แสงสุรีย์ รุ่งโรจน์

แสงสุรีย์ รุ่งโรจน์ (27 กรกฎาคม พ.ศ. 2496 – 10 กันยายน พ.ศ. 2564) เป็นนักร้องเพลงลูกทุ่งชายที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งในประเทศไทยช่วงปี พ.ศ. 2520-2524 เส้นทางการขึ้นมาเป็นนักร้องของเขานั้น มีความแตกต่างจากนักร้องลูกทุ่งรุ่นเดียวกันและรุ่นก่อนหน้านั้นอยู่มาก เพราะเขามีผลงานเพลงโด่งดังขึ้นมาโดยที่ไม่เคยเป็นนักร้องอยู่กับวงดนตรีลูกทุ่งวงใดมาก่อน โดยเขาโด่งดังมาจากผลงานเพลงแรกที่เขาบันทึกเสียงคือ "แห่ขันหมาก" และหลังจากนั้นก็ผลิตผลงานเพลงที่ไพเราะกินใจออกมามากมายหลายเพลง

แสงสุรีย์ รุ่งโรจน์
ชื่อเกิดแสงสุรีย์ รุ่งโรจน์
เกิด27 กรกฎาคม พ.ศ. 2496
ที่เกิดอำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย
เสียชีวิต10 กันยายน พ.ศ. 2564 (68 ปี)
จังหวัดสมุทรสาคร ประเทศไทย
แนวเพลงลูกทุ่ง
ช่วงปีพ.ศ. 2520 - 2564
ค่ายเพลง
  • เสียงสยามแผ่นเสียง​เทป
  • โรส มีเดีย แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์
  • บี เค พี มิวสิค
  • นิธิทัศน์ โปรโมชั่น

เขาได้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 เมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2564 เวลา 10:30 น. ด้วยวัย 68 ปี[1][2]

ประวัติ

แก้

แสงสุรีย์ รุ่งโรจน์ เกิดวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2496 ที่บ้านเลขที่ 156 หมู่ 13 ตำบลกำปัง อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา จากฐานะที่ยากจน และพ่อแม่แยกทางกัน ทำให้เขาจบการศึกษาแค่ประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดบ้านจาน ต.กำปัง อ.โนนไทย แสงสุรีย์ เป็นคนที่ชอบการร้องเพลงลูกทุ่งอย่างมาก และก็ได้เข้าสู่เวทีการประกวดในเขตจังหวัดบ้านเกิดมาตั้งแต่สมัยเรียนชั้น ป.2 และประกวดเรื่อยมา ซึ่งก็ชนะบ้างแพ้บ้างเป็นธรรมดา

หลังจบการศึกษา เมื่อประมาณอายุ 15 ปี แสงสุรีย์ หิ้วกระเป๋าเข้ามาหางานทำที่กรุงเทพฯ และน้าสาวได้ฝากฝังให้เขาได้เข้าทำงานที่โรงแรมแอมบาสเดอร์ แถวสุขุมวิท ในตำแหน่งล้างจาน 3 ปีหลังจากนั้นก็ขยับขึ้นมาทำในตำแหน่งพ่อครัวอาหารฝรั่ง และเขาทำหน้าที่นี้อยู่นานถึง 10 ปี

ระหว่างนั้นเขาก็ตระเวณประกวดร้องเพลงตามเวทีเล็ก ๆ ในเขตกรุงเทพฯ ซึ่งก็ชนะบ้างแพ้บ้าง มาวันหนึ่ง แสงสุรีย์ ได้เข้าประกวดการร้องเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง "ขยะสังคม" ที่มีสรพงษ์ ชาตรี แสดงนำ และมีสายัณห์ สัญญา เป็นผู้ร้องเพลงประกอบภาพยนตร์ ซึ่งคราวนี้ แสงสุรีย์ ได้รับชัยชนะ และเพื่อนที่มาร่วมประกวดด้วยกัน ได้พาเขาไปพบ ครูสัมฤทธิ์ รุ่งโรจน์ครูเพลงตาพิการ เพื่อให้ปั้นแสงสุรีย์ เป็นนักร้อง

