รัชนก อินทนนท์
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
สิบตำรวจตรีหญิง รัชนก อินทนนท์ ชื่อเล่น เมย์ (เกิด 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538) เป็นนักกีฬาแบดมินตันหญิงชาวไทย อดีตนักแบดมินตันหญิงเดี่ยวมือหนึ่งของโลกเมื่อปี พ.ศ. 2559 และเป็นคนไทยคนแรกที่ดำรงตำแหน่งดังกล่าว โดยก่อนหน้านั้นในปี 2556 เธอได้คว้าแชมป์โลกและสร้างสถิติเป็นแชมป์โลกแบดมินตันอายุน้อยที่สุด[5]
รัชนก อินทนนท์ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ข้อมูลส่วนตัว | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ชื่อเล่น | เมย์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประเทศ | ประเทศไทย | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เกิด | 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 จังหวัดยโสธร ประเทศไทย | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สถานที่พัก | กรุงเทพมหานคร | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ส่วนสูง | 169 cm (5.54 ft)[1] | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
น้ำหนัก | 58 kg (128 lb) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
มือที่ถนัด | ขวา | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ผู้ฝึกสอน | ปราโมทย์ ธีระวิวัฒน์[2] ภัททพล เงินศรีสุข[3][4] ก่อเกียรติ ชัยประสิทธิโชค | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
หญิงเดี่ยว | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สถิติการแข่งขัน | 487 ชนะ, 226 แพ้ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อันดับโลกสูงสุด | 1 (21 เมษายน 2559) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อันดับโลกปัจจุบัน | 21 (16 กรกฎาคม 2567) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รายการเหรียญรางวัล
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
BWF profile |
รัชนกสังกัดสโมสรโรงเรียนแบดมินตันบ้านทองหยอด และแข่งขันในนามสโมสรชิงเต่าในลีกระดับโลกที่ประเทศจีน ตั้งแต่ปี 2555 โดยเซ็นสัญญาแบบปีต่อปี ปัจจุบันรับราชการในตำแหน่งผู้บังคับหมู่ ฝ่ายฝึกอบรม ศูนย์ฝึกอบรม กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ประวัติ
แก้รัชนก อินทนนท์เกิดเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 ที่จังหวัดยโสธร [6]เป็นบุตรของวินัสชัย อินทนนท์ ชาวจังหวัดยโสธร และคำผัน สุวรรณศาลา ชาวจังหวัดร้อยเอ็ด (ถึงแก่กรรมแล้ว) มีน้องชาย 1 คนคือ รัชพล อินทนนท์ เมื่ออายุ 3 เดือน รัชนกย้ายเข้ากรุงเทพมหานครตามบิดาและมารดา ซึ่งมาทำงานที่โรงงานทำขนมบ้านทองหยอด และได้ใช้ชีวิตอยู่ที่นั่น นับแต่นั้น[7] รัชนกยังมีกมลา ทองกร เจ้าของโรงงานบ้านทองหยอด เป็นมารดาบุญธรรมอีกด้วย[8]
