วิรัช อยู่ถาวร
วิรัช อยู่ถาวร เป็นนักดนตรี นักแต่งเพลงชาวไทย ผู้ได้รับยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีสากล) พุทธศักราช 2560 มีผลงานในนามศิลปิน "3 วิ" ร่วมกับ วิชัย ปุญญะยันต์ และวินัย พันธุรักษ์ ในวงซิลเวอร์แซนด์ และวงพิงค์แพนเตอร์, เป็นผู้แต่งทำนองและเรียบเรียงเสียงประสานเพลง พ่อแห่งแผ่นดิน และแต่งเพลงประกอบละครโทรทัศน์หลายเรื่องให้กับไทยทีวีสีช่อง 3 เช่น แต่ปางก่อน, ปริศนา, แม่นาคพระโขนง (สัญญาใจ) เป็นต้น
วิรัช อยู่ถาวร | |
---|---|
เกิด | 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2486 อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง |
แนวเพลง | เพลงลูกกรุง |
อาชีพ | นักร้อง นักดนตรี นักแต่งเพลง |
ช่วงปี | พ.ศ. 2505 - ปัจจุบัน |
ศิลปินแห่งชาติ | สาขาศิลปะการแสดง ประเภทดนตรีสากล พ.ศ. 2560 |
ประสบการณ์ด้านสิทธิของนักแต่งเพลง เป็นกรรมการผู้ก่อตั้ง และประธานกรรมการ บริษัท ลิขสิทธิ์ดนตรี (ประเทศไทย) จำกัด (Music Copyright Thailand: MCT) ซึ่งเป็นองค์กรบริหารจัดการลิขสิทธิ์ของนักแต่งเพลงของไทย โดยเป็นเพียงองค์กรเดียวในประเทศไทยที่ได้รับการเป็นสมาชิกขององค์กร CISAC (สมาพันธ์แห่งสมาคมผู้สร้างสรรค์และนักแต่งเพลงระหว่างประเทศ) นอกจากนี้ ยังเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมศิลปะร่วมสมัยชุดใหม่[1] ในสมัยคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 61 ภายหลังรัฐประหาร ในนามคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
- พ.ศ. 2550 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว.)[2]
- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[3]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2022-06-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๖ ข หน้า ๓, ๕ พฤษภาคม ๒๕๕๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๓ เก็บถาวร 2022-05-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๒ ข หน้า ๒๔๐, ๒๙ มกราคม ๒๕๖๔
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
- ประวัติจาก KPN
- ประวัติจากMCT เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- CISAC
บทความนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล หมายเหตุ: ขอแนะนำให้จัดหมวดหมู่โครงให้เข้ากับเนื้อหาของบทความ (ดูเพิ่มที่ วิกิพีเดีย:โครงการจัดหมวดหมู่โครงที่ยังไม่สมบูรณ์) |