ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2556

(เปลี่ยนทางจาก พายุไต้ฝุ่นนารี (พ.ศ. 2556))

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2556 เป็นฤดูกาลในอดีตที่เคยมีการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ฤดูกาลดังกล่าวจะลากยาวตลอด พ.ศ. 2556 โดยพายุหมุนส่วนใหญ่จะก่อตัวขึ้นระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ฤดูกาลนี้เป็นฤดูกาลที่มีกิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนมากที่สุดนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 และยังเป็นฤดูกาลที่สร้างความเสียหายมากที่สุดนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 ฤดูกาลนี้มีจำนวนพายุมากกว่าค่าเฉลี่ย โดยมีพายุโซนร้อน 31 ลูก ในจำนวนนี้พัฒนาขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่น 13 ลูก และในจำนวนพายุไต้ฝุ่นมี 5 ลูกที่เป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น พายุที่ได้รับชื่อลูกแรกของฤดูกาลชื่อ โซนามู ก่อตัวขึ้นในวันที่ 4 มกราคม ส่วนพายุลูกสุดท้ายที่ได้รับชื่อของฤดูกาลชื่อ โพดุล สลายตัวเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2556
แผนที่สรุปฤดูกาล
ขอบเขตฤดูกาล
ระบบแรกก่อตัว1 มกราคม พ.ศ. 2556
ระบบสุดท้ายสลายตัว3 ธันวาคม พ.ศ. 2556
พายุมีกำลังมากที่สุด
ชื่อไห่เยี่ยน
 • ลมแรงสูงสุด230 กม./ชม. (145 ไมล์/ชม.)
(เฉลี่ย 10 นาที)
 • ความกดอากาศต่ำที่สุด895 hPa (มิลลิบาร์)
สถิติฤดูกาล
พายุดีเปรสชันทั้งหมด49 ลูก
พายุโซนร้อนทั้งหมด31 ลูก
พายุไต้ฝุ่น13 ลูก
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น5 ลูก (ไม่เป็นทางการ)
ผู้เสียชีวิตทั้งหมด8,570 คน
ความเสียหายทั้งหมด2.575 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
(ค่าเงิน USD ปี 2013)
(สถิติความเสียหายมากที่สุด
ของฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก)
ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก
2554, 2555, 2556, 2557, 2558

พายุไต้ฝุ่นซูลิกในเดือนกรกฎาคมเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่ทรงพลัง ที่สุดที่ส่งผลกระทบกับประเทศไต้หวันในฤดูกาลนี้ ต่อมาในเดือนสิงหาคม พายุไต้ฝุ่นอูตอร์ สร้างความเสียหายกว่า 2.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวน 97 คน กลายเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีจำนวนผู้เสียชีวิตมากเป็นอันดับสองของปี 2556 ในประเทศฟิลิปปินส์ พายุจำนวนสามลูกในเดือนสิงหาคม ได้แก่ เปวา, อูนาลา และ 03C เคลื่อนตัวข้ามเส้นแบ่งเขตวันสากลจากแอ่งแปซิฟิกกลางเข้ามาภายในแอ่งนี้ ส่วนพายุไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนเป็นพายุไต้ฝุ่นที่สร้างหายนะให้กับประเทศฟิลิปปินส์ มีผู้เสียชีวิตจากพายุกว่า 6,300 คน

ขอบเขตของบทความนี้จำกัดเฉพาะมหาสมุทรแปซิฟิกที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร ระหว่างเมอริเดียนที่ 100 และ 180 ตะวันออก ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ มีสองหน่วยงานที่กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งอาจเป็นผลให้พายุลูกหนึ่งมีสองชื่อ กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) จะตั้งชื่อพายุถ้าพายุลูกนั้นมีความเร็วลมที่รอบศูนย์กลางพายุที่สูงสุด 10 นาที อย่างน้อย 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ใดในแอ่ง ขณะที่สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งเคลื่อนเข้าสู่หรือก่อตัวขึ้นเป็นดีเปรสชันเขตร้อนในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานฯ ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างลองติจูด 135 และ 115 องศาตะวันออก และระหว่างละติจูด 5 ถึง 25 องศาเหนือ แม้พายุนั้นจะมีชื่อที่กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นตั้งแล้วก็ตาม นอกจากนี้พายุดีเปรสชันเขตร้อนซึ่งถูกเฝ้าติดตามโดยศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ของสหรัฐยังได้รับการกำหนดหมายเลขและเติมตัวอักษร "W" ต่อท้ายเป็นรหัสเรียกด้วย

การพยากรณ์ฤดูกาล

แก้
วันที่พยากรณ์โดย
TSR
จำนวน
พายุโซนร้อน
จำนวน
พายุไต้ฝุ่น
จำนวน
พายุรุนแรง
ดัชนีเอซีอี อ้างอิง
เฉลี่ย (2508–2555) 26.1 16.3 8.5 295 [1]
7 พฤษภาคม 2556 25.6 16.0 8.9 311 [1]
8 กรกฎาคม 2556 25.4 15.8 8.4 294 [2]
6 สิงหาคม 2556 22.3 13.2 6.6 230 [3]
วันที่พยากรณ์ ศูนย์
พยากรณ์
ช่วงเวลา ระบบพายุ อ้างอิง
มกราคม 2556 PAGASA มกราคม — มีนาคม 2–3 ลูก [4]
มกราคม 2556 PAGASA เมษายน — มิถุนายน 2–4 ลูก [4]
30 มิถุนายน 2556 CWB 1 มกราคม — 31 ธันวาคม 23–27 ลูก [5]
กรกฎาคม 2556 PAGASA กรกฎาคม — กันยายน 8–11 ลูก [6]
กรกฎาคม 2556 PAGASA ตุลาคม — ธันวาคม 5–8 ลูก [7]
ฤดูกาล 2556 ศูนย์พยากรณ์ พายุหมุนเขตร้อน พายุโซนร้อน พายุไต้ฝุ่น อ้างอิง
เกิดขึ้นจริง: JMA 49 31 13
เกิดขึ้นจริง: JTWC 34 28 16
เกิดขึ้นจริง: PAGASA 25 20 11

ในฤดูกาลนี้ สำนักงานพยากรณ์อากาศของประเทศต่างๆ จะทำการทำนายการเกิดพายุหมุนเขตร้อน, พายุโซนร้อน และพายุไต้ฝุ่นที่จะก่อตัวขึ้นในระหว่างฤดูกาลนี้ และ/หรือ พายุหมุนเขตร้อนที่จะส่งผลกระทบกับประเทศของตนเอง หน่วยงานเหลานี้รวมถึงองค์การความเสี่ยงพายุโซนร้อน (TSR) ของมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน, สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) และสำนักสภาพอากาศกลางของไต้หวันด้วย[1][5][8]

ภายในเดือนมกราคม — มิถุนายนมีแนวโน้มสภาพภูมิอากาศเป็นตามฤดูกาล โดย PAGASA ได้พยากรณ์ว่าจะมีพายุหมุนเขตร้อน 2 ถึง 3 ลูก ที่จะพัฒนาและ/หรือ เข้ามาในพื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ ระหว่างเดือนมกราคมถึงมีนาคม และจะมี 2 ถึง 4 ลูกในเดือนเมษายนถึงมิถุนายน[4] ในวันที่ 20 มีนาคม หอสังเกตการณ์ฮ่องกง ได้พยากรณ์ว่าจะมีพายุเคลื่อนผ่านในระยะ 500 กิโลเมตรของฮ่องกงใกล้เคียงกับค่าปกติที่ 4 ถึง 7 ลูก ของค่าเฉลี่ยที่ประมาณ 6 ลูก[9] ในวันที่ 23 เมษายน กรมอุตุนิยมวิทยาไทย ได้พยากรณ์ว่าจะมีพายุอย่างน้อย 2 ลูกเคลื่อนเข้าหาประเทศไทยในฤดู 2556 โดย 1 ลูกจะเคลื่อนผ่านประเทศไทยตอนบนในช่วงเดือนสิงหาคม ถึง กันยายน ในขณะที่อีก 1 ลูกจะเคลื่อนที่เข้าทางตอนใต้ของภาคใต้ของประเทศไทยในช่วงเดือนตุลาคม ถึง พฤศจิกายน[10] ต่อมาในวันที่ 7 พฤษภาคม องค์การความเสี่ยงพายุโซนร้อน ได้มีการคาดการณ์ได้คาดการณ์ว่า จะมี 25.6 พายุโซนร้อน 16 ไต้ฝุ่น 8.9 ไต้ฝุ่น"รุนแรง"[1] ในช่วงปลายเดือนมิถุนายน หลังจากที่มีพายุพัฒนาตัวแล้ว 5 ลูกในแอ่งแปซิฟิก สำนักสภาพอากาศกลางของไต้หวันได้พยากรณ์ว่าจะมีพายุก่อตัวอยู่ใกล้ค่าเฉลี่ยที่ 25.7 กับ 23-27 ลูกที่จะก่อตัวขึ้นในปีนี้[5] โดยจะมีพายุ 2 ถึง 4 ลูกส่งผลกระทบกับไต้หวันเทียบกับค่าเฉลี่ยที่ 3.6[5] ในเดือนกรกฎาคม TSR ได้อัปเดตการพยากรณ์ โดยได้ตั้งข้อสังเกตว่าแม้ฤดูกาลเริ่มช้า แต่ก็ยังมีการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนตามค่าเฉลี่ย[2] ในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม PAGASA ทำนายว่าจะมีพายุ 13 ถึง 19 ลูกก่อตัวหรือเจริญในพื้นที่รับผิดชอบในช่วงที่เหลือของปี[11][12]

สรุปฤดูกาล

แก้

มาตราพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก (คณะกรรมการไต้ฝุ่น)
  พายุดีเปรสชัน (≤61 กม./ชม.)   พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง (118–156 กม./ชม.)
  พายุโซนร้อน (62–88 กม./ชม.)   พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (157–193 กม./ชม.)
  พายุโซนร้อนกำลังแรง (89–117 กม./ชม.)   พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (≥194 กม./ชม.)

