สภาเภสัชกรรม
สภาเภสัชกรรม คือองค์กรควบคุมวิชาชีพเภสัชกรรมในประเทศไทยที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. 2537 มีวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. ๒๕๓๗[1][2]
คณะกรรมการสภาเภสัชกรรม
แก้คณะกรรมการสภาเภสัชกรรม มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
- รับขึ้นทะเบียนและออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม
- วินิจฉัยชี้ขาดตามมาตรา ๔๒ วรรคสาม
- รับรองปริญญา ประกาศนียบัตรในวิชาเภสัชศาสตร์ หรือวุฒิบัตรในวิชาชีพเภสัชกรรมของสถาบันต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการสมัครเป็นสมาชิก
- รับรองหลักสูตรต่าง ๆ สำหรับการฝึกอบรมเป็นผู้ชำนาญการในสาขาต่าง ๆ ของวิชาชีพเภสัชกรรมของสถาบันที่ทำการฝึกอบรมเป็นผู้ชำนาญการในสาขาต่าง ๆ ของวิชาชีพเภสัชกรรม
- รับรองวิทยฐานะของสถาบันที่ทำการฝึกอบรมใน (4)
- ออกหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมสาขาต่าง ๆ และออกหนังสือแสดงวุฒิอื่นในวิชาชีพเภสัชกรรม
- ดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสภาเภสัชกรรม
กรรมการสภาเภสัชกรรมมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปี ประกอบด้วย
- กรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายกเภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับความเห็นชอบหรือได้รับอนุญาตจากทบวงมหาวิทยาลัย ให้จัดตั้งขึ้นตามที่ทบวงมหาวิทยาลัยเสนอจำนวนห้าคน
- กรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งโดยผู้แทนจากกระทรวงสาธารณสุขสามคน จากกระทรวงกลาโหมหนึ่งคน และจากกระทรวงมหาดไทยหนึ่งคน และ
- กรรมการซึ่งได้รับเลือกตั้งโดยสมาชิกมีจำนวนเท่ากับจำนวนกรรมการ ใน (1) และ (2) รวมกัน
กรรมการฯ จากการเลือกตั้ง
แก้กรรมการสภาเภสัชกรรมในส่วนที่มาจากการเลือกตั้งโดยสมาชิกสภาเภสัชกรรม จำนวน 12 คน ปัจจุบันได้มีการเลือกตั้งมาแล้วทั้งสิ้น 8 วาระ ดังนี้
วาระที่ 1 (พ.ศ. 2538 - 2540) | วาระที่ 2 (พ.ศ. 2541 - 2543) | วาระที่ 3 (พ.ศ. 2544 - 2546) | วาระที่ 4 (พ.ศ. 2547 - 2549) |
---|---|---|---|
วาระที่ 5 (พ.ศ. 2550 - 2552) | วาระที่ 6 (พ.ศ. 2553 - 2555)[3] | วาระที่ 7 (พ.ศ. 2556 - 2558)[4] | วาระที่ 8 (พ.ศ. 2559 - 2561)[5] |
|
|
| |
วาระ ที่ 9 (พ.ศ. 2562 - 2564) | |||
|
วัตถุประสงค์ของสภาเภสัชกรรม
แก้- ส่งเสริมการศึกษาการวิจัยและการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม
- ส่งเสริมความสามัคคีและผดุงเกียรติของสมาชิก
- ผดุงไว้ซึ่งสิทธิ ความเป็นธรรมและส่งเสริมสวัสดิการให้แก่สมาชิก
- ควบคุมความประพฤติของผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมให้ถูกต้องตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพเภสัชกรรม
- ช่วยเหลือ แนะนำ เผยแพร่และให้การศึกษาแก่ประชาชนและองค์กรอื่นในเรื่องที่เกี่ยวกับการเภสัชกรรมและการสาธารณสุข
- ให้คำปรึกษาหรือข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลเกี่ยวกับการเภสัชกรรมและการสาธารณสุข
- เป็นตัวแทนของผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมในประเทศไทย
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "พระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. 2537" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-05-11. สืบค้นเมื่อ 2018-06-22.
- ↑ "พระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-04-28. สืบค้นเมื่อ 2018-07-08.
- ↑ สรุปผลการนับคะแนนเลือกตั้งกรรมการสภาเภสัชกรรม วาระที่ 6 (พ.ศ. 2553-2555)
- ↑ สรุปผลการนับคะแนนเลือกตั้งกรรมการสภาเภสัชกรรม วาระที่ 7 (พ.ศ. 2556-2558)[ลิงก์เสีย]
- ↑ สรุปผลการนับคะแนนเลือกตั้งกรรมการสภาเภสัชกรรม วาระที่ 8 (พ.ศ. 2559-2561)