วิกิพีเดีย:มารยาท
(เปลี่ยนทางจาก วิกิพีเดีย:มารยาทในวิกิพีเดีย)
หน้านี้เป็นแนวปฏิบัติของวิกิพีเดียภาษาไทยอย่างเป็นทางการ เป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไปซึ่งผู้ใช้ควรถือปฏิบัติ แม้ควรปฏิบัติโดยสามัญสำนึก และอาจมีข้อยกเว้นในบางโอกาส การแก้ไขใจความสำคัญของหน้านี้ควรสะท้อนความเห็นพ้อง หากไม่มั่นใจให้อภิปรายก่อน |
เนื่องจากชาววิกิพีเดียมาจากหลาย ๆ ที่ หลายสังคม ความเห็นและมุมมองย่อมแตกต่างกัน การเคารพและมีมารยาทต่อกัน เป็นหัวใจสำคัญในการร่วมมือสร้างวิกิพีเดียขึ้นมาให้ประสบความสำเร็จ บทความในหน้านี้ มารยาทในวิกิพีเดีย เพื่อเป็นแนวทาง และพึงนึกเสมอว่า พื้นฐานของคนส่วนใหญ่จะเกิดความรู้สึกภูมิใจ เมื่อได้ทำงานหรือเขียนบทความอะไรลงไป การไปแก้ไขงานคนนั้น ๆ อาจทำให้เกิดความรู้สึก หงุดหงิดขึ้นมาได้ง่าย พึงควรระวัง
พื้นฐานของมารยาทในวิกิพีเดีย
- เชื่อมั่นว่าบุคคลอื่นมีเจตนาดี ทุกคนที่ร่วมเข้ามาเขียนในวิกิพีเดีย มีใจที่ต้องการสร้างบทความที่ดี และนโยบายของวิกิพีเดียเปิดโอกาสให้บุคคลเหล่านั้นสามารถเขียนและแก้ไขบทความที่ดีได้
- "จงปฏิบัติต่อผู้อื่น อย่างที่คุณปรารถนาให้เขาปฏิบัติต่อคุณ"
- สุภาพ
- พูดกับคนอื่น เหมือนกับที่อยากให้คนอื่นพูดกับเรา
- ควรหลีกเลี่ยงการใช้ภาษาแชต เพราะผู้อื่นอาจถือเป็นการดูถูก หรือไม่เหมาะสม และอาจทำให้น้ำหนักความคิดเห็นของคุณน้อยลง (ยกเว้นกับผู้ใช้ที่ยอมรับภาษาแชตในหน้าคุยกับผู้ใช้)
- ในหน้าพูดคุยหรืออภิปราย ตามมารยาทควรลงชื่อเพื่อแสดงให้เห็นถึงผู้พูด โดยการใส่เครื่องหมาย ~~~~ (ทิลดา สี่ตัว)
- หลีกเลี่ยงการย้อนการแก้ไขของผู้ใช้คนอื่น เมื่อสามารถทำได้
- ทำงานโดยอยู่ภายใต้ข้อตกลงร่วมกัน
- เวลาโต้เถียง ให้แย้งกันเรื่องข้อเท็จจริงของตัวเนื้อหา อย่าเถียงกันเรื่องความเห็นหรือการแสดงออกส่วนตัวในส่วนเนื้อหา
- พยายามควบคุมอารมณ์ของตนระหว่างการโต้เถียง
- แก้ไขหรือสรุปข้อโต้เถียงที่คุณเป็นผู้ตั้งประเด็นไว้
- อย่าเฉยเมยกับคำถามผู้อื่น ถ้ามีผู้ที่สงสัยและต้องการแก้ไขงานของเรา ควรระบุเหตุผลที่เหมาะสมในการเขียนหรือแก้ไข
- อย่าลืมขอโทษถ้ากระทำผิดพลาด
- ให้อภัยการกระทำที่ผิด และลืมมันเสีย
- อย่าปลุกกระแสให้คนอื่นทะเลาะกัน
- ช่วยไกล่เกลี่ยข้อขัดแย้งระหว่างผู้ใช้คนอื่น
- ลองดู วิกิพีเดีย:ข้อผิดพลาดที่พบบ่อย และ คำที่มักเขียนผิด (ในวิกิตำรา)
- ถ้ามีปัญหา ลองเว้นระยะไปสักพัก หรือลองดูบทความอื่น ในวิกิพีเดียภาษาไทยมีบทความให้คุณตรวจสอบแก้ไขถึง 169,692 บทความ
- ท้ายสุด อย่าลืมดูว่าวิกิพีเดีย:อะไรที่ไม่ใช่วิกิพีเดีย และ วิกิพีเดีย:นโยบายและแนวปฏิบัติ
ข้อพึงระวัง
- พยายามอธิบายให้ชัดเจน ว่าต้องการทำอะไร เฉพาะอย่างยิ่งในหน้าพูดคุย