พายุ

แก้

พายุโซนร้อนกำลังแรงโซนามู

แก้
พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
   
ระยะเวลา 1 – 10 มกราคม
ความรุนแรง 95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
990 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.23 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: เอาริง
  • วันที่ 30 ธันวาคม (2555) กลุ่มเมฆพายุฝนฟ้าคะนองได้ก่อตัวอยู่เหนือไมโครนีเชีย
  • วันที่ 1 มกราคม ต่อมาระบบได้ทวีกำลังแรงขึ้นในเวลา 00 UTC สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) จึงได้ประกาศทวีความรุนแรงของระบบเป็นดีเปรสชันเขตร้อน[13]
  • วันที่ 3 มกราคม สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) ประกาศทวีความรุนแรงระบบเป็นดีเปรสชันเขตร้อนและใช้ชื่อ "เอาริง (Auring)" ขณะที่มันกำลังเคลื่อนผ่านประเทศฟิลิปปินส์[14] ต่อมาศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่น (JTWC) ได้ออกประกาศการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อน[15] และต่อมาก็ได้ประกาศทวีความรุนแรงระบบเป็นดีเปรสชันเขตร้อน และใช้ชื่อ 01W ในช่วงกลางคืน JMA ได้ประกาศทวีความรุนแรงของดีเปรสชันเขตร้อนเป็นพายุโซนร้อนและใช้ชื่อ "โซนามู" ต่อมา JTWC [16][17]
  • วันที่ 4 มกราคม JTWC ได้ประกาศทวีความรุนแรงระบบเป็นพายุโซนร้อนพร้อมรหัสเรียกขาน 01W[18]
  • วันที่ 6 มกราคม JMA ได้ปรับลดระดับความรุนแรงของโซนามูลงเป็นพายุโซนร้อน[19] กรมอุตุนิยมวิทยาไทย (TMD) ได้ออกคำเตือนของพายุโซนามูฉบับที่ 10 โดยระบุว่าพายุจะเคลื่อนตัวไปใกล้ชายฝั่งประเทศมาเลเซียและอ่อนกำลังลง โดยอาจมีผลกระทบกับภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป โดยพายุทำให้มีฝนตกหนักบางแห่ง[20]
  • วันที่ 7 มกราคม TMD เวลา 16.00 น. (ตามเวลาท้องถิ่น) ได้ออกประกาศเกี่ยวกับพายุโซนร้อนโซนามู ฉบับที่ 14 ว่าพายุจะทำให้มีฝนตกมากเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่งตั้งแต่จังหวัดสงขลาลงตั้งแต่วันที่ 7-9 มกราคม[21]
  • วันที่ 8 มกราคม เวลา 04.00 น. (ตามเวลาท้องถิ่น) TMD ได้ประกาศเกี่ยวกับโซนามูฉบับที่ 16 ว่า โซนามูอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันแล้ว และกำลังจะสลายตัว โดย TMD คาดการณ์ว่าดีเปรสชันจะทำให้มีฝนตกกระจายในพื้นที่เป็นแห่ง ๆ ตั้งแต่จังหวัดสงขลาลงไป[22]

พายุทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อยหนึ่งคนในฟิลิปปินส์[23] โซนามู ยังเป็นพายุที่ก่อตัวเร็วที่สุดของปีในภูมิภาคมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ นับตั้งแต่ไต้ฝุ่นอลิซ ในปี พ.ศ. 2522[24]

พายุโซนร้อนชานชาน

แก้
พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
   
ระยะเวลา 18 – 23 กุมภาพันธ์
ความรุนแรง 65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1002 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.59 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: กรีซิง
  • วันที่ 18 กุมภาพันธ์ JMA และ PAGASA เริ่มติดตามพายุดีเปรสชันที่ปรากฏขึ้นในมอนิเตอร์ พบว่าการพัฒนาอยู่ในระยะ 750 กิโลเมตร (470 ไมล์) ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองเจเนรอล ซัลโตสในภาคใต้ของมินดาเนา[25][26]
  • วันที่ 19 กุมภาพันธ์ JTWC ประการทวีความรุนแรงของระบบเป็นดีเปรสชันเขตร้อนและใช้รหัสเรียกขานว่า 02W[27]
  • วันที่ 21 กุมภาพันธ์ JTWC ใช้ประกาศเตือนภัยฉบับสุดท้าย เนื่องจากลมเฉือนกำลังแรง[28]
  • วันที่ 22 กุมภาพันธ์ JMA ได้ประกาศทวีความรุนแรงระบบเป็นพายุโซนร้อนและใช้ชื่อ ชานชาน แต่ NRL ได้ประกาศลดความรุนแรงของระบบเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ[29][30]
  • วันที่ 23 กุมภาพันธ์ JMA ประกาศลดระดับความรุนแรงของชานชานเป็นดีเปรสชันเขตร้อน[31]

ผลกระทบจากพายุลูกนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตในประเทศฟิลิปปินส์ 4 ราย[32]

พายุโซนร้อนยางิ

แก้
พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
   
ระยะเวลา 6 – 12 มิถุนายน
ความรุนแรง 85 กม./ชม. (50 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
990 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.23 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: ดันเต
  • วันที่ 6 มิถุนายน ดีเปรสชันเขตร้อน 03W ก่อตัวขึ้นทางทิศตะวันออกของฟิลิปปินส์
  • วันที่ 8 มิถุนายน สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ประกาศทวีกำลังดีเปรสชันเขตร้อนขึ้นเป็นพายุโซนร้อน และใช้ชื่อ ยางิ
  • วันที่ 12 มิถุนายน JMA ประกาศลดระดับความรุนแรงของพายุโซนร้อนยางิ ลงเป็นดีเปรสชันเขตร้อน

พายุโซนร้อนหลี่ผี

แก้
พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
   
ระยะเวลา 16 – 21 มิถุนายน
ความรุนแรง 75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
994 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.35 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: เอโมง

ผลกระทบจากพายุ

ระบบของพายุนี้ทำให้เกิดฝนตกในพื้นที่บางส่วนของฟิลิปปินส์รวมทั้งภาคใต้ของเกาะลูซอย และวิซายา และภาคเหนือของมินดาเนา

พายุโซนร้อนเบบินคา

แก้
พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
   
ระยะเวลา 19 – 24 มิถุนายน
ความรุนแรง 75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
990 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.23 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: ฟาเบียน
  • วันที่ 19 มิถุนายน มีการพัฒนาตัวของหย่อมความกดอากาศในทะเลจีนใต้ การพัฒนาค่อยๆ จัดระบบและกลายเป็นดีเปรสชันเขตร้อน และต่อมาเวลา 1800 UTC (เวลา 0100 น. ตามเวลาประเทศไทย(วันที่ 20)) สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ก็ได้ประกาศว่าระบบเป็นดีเปรสชันเขตร้อนแล้ว[37] หกชั่วโมงถัดมา สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) ได้ติดตามระบบและใช้ชื่อ "ฟาเบียน (Fabian)"[38]
  • วันที่ 20 มิถุนายน แม้ว่าระบบของพายุจะถูกขัดขวางโดยลมเฉือนที่เกิดจากแนวสันใกล้เคียง แต่ก็ไม่ทำให้พายุอ่อนกำลังลงไป ทั้งยังช่วยให้ระบบมีการจัดระเบียบภายในได้ตลอดทั้งวัน[39]
  • วันที่ 21 มิถุนายน ที่เวลา 0000 UTC (เวลา 0700 น. ตามเวลาในประเทศไทย) JMA ได้ประกาศทวีความรุนแรงของพายุเป็นพายุโซนร้อน และให้ชื่อว่า "เบบินคา"[40]
  • วันที่ 22 มิถุนายน อย่างไรก็ตาม เบบินคา ไม่สามารถที่จะทวีกำลังขึ้นได้อีกเพราะ พายุโซนร้อนเบบินคาขึ้นถล่มแผ่นดินเกาะไห่หนาน[41]
  • วันที่ 23 มิถุนายน เวลา 11.00 น. กรมอุตุนิยมวิทยาไทย (TMD) ได้ออกประกาศเกี่ยวกับพายุโซนร้อนเบบินคา ฉบับที่ 10 โดยกรมอุตุฯคาดว่าพายุจะขึ้นฝั่งประเทศจีนตอนใต้และประเทศเวียดนามตอนบนในคืนวันนี้ และจะอ่อนกำลังลง โดยพายุจะทำให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากในระยะ 2-3 วัน[42]

