข้อสอบถาม สมาชิกทุกคนในทีมจะได้รับคะแนนเท่ากัน โดยในส่วนนี้จะมีคะแนนเต็มทั้งหมด 40 คะแนน
รางวัลในการแข่งขัน
แก้หลังจากตรวจข้อสอบเสร็จเรียบร้อยแล้ว ผู้เข้าแข่งขันจะถูกเรียงตามลำดับของคะแนน ร้อยละ 10 ของผู้เข้าแข่งขันทั้งหมดที่ได้คะแนนสูงสุด จะได้รับเหรียญทอง ร้อยละ 20 ถัดมาจะได้รับเหรียญเงิน ส่วนร้อยละ 30 ถัดมาจะได้รับเหรียญทองแดง และยังมีรางวัลสำหรับทีมที่ได้คะแนนในการสอบภาคปฏิบัติการสูงสุด รางวัลสำหรับประเทศที่ได้คะแนนรวมดีที่สุดในการแข่งขัน ยังมีรางวัลให้แก่ผู้เข้าแข่งขันที่ได้คะแนนภาคทฤษฎีสูงสุด และคะแนนรวมสูงสุดอีกด้วย โดย Local Organizing Committee (LOC) จะเป็นผู้มอบเกียรติบัตรเข้าร่วมการแข่งขันให้แก่ผู้เข้าร่วมการแข่งขัน และอาจารย์ผู้คุมทีมของทุกประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขัน
สถานที่จัดการแข่งขัน
แก้ครั้งที่ | เมืองที่จัดการแข่งขัน | ประเทศเจ้าภาพ | วันที่จัดการแข่งขัน |
---|---|---|---|
1 | จาการ์ตา | อินโดนีเซีย | 5-14 ธันวาคม 2547 |
2 | ยกยาการ์ตา | อินโดนีเซีย | 4-13 ธันวาคม 2548 |
3 | เซาเปาลู | บราซิล | 3-12 ธันวาคม 2549 |
4 | ไทเป | ไต้หวัน | 2-11 ธันวาคม 2550 |
5 | ชังว็อน | เกาหลีใต้ | 7-16 ธันวาคม 2551 |
6 | บากู | อาเซอร์ไบจาน | 2-11 ธันวาคม 2552 |
7 | อาบูจา | ไนจีเรีย | 3-12 ธันวาคม 2553 |
8 | เดอร์บัน | แอฟริกาใต้ | 1-10 ธันวาคม 2554 |
9 | เตหะราน | อิหร่าน | 1-10 ธันวาคม 2555 |
10 | มุมไบ | อินเดีย | 3-12 ธันวาคม 2556 |
11 | แมนโดชา | อาร์เจนตินา | 2-11 ธันวาคม 2557 |
12 | แทกู | เกาหลีใต้ | 2-11 ธันวาคม 2558 |
13 | บาหลี | อินโดนีเซีย | 2-11 ธันวาคม 2559 |
14 | ไนเมเคิน | เนเธอร์แลนด์ | 3-12 ธันวาคม 2560 |
15 | กาโบโรเน | บอตสวานา | 2-11 ธันวาคม 2561 |
16 | โดฮา | กาตาร์ | 3-12 ธันวาคม 2562 |
17 | แฟรงก์เฟิร์ต | เยอรมนี | 2-12 ธันวาคม 2563 |
18 | สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ | 2564 | |
19 | ยูเครน | 2565 | |
20 | ไทย | 2566 | |
21 | โรมาเนีย | 2567 | |
22 | รัสเซีย | 2568 |
การจัดส่งผู้แทนฯ ของประเทศไทย
แก้มุมมองและกรณีตัวอย่างในบทความนี้อาจไม่ได้แสดงถึงมุมมองที่เป็นสากลของเรื่อง |