รัชนกเริ่มเล่นกีฬาแบดมินตัน เมื่ออายุได้ 6 ปี เนื่องจากกมลา ทองกร เกรงว่ารัชนกจะวิ่งเล่นซุกซนภายในโรงงานจนเกิดอุบัติเหตุได้ จึงได้นำเธอมาหัดเล่นแบดมินตันตั้งแต่บัดนั้น หนึ่งปีต่อมาเธอได้ลงแข่งขันเป็นครั้งแรก ในรายการอุดรธานี โอเพ่น และได้รับรางวัลชนะเลิศเป็นครั้งแรก[ต้องการอ้างอิง]
รัชนกสำเร็จการศึกษา ระดับมัธยมตอนต้นจากโรงเรียนกสิณธรอาคาเดมี่[9] มัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี และระดับอุดมศึกษาที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
ประวัติการเล่นอาชีพ
แก้พ.ศ. 2550 - 2552
แก้ปี พ.ศ. 2550 ด้วยวัยเพียง 12 ปี รัชนกลงแข่งขัน รายการแบดมินตันชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทยเป็นครั้งแรก และได้รับเหรียญทองแดง ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 เธอได้รับเหรียญเงิน[10] และปี พ.ศ. 2552 เธอได้รับเหรียญทองเป็นครั้งแรก โดยเอาชนะสลักจิต พลสนะ อดีตแชมป์ประเทศไทย ได้ในรองรอบชนะเลิศ และเอาชนะทรัพย์สิรี แต้รัตนชัย ได้ในรอบชิงชนะเลิศ[11]
ในระดับเยาวชน รัชนกลงแข่งขัน รายการ บีดับเบิลยูเอฟ เวิลด์จูเนียร์แชมเชียนชิพ หรือเยาวชนชิงชนะเลิศแห่งโลก เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2551 โดยเข้าถึงรอบ 8 คนสุดท้าย ก่อนที่จะพ่ายให้กับหวัง ซื่อเสียน จากสาธารณรัฐประชาชนจีน ปีต่อมา พ.ศ. 2552 รัชนกลงแข่งขันในรายการนี้อีกครั้ง และได้รับรางวัลชนะเลิศ เหรียญทอง เป็นครั้งแรก ด้วยการเอาชนะพรทิพย์ บูรณะประเสริฐสุข รุ่นพี่ทีมชาติไทย ในรอบชิงชนะเลิศ โดยเธอถือเป็นนักแบดมินตันหญิงเดี่ยวที่อายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ รวมถึงเป็นนักแบดมินตันไทยคนแรก ที่ได้รับตำแหน่งนี้[12]
พ.ศ. 2553
แก้ในปี พ.ศ. 2553 รัชนกเริ่มก้าวเข้าสู่การแข่งขันในระดับทั่วไปในรายการที่ใหญ่ขึ้น และสามารถทำผลงานได้ดีในหลายรายการ ในเดือนตุลาคม ด้วยวัย 15 ปี รัชนกสามารถคว้าแชมป์แรกในระดับกรังด์ปรีซ์ และกรังด์ปรีซ์ โกลด์ ให้กับตัวเอง ได้ที่ประเทศเวียดนาม และอินโดนีเซียตามลำดับ[13][14] และในรอบปีนั้น ยังทำผลงาน เข้ารอบก่อนรองชนะเลิศได้ในรายการไชน่า ซูเปอร์ซีรีส์ พรีเมียร์, ฮ่องกง ซูเปอร์ซีรีส์, ไชนีส ไทเป กรังด์ปรีซ์โกลด์ และโคเรีย กรังด์ปรีซ์โกลด์
ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน รัชนกเข้าร่วมแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 16 ในนามทีมชาติไทย และได้รับรางวัลเหรียญเงิน ในประเภททีมหญิง โดยในรอบชิงชนะเลิศ เธอลงแข่งขันในฐานะเดี่ยวมือ 1 และพ่ายให้กับหวัง ซิน นักแบดมินตันมือ 1 ของโลกในสมัยนั้นไปอย่างสูสี 1-2 เกม 22-20 17-21 14-21[15]
อนึ่ง ในระดับเยาวชน รัชนกยังทำผลงานได้ดีอย่างต่อเนื่อง ด้วยการคว้าเหรียญทอง ประเภทหญิงเดี่ยว รายการแบดมินตันเยาวชนชิงแชมป์โลก ได้เป็นสมัยที่ 2 ติดต่อกัน[16] ส่วนในการแข่งขันแบดมินตันชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ประจำปี พ.ศ. 2553 รัชนกเข้าถึงรอบรองชนะเลิศ ก่อนจะพ่ายต่อสลักจิต พลสนะ 21-14 21-15[17]