ผลกระทบที่เกิดจากพายุ

นี้เป็นผลกระทบที่มีผลส่วนหนึ่งจากพายุเบบินคา, สนามบินนานาชาติซานยาฟีนิคซ์ ประกาศยกเลิกหรือเลื่อนเที่ยวบินกว่า 147 เที่ยงทั้งขาเข้าและขาออก ทำให้มีผู้โดยสารกว่า 8000 คนตกค้างอยู่ แม้แต่บริการขนส่งในรูปแบบอื่นๆบนเกาะไห่หนานก็กำลังเตรียมการกับพายุโซนร้อนที่กำลังเข้ามา[43] วันที่ 21 มิถุนายน ในอ่าวตังเกี๋ย มีชาวประมงบนเรือประมงขาดการติดต่อกับแผ่นดินใหญ่จำนวนสี่คน[44] พวกเขาถูกค้นพบในวันรุ่งขึ้นภายหลัง[45]

พายุโซนร้อนกำลังแรงรุมเบีย

แก้
พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
   
ระยะเวลา 27 มิถุนายน – 2 กรกฎาคม
ความรุนแรง 95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
985 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.09 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: โกรีโย
  • วันที่ 26 มิถุนายน เวลา 1200 UTC ศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่น (JTWC) ได้ใช้รหัสเรียกขานระบบว่า 99W หย่อมความกดอากาศกำลังแรง
  • วันที่ 27 มิถุนายน สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) และ สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) ได้ประกาศให้ระบบเป็นดีเปรสชันเขตร้อน และ PAGASA ได้ให้ชื่อระบบว่า โกรีโย (Gorio)[46][47] ต่อมาในเวลา 1200 UTC ในวันเดียวกัน JMA ได้ประกาศทวีความรุนแรงของดีเปรสชันเขตร้อนเป็นพายุโซนร้อน และใช้ชื่อว่า รุมเบีย[48] อีกหกชั่วโมงต่อมา PAGASA ได้ประกาศทวีความรุนแรงด้วย[49] ลมเฉือนได้ขัดขวางการทวีกำลังแรงขึ้นของ รุมเบีย และพายุโซนร้อนยังคงจัดระเบียบตัวเองไม่ได้จนใกล้ถึงแผ่นดินทางซามาร์ตะวันออก[50][51]
  • วันที่ 28 มิถุนายน ในเวลานั้นรุมเบียมีความรุนแรงลมสูงสุด 40 ไมล์ (65 กม./ชม.) และมีความกดอากาศใกล้ศูนย์กลาง 1000 มิลลิบาร์ (เอกโตปาสกาล; 29.53 นิ้วปรอท)[52]
  • วันที่ 30 มิถุนายน กรมอุตุนิยมวิทยาไทย (TMD) ได้ออกประกาศเกี่ยวกับพายุโซนร้อนรุมเบีย เวลา 07.00 น. โดยกรมอุตุนิยมวิทยาคาดว่าพายุนี้ยังไม่มีผลกระทบกับประเทศไทยในระยะนี้[53]
  • วันที่ 1 กรกฎาคม JMA ได้ประกาศทวีความรุนแรงของรุมเบียเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง ในขณะที่ JTWC ได้ประกาศทวีกำลังแรงรุมเบียเป็นไต้ฝุ่นระดับ 1 ส่วน TMD ได้ออกประกาศเกี่ยวกับพายุรุมเบีย ฉบับที่ 7 ลงวันที่ 1 กรกฎาคม ว่า พายุรุมเบียจะไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย[54]
  • วันที่ 2 กรกฎาคม JMA ได้ประกาศลดความรุนแรงของรุมเบียลงเป็นพายุโซนร้อน ในขณะที่ JTWC ก็ได้ประกาศลดความรุนแรงของรุมเบียลงเป็นพายุโซนร้อนเช่นกัน ส่วน TMD ได้ออกประกาศเกี่ยวกับพายุ ฉบับที่ 11 ระบุว่า พายุโซนร้อนรุมเบีย อยู่บริเวณมณฑลกวางสี และกำลังจะอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันต่อไป[55]

พายุไต้ฝุ่นซูลิก

แก้
พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
   
ระยะเวลา 7 – 14 กรกฎาคม
ความรุนแรง 185 กม./ชม. (115 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
925 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.32 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: ฮัวนิง
  • 5 กรกฎาคม แกนความกดอากาศต่ำเย็นถูกพบอยู่บริเวณใกล้กับหมู่เกาะมาเรียนา และต่อมาได้พัฒนาเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ
  • 6 กรกฎาคม สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ประกาศทวีความรุนแรงหย่อมความกดอากาศนั้นเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน
  • 8 กรกฎาคม ศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่น (JTWC) ได้ประกาศทวีความรุนแรงของระบบเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน ต่อมา JMA ได้ประกาศทวีความรุนแรงของพายุเป็นพายุโซนร้อน และให้ชื่อว่า "ซูลิก" และต่อมาอีกไม่กี่ชั่วโมง JTWC ก็ได้ประกาศทวีความรุนแรงเป็นพายุโซนร้อนเช่นกัน ต่อมา JMA ก็ได้มีการประกาศทวีความรุนแรงของพายุเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรงอีกครั้ง
  • 9 กรกฎาคม JMA และ JTWC ได้ประกาศทวีความรุนแรงพายุโซนร้อนกำลังแรงซูลิกเป็นไต้ฝุ่น

พายุโซนร้อนซีมารอน

แก้
พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
   
ระยะเวลา 15 – 18 กรกฎาคม
ความรุนแรง 75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1000 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.53 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: อีซัง
  • วันที่ 15 กรกฎาคม หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงก่อตัวขึ้นทางทิศตะวันออกของฟิลิปปินส์ หลังจากนั้น PAGASA ประกาศใช้ชื่อ อีซัง (Isang) กับระบบ[56]
  • วันที่ 16 กรกฎาคม ช่วงเช้าระบบได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนในชื่อซิมารอน และก่อให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองขึ้น
  • วันที่ 19 กรกฎาคม เศษที่เหลือของพายุเคลื่อนตัวอยู่ทางทิศตะวันออกของไต้หวัน
  • วันที่ 20 กรกฎาคม ระบบทั้งหมดสลายตัวไปในที่สุด[57]

ผลกระทบจากพายุทำให้มีฝนตกกระหน่ำทางตอนใต้ของจังหวัดฝูเจี้ยน และก่อให้เกิดน้ำท่วมขึ้น เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวได้รับผลกระทบจากพายุไต้ฝุ่นซูลิกไปเพียงประมาณหนึ่งสัปดาห์ ทำให้มีน้ำฝนสะสมสูงสุดในหนึ่งวันที่ 505.3 มิลลิเมตร (19.89 นิ้ว) ซึ่งเป็นตัวเลขที่ถูกบันทึกที่หมู่บ้านเหมย (Mei Village) ซึ่งมีน้ำฝนสะสมในหนึ่งชั่วโมงสูงสุด 132.3 มิลลิเมตร (5.21 นิ้ว)[58] ทำให้มีบ้านเรือนประชาชนและถนนหลายสายถูกตัดขาด.[59]บางพื้นที่เป็นพื้นที่ที่ไม่เคยเกิดอุทกภัยเลยในระยะ 500 ปี มีประชากรกว่า 20,280,000 คนได้ระผลกระทบจากพายุ และ 8,920,000 คนถูกอพยพออกจากพื้นที่ มีรายงานว่ามีคนอย่างน้องหนึ่งคนถูกคร่าชีวิตไป[60]

พายุโซนร้อนกำลังแรงเชบี

แก้
พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
   
ระยะเวลา 26 กรกฎาคม – 3 สิงหาคม
ความรุนแรง 100 กม./ชม. (65 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
985 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.09 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: โฮลีนา

ในเมืองโกตาบาโต ซิตี้ มีฝนตกต่อเนื่องตลอดสามวัน เนื่องจากหย่อมความกดอากาศต่ำ ทำให้มี 25 จาก 37 หมู่บ้านในมินดาเนาประสบภาวะอุทกภัย โดยภาวะอุทกภัยทำให้รัฐบาลท้องถิ่นประกาศระงับการเรียนการสอนของโรงเรียนทั้งรัฐบาลและเอกชน ฝนที่ตกหนักยังทำให้เกิดอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มลิกัวซัน (Liguasan) รวมทั้ง 14 เมืองในพื้นที่ลุ่มต่ำในมากุอินดาเนา และเจ็ดเมืองในโกตาบาโตเหนือ[68]

พายุโซนร้อนมังคุด

แก้
1310 (JMA)・10W (JTWC)・กีโก (PAGASA)
พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
   
ระยะเวลา 5 สิงหาคม – 8 สิงหาคม พ.ศ. 2556
ความรุนแรง 75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
992 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.29 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นอูตอร์