ประเทศไทยเริ่มจัดส่งผู้แทนประเทศไทยไปเข้าร่วมการแข่งขันตั้งแต่การแข่งขันครั้งที่ 1 ณ เมืองจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย โดยเริ่มคัดเลือกรอบแรกประมาณเดือนมกราคมของทุกปี ซึ่งจัดโดยมูลนิธิ สอวน. และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ หลังจากนั้นจะคัดไว้ประมาณ 300 คน ซึ่งจะมาสอบแข่งขันรอบที่ 2 ณ โรงเรียนสตรีวิทยา กรุงเทพมหานคร แล้วคัดเหลือประมาณ 40 คน เพื่อนำไปเข้าค่ายอบรมเข้มเตรียมตัวไปแข่งขันฯ โดยมีศูนย์มหาวิทยาลัยพี่เลี้ยงทั้งหมด 3 ศูนย์ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ทำหน้าที่อบรมประมาณ 1 เดือน แล้วจะสอบอีกรอบหนึ่ง โดยจะคัดผู้แทนประเทศไทยไว้ทั้งหมด 6 คน กับตัวสำรองอีก 4 คน แล้วจะนำทั้ง 10 คน ไปเข้าค่ายอบรมเข้มอีกครั้งช่วงเดือนตุลาคม หลังจากนั้นจะเดินทางไปแข่งขันยังประเทศเจ้าภาพในช่วงเดือนธันวาคม โดยประเทศไทยมี ผศ.ดร. ปิยพงษ์ สิทธิคงเป็นสมาชิกของคณะกรรมการนานาชาติ (International Board Member)
ผลการแข่งขันของผู้แทนประเทศไทย
แก้ผู้แทนประเทศไทยทำผลงานแข่งขันได้ดีทุกๆ ปี ได้เหรียญรางวัลรวม 72 เหรียญ รวมถึงรางวัลทีมปฏิบัติการยอดเยี่ยมอีกถึง 3 ครั้ง[1]
ครั้งที่ | ประเทศเจ้าภาพ | อันดับที่ | เกียรติคุณประกาศ | ทีมปฏิบัติการยอดเยี่ยม | |||
---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | อินโดนีเซีย | 3 | 5 | 1 | 0 | 0 | 0 |
2 | อินโดนีเซีย | - | 0 | 4 | 2 | 0 | 0 |
3 | บราซิล | 6 | 1 | 5 | 0 | 0 | 1 |
4 | ไต้หวัน | 11 | 0 | 3 | 3 | 0 | 0 |
5 | เกาหลีใต้ | 4 | 2 | 4 | 0 | 0 | 0 |
6 | อาเซอร์ไบจาน | 3 | 3 | 3 | 0 | 0 | 0 |
7 | ไนจีเรีย | 5 | 2 | 4 | 0 | 0 | 0 |
8 | แอฟริกาใต้ | 2 | 3 | 3 | 0 | 0 | 1 |
9 | อิหร่าน | - | 2 | 3 | 1 | 0 | 0 |
10 | อินเดีย | - | 5 | 1 | 0 | 0 | 1 |
11 | อาร์เจนตินา | - | 5 | 1 | 0 | 0 | 0 |
12 | เกาหลีใต้ | 5 | 2 | 4 | 0 | 0 | 0 |
13 | อินโดนีเซีย | 1 | 5 | 0 | 0 | 0 | |
14 | เนเธอร์แลนด์ | 1 | 5 | ||||
15 | บอตสวานา | 2 | 4 | 2 | 3 | ||
16 | กาตาร์ | 4 | 2 |
อ้างอิง
แก้แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- มูลนิธิ สอวน.
- เว็บไซต์หลักการแข่งขันฯ เก็บถาวร 2008-04-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เว็บไซต์การแข่งขันฯ ครั้งที่ 4 เก็บถาวร 2009-04-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เว็บไซต์การแข่งขันฯ ครั้งที่ 5 เก็บถาวร 2009-01-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เว็บไซต์การแข่งขันฯ ครั้งที่ 6 เก็บถาวร 2009-03-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เว็บไซต์การแข่งขันฯ ครั้งที่ 7 เก็บถาวร 2010-03-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เว็บไซต์การแข่งขันฯ ครั้งที่ 11
- เว็บไซต์การแข่งขันฯ ครั้งที่ 12