พ.ศ. 2554
แก้ในปี พ.ศ. 2554 รัชนกเป็นนักแบดมินตันที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด ในรายการ บีดับเบิลยูเอฟ เวิลด์จูเนียร์แชมเชียนชิพ ด้วยการสร้างประวัติศาสตร์ คว้าแชมป์เยาวชนชิงชนะเลิศแห่งโลก ได้เป็นสมัยที่ 3 ติดต่อกัน เป็นคนแรกในประวัติศาสตร์แบดมินตันโลก[18]
เดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน รัชนกเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ 2011 ในฐานะผู้เล่นทีมชาติไทย โดยลงแข่งขันทั้งในประเภทหญิงเดี่ยว และในประเภททีมหญิง ซึ่งรัชนกสามารถคว้ามาได้ 1 เหรียญทอง และ 1 เหรียญทองแดง จากประเภททีมหญิง และหญิงเดี่ยว ตามลำดับ
ในส่วนของผลงานรายการเก็บคะแนนสะสมในรอบปี รัชนกทำผลงานได้ดีที่สุด ด้วยการคว้าแชมป์ในรายการ อินเดีย โอเพ่น กรังด์ปรีซ์โกลด์ ในเดือนธันวาคม
พ.ศ. 2555
แก้ปี พ.ศ. 2555 รัชนกสามารถทำผลงาน ผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศได้ในรายการ ไทยแลนด์ โอเพ่น กรังด์ปรีซ์ โกลด์ ก่อนที่จะพ่ายต่อไซน่า เนห์วาล ไป 1-2 เซต ทำให้ได้เพียงอันดับสอง ต่อมาในเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน รัชนกได้รับสิทธิ์เข้าแข่งขันโอลิมปิก 2012 ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร เป็นครั้งแรก ในฐานะมือวางอันดับ 11 ของโลก[19] โดยเธอสามารถผ่านรอบแรกไปได้ และสามารถเอาชนะจูเลียน เชงค์ จากเยอรมันไปได้ในรอบ 16 คนสุดท้าย[20] ก่อนที่จะแพ้หวัง ซิน จากจีนในรอบ 8 คนสุดท้ายไป 1-2 เซต[21]
หลังจากนั้น รัชนกสามารถทำผลงานได้ดีอีกครั้ง ด้วยการผ่านเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศ รายการไชน่า โอเพ่น ซูเปอร์ ซีรีส์ พรีเมียร์ ก่อนที่จะพ่ายแก่หลี่ เสวี่ยรุ่ย มืออันดับ 1 ของโลก ไป 0-2 เซต ได้เพียงอันดับ 2[22] แต่นั่นก็เพียงพอทำให้รัชนก ได้สิทธิ์ไปแข่งขันรายการซูเปอร์ ซีรีส์ สุดท้ายของปี ที่จะให้สิทธิ์สำหรับนักแบดมินตัน 8 อันดับแรกที่ทำคะแนนสะสมสูงสุดในรอบปี โดยในรายการสุดท้ายนี้ รัชนกสามารถเข้าถึงรอบรองชนะเลิศ ก่อนจะพ่ายต่อหวัง ฉีเซียน จากจีน ไป 0-2 เซต 12-21 19-21[23]
พ.ศ. 2556
แก้วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 รัชนกสร้างสถิติโลกใหม่เป็นนักแบดมินตันที่อายุน้อยที่สุดที่ติดอันดับ 1 ใน 5 ของโลก ในวัยเพียง 18 ปี หลังคว้าแชมป์ "โยเน็กซ์ ซันไรส์ อินเดีย โอเพ่น"[24] และในวันที่ 20 มิถุนายน สหพันธ์แบดมินตันโลก (บีดับเบิลยูเอฟ) ประกาศการจัดอันดับนักแบดมินตันโลก รัชนก อินทนนท์ ขยับขึ้นจากอันดับ 5 ไปเป็นมือ 3 โลก ในประเภทหญิงเดี่ยว[25]
วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2556 รัชนก อินทนนท์ สามารถคว้าแชมป์การแข่งขันแบดมินตันโลกได้สำเร็จเป็นคนแรกของประเทศไทย และเป็นแชมป์โลกแบดมินตันที่มีอายุน้อยที่สุด รวมถึงในวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2556 รัชนก อินทนนท์ ได้ขึ้นมาอยู่ในอันดับ 2 ของโลก จากการจัดอันดับของสหพันธ์แบดมินตันโลก[26]