แก้
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
   
ระยะเวลา 8 – 18 สิงหาคม
ความรุนแรง 195 กม./ชม. (120 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
925 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.32 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: ลาบูโย
  • วันที่ 8 สิงหาคม JMA, JTWC และ PAGASA ได้รายงานว่าพบพายุดีเปรสชันเขตร้อนก่อตัวในระยะ 560 กิโลเมตร (350 ไมล์) ทางตอนเหนือของปาเลา ด้วยรหัสเรียกขาน "ลาบูโย" เนื่องจากเข้าสู่พื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์[69][70][71]
  • วันที่ 9 สิงหาคม JMA ได้รายงานว่าพายุดีเปรสชันเขตร้อน ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน และได้ชื่อ "อูตอร์"

พายุโซนร้อนกำลังแรงจ่ามี

แก้
พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
   
ระยะเวลา 16 – 24 สิงหาคม
ความรุนแรง 110 กม./ชม. (70 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
965 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.5 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: มาริง
  • วันที่ 15 สิงหาคม หย่อมความกดอากาศต่ำได้ก่อตัวขึ้นทิศตะวันออกของเฮิงชุน, ไต้หวัน ในมหาสมุทรแปซิฟิก
  • วันที่ 17 สิงหาคม ระบบเคลื่อนไปทางทิศตะวันออกอย่างช้าๆ และได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน โดยสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) ได้เริ่มติดตามพายุดีเปรสชันจากจุดนี้ โดยระบบได้รับการตั้งชื่อว่า 12W และ มาริง (Maring) โดย PAGASA โดยมาริง เริ่มที่จะมีปฏิกิริยากับพายุดีเปรสชันอีกลูกหนึ่งทางเหนือ ซึ่งเป็นผลของฟุจิวะระ (Fujiwhara Effect)[72]
  • วันที่ 18 สิงหาคม 12W ได้ทวีกำลังแรงมากขึ้นเป็นพายุโซนร้อน และได้รับการตั้งชื่อว่า จ่ามี โดยจ่ามี มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกโดยทั่วไป[73] ในช่วงบ่ายของวันมีฝนตกอย่างหนัดหนักในลูซอน สำนักงานรัฐบาลของฟิลิปปินส์จึงประกาศระงับการเรียนการสอน และการทำงานของรัฐในบางเมือง, PAGASA ได้ออกประกาศถึงการสังเกตการณ์ประมาณน้ำฝน, สำหรับพื้นที่ขนาดใหญ่ในมะนิลา และจังหวัดใกล้เคียงมีการรายงานถึงอุทกภัยที่รุนแรง, ระดับน้ำในแม่น้ำมาริกานา ได้เพิ่มขึ้นสูงสุด 19 เมตร เจ้าหน้าที่จึงต้องบังคับให้ผู้ที่อยู่อาศัยโดยรอบอพยพ, มีประชาชน 8 คนเสียชีวิตทันทีจากน้ำท่วมที่รุนแรง, ในจังหวัดปัมปางา, บาตาน, กาวีเต และลากูนา รวมกับเมืองของมะนิลามีการประกาศสถานการณ์ภัยพิบัติ[74][75][76][77][78]
  • วันที่ 20 สิงหาคม การเตือนภัยระดับน้ำทะเลได้รับการออกโดยสำนักอุตุนิยมวิทยากลางของไต้หวันในเวลา 11.30 ตามเวลาท้องถิ่น เนื่องจากจ่ามี และมีการเตือนภัยบนแผ่นดินตามมาในเวลา 20.30 ตามเวลาท้องถิ่น ณ จุดนี้จ่ามี มีความรุนแรงลมตามสเกลเฮอร์ริเคนของแซฟเฟอร์-ซิมป์สัน เป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 1, หมู่เกาะยะเอะยะมะ และ หมู่เกาะมิยะโกะ ได้รับผลกระทบจากลมกรรโชก โดยระบบกำลังมุ่งหน้าไปยังไต้หวันและจีน[79][80]
  • วันที่ 21 สิงหาคม ลมกรรโชกแรงเกิดขึ้นในพื้นที่ที่มีประชากรอาศัยอยู่มากทางภาคเหนือของไต้หวัน ขณะที่จ่ามีกำลังมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตก ระบบยังทำให้มีฝนตกโดยในไทเปมีฝนตกถึง 12 นิ้ว มีแผ่นดินถล่มเกิดขึ้นในฮชินชู ทำให้มีประชาชน 70 คนถูกตัดขาดจากโลกภายนอก, ประชาชน 10 คนได้รับบาดเจ็บ และมีกว่า 6000 คนได้รับการอพยพ แต่ถึงแม้จะมีสภาพฝนตกหนักและลมแรงเพียงใด จ่ามีก็ทำให้ไต้หวันได้รับผลกระทบเพียงเล็กน้อยเท่านั้น[81][82]
  • วันที่ 22 สิงหาคม จ่ามี ยังคงมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตก และขึ้นถล่มแผ่นดินจีน ในจังหวัดฝูเจี้ยน เวลา 02.40 ตามเวลาท้องถิ่น ลมแรงกว่า 126 กม./ชม. น้ำฝนมหาศาลตกลงมาและถูกบันทึกไว้ที่จังหวัดฝูเจี้ยน, นิงเตอ, ปูเทียน และซานมิง, กว่า 191 เขตทั่วทั้งจังหวัดมีประมาณฝนตกกว่า 100 มิลลิเมตร บริการสาธารณจำนวนมหาศาลได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง มีการอพยพประชาชนหลายร้อนคนหลายพัน[83][84]
  • วันที่ 23 สิงหาคม จ่ามี อ่อนกำลังลง ส่วนที่หลงเหลือของระบบยังเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตก[85]

จ่ามี ได้ทำให้มีผู้เสียชีวิต 18 คนในฟิลิปปินส์ และยังทำให้เกิดน้ำท่วมหนักทั่วประเทศ จ่ามีสร้างความเสียหายกว่า 1,830,000 ดอลลาร์สหรัฐ

พายุโซนร้อนกำลังแรงเปวา

แก้
พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
   
ระยะเวลา 18 (เข้ามาในแอ่ง) – 26 สิงหาคม
ความรุนแรง 100 กม./ชม. (65 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
990 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.23 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 18 สิงหาคม ในระหว่างวันทั้ง JMA และ JTWC ต่างรายงานว่าพายุโซนร้อนเปวา ได้เคลื่อนตัวจากแอ่งแปซิฟิกกลาง เข้ามาในแอ่งแปซิฟิกตะวัน ห่างจากเกาะเวก ไปทางทิศตะวันออกใต้ประมาณ 1,640 กิโลเมตร (1,020 ไมล์)[86][87]
  • วันที่ 20 สิงหาคม JTWC ได้รายงานว่า เปวา ทวีกำลังแรงขึ้นเทียบเท่าเฮอร์ริเคนระดับ 1 ตามสเกลเฮอร์ริเคนของแซฟเฟอร์-ซิมป์สัน (SSHS) โดย JMA ไม่ได้ประกาศทวีความรุนแรงของพายุดังกล่าวเป็นพายุไต้ฝุ่น ซึ่งต่อมาได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อน
  • วันที่ 22 สิงหาคม เปวา ได้เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตามแนวลมเฉือนแนวตั้ง ทำให้อ่อนกำลังลงเรื่อย ๆ อย่างช้า ๆ
  • วันที่ 23 สิงหาคม ลมเฉือนแนวตั้งยังมีอิทธิพลให้ เปวา อ่อนกำลังลงอย่างต่อเนื่อง ขณะกำลังเคลื่อนตัวไปทางเหนือ
  • วันที่ 24 สิงหาคม JTWC ได้ประกาศลอระดับความรุนแรงของพายุเป็นพายุโซนร้อน
  • วันที่ 26 สิงหาคม เปวา ได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชัน และสลายไปในที่สุด[88][86]

พายุโซนร้อนอูนาลา

แก้
พายุโซนร้อน (JMA)
   
ระยะเวลา 19 สิงหาคม (เข้ามาในแอ่ง)
ความรุนแรง 65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1000 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.53 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 19 สิงหาคม ในระหว่างวัน JMA และ JTWC ได้รายงานว่า พายุโซนร้อนอูนาลา ได้ย้ายเข้ามาในแอ่งแปซิฟิกตะวันตก ตัวพายุได้อ่อนกำลังอย่างร็วดเร็วและ เคลื่อนตัวไปทางตะวันตกเข้าสู่อาณาเขตของพายุโซนร้อนกำลังแรงเปวา[89][90] ซึ่ง JMA สามารถค้นพบพายุครั้งสุดท้ายได้ ก่อนที่มันจะสลายตัวไป[90][91]

พายุโซนร้อนกำลังแรงกองเร็ย

แก้
พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
   
ระยะเวลา 25 – 31 สิงหาคม
ความรุนแรง 100 กม./ชม. (65 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
980 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.94 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: นันโด

พายุโซนร้อนยวี่ถู่

แก้
พายุโซนร้อน (JMA)
   