เมื่อพบกัน ครูสัมฤทธิ์ บอกว่าถ้าอยากจะเป็นนักร้อง ก็จะขายเพลงให้เพลงละ 600 บาท ซึ่งแสงสุรีย์ก็ตกลงซื้อทันที 2 เพลง จากนั้นครูสัมฤทธิ์ก็กลับไปแต่งเพลงมาให้เขา 2 เพลง ก่อนจะพาลูกศิษย์คนใหม่ไปเข้าห้องอัดเสียง โดยไปขอแทรกคิวเวลาห้องอัด 2 ชั่วโมง เพื่อผลิตผลงานที่จะพลิกชีวิตของกุ๊กที่รักการร้องเพลงลูกทุ่ง

2 เพลงที่ว่านั้นก็คือ แห่ขันหมาก และ น่าอร่อย โดยใจความตอนหนึ่งของเพลง แห่ขันหมาก มีอยู่ว่า "ส่วน แสงสุรีย์ รุ่งโรจน์ ไม่มีรถขี่" ก็เท่ากับว่า ครูสัมฤทธิ์ ตั้งชื่อให้กับลูกศิษย์คนใหม่ไปพร้อมกับเพลง ๆ นี้เลยทีเดียว

หลัง 2 เพลงของแสงสุรีย์ ถูกนำออกเผยแพร่ตามสถานีวิทยุ ก็ปรากฏว่าเป็นที่ชื่นชอบอย่างมากของเหล่าบรรดาแฟนเพลง จึงมีนายทุนเสนอทำวงดนตรี แสงสุรีย์ รุ่งโรจน์ ให้เพื่อทำการเดินสาย ครูสัมฤทธิ์จึงแต่งเพลงให้แสงสุรีย์อีก 4 เพลง สำหรับใช้ในการแสดงที่หน้าเวที และแสงสุรีย์ ก็ออกเดินสายในฐานะหัวหน้าวงโดยที่เขามีเพลงอยู่แค่ 6 เพลงเท่านั้น ซึ่งเพลงที่ตามมาที่หลังอีก 4 เพลงต่างก็ได้รับความนิยมจากบรรดาแฟนเพลงอย่างมากเช่นกัน จากนั้นจึงค่อย ๆ ทยอยผลิตผลงานเพลงตามมาสมทบอีกมาก แต่โดยหลักแล้วผลงานเพลงของแสงสุรีย์ยังคงเป็นเพลงที่แต่งขึ้นโดยครูสัมฤทธิ์

ในการแสดงครั้งหนึ่ง วงแสงสุรีย์สามารถเก็บค่าผ่านประตูได้เป็นหลักล้านบาท แม้จะเก็บแค่คนละ 20 บาท ขณะที่ผู้ชมก็มารอกันตั้งแต่บ่าย 3 โมง ขณะที่วงดนตรีเปิดการแสดงในช่วงเย็น วงแสงสุรีย์ ออกเดินสายระหว่างปี 2521 – 2524 ก่อนจะปิดวงไป เมื่อความนิยมเริ่มลดน้อยถอยลง[3]

ผลงานเพลงเด่น

แก้
  • หิ้วกระเป๋า
  • รักสาวเสื้อลาย (ตอนหลัง ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ นำเพลงนี้ไปแปลงเนื้อร้องใหม่โดยใช้ชื่อเพลงว่า "รักสาวเสื้อแดง")
  • หนาวนอกร้อนใน
  • แห่ขันหมาก
  • น่าอร่อย
  • สามเณรกำพร้า
  • จับตัวตีตราจอง หรือ จองไว้ก่อน
  • แฟนจ๋าอยู่ไหน
  • สงสารตัวเอง
  • หนุ่มสลัม
  • ยิ่งเมายิ่งมัน
  • ซุปเปอร์เมา
  • คิดดูให้ดี

ผลงานการแสดงภาพยนตร์

แก้
  • ลูกทุ่งเสียงทอง (2528) รับบท แสงสุรีย์
  • เพลงรักลูกทุ่ง (2539) รับบท แสงสุรีย์
  • มนต์เพลงลูกทุ่ง เอฟ.เอ็ม. (2545) รับบท คนงานเจ้าของอู่รถ
  • เพลงรักชาวทุ่ง ตอน มีเมียเด็ก (2548) รับบท แสงสุรีย์