พ.ศ. 2559 - ปัจจุบัน
แก้รัชนกเป็นนักแบตมินตันคนแรกของโลกที่สามารถคว้าแชมป์ซูเปอร์ซีรีส์สามรายการติดต่อกันใน 3 สัปดาห์ ที่ประเทศอินเดีย, มาเลเซีย และสิงคโปร์ ซึ่งยังไม่เคยมีใครทำได้มาก่อน และทำคะแนนสะสมขึ้นนำเป็นนักแบตมินตันหญิงมือ 1 ของโลกประเภทหญิงเดี่ยว[27] โดยอันดับล่าสุด ณ วันที่ 1 ธันวาคม 2559 รัชนกอยู่ในอันดับที่ 3 ของโลก
ความสำเร็จ
แก้รายการ | 2013 |
แบดมินตันชิงแชมป์โลก | ทอง |
รายการ | 2009 |
2010 |
2011 |
แบดมินตันเยาวชนชิงแชมป์โลก | ทอง | ทอง | ทอง |
ชนะเลิศ (17)
แก้ปี | สถานที่แข่งขัน | รายการ | คู่ต่อสู้ในรอบชิงชนะเลิศ | ผลคะแนน |
2560 | เดนมาร์ก | เดนมาร์ก ซุปเปอร์ ซีรีส์ พรีเมียร์ | อะกะเนะ ยะมะกุชิ | 14–21, 21–15, 21-19 |
2560 | นิวซีแลนด์ | นิวซีแลนด์ โอเพน กรังด์ปรีซ์ โกลด์ | ซะเอะนะ คะวะคะมิ | 21–14, 16–21, 21–15 |
2560 | ไทย | ไทยแลนด์ โอเพน กรังด์ปรีซ์ โกลด์ | บุศนันท์ อึ๊งบำรุงพันธ์ | 21–18, 12–21, 21–16 |
2559 | สิงคโปร์ | โอยูอี สิงคโปร์ โอเพ่น ซุปเปอร์ ซีรีส์ | ซุน หยู่ | 18-21, 21-11, 21-14 |
2559 | มาเลเซีย | มาเลเซีย โอเพ่น ซุปเปอร์ ซีรีส์ พรีเมียร์ | ไต้ จือ อิ่ง | 21-14, 21-15 |
2559 | อินเดีย | โยเน็กซ์-ซันไรส์ อินเดีย โอเพ่น ซูเปอร์ ซีรีส์ | หลี่ เสวี่ยรุ่ย | 21-17, 21-18 |
2559 | ไทย | ปริ๊นเซส ศิริวัณณวรี ไทยแลนด์มาสเตอร์ | ซุน หยู่ | 21-19, 18-21, 21-17 |
2558 | อินโดนีเซีย | แบดมินตัน บีซีเอ อินโดนีเซีย ซุปเปอร์ ซีรีส์ พรีเมียร์ | ยุอิ ฮะชิโมะโตะ | 21-11, 21-10 |
2558 | จีน | แบดมินตันชิงแชมป์เอเชีย | หลี่ เสวี่ยรุ่ย | 20-22, 23-21, 21-12 |
2556 | จีน | แบดมินตันชิงแชมป์โลก | หลี่ เสวี่ยรุ่ย | 22-20, 18-21, 21-14 |
2556 | ไทย | เอสซีจี ไทยแลนด์ โอเพ่น กรังด์ปรีซ์ โกลด์ | บุศนันท์ อึ๊งบำรุงพันธ์ | 20-22, 21-19, 21-13 |
2556 | อินเดีย | โยเน็กซ์-ซันไรส์ อินเดีย โอเพ่น ซูเปอร์ ซีรีส์ | จูเลียน เชงค์ | 22-20, 21-14 |
2554 | อินเดีย | โยเน็กซ์-ซันไรส์ อินเดีย โอเพ่น กรังด์ปรีซ์ โกลด์ | พรทิพย์ บูรณะประเสริฐสุข | ถอนตัว |
2553 | อินโดนีเซีย | อินโดนีเซีย โอเพ่น กรังด์ปรีซ์ โกลด์ | เฉา ฉี เฉิง | 21-12, 19-21, 21-16 |
2553 | เวียดนาม | โยเน็กซ์-ซันไรส์ เวียดนาม โอเพ่น กรังด์ปรีซ์ | โจว หุย | 21-17, 22-20 |
2553 | ไทย | สมายลิ่ง ฟิช อินเตอร์เนชั่นแนล ซีรีส์ | รวินดา ประจงใจ | 21-10, 21-17 |
2552 | เวียดนาม | เวียดนาม อินเตอร์เนชั่นแนล แชลเลนจ์ | มาเรีย อัลฟิรา คริสตินา | 21-18, 21-14 |
- รายการระดับ ซูเปอร์ ซีรีส์ พรีเมียร์ และซูเปอร์ ซีรีส์
- รายการระดับ กรังด์ปรีซ์ โกลด์ และกรังด์ปรีซ์
ผลงาน
แก้รายการระดับซูเปอร์ ซีรีส์ และกรังด์ปรีซ์
แก้- ความหมาย
W | F | SF | QF | #R | A | N/A | NH |
การเข้าชิงชนะเลิศ : 10 (5-5)
แก้ผลลัพธ์ | ปี (พ.ศ.) | รายการ | ระดับ | คู่แข่งขัน | คะแนน |