ระยะเวลา 29 สิงหาคม – 5 กันยายน
ความรุนแรง 65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1002 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.59 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 29 สิงหาคม สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) รายงานว่าพบพายุดีเปรสชันเขตร้อนมีการก่อตัวในระยะประมาณ 1,000 กิโลเมตร (620 ไมล์) ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะเวก[92]
  • วันที่ 1 กันยายน พายุค่อยพัฒนาขึ้นไปเรื่อยๆ ขณะที่กำลังมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออก จนพายุดีเปรสชันเขตร้อนได้ทวีกำลังแรงเป็นพายุโซนร้อนและให้ชื่อว่า "ยวี่ถู่"[93]

พายุโซนร้อนกำลังแรงโทราจี

แก้
พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
   
ระยะเวลา 31 สิงหาคม – 4 กันยายน
ความรุนแรง 95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
985 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.09 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นหม่านหยี่

แก้
พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
   
ระยะเวลา 11 – 16 กันยายน
ความรุนแรง 120 กม./ชม. (75 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
960 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.35 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นอูซางิ

แก้
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
   
ระยะเวลา 16 – 24 กันยายน
ความรุนแรง 205 กม./ชม. (125 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
910 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.87 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: โอเดตต์

พายุไต้ฝุ่นอุซางิ เป็นพายุหมุนเขตร้อนทรงพลัง ก่อตัวขึ้นทางตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ เป็นไต้ฝุ่นลูกที่ 3 และพายุหมุนเขตร้อนลูกที่ 19 ที่เกิดขึ้นทางตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก ในปี พ.ศ. 2556 โดยเริ่มก่อตัวจากหย่อมความกดอากาศต่ำเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556 ทางตะวันออกของเกาะลูซอน และเพิ่มความรุนแรงกลายเป็นดีเปรสชั่นในวันถัดมา ได้รับชื่อครั้งแรกจาก PAGASA ว่า Odette[94] ต่อมาในวันเดียวกัน JMA ประกาศให้พายุนี้เป็นพายุโซนร้อน ใช้ชื่อ Usagi ขณะที่ JTWC ประกาศให้เป็นพายุดีเปรสชั่น[95]

วันที่ 17 กันยายน JTWC ประกาศยกระดับความรุนแรงเป็นพายุโซนร้อน[96] และทั้ง JMA และ JTWC เห็นพ้องให้ประกาศพายุดังกล่าวนี้เป็นไต้ฝุ่นในวันที่ 18 กันยายน 2556 [97]

วันที่ 19 กันยายน JTWC ประกาศให้อุซางิยกระดับเป็นซูเปอร์ไต้ฝุ่นความรุนแรงระดับ 5 [98]

พายุโซนร้อนกำลังแรงปาบึก

แก้
พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 2 (SSHWS)
   
ระยะเวลา 19 – 27 กันยายน
ความรุนแรง 110 กม./ชม. (70 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
965 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.5 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 18 กันยายน เกิดหย่อมความกดอากาศต่ำที่ด้านตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะกวม
  • วันที่ 21 กันยายน JTWC ออกรหัสเรียกขาน "19W"
  • วันที่ 22 กันยายน JTWC ออกประกาศและเรียกชื่อพายุนี้ว่า "ปาบึก"[99]
  • วันที่ 24 กันยายน JTWC ประกาศยกระดับความรุนแรงขึ้นเป็นไต้ฝุ่นประเภทสอง แต่ JMA ยังกำหนดให้เป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง
  • วันที่ 27 กันยายน พายุเคลื่อนตัวออกนอกเขตร้อน แล้วสลายตัวไป[100]

พายุไต้ฝุ่นหวู่ติบ

แก้
พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 3 (SSHWS)
   
ระยะเวลา 25 กันยายน – 1 ตุลาคม
ความรุนแรง 120 กม./ชม. (75 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
965 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.5 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: ปาโอโล

พายุโซนร้อนเซอปัต

แก้
พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
   
ระยะเวลา 29 กันยายน – 2 ตุลาคม
ความรุนแรง 75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
992 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.29 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 29 กันยายน เกิดพายุดีเปรสชันเขตร้อนทางตะวันออกของเกาะอิโวจิมะ
  • วันที่ 30 กันยายน JTWC ออกรหัสเรียก 21W[101] และยกระดับขึ้นเป็นพายุโซนร้อนเซอปัต
  • วันที่ 2 กันยายน พายุเคลื่อนตัวออกนอกเขตร้อน และสลายตัวในวันต่อมา[102]

พายุไต้ฝุ่นฟิโทว์

แก้
พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 2 (SSHWS)
   
ระยะเวลา 29 กันยายน – 7 ตุลาคม
ความรุนแรง 140 กม./ชม. (85 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
960 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.35 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: เกดัน
  • วันที่ 27 กันยายน หย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัว ณ ด้านตะวันออกของหมู่เกาะปาเลา
  • วันที่ 29 กันยายน ทวีกำลังขึ้นเป็นดีเปรสชันเขตร้อนในวันที่ 29 กันยายน ต่อมา PAGASA จึงได้ประกาศให้ขานชื่อพายุว่าเกดัน
  • วันที่ 30 กันยายน พายุมีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน
  • วันที่ 1 ตุลาคม JTWC ประกาศให้ออกชื่อพายุว่าฟิโทว์ [103]
  • วันที่ 3 ตุลาคม JTWC ออกประกาศว่าพายุฟิโทว์ทวีกำลังขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับสอง ในขณะที่กำลังมุ่งหน้าทางเหนือ ระหวางนั้นพายุได้เคลื่อนตัวผ่านหมู่เกาะทางใต้ของญึ่ปุ่น มีผู้เสียชีวิต 1 คน[104]
  • วันที่ 7 ตุลาคม พายุอ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อน ขึ้นฝั่งที่เมืองเวินโจว มณฑลเจ้อเจียง ทางการจีนออกประกาศให้ชาวเรือรีบนำเรือเข้าฝั่งและอพยพผู้คน ในจำนวนนี้ 540,000 คนมาจากมณฑลเจ้อเจียง ส่วน 177,000 คน มาจากมณฑลฝูเจี้ยน นอกจากนี้มีรายงานผู้เสียชีวิตที่เมืองเวินโจว 1 คน และคนงานท่าเรือสูญหาย 2 คน[105] ความเสียหายทางเศรษฐกิจคิดเป็นมูลค่ากว่า 2 พันล้านหยวน[106]

พายุไต้ฝุ่นดานัส

แก้
พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
   
ระยะเวลา 1 – 9 ตุลาคม
ความรุนแรง 165 กม./ชม. (105 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
935 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.61 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: รามิล
  • วันที่ 1 ตุลาคม ดีเปรสชันเขตร้อนเริ่มก่อตัวที่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะกวม
  • วันที่ 3 ตุลาคม ทวีกำลังเป็นดีเปรสชันเขตร้อน "23W"[107]
  • วันที่ 4 ตุลาคม JMA ประกาศว่าพายุได้มีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน ตั้งชื่อว่าดานัส[108][109]
  • วันที่ 7 ตุลาคม พายุได้เคลื่อนตัวสู่กระแสน้ำอุ่นทำให้มีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับสี่[110]
  • วันที่ 8 ตุลาคม พายุอ่อนกำลังลงพร้อมกับกลายสภาพเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน (extratropical cyclone) เนื่องจากเคลื่อนตัวออกนอกเขตร้อน และสลายตัวในวันต่อมา

พายุไต้ฝุ่นนารี

แก้
พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 3 (SSHWS)
   
ระยะเวลา 8 – 16 ตุลาคม
ความรุนแรง 140 กม./ชม. (85 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
965 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.5 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: ซันตี
  • วันที่ 7 ตุลาคม เกิดบริเวณพาความร้อนในทะเลฟิลิปปินส์ ในเวลาต่อมาได้ก่อตัวขึ้นเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ และกลายเป็นดีเปรสชันเขตร้อนในเวลาต่อมา[111]
  • วันที่ 10 ตุลาคม พายุทวีกำลังจากพายุโซนร้อนขึ้นเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง
  • วันที่ 11 ตุลาคม พายุเพิ่มกำลังเป็นพายุไต้ฝุ่น ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันในฟิลิปปินส์ มีผู้เสียชีวิต 4 คน[112] พร้อมกันนั้นพายุก็อ่อนกำลังลงเป็นไต้ฝุ่นระดับสอง

พายุไต้ฝุ่นวิภา

แก้
1326 (JMA)・25W (JTWC)・ตีโน (PAGASA)
พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
   
ระยะเวลา 9 ตุลาคม – 22 ตุลาคม พ.ศ. 2556
ความรุนแรง 185 กม./ชม. (115 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
925 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.32 นิ้วปรอท)
 
