รถด่วนพิเศษทักษิณารัถย์

รถด่วนพิเศษทักษิณารัถย์ (ทักษิณารัถย์ แปลว่า ทางเดินสู่ภาคใต้; รหัสขบวน: 31/32) เป็นขบวนรถด่วนพิเศษของการรถไฟแห่งประเทศไทย ให้บริการผู้โดยสารระหว่างสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ (สถานีกลางบางซื่อ) เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร กับสถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เป็นขบวนรถด่วนพิเศษในสายใต้ ชนิดรถที่ให้บริการได้แก่ รถนั่งและนอนปรับอากาศชั้น 1 รถนั่งและนอนปรับอากาศชั้น 2 รถเสบียงปรับอากาศ รถเฉพาะผู้พิการมีลิฟต์สำหรับรับรถผู้พิการ และรถเฉพาะสุภาพสตรีและเด็กผู้หญิง ทุกตู้จะมีเจ้าหน้าที่ประจำตู้และรถไฟขบวนนี้มีทางขึ้นทั้งแบบชานชาลาต่ำและชานชาลาสูง รถไฟขบวนนี้มีตู้ปั่นไฟ มีถังเก็บน้ำ และมีถังเก็บสิ่งปฏิกูลซึ่งใช้ระบบสุญญากาศ แบบเดียวกันกับที่ใช้บนเครื่องบิน

รถด่วนพิเศษทักษิณารัถย์
รถด่วนพิเศษทักษิณารัถย์ที่สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) เมื่อเมษายน พ.ศ. 2560
ข้อมูลทั่วไป
ประเภทรถด่วนพิเศษ
สถานะเปิดให้บริการ
ที่ตั้งกรุงเทพมหานคร, นนทบุรี, นครปฐม, ราชบุรี, เพชรบุรี, ประจวบคีรีขันธ์, ชุมพร, สุราษฎร์ธานี, นครศรีธรรมราช, พัทลุง และสงขลา
ให้บริการครั้งแรก2 ธันวาคม พ.ศ. 2559 (7 ปีก่อน)[1]
ผู้ให้บริการการรถไฟแห่งประเทศไทย
เส้นทาง
ปลายทางกรุงเทพอภิวัฒน์
ชุมทางหาดใหญ่
จอด13
ระยะทาง946 km (588 mi)
เวลาเดินทาง16 ชั่วโมง 35 นาที
ความถี่ให้บริการ2 เที่ยวต่อวัน (เที่ยวไป/เที่ยวกลับ)
เลขขบวน31 (เที่ยวไป)
32 (เที่ยวกลับ)
ในเส้นทางทางรถไฟสายใต้
บริการบนขบวน
ชั้นชั้น 1,2
ผู้พิการเข้าถึงได้มีบริการ
ที่นอนรถนั่งและนอนชั้น 1
รถนั่งและนอนชั้น 2
บริการอาหารตู้เสบียง
ข้อมูลทางเทคนิค
ขบวนรถรถจักรคิวเอสวาย
บนอ.ป.1101-1109
บนท.ป.1301-1379
บนท.ป.1401-1409
รางกว้าง1,000 mm (3 ft 3 38 in)
ความเร็ว120 km/h (75 mph)

รถด่วนพิเศษทักษิณารัถย์เริ่มเดินรถเที่ยวปฐมฤกษ์ในเส้นทางกรุงเทพมหานคร-ชุมทางหาดใหญ่ เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2559[1] หลังจากการรถไฟแห่งประเทศไทยได้จัดซื้อรถไฟโดยสารเชิงพาณิชย์รุ่นใหม่จากประเทศจีนจำนวนทั้งหมด 115 คัน โดยขบวนรถได้รับพระราชทานชื่อจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี[2] ร่วมกับรถด่วนพิเศษของการรถไฟแห่งประเทศไทยในอีก 3 เส้นทาง ได้แก่ อุตราวิถี อีสานมรรคา และอีสานวัตนา

ผังขบวน แก้

หมายเลขตู้ขาล่อง 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13
หมายเลขตู้ ขาขึ้น 1 13 12 11 10 9 8 7 6 5 4 3 2
ประเภทตู้ ตู้ปั่นไฟ

(บฟก.ป)

ชั้นสอง (บนท.ป.CNR) ตู้เสบียง

(บกข.ป)