- ผู้เขียนบทความควรจะพยายามทำความเข้าใจในการแก้ไขและการวิจารณ์ของบุคคลอื่นที่มีต่อบทความของตน
- ผู้มาใช้ใหม่ อาจผิดพลาดได้ง่าย พูดคุยด้วยคำพูดที่ดี และอธิบายข้อผิดพลาด และที่สำคัญ ต้องไม่ลืม แนะนำวิธีแก้ไขหรือหาทางออกให้
- อย่าสรุปว่า สิ่งที่เราไม่เห็นด้วย คือสิ่งที่ผิด หลาย ๆ เรื่อง สามารถหาทางออกได้มากกว่ากำหนดว่า ถูก หรือ ผิด
- อย่าว่าร้ายผู้อื่น ไม่ว่าเรื่องใดก็ตาม เพราะจะทำให้ผู้ใช้คนนั้นมีปฏิกิริยาตอบสนอง ถ้าคุณต้องการวิจารณ์ในเรื่องใดก็ตาม คุณควรจะวิจารณ์เขาอย่างสุภาพและติในเชิงก่อ
- ถึงแม้ว่ามารยาท จะมีเรื่องให้คิดมากมาย แต่อย่าลืมว่า วิกิพีเดียแนะนำให้กล้าแก้ไขบทความ
หลีกเลี่ยงการว่าร้ายในหน้าพูดคุยได้อย่างไร
- คนส่วนมากภูมิใจในงานเขียนของตนและความคิดของตน การถือตัวเองเป็นสำคัญ (อีโก) มักทำให้เกิดความเจ็บปวดในการแก้ไขบทความ แต่หน้าพูดคุยไม่ใช่หน้าที่ใช้สำหรับการโจมตี หน้าพูดคุยเป็นที่ที่ดีสำหรับการบรรเทาทุกข์หรือการไม่ทำลายการถือตัวเองเป็นสำคัญ หากมีใครไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขของคุณ พยายามทำความเข้าใจว่าทำไม และพูดคุยที่หน้าพูดคุย ใช้เวลาในการไตร่ตรอง หาเหตุผลที่ดีว่าทำไมการแก้ไขของคุณดีกว่า
- ขั้นตอนการพัฒนาปรับปรุงบทความในวิกิพีเดียเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก และการวิเคราะห์วิจารณ์งานเดิมเป็นสิ่งจำเป็นในกระบวนการ หากคุณไม่ได้เตรียมตัวให้ผลงานของคุณมีการตรวจสอบ วิเคราะห์ และวิจารณ์แล้ว วิกิพีเดียอาจไม่ใช่สถานที่สำหรับคุณ
- อย่าว่าร้ายผู้อื่น หรือโจมตีการแก้ไขผู้เขียน
- การตราหน้าผู้เขียนหรือการแก้ไข อย่างเรื่องการเหยียดเชื้อชาติ เหยียดเพศ หรือก่อให้เกิดการต่อต้าน ปลุกกระแสให้เกิดการทะเลาะกัน ทำให้การอภิปรายไม่เข้าประเด็นการเขียนบทความ หากคุณจะวิจารณ์การเขียน โปรดใช้คำสุภาพและสร้างสรรค์ หลีกเลี่ยงการด่าว่าอย่างรุนแรงและคำหยาบ แม้จะไม่มีเจตนาวิจารณ์ผู้เขียน เพราะอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดในประเด็นการโจมตีบุคคลและไม่ทำให้เกิดงาน และไม่ก่อให้เกิดบรรยากาศที่ดีต่อชุมชนวิกิพีเดีย
- อธิบายให้ชัดเจนประเด็นที่คุณต้องการสื่อ โดยเฉพาะในการตอบการอภิปราย
- ในการตอบ การคัดลอกคำพูดมาเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ แต่อธิบายให้เข้าใจย่อมดีกว่า จะเหมาะสมหากคุณอธิบายด้วยคำอย่าง "เหมือนกับที่คุณพูดว่า" หรือ "ตามที่ผมเข้าใจ" เพื่อเป็นการตอบรับว่าคุณได้พยายามทำความเข้าใจคำพูดบุคคลที่คุณกำลังสนทนาด้วย ก่อนที่จะพูดอะไรที่ผิดไป หรือเข้าใจอะไรผิดไป
- การแทรกการโต้แย้งในการวิจารณ์ของผู้อื่นกลางคัน เป็นการขัดการสนทนาไม่ให้ลื่นไหล บางคนอาจรับได้ แต่ก็ไม่ทุกคน