ศาสตราจารย์พิเศษ เภสัชกร ภาวิช ทองโรจน์ เกิดเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 เคยดำรงตำแหน่งอาทิ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิการบดีผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาวิทยาลัยนครพนม, มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ รักษาการอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ นายกสภามหาวิทยาลัยนครพนม และนายกสภาเภสัชกรรม ปัจจุบันดำรงตำแหน่งภาคีสมาชิกแห่งราชบัณฑิตยสถาน สาขาเภสัชศาสตร์


ภาวิช ทองโรจน์

ไฟล์:ภาวิช ทองโรจน์.jpg
เกิดภก.ศ. (พิเศษ) ดร.ภาวิช ทองโรจน์
12 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 (77 ปี)
มหาสารคาม ประเทศไทย
สัญชาติไทย
การศึกษาปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาเภสัชวิทยา วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยลอนดอน
อาชีพเภสัชกร, อาจารย์
องค์การสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
คู่สมรสภญ.รศ.ดร.ชวนี ทองโรจน์

ประวัติ แก้

ชีวิตในวัยเยาว์ แก้

ศาสตราจารย์พิเศษ เภสัชกร ภาวิช ทองโรจน์ หรือ ศาสตราจารย์พิเศษ เภสัชกร ดร.ภาวิช ทองโรจน์ เป็นบุตรของนายประพิส และนางลออ ทองโรจน์ เป็นชาวตำบลเวียงสะอาด อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคามจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยสมรสกับรองศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.ชวนี ทองโรจน์ กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิมหาวิทยาลัยพะเยา[1] อดีตรองเลขาสภาการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา เคยเป็นผู้แทนนักเรียนไทยในนามโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย แสดงโครงงานวิทยาศาสตร์เยาวชนนานาชาติ ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2507 และเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษา ณ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ ภายหลังได้ศึกษาเพิ่มเติมในสาขาวิทยาศาสตร์ของระบบประสาท ณ วิทยาลัยเบดฟอร์ดแอนด์เชลซี มหาวิทยาลัยลอนดอนในระดับปริญญามหาบัณฑิต และปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาเภสัชวิทยา ณ วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยลอนดอน

งานราชการ แก้

เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว รับราชการเป็นอาจารย์ตรีสังกัดภาควิชาสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาสรีรวิทยา ในช่วง พ.ศ. 2514 - 2518 ในปี พ.ศ. 2524 ได้เป็นตำแหน่งเลขาธิการสหพันธ์สมาคมประสาทวิทยาศาสตร์แห่งเอเซียและคาบสมุทร (Federation of Asian Oceanian Neuroscience Societies) และได้ก่อตั้งศูนย์คอมพิวเตอร์ทางเภสัชศาสตร์ ณ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ พ.ศ. 2528 และเป็นหัวหน้าโครงการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์สำหรับบริหารคลังยาและเวชภัณฑ์ ของสำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยทุนสนับสนุนจากองค์การอนามัยโลก

เคยดำรงตำแหน่งคณบดีคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในช่วง พ.ศ. 2532 - 2536 โดยเป็นประธานโครงการพัฒนาเภสัชกรของทบวงมหาวิทยาลัย และเป็นประธานผู้ก่อตั้งโครงการแลกเปลี่ยนนิสิตนักศึกษาเภสัชศาสตร์ไทย - ญี่ปุ่น โดยทุนสนับสนุนของรัฐบาลญี่ปุ่น ผ่านทางสมาคมสนับสนุนวิทยาศาสตร์แห่งประเทศญี่ปุ่น ทำให้มีการแลกเปลี่ยนนักวิชาการ การวิจัยร่วม และการพัฒนาบัณฑิตศึกษา

เป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม รักษาการอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และอดีตประธานสภา เภสัชกรรมแห่งประเทศไทย ดำรงตำแหน่ง รองประธานคณะกรรมการการอุดมศึกษา นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ นายกสภามหาวิทยาลัยนครพนม[2] และภาคีสมาชิกแห่งราชบัณฑิตยสถาน สาขาเภสัชศาสตร์ นอกจากนั้นยังเป็นอดีตนายกสมาคมประสาทวิทยาศาสตร์ไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ แก้

  •   ฝรั่งเศส :
    • พ.ศ. 2539 -   เครื่องอิสริยาภรณ์ปาล์มวิชาการ ชั้นที่ 1

อ้างอิง แก้

  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/072/3.PDF
  2. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยนครพนม (นายภาวิช ทองโรจน์)
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๕, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๑๙, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๕ ข หน้า ๕๘๐, ๒๘ เมษายน ๒๕๓๘