ภาพเคลื่อนไหวจากดาวเทียมของพายุไต้ฝุ่นวิภา
  • วันที่ 8 ตุลาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) รายงานว่าเกิดการรบกวนของหย่อมความกดอากาศต่ำขึ้นภายในบริเวณที่มีลมเฉือนแนวตั้งต่ำถึงระดับปานกลางประมาณ 670 กิโลเมตร (415 ไมล์) ทางตะวันออกเฉียงใต้ของฐานทัพอากาศแอนเดอร์สันบนกวมในระหว่างวันนั้น และพายุเริ่มก่อตัวเป็นศูนย์กลางการหมุนเวียนระดับต่ำที่รวมตัวกัน
  • วันที่ 9 ตุลาคม สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) เริ่มตรวจสอบพายุดังกล่าวว่าเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนในช่วงเช้าของวันนี้
  • วันที่ 10 ตุลาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้เริ่มออกคำเตือนเกี่ยวกับพายุ และยกระดับจากหย่อมความกดอากาศต่ำให้กลายเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน พายุได้ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว และได้รับการประกาศว่าเป็นพายุโซนร้อนในขณะที่สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้กำหนดให้ชื่อ วิภา เป็นพายุ
  • วันที่ 11 ตุลาคม สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ยกระดับจากพายุโซนร้อนให้กลายเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรงเมื่อพายุทวีกำลังแรงขึ้น
  • วันที่ 12 ตุลาคม พายุโซนร้อนวิภาได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่นในขณะที่พายุเคลื่อนตัวช้า ๆ และได้เข้าสู่พื้นที่ที่มีน้ำอุ่นกับลมเฉือนต่ำ
  • วันที่ 13 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่นวิภาได้ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 4 ด้วยความเร็วลมสูงสุด 1 นาทีที่ 240 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (150 ไมล์ต่อชั่วโมง) เมื่อเป็นเช่นนั้น พายุได้พัฒนาตาพายุที่เล็ก กะทัดรัด และชัดเจน ในเที่ยงวันของวันนี้ สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) ได้สังเกตเห็นว่าพายุได้เคลื่อนตัวเข้าสู่พื้นที่รับผิดชอบของประเทศฟิลิปปินส์ และได้กำหนดชื่อท้องถิ่นว่า ตีโน
  • วันที่ 15 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่นวิภาได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 3 และหลังจากนั้นก็กลายเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 2 พายุได้เคลื่อนตัวออกจากพื้นที่รับผิดชอบของประเทศฟิลิปปินส์ เนื่องจากน้ำทะเลรอบ ๆ พายุเริ่มเย็นลงในขณะที่พายุกำลังเคลื่อนตัวเข้าใกล้ประเทศญี่ปุ่นด้วยสถานะพายุไต้ฝุ่นระดับ 1
  • วันที่ 16 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่นวิภาได้เคลื่อนตัวเข้าสู่สถานะพายุหมุนนอกเขตร้อนในช่วงดึกของวันนี้ และส่วนที่เหลือของพายุยังคงเคลื่อนตัวเข้าสู่สถานะพายุหมุนนอกเขตร้อน เนื่องจากพายุลูกนี้ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของคาบสมุทรคัมชัตคาในวันถัดไป
  • วันที่ 18 ตุลาคม สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้รายงานว่าพายุยังคงเคลื่อนตัวด้วยความเร็ว และสลายอยู่นอกเขตร้อน

พายุไต้ฝุ่นฟรานซิสโก

แก้
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
   
ระยะเวลา 15 – 26 ตุลาคม
ความรุนแรง 195 กม./ชม. (120 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
920 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.17 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: อูร์ดูฮา
  • วันที่ 16 ตุลาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อนก่อตัวขึ้นบริเวณทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของกวม[113] ต่อมา JMA และ JTWC ได้ประกาศทวีกำลังแรงของดีเปรสชันเขตร้อนเป็นพายุโซนร้อน และ JMA ได้ให้ชื่อว่า ฟรานซิสโก
  • วันที่ 17 ตุลาคม JMA ได้ประกาศทวีความรุนแรงของฟรานซิสโกเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง
  • วันที่ 19 ตุลาคม ฟรานซิสโกทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5

พายุไต้ฝุ่นเลกีมา

แก้
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
   
ระยะเวลา 19 – 26 ตุลาคม
ความรุนแรง 215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
905 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.72 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นกรอซา

แก้
พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 3 (SSHWS)
   
ระยะเวลา 27 ตุลาคม – 5 พฤศจิกายน
ความรุนแรง 140 กม./ชม. (85 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
970 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.64 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: บินตา
  • วันที่ 26 ตุลาคม ดีเปรสชันเขตร้อนก่อตัวบริเวณทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของกวม

พายุไต้ฝุ่นไห่เยี่ยน

แก้
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
   
ระยะเวลา 3 พฤศจิกายน – 11 พฤศจิกายน
ความรุนแรง 230 กม./ชม. (145 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
895 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.43 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: โยลันดา
  • วันที่ 3 พฤศจิกายน เกิดบริเวณหย่อมความกดอากาศต่ำทางทิศใต้เยื้องตะวันออกของเกาะปอนเปย์ (Pohnpei) ประเทศไมโครนีเชีย ต่อมาศูนย์ร่วมเตือนภัยไต้ฝุ่น (JTWC) ออกรหัสเรียกขาน "31W"
  • วันที่ 4 พฤศจิกายน JMA ประกาศให้ใช้ชื่อพายุว่า "ไห่เยี่ยน" ไม่นานนักพายุเข้าเขตรับผิดชอบสำนักบริหารบรรยากาศฯ แห่งฟิลิปปินส์ จึงให้ใช้ชื่อว่า "โยลันดา" พายุไห่เยี่ยนก่อให้เกิดความเสียหายโดยพัดหลังคาโบสถ์ในเขตเลเต[114]
  • วันที่ 7 พฤศจิกายน มีราษฎรได้รับผลกระทบ 905,353 คน และมีผู้เสียชีวิต 3 คน[115]
  • วันที่ 8 พฤศจิกายน จำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่มเป็น 23 คน ทั้งนี้มีรายงานว่ามีผู้เสียชีวิตรวม 30 คนหลังจากที่พายุพัดผ่านตอนกลางของประเทศฟิลิปปินส์ไปแล้ว[116]

พายุโซนร้อนโพดุล

แก้
พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
   
ระยะเวลา 11 – 15 พฤศจิกายน
ความรุนแรง 65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1000 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.53 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: โซไรดา
  • วันที่ 9 พฤศจิกายน JMA รายงานว่ามีดีเปรสชันเขตร้อนเกิดในมหาสมุทรแปซิฟิก ห่างจากกรุงปอร์ตมอร์สบี ประเทศปาปัวนิวกินี ไปทางตะวันตกเฉียงเหนือเป็นระยะทาง 1,330 km (830 mi)[117]
  • วันที่ 11 พฤศจิกายน พายุเข้าเขตรับผิดชอบสำนักบริหารบรรยากาศฯ ฟิลิปปินส์ จึงประกาศให้ใช้ชื่อ "โซไรดา"

พายุดีเปรสชันเขตร้อน

แก้

รายการพายุหมุนเขตร้อนที่มีความรุนแรงสูงสุดเป็นเพียงพายุดีเปรสชัน โดยอาจเป็นพายุที่มีรหัสเรียกตามหลังด้วยตัวอักษร W โดยศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม หรืออาจได้รับชื่อท้องถิ่นจากสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) แต่ไม่ถูกตั้งชื่อตามเกณฑ์ของกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ซึ่งหน่วยงานดังกล่าวระบุเพียงแต่คำว่า TD (Tropical Depression) หรือพายุดีเปรสชันเท่านั้น

พายุดีเปรสชันเขตร้อนบีซิง

แก้
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชัน (TMD)
   
ระยะเวลา 6 – 13 มกราคม
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1002 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.59 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 4 มกราคม มีบริเวณการหมุนเวียนลมก่อตัวขึ้นทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของปาเลา โดย JTWC ได้เรียกว่าหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง 94W
  • วันที่ 5 มกราคม ไม่ช้าระบบก็เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกอย่างรวดเร็วและเข้าไปในพื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์
  • วันที่ 6 มกราคม JMA ได้ประกาศทวีความรุนแรงระบบเป็นดีเปรสชันเขตร้อน
  • วันที่ 7 มกราคม JMA ได้ประกาศลดความรุนแรงระบบเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำดังเดิม[118]
  • วันที่ 8 มกราคม ระบบเดียวที่อ่อนกำลังลงได้ทวีกำลังแรงอีกครั้ง โดย JMA ได้ประกาศทวีความรุนแรงระบบเป็นดีเปรสชันเขตร้อนอีกครั้ง แบบจำลองแบบไดนามิกต่างๆระบุว่าดีเปรสชันนี้จะเข้าโจมตีฟิลิปปินส์[119]
  • วันที่ 11 มกราคม PAGASA ได้ประกาศทวีความรุนแรงของระบบเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนและใช้ชื่อ "บีซิง (Bising)"
  • วันที่ 13 มกราคม PAGASA ไดปรับลดความรุนแรงของบีซิงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ

สภาพอากาศมีฝนตกปานกลางถึงหนักในพื้นที่ภาคบีคอล,วิซายาตะวันออก,วิซายากลางและมินดาเนา

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 4

แก้
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
   
ระยะเวลา 20 – 22 มีนาคม
ความรุนแรง <55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1006 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.71 นิ้วปรอท)
  • 20 มีนาคม สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น ประกาศว่ามีพายุดีเปรสชันเขตร้อนก่อตัวขึ้นทางตะวันออกของดาเวา, ฟิลิปปินส์ ที่ระยะห่าง 324 กิโลเมตร
  • 22 มีนาคม ระบบสลายตัวไป

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 11

แก้
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชัน (TMD)
   
