ภูมิแผ่นดิน นวมินทร์มหาราชา

ภูมิแผ่นดิน นวมินทร์มหาราชา เป็นเพลงเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒ ขับร้องโดยศิลปินจำนวน 72 คน

ประวัติ แก้

เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒ โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ได้รับเกียรติจากรัฐบาลให้เป็นเจ้าภาพประสานความร่วมมือเพื่อจัดทำเพลงสัญลักษณ์ในโอกาสดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ชาวไทยทั่วโลกใช้เป็นสื่อสัญลักษณ์ในการแสดงความจงรักภักดีแด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยได้เชิญบุคคลและหน่วยงานต่างๆ จากภาครัฐและเอกชน ร่วมเป็นคณะดำเนินการจัดทำเพลง แบ่งเป็นคณะกรรมการต่างๆ จำนวน 8 คณะ โดยให้ศิลปิน 9 ท่าน ซึ่งเป็นคณะกรรมการฝ่ายประพันธ์เพลงร่วมกันประพันธ์เพลงความยาวประมาณ 4 นาทีเศษ และได้พิจารณาตั้งชื่อเพลงนี้ว่า "ภูมิแผ่นดิน นวมินทร์มหาราชา" คณะกรรมการประสานงานฝ่ายนักร้องจึงได้พิจารณาเชิญนักร้อง 72 คนร่วมขับร้องและบันทึกเสียงเพลงนี้ร่วมกับวงดนตรีเฉลิมราชย์ จากนั้นจีงดำเนินการจัดทำเทปเพลง แผ่นเสียง และวีดิทัศน์ประกอบเพลงเพื่อเผยแพร่แก่สาธารณชน

นอกจากเพลงนี้จะใช้ร้องถวายพระพรเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พ.ศ. 2542 แล้ว วงดุริยางค์ทหารบกก็ได้นำเพลงนี้มาขับร้องถวายพระพรต่อเบื้องพระพักตร์ ในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ ประจำปี พ.ศ. 2542 ด้วย

ปัจจุบันเพลงภูมิแผ่นดิน นวมินทร์มหาราชา ยังคงนิยมร้องเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร อยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร แม้ว่าจะล่วงเลยโอกาสดังกล่าวมานานแล้วก็ตาม

อนึ่ง รัฐบาลไทยได้จัดเพลงนี้ให้เป็น 1 ใน 6 เพลงสำคัญของแผ่นดิน ตามมติคณะรัฐมนตรีลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2546

ผู้ประพันธ์เพลง ภูมิแผ่นดิน นวมินทร์มหาราชา แก้

คำร้อง แก้

ทำนอง แก้

เรียบเรียงเสียงประสาน แก้

บรรเลง แก้

ผู้ขับร้องเพลง ภูมิแผ่นดิน นวมินทร์มหาราชา แก้

  1. กรรณิการ์ อารีสมาน
  2. กษาปณ์ จำปาดิบ
  3. กฤช จิรศักดิ์
  4. กฤติกร ผลสิริไพศาล
  5. กุลชร กลิ่นประดับ
  6. โก๊ะตี๋ อารามบอย
  7. กัญญารัตน์ กุยสุวรรณ
  8. ขวัญระวี กาญจนะผลิน
  9. คณาคำ อภิรดี
  10. เคียส พันตา
  11. จิตติมา เจือใจ
  12. จินตนา สุขสถิตย์
  13. เจนเชาวน์วัฒน์ จันทร์หอม
  14. ชรินทร์ นันทนาคร
  15. ชุมศักดิ์ สุกาญจนะ
  16. เชน เมืองครุธ
  17. เชษฐา ฉายาช่าง
  18. ฐิติมา สุตสุนทร
  19. ดาว มยุรี
  20. ดาวใจ ไพจิตร
  21. ดำรงเดช เจริญบุตร
  22. โดม มาร์ติน
  23. ทนงศักดิ์ ภักดีเทวา
  24. ทิพย์วรรณ ปิ่นภิบาล
  25. ทิพย์อาภา ชื่นประดิษฐ์
  26. ธรรพ์ณธร ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา
  27. ธานินทร์ อินทรเทพ
  28. นนทิยา จิวบางป่า
  29. นริศ อารีย์
  30. นันทิดา แก้วบัวสาย
  31. นันทนา บุญหลง
  32. เนล โคแลท
  33. น้ำค้าง เดือนเพ็ญ
  34. ปกรณ์ ปานเจริญ
  35. ปนัดดา เรืองวุฒิ
  36. ประเสริฐศรี จันทน์อาภรณ์
  37. ปิยะวัฒน์ เปี่ยมเบี้ย
  38. พรรณนิภา จิระศักดิ์
  39. พรหมมาตร แพงหนู
  40. พร้อมบุญ ชูธง
  41. พัชริดา วัฒนา
  42. พันทิวา สินรัชตานันท์
  43. พีระพงษ์ พลชนะ
  44. ภูวนาท คุนผลิน
  45. ภูสมิง หน่อสวรรค์
  46. มนตรี แพร่ศิริพุฒิพงศ์
  47. มีศักดิ์ นาครัตน์
  48. เมตตา วันพิรุณ
  49. รามจิตติ หงสกุล
  50. รุ่งพิรุณ เมธารมณ์
  51. รุ่งรัตน์ กุยสุวรรณ
  52. รัตนาภรณ์ เอี่ยมยิ่ง
  53. วันชนะ เกิดดี
  54. วินัย พันธุรักษ์
  55. วิสุทธิ์ เอมเปีย
  56. ศรัณย่า ส่งเสริมสวัสดิ์
  57. ศรีสุดา รัชตะวรรณ
  58. ศิริพร อยู่ยอด
  59. สนสกุล ยงประยูร
  60. สมิทธิ์ บัณฑิตย์
  61. สวลี ผกาพันธ์
  62. สลักจิตร ดวงจันทร์
  63. สันติ ดวงสว่าง
  64. สุเทพ วงศ์กำแหง
  65. สุนันท์ เทพทองพูน
  66. เสกสรร บุญมาเลิศ
  67. แสงสุรีย์ รุ่งโรจน์
  68. อริสมันต์ พงษ์เรืองรอง
  69. อานุภาพ จริโมภาส
  70. อ้อยใจ แดนอีสาน
  71. อิทธิพลธนินทร์ เดชฤกษ์ปาน
  72. เอ๋ สันติภาพ

แหล่งข้อมูลอื่น แก้