---|---|---|---|---|---|
ชนะเลิศ | 2553 | เวียดนาม โอเพ่น | กรังด์ปรีซ์ | โจว หุย | 21-18, 21-14 |
ชนะเลิศ | 2553 | อินโดนีเซีย โอเพ่น | กรังด์ปรีซ์ โกลด์ | เฉา ฉี เฉิง | 21-12, 19-21, 21-16 |
รองชนะเลิศ | 2554 | ไชนีส ไทเป โอเพ่น | กรังด์ปรีซ์ โกลด์ | ซุง จีฮุน | 20–22, 14–21 |
ชนะเลิศ | 2554 | อินเดีย โอเพ่น | กรังด์ปรีซ์ โกลด์ | พรทิพย์ บูรณะประเสริฐสุข | ถอนตัว |
รองชนะเลิศ | 2555 | ไทยแลนด์ โอเพ่น | กรังด์ปรีซ์ โกลด์ | ไซน่า เนวาห์ล | 21-19, 15-21, 10-21 |
รองชนะเลิศ | 2555 | ไชน่า โอเพ่น | ซูเปอร์ ซีรีส์ พรีเมียร์ | หลี่ เสวี่ยรุ่ย | 12-21, 9-21 |
รองชนะเลิศ | 2556 | ออล อิงแลนด์ | ซูเปอร์ ซีรีส์ พรีเมียร์ | ทิเน่ เบาน์ | 14-21, 21-16, 10-21 |
รองชนะเลิศ | 2556 | สวิส โอเพ่น | กรังด์ปรีซ์ โกลด์ | หวัง ซื่อเสียน | 16-21, 12-21 |
ชนะเลิศ | 2556 | อินเดีย โอเพ่น | ซูเปอร์ ซีรีส์ | จูเลียน เชงค์ | 21-1,0-21,29-30 |
ชนะเลิศ | 2556 | ไทยแลนด์ โอเพ่น | กรังด์ปรีซ์ โกลด์ | บุศนันท์ อึ๊งบำรุงพันธ์ | 20-22, 21-19, 21-13 |
รางวัลที่ได้รับ
แก้- นักแบดมินตันดาวรุ่งยอดเยี่ยมประจำปี 2552 สหพันธ์แบดมินตันโลก (ฺEDDY CHOONG MOST PROMISING PLAYER OF THE YEAR AWARD 2009 - Badminton World Federation)[28]
- รางวัลนักกีฬาที่เป็นแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนทั่วโลกปี 2553 จากคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (2010 IOC SPORT-INSPIRING YOUNG PEOPLE TROPHY)[29][30]
- รางวัลนักกีฬาสมัครเล่นยุวชนหญิงยอดเยี่ยม สมาคมผู้สื่อข่าวกีฬาแห่งประเทศไทย ประจำปี 2552
- รางวัลนักกีฬาสมัครเล่นยุวชนหญิงยอดเยี่ยม สมาคมผู้สื่อข่าวกีฬาแห่งประเทศไทย ประจำปี 2553
- รางวัลนักกีฬาสมัครเล่นยอดเยี่ยมหญิง สมาคมผู้สื่อข่าวกีฬาแห่งประเทศไทย ประจำปี 2554 (ถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว) [31]
- รางวัลนักกีฬาสมัครเล่นยอดเยี่ยมหญิง สมาคมผู้สื่อข่าวกีฬาแห่งประเทศไทย ประจำปี 2556 (ถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว) [32]
- รางวัลนักกีฬาสมัครเล่นยอดเยี่ยมหญิง สมาคมผู้สื่อข่าวกีฬาแห่งประเทศไทย ประจำปี 2558 (ถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว) [33]
- พ.ศ. 2557 รางวัลนักกีฬาสมัครเล่นยอดเยี่ยมหญิง สยามกีฬาอวอร์ดส์ ครั้งที่ 8 [34][35]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2559 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 2 ทุติยดิเรกคุณาภรณ์ (ท.ภ.)[36]
อ้างอิง
แก้- ↑ "Ratchanok Intanon". bwfbadminton.com. Badminton World Federation. สืบค้นเมื่อ 7 April 2018.
- ↑ 'เมย์'แชมป์แบด-มอบเงินช่วยบ้านปราโมทย์ : ข่าวสดออนไลน์
- ↑ "หนังสือพิมพ์บ้านเมือง » หวั่นเจ็บเรื้อรังเมย์พบหมอ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-06. สืบค้นเมื่อ 2013-06-08.