ระยะเวลา 18 – 20 กรกฎาคม
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1000 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.53 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 15

แก้
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
 
ระยะเวลา 10 – 12 สิงหาคม
ความรุนแรง <55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1002 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.59 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 10 สิงหาคม ดีเปรสชันเขตร้อนก่อตัวทางตะวันออกของเวียดนาม ในทะเลจีนใต้

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 13W

แก้
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชัน (TMD)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
   
ระยะเวลา 15 – 19 สิงหาคม
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
996 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.41 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 16 สิงหาคม สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) รายงานว่าพบพายุดีเปรสชันเขตร้อนอยู่บริเวณ 1,275 กม. (790 ไมล์) ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของไทเป, ไต้หวัน[120]
  • วันที่ 18 สิงหาคมระบบได้พัฒนาเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนและมีปฏิกิริยากับพายุโซนร้อนจ่ามี ต่อมาระบบได้ขึ้นฝั่งทางตะวันออกประเทศจีน และได้กระจายหายไป[121]

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 03C

แก้
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
   
ระยะเวลา 21 สิงหาคม (เข้ามาในแอ่ง)
ความรุนแรง <55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1008 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.77 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 22

แก้
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
   
ระยะเวลา 27 – 29 สิงหาคม
ความรุนแรง <55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1002 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.59 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 23

แก้
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
   
ระยะเวลา 28 – 31 สิงหาคม
ความรุนแรง <55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1008 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.77 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 28

แก้
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
   
ระยะเวลา 6 – 7 กันยายน
ความรุนแรง <55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1012 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.88 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 18W

แก้
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชัน (TMD)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
   
ระยะเวลา 15 – 21 กันยายน
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
996 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.41 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 30

แก้
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
   
ระยะเวลา 23 กันยายน
ความรุนแรง <55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1012 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.88 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 35

แก้
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
   
ระยะเวลา 3 – 8 ตุลาคม
ความรุนแรง <55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1006 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.71 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อนไพลิน

แก้
1305 (JMA)・02B (JTWC)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชัน (TMD)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
   
ระยะเวลา 4 ตุลาคม – 7 ตุลาคม พ.ศ. 2556 (ออกนอกแอ่ง)
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1004 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.65 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 4 ตุลาคม สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) เริ่มติดตามความเคลื่อนไหวของพายุดีเปรสชันเขตร้อนที่กำลังก่อตัวในอ่าวไทยห่างจากนครโฮจิมินห์ไปทางตะวันตกประมาณ 400 กิโลเมตร (250 ไมล์) ของประเทศเวียดนาม และในอีกสองสามวันต่อมา พายุก็ได้เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกภายในบริเวณที่มีลมเฉือนแนวตั้งระดับต่ำถึงปานกลางก่อนที่จะเคลื่อนตัวผ่านคาบสมุทรมลายู
  • วันที่ 6 ตุลาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อนสลายตัวกลายเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ แต่สลายตัวได้ไม่นานนัก และพายุก็เคลื่อนตัวออกจากแอ่งแปซิฟิกตะวันตก
  • วันที่ 7 ตุลาคม หย่อมความกดอากาศต่ำได้รับอิทธิพลจากทะเลส่งผลให้มีกำลังแรงขึ้นจนกลายเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนในเวลาต่อมา และพายุก็เคลื่อนตัวลงสู่ทะเลอันดามัน

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 27W

แก้
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชัน (TMD)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
   
ระยะเวลา 17 – 22 ตุลาคม
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1002 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.59 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 17 ตุลาคม ดีเปรสชันเขตร้อนก่อตัวขึ้นทางบริเวณทิศตะวันออกเฉียงเหนือเยื้องเหนือของกวม
  • วันที่ 18 ตุลาคม พายุรับรหัสเรียกขานว่า 27W

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 30W

แก้
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชัน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
   
ระยะเวลา 2 – 7 พฤศจิกายน (ออกนอกแอ่ง)
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1004 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.65 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: วิลมา

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 33W

แก้
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
   
ระยะเวลา 3 ธันวาคม
ความรุนแรง <55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1006 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.71 นิ้วปรอท)

พายุอื่น ๆ

แก้
  • วันที่ 11 เมษายน เวลา 1800UTC (02 นาฬิกาของวันที่ 12 ตามเวลาในประเทศไทย) สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) เริ่มตรวจสอบการเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกของพายุดีเปรสชันเขตร้อนในอ่าวไทย ในเวลานั้น ดีเปรสชันเขตร้อนมีความกดอากาศต่ำสุด ณ ศูนย์กลางที่ 1008 มิลลิบาร์ (hPa; 27.77 นิ้วปรอท) แต่พายุมีความเคลื่อนไหวอยู่ได้ไม่นานก็อ่อนกำลังลง JMA จึงไม่ได้ออกประกาศอะไรเพิ่มเติมสำหรับดีเปรสชันนั้น[122]

รายชื่อพายุ

แก้

ภายในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ ทั้งกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) และสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) ต่างทำหน้าที่กำหนดชื่อของพายุหมุนเขตร้อนซึ่งก่อตัวภายในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ซึ่งเป็นผลให้พายุหมุนเขตร้อนอาจมีสองชื่อ[123] RSMC โตเกียวโดยกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น — ศูนย์ไต้ฝุ่นจะกำหนดชื่อสากลให้กับพายุหมุนเขตร้อนในนามของคณะกรรมการไต้ฝุ่นขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ซึ่งพวกเขาจะประมาณความเร็วลมเฉลี่ยภายใน 10 นาทีของพายุหมุนเขตร้อน หากมีความเร็วลมถึง 65 km/h (40 mph) พายุหมุนเขตร้อนดังกล่าวจะได้รับชื่อ[124] ส่วน PAGASA จะกำหนดชื่อให้กับพายุหมุนเขตร้อน ซึ่งเคลื่อนตัวเข้าหรือก่อตัวขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนภายในพื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ มีขอบเขตอยู่ระหว่างเส้นเมริเดียนที่ 135°ดะวันออก ถึง 115°ตะวันออก และระหว่างเส้นขนานที่ 5°เหนือ ถึง 25°เหนือ แม้ว่าพายุหมุนเขตร้อนลูกนั้นจะได้รับชื่อสากลแล้วก็ตาม[123] โดยชื่อของพายุหมุนเขตร้อนที่มีนัยสำคัญจะถูกถอนโดยทั้ง PAGASA และ คณะกรรมการไต้ฝุ่น[124] ในระหว่างฤดูกาล หากรายชื่อของภูมิภาคฟิลิปปินส์ที่เตรียมไว้ถูกใช้จนหมด PAGASA จะใช้ชื่อจากรายชื่อเพิ่มเติม ซึ่งถูกกำหนดขึ้นไว้ในแต่ละฤดูกาลมาใช้กับพายุหมุนเขตร้อนแทนชื่อที่หมดไป

ชื่อสากล

แก้

กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) จะเป็นหน่วยงานที่กำหนดชื่อให้กับพายุหมุนเขตร้อน เมื่อระบบได้รับการประมาณว่า มีความเร็วลมเฉลี่ยภายใน 10 นาที ที่ 65 km/h (40 mph)[125] โดย JMA จะคัดเลือกชื่อจากรายการ 140 ชื่อ ซึ่งได้รับการปรับปรุงโดย 14 ประเทศสมาชิกและดินแดนของคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP)/WMO คณะกรรมการไต้ฝุ่น[126] โดยรายชื่อด้านล่างจะเป็นรายชื่อ พร้อมเลขรหัสพายุ ชื่อที่ใช้เป็นชื่อแรกของฤดูกาล 2556 คือ โซนามู จากชุดที่ 1 และชื่อที่ใช้เป็นชื่อสุดท้ายคือ โพดุล จากชุดที่ 2 รวมมีชื่อจากชุดรายชื่อถูกใช้ 29 ชื่อ

รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนสากลของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกในฤดูกาล 2556
ชุด รหัสพายุ ชื่อพายุ ชุด รหัสพายุ ชื่อพายุ ชุด รหัสพายุ ชื่อพายุ ชุด รหัสพายุ ชื่อพายุ
ชุดที่ 1 1301 โซนามู
(Sonamu)
ชุดที่ 1 1309 เชบี
(Jebi)
ชุดที่ 2 1319 อูซางิ
(Usagi)
ชุดที่ 2 1327 ฟรานซิสโก
(Francisco)
1302 ชานชาน
(Shanshan)
1310 มังคุด
(Mangkhut)
1320 ปาบึก
(Pabuk)
1328 เลกีมา
(Lekima)
1303 ยางิ
(Yagi)
1311 อูตอร์
(Utor)
1321 หวู่ติบ
(Wutip)
1329 กรอซา
(Krosa)
1304 หลี่ผี
(Leepi)
1312 จ่ามี
(Trami)
1322 เซอปัต
(Sepat)
1330 ไห่เยี่ยน
(Haiyan)
1305 เบบินคา
(Bebinca)
ชุดที่ 2 1315 กองเร็ย
(Kong-rey)
1323 ฟิโทว์
(Fitow)
1331 โพดุล
(Podul)
1306 รุมเบีย
(Rumbia)
1316 ยวี่ถู่
(Yutu)
1324 ดานัส
(Danas)
1307 ซูลิก
(Soulik)
1317 โทราจี
(Toraji)
1325 นารี
(Nari)
1308 ซีมารอน
(Cimaron)
1318 หม่านหยี่
(Man-yi)
1326 วิภา
(Wipha)