อัลบั้มเดี่ยว

แก้
  • สุดยอดลูกทุ่งเสียงทอง แสงสุรีย์ รุ่งโรจน์ (ธันวาคม 2534)

อัลบั้มร่วมกับศิลปินคนอื่น

แก้
  • เมดเล่ย์ สุดยอด ลูกทุ่งกึ่งศตวรรษ (กรกฎาคม 2538)
  • คณะบุญหลายมันส์หยุดโลก
  • คิดฮอดอีสาน (สิงหาคม 2547)
  • ขวัญใจรั้วของชาติ
  • ต้นตำรับลูกทุ่งไทย
  • ต้นฉบับลูกทุ่งไทย
  • เมา...มันส์ระเบิด
  • รวม 15 ศิลปินดัง
  • 16 ขุนพลเพลงลูกทุ่ง
  • รวมเพลงฮิต 120 เพลงดัง ดีที่สุด
  • รวมเพลงแห่ขันหมาก 16 เพลงดัง
  • ย้อนรอยลูกทุ่ง เพลงรักกล่อมโลก
  • ต้นตำรับลูกทุ่งเสียงทอง
  • รวมลูกทุ่ง 10 ศิลปิน
  • สุดฮิตมรดกลูกทุ่งไทย
  • อภิมหาลูกทุ่ง
  • รวมดาวลูกทุ่ง
  • รวมฮิตเพลงดังเงินล้าน
  • รำวงย้อนยุด คณะ รวมดาวลูกทุ่ง
  • รวมเพลงลูกทุ่งฮิตโดนใจ ชุด 2
  • ลูกทุ่งสามช่า
  • ลูกทุ่งยอดฮิต
  • ลูกทุ่งรวมดาวเพลงดัง
  • มนต์เพลงลูกทุ่งพันล้าน (มีนาคม 2557)
  • ฮิต No.1
  • 16 เพลงรักโดนใจ
  • 16 เพลงซึ้งโดนใจ
  • ลูกทุ่ง ทองแท้ ถาม ตอบ
  • ลูกทุ่ง เมดเล่ย์ สามซ่า มันส์ ระเบิด
  • ลูกทุ่งเพลงฮิตที่คิดถึง
  • ลูกทุ่งเพลงดังฟ้งไพเราะ
  • คู่ฮิต 3 นักร้องในดวงใจ
  • รำลึก 10 ขุนพล ลูกทุ่งไทย
  • ลูกทุ่งฮิตโดนใจ ทหาร หาญ
  • ขันหมากแต่งงาน
  • คุณขอมา 2

คอนเสิร์ต

แก้
  • คอนเสิร์ต 84 ปี ปรางทิพย์ บรรลือฤทธิ์ (4 ตุลาคม 2563)
  • คอนเสิร์ต ลูกทุ่งพลังใจ (28 มิถุนายน 2563)
  • คอนเสิร์ต ลูกทุ่งเพื่อแผ่นดิน (6 กันยายน 2558)
  • คอนเสิร์ต Pattaya Music Festival 2014 (23 มีนาคม 2557)
  • คอนเสิร์ต Pattaya Music Festival 2013 (24 มีนาคม 2556)
  • คอนเสิร์ต ลูกทุ่งจ๋ามหาสนุก (21 – 22 เมษายน 2555)

เกียรติยศ

แก้

การเสียชีวิต

แก้

แสงสุรีย์เริ่มติดเชื้อโควิด-19 มาตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564 จนอาการทรุดหนักเนื่องจากปอดติดเชื้ออย่างรุนแรง จึงถูกส่งไปรักษาที่โรงพยาบาลสมุทรสาคร[5] ก่อนจะเสียชีวิตในวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2564 เวลา 10:30 น.[6] รวมอายุได้ 68 ปี มีพิธีฌาปนกิจที่วัดบางพลีใหญ่กลาง จังหวัดสมุทรปราการ ในวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2564[7]

อ้างอิง

แก้