ชั้นสอง (บนท.ป.CNR) ชั้นหนึ่ง

(บนอ.ป CNR)

จำนวนที่นั่ง 6 40 40 40 40 36 26 40 40 40 40 40 24
สิ่งอำนวย
ความสะดวก
ที่นอนและห้องน้ำสำหรับเจ้าหน้าที่ สุขา สุขา สุขา สุขา สุขาผู้พิการ
พื้นที่วีลแชร์
โต๊ะสำหรับทานอาหาร สุขา สุขา สุขา สุขา สุขา สุขา
ห้องอาบน้ำ
  • ขาล่องหัวรถจักรจะอยู่ติดกับตู้ปั่นไฟ (บฟก.ป) ขาขึ้นหัวรถจักรจะอยู่ติดกับตู้ชั้นหนึ่ง (บนอ.ป CNR)
  • มีตะขอพ่วงและท่อลมที่พ่วงกับหัวรถจักรที่ตู้ปั่นไฟกับตู้ชั้นหนึ่งเท่านั้น ตู้โดยสารที่อยู่ระหว่างตู้ปั่นไฟกับตู้ชั้นหนึ่งเป็นตะขอพ่วงซึ่งเป็นชนิดเดียวกันกับรถไฟฟ้า ไม่สามารถแยกกันได้
  • หมายเลขของตู้ปั่นไฟ (บฟก.ป) จะใช้หมายเลข 1 ทั้งขาขึ้นและขาล่อง
  • ตู้เฉพาะสุภาพสตรีและเด็กผู้หญิง หรือ Lady Car จะอยู่ติดกับตู้ชั้นหนึ่ง (บนอ.ป CNR) [ขาล่อง - ตู้หมายเลข 12 , ขาขึ้น - ตู้หมายเลข 3 ]
  • ตู้สำหรับผู้พิการ (วีลแชร์) จะอยู่ติดกับรถเสบียง (บกข.ป) [ขาล่อง - ตู้หมายเลข 6 , ขาขึ้น - ตู้หมายเลข 9]

กำหนดเวลาเดินรถ แก้

รถด่วนพิเศษทักษิณารัถย์มีกำหนดเวลาดังต่อไปนี้

เที่ยวล่อง แก้

ขบวนที่ 31
(กลางกรุงเทพอภิวัฒน์ - ชุมทางหาดใหญ่)
สถานี ถึง ออก หมายเหตุ
กลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ต้นทาง 16.50 -
บางบำหรุ 17.01 17.02 -
ศาลายา 17.22 17.23 -
นครปฐม 17.48 17.50 -
บ้านโป่ง 18.08 18.09 -
ราชบุรี 18.37 18.47 -
เพชรบุรี 19.30 19.31 -
หัวหิน 20.20 20.25 -
ประจวบคีรีขันธ์ 21.40 21.41 -
ชุมพร 23.55 00.05 -
สุราษฎร์ธานี 02.20 02.23 -
ชุมทางทุ่งสง 04.08 04.18 -
พัทลุง 05.51 05.53 -
ชุมทางหาดใหญ่ 07.05 ปลายทาง -


เที่ยวขึ้น แก้

ขบวนที่ 32
(ชุมทางหาดใหญ่ - กลางกรุงเทพอภิวัฒน์)
สถานี ถึง ออก หมายเหตุ
ชุมทางหาดใหญ่ ต้นทาง 17.45 -
พัทลุง 18.55 18.57 -
ชุมทางทุ่งสง 20.27 20.37 -
สุราษฎร์ธานี 22.21 22.24 -
ชุมพร 00.44 00.54 -
ประจวบคีรีขันธ์ 03.07 03.08 -
หัวหิน 04.22 04.27 -
เพชรบุรี 05.20 05.23 -
ราชบุรี 06.05 06.08 -
บ้านโป่ง 06.37 06.38 -
นครปฐม 06.56 07.06 -
ศาลายา 07.33 07.34 -
บางบำหรุ 07.56 07.57 -
กลางกรุงเทพอภิวัฒน์ 08.10 ปลายทาง -


อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "อัปเดต รถไฟรุ่นใหม่ ข้อมูลที่ต้องรู้ก่อนจอง ตารางเวลา และราคา". สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "'สมเด็จพระเทพฯ' พระราชทานชื่อขบวนรถไฟ4สาย". สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)