- ↑ “โค้ชเป้” ยัน “เมย์” ไม่ลุย “ปัญญาชนโลก” - เดลินิวส์
- ↑ "Sport - Manager Online - เมย์ ล้มมือ 1 ซิวแชมป์โลกอายุน้อยสุด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-13. สืบค้นเมื่อ 2013-08-11.
- ↑ "ชีวประวัติ เมย์ รัชนก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-20. สืบค้นเมื่อ 2020-08-20.
- ↑ ชีวิตวัยเด็ก รัชนก อินทนนท์
- ↑ 15 เรื่องที่คนไทยต้องรู้! สาวน้อยอัจฉริยะวงการขนไก่ 'เมย์ รัชนก' มือ 1หญิงของโลก
- ↑ 'รัชนก' สู้ชีวิต! ตีแบดส่งน้องเรียน
- ↑ เมย์ – รัชนก อินทนนท์ THE PRINCESS OF BADMINTON
- ↑ SCG ALL THAILAND BADMINTON CHAMPIONSHIP 2009-Woman Single Draw
- ↑ รัชนกกระหึ่ม ซิวแชมป์โลก แบดจูเนียร์ ที่มาเลย์
- ↑ 'น้องเมย์'กระหึ่ม บุกซิวแชมป์ตบขนไก่ที่เวียดนาม
- ↑ 'น้องเมย์'สุดยอด โค่นเต็ง4 ซิวแชมป์แบดที่อิเหนา
- ↑ ยังไม่ทอง! ขนไก่สาวพ่ายจีนได้แค่เหรียญเงิน
- ↑ รัชนกสร้างชื่ออีก ซิวแชมป์ แบดเยาวชนโลก
- ↑ 'สลักจิต' ล้างแค้น 'รัชนก' ลิ่วเข้าชิงแบด ปทท.
- ↑ น้องเมย์ผงาดแชมป์3สมัยขนไก่โลก
- ↑ 6 นักแบดไทย ไปโอลิมปิก
- ↑ น้องเมย์ผงาดโค่นมือเก๋าเข้ารอบ8คน
- ↑ รัชนกสู้อย่างประทับใจแต่ต้านหมวยจีนไม่ไหว
- ↑ ได้รองแชมป์
- ↑ น้องเมย์แพ้จีน อดเข้ารอบชิง
- ↑ "สถิติโลกใหม่! น้องเมย์ ผงาดขึ้นมือ 5 ของโลก ที่อายุน้อยสุด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-06. สืบค้นเมื่อ 2013-06-08.
- ↑ ขนไก่ไทยเฮ! 'เมย์' ยึดมือ 3 โลก 'แมน' ขึ้นที่ 4 - ข่าวไทยรัฐออนไลน์
- ↑ 'น้องเมย์' ทะลุขึ้นมือ 2 ขนไก่โลก ไล่จี้มือ 1 แค่เอื้อม - ข่าวไทยรัฐออนไลน์
- ↑ Ratchanok seizes world No.1 ranking
- ↑ Eddy Choong Most Promising Player of the year
- ↑ รางวัล IOC Trophy
- ↑ น้องเมย์สุดปลื้มคว้ารางวัลจากไอโอซี
- ↑ งานวันนักกีฬายอดเยี่ยม ของสมาคมผู้สื่อข่าวกีฬาแห่งประเทศไทย ประจำปี 2554
- ↑ งานวันนักกีฬายอดเยี่ยม ของสมาคมผู้สื่อข่าวกีฬาแห่งประเทศไทย ประจำปี 2556
- ↑ งานวันนักกีฬายอดเยี่ยม ของสมาคมผู้สื่อข่าวกีฬาแห่งประเทศไทย ประจำปี 2558
- ↑ "จิระพงศ์-รัชนกซิวนักกีฬายอดเยี่ยมสยามกีฬาฯ - Sport - Manager Online". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2014-03-06.
- ↑ 'จิระพงศ์-รัชนก' ซิวนักกีฬาสมัครเล่นยอดเยี่ยม - ข่าวไทยรัฐออนไลน์
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ เป็นกรณีพิเศษ เก็บถาวร 2022-05-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๑๑ ข หน้า ๑, ๒๖ เมษายน ๒๕๕๙
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- รัชนก อินทนนท์ ที่ BWF.tournamentsoftware.com (ในภาษาอังกฤษ)
- รัชนก อินทนนท์ ที่ BWFbadminton.com (ในภาษาอังกฤษ)