ธรรพ์ณธร ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา
ธรรพ์ณธร ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา (ชื่อเล่น อู๋) เกิดเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 เป็นนักร้องชายชาวไทย
ธรรพ์ณธร ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา | |
---|---|
![]() | |
ข้อมูลพื้นฐาน | |
ชื่อเกิด | ธรรพ์ณธร ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา |
เกิด | 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 |
แนวเพลง | ร็อก, ป็อป, บลูส์-ร็อก, ป็อปร็อก, ออลเทอร์นาทิฟร็อก |
อาชีพ | นักร้อง |
ช่วงปี | พ.ศ. 2538—ปัจจุบัน |
ค่ายเพลง | มิวสิคเอ็กซ์ อาร์.เอส.โปรโมชั่น มอนสเตอร์ มิวสิค (ในเครือ อาร์เอส) อากู (ในเครือ แกรมมี่) มอร์ มิวสิค (ในเครือ แกรมมี่) |
ส่วนเกี่ยวข้อง | 4Gzm (โฟกัสซั่ม) |
สมาชิก | 4Gzm (โฟกัสซั่ม) |
ประวัติแก้ไข
ธรรพ์ณธรเป็นบุตรชายของพ่อซึ่งเป็นทหารบกฝ่ายสรรพาวุธ ซึ่งชื่อ "ธรรพ์ณธร" (อ่านว่า /ทัน-นะ-ทอน/) มีความหมายว่า "ผู้ที่รักษาไว้ซึ่งเสียงเพลง" (คนธรรพ์ สมาสกับคำว่า ธร ซึ่งแปลว่า รักษา)[1] ขณะเรียนอยู่ที่คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้ทำกิจกรรมด้านบันเทิงกับคณะมาโดยตลอด เช่น ละครเวที เป็นต้น และเคยเข้าประกวดร้องเพลงกับสยามกลการ[2]
ธรรพ์ณธร มีชื่อเสียงจากการออกอัลบั้มชุดแรกในปี พ.ศ. 2538 ด้วยการออกเป็นมินิอัลบั้ม มี สุธี แสงเสรีชน เป็นโปรดิวเซอร์ ในชื่อชุด "TNT" มีความหมายถึงชื่อย่อในภาษาอังกฤษของตัวเอง อีกทั้งยังเกี่ยวเนื่องถึงงานที่พ่อทำเกี่ยวกับระเบิดด้วย มีเพลงที่ได้รับความนิยม คือ ร้อน, ร่ำลา และ เกิดเป็นผู้ชาย ซึ่งเป็นเพลงเก่าของสุธีด้วย และออกเป็นอัลบั้มเต็มในปี พ.ศ. 2539 ซึ่งทำให้ได้รับรางวัลสีสันอะวอร์ดส์ สาขา ศิลปินชายเดี่ยวยอดเยี่ยม และศิลปินชายร็อคยอดเยี่ยมประจำปี ด้วย
ธรรพ์ณธรเป็นนักร้องร็อคที่เสียงดีมาก ด้วยเรนจ์เสียงที่กว้าง การออกคำร้องชัด เสียงสูงที่ทรงพลัง เสียงต่ำที่อบอุ่น ไดนามิคการร้องชัดเจน ร้องเพลงได้หลากหลายแนว และมีน้ำเสียงที่คล้ายคลึงกับ เป้ ไฮ-ร็อก แต่ทว่ามีพลังเสียงที่หนักแน่นกว่า ผลงานเพลงในระยะแรกจึงออกไปในทางหนักหน่วง เป็นบลูส์-ร็อก
ในปี พ.ศ. 2542 ได้ย้ายมาสังกัดกับค่าย อาร์.เอส. โปรโมชั่น ใช้ชื่อว่า "คนธรรพ์ณธร" มีเพลงที่ได้รับความนิยมคือ หัวใจกระดาษ, เมื่อรักมันห่วย และ ฉีดยา เป็นต้น โดยลดความหนักแน่นลงเป็นป็อปร็อก และได้รับรางวัลสีสันอะวอร์ดส สาขา ศิลปินชายร็อคยอดเยี่ยมประจำปี อีกครั้ง
จากนั้นจึงได้ออกอัลบั้มร่วมกับ โฟร์ท นฤมล จิวังกูร นักร้องสาวร่วมค่ายในชื่อชุด "Fire & Ice" ในปี พ.ศ. 2543 และได้ออกอัลบั้มกับอาร์.เอส.มาอีกหลายชุด รวมทั้งได้ออกอัลบั้มร่วมกับ โฟร์ท นฤมล อีกชุดหนึ่งด้วย คือ "แสงและเงา" ในปี พ.ศ. 2546
ในปี พ.ศ. 2548 ได้ย้ายเข้าสังกัดอากูในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และได้ออกอัลบั้มมาหนึ่งชุด โดยเป็นการนำเอาเพลงเก่า ๆ ที่ได้รับความนิยมมาร้องใหม่ในแบบของตน[3]
ผลงานแก้ไข
สตูดิโออัลบั้มแก้ไข
EPแก้ไข
- TNT (2538)
- อัลบั้มที่ผลิตโดยในสังกัดอาร์เอส
- คนธรรพ์ณธร (2542)
- พายุธรรพ์ณธร (2544)
- Instinct (2546)
- อัลบั้มที่ผลิตโดยในสังกัดจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
- ทุ่มเท (2548)
ผลงานร่วมกับศิลปินอื่นแก้ไข
- Fire & Ice ร่วมกับ โฟร์ท นฤมล (2543)
- แสงและเงา ร่วมกับ โฟร์ท นฤมล (2546)
- More Cattle ร่วมกับ แบล็คเฮด ซีล อินสติงต์ The King Kong (2549)
เพลงพิเศษแก้ไข
- น้ำท่วม ไม่มิดใจ (2554)
อัลบั้มรวมแก้ไข
- BORN TO BE (2543)
- MASTERPIECE (2544)
- ผู้ชายธรรพ์ณธร (2546)
- ธรรพ์ณธร ทั้งชีวิต (2548)
คอนเสิร์ตแก้ไข
- คอนเสิร์ต ด้วยพลังและกำลังใจ เพื่อโลกใบเดียวกัน FESPIC Games Bangkok '99 (2542)
- คอนเสิร์ต Dunk Live in Concert (2542)
- คอนเสิร์ต Meeting Concert Teenlennium (2543)
- คอนเสิร์ต Power voice Power live Concert (2543)
- คอนเสิร์ต The Celebration Concert (2544)
- คอนเสิร์ต ถูกใจคนไทย ร่วมใจใช้สินค้าถูกกฎหมาย (2545)
- คอนเสิร์ต Meeting Concert Super Surprise Trilogy (2546)
- คอนเสิร์ต Parn Exclusive Live! The Million Thanks Concert (2546)
- คอนเสิร์ต ทรัพย์สินทางปัญญา (2546)
- คอนเสิร์ต Ford & Friends Concert (2553)
- คอนเสิร์ต 40 ปี the legend of the guitar (2553)
- คอนเสิร์ต ’90 กำเนิดอินดี้ รุ่นพี่ออกเทป (2558)
- คอนเสิร์ต Rock In Pain Concert (2559)
ภาพยนตร์แก้ไข
- มือปืน โลก/พระ/จัน (2544)
ละครแก้ไข
- รหัสหัวใจ (ปี 2547 / กันตนา / ช่อง 7)