หมายเหตุ: รหัสพายุสากลที่ 1313 และ 1314 ถูกใช้กับพายุโซนร้อนกำลังแรงเปวา และพายุโซนร้อนอูนาลา ตามลำดับ หลังจากที่พายุดังกล่าวเคลื่อนข้ามเส้นแบ่งวันสากลเข้ามาในแอ่ง ส่วนชื่อเปวาและอูนาลาเป็นชื่อที่กำหนดโดยศูนย์เฮอร์ริเคนแปซิฟิกกลาง

ฟิลิปปินส์

แก้

สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) จะใช้ชื่อของตัวเองหากมีพายุใดก่อตัวหรือเคลื่อนผ่านพื้นที่รับผิดชอบของตน[127] โดยชื่อที่ใช้ถูกนำมาจากรายชื่อ เป็นรายชื่อเดียวกับที่ถูกใช้ไปในฤดูกาล ค.ศ. 2009 (พ.ศ. 2552) และมีกำหนดจะถูกนำมาใช้อีกครั้งในฤดูกาล ค.ศ. 2017 (พ.ศ. 2560) ด้วย[127] ซึ่งรายชื่อทั้งหมดเหมือนเดิมกับครั้งก่อน เว้น ฟาเบียน (Fabian), โอเดตต์ (Odette) และ ปาโอโล (Paolo) ที่ถูกนำมาแทน เฟเรีย (Feria), โอนโดย (Ondoy) และเปเปง (Pepeng) ที่ถูกถอนไปตามลำดับ[127] ส่วนชื่อที่ไม่ถูกใช้จะทำเป็น อักษรสีเทา

รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนท้องถิ่นฟิลิปปินส์ในฤดูกาล 2556
เอาริง (Auring) (1301) ฟาเบียน (Fabian) (1305) กีโก (Kiko) (1310) ปาโอโล (Paolo) (1321) อูร์ดูฮา (Urduja) (1327)
บีซิง (Bising) โกรีโย (Gorio) (1306) ลาบูโย (Labuyo) (1311) เกดัน (Quedan) (1323) บินตา (Vinta) (1329)
กรีซิง (Crising) (1302) ฮัวนิง (Huaning) (1307) มาริง (Maring) (1312) รามิล (Ramil) (1324) วิลมา (Wilma)
ดันเต (Dante) (1303) อีซัง (Isang) (1308) นันโด (Nando) (1315) ซันตี (Santi) (1325) โยลันดา (Yolanda) (1330)
เอโมง (Emong) (1304) โฮลีนา (Jolina) (1309) โอเดตต์ (Odette) (1319) ตีโน (Tino) (1326) โซไรดา (Zoraida) (1331)
รายชื่อเพิ่มเติม
อาลามิด (Alamid) (ไม่ถูกใช้) โกนชิง (Conching) (ไม่ถูกใช้) เอร์นี (Ernie) (ไม่ถูกใช้) เฮราร์โด (Gerardo) (ไม่ถูกใช้) อิสโก (Isko) (ไม่ถูกใช้)
บรูโน (Bruno) (ไม่ถูกใช้) โดลอร์ (Dolor) (ไม่ถูกใช้) โฟลรันเต (Florante) (ไม่ถูกใช้) เอร์นัน (Hernan) (ไม่ถูกใช้) เจอโรม (Jerome) (ไม่ถูกใช้)

การถอนชื่อ

แก้

ภายหลังจากฤดูกาลนี้ คณะกรรมการไต้ฝุ่นได้ถอนชื่อ โซนามู, อูตอร์, ฟิโทว์ และ ไห่เยี่ยน ออกจากชุดรายชื่อ และต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 ได้มีการคัดเลือกชื่อขึ้นมาทดแทนชื่อดังกล่าวที่ถูกถอนไป ประกอบด้วย ชงดารี, บารีจัต, มูน และ ไป๋ลู่ ตามลำดับ[128] ส่วนรายชื่อพายุท้องถิ่นฟิลิปปินส์ PAGASA ได้ถอนชื่อ ลาบูโย (Labuyo), ซันตี (Santi) และ โยลันดา (Yolanda) ออกจากชุดรายชื่อ เนื่องจากสร้างความเสียหายรวมกว่า 1 พันล้านเปโซฟิลิปปินส์ และมีผู้เสียชีวิตกว่า 300 คน[129] โดยเลือกชื่อ ลันนี (Lannie), ซาโลเม (Salome) และ ยัสมิน (Yasmin) ขึ้นมาแทนที่ชื่อที่ถูกถอนไป

ผลกระทบ

แก้

ตารางนี้รวมเอาทั้งหมดของระบบพายุที่ก่อตัวภายใน หรือ เคลื่อนตัวเข้ามาในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ ทางฝั่งตะวันตกของเส้นแบ่งวันสากล ภายในปี พ.ศ. 2556 ประกอบด้วยชื่อพายุ ความรุนแรง บริเวณที่มีผลกระทบ จำนวนผู้เสียชีวิต และความเสียหาย ความเสียหายทั้งหมดเป็นค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปี ค.ศ. 2013 (พ.ศ. 2556) ความเสียหายและผู้เสียชีวิตจากพายุนั้นรวมไปถึงตั้งแต่ครั้งเมื่อพายุยังเป็นเพียงหย่อมความกดอากาศต่ำ หรือเปลี่ยนผ่านไปเป็นความกดอากาศต่ำนอกเขตร้อนแล้ว

ชื่อพายุ ช่วงวันที่ ระดับความรุนแรง
ขณะมีกำลังสูงสุด
ความเร็วลมต่อเนื่อง
(เฉลี่ย 10 นาที)
ความกดอากาศ พื้นที่ผลกระทบ ความเสียหาย
(USD)
ผู้เสียชีวิต อ้างอิง
โซนามู
(เอาริง)
1 – 10 มกราคม พายุโซนร้อนกำลังแรง 95 กม./ชม. 990 hPa (29.23 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์, เวียดนาม, เกาะบอร์เนียว &0000000000000001000000 เล็กน้อย 2 [130]
บีซิง 6 – 13 มกราคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน 55 กม./ชม. 1002 hPa (29.59 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์ &000000000003400000000034 พันดอลลาร์สหรัฐ &0000000000000000000000 ไม่มี [131]
ชานชาน
(กรีซิง)
18 – 23 กุมภาพันธ์ พายุโซนร้อน 65 กม./ชม. 1002 hPa (29.59 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์, เกาะบอร์เนียว &0000000000255000000000255 พันดอลลาร์สหรัฐ 4
TD 20 – 21 มีนาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1006 hPa (29.71 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์ &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
ยางิ
(ดันเต)
6 – 12 มิถุนายน พายุโซนร้อน 85 กม./ชม. 990 hPa (29.23 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์, ญี่ปุ่น &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
TD 14 – 15 มิถุนายน พายุดีเปรสชันเขตร้อน 55 กม./ชม. 994 hPa (29.35 นิ้วปรอท) จีน, ฮ่องกง &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
หลี่ผี
(เอโมง)
16 – 21 มิถุนายน พายุโซนร้อน 75 กม./ชม. 994 hPa (29.35 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์, ไต้หวัน, หมู่เกาะรีวกีว, เกาหลีใต้, ญี่ปุ่น &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
เบบินคา
(ฟาเบียน)
19 – 24 มิถุนายน พายุโซนร้อน 75 กม./ชม. 990 hPa (29.23 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์, จีน, เวียดนาม &000000001363000000000013.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 1 [132][133]
รุมเบีย
(โกรีโย)
27 มิถุนายน – 2 กรกฎาคม พายุโซนร้อนกำลังแรง 95 กม./ชม. 985 hPa (29.09 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์, จีน &0000000191000000000000191 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 7 [134][132]
ซูลิก
(ฮัวนิง)
7 – 14 กรกฎาคม พายุไต้ฝุ่น 185 กม./ชม. 925 hPa (27.32 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์, ญี่ปุ่น, ไต้หวัน, จีน &0000000599820000000000600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 15 [132][135]
ซีมารอน
(อีซัง)
15 – 18 กรกฎาคม พายุโซนร้อน 75 กม./ชม. 1000 hPa (29.53 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์, ไต้หวัน, จีน &0000000323500000000000324 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 6 [136][132][135]
TD 18 – 20 กรกฎาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน 55 กม./ชม. 1000 hPa (29.53 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
เชบี
(โฮลีนา)]]
28 กรกฎาคม – 3 สิงหาคม พายุโซนร้อนกำลังแรง 95 กม./ชม. 985 hPa (29.09 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์, จีน, เวียดนาม, ลาว, ไทย &000000008130000000000081.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 7 [132][137]
มังคุด
(กีโก)
5 – 8 สิงหาคม พายุโซนร้อน 75 กม./ชม. 992 hPa (29.29 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์, เวียดนาม, จีน, ลาว, ไทย &0000000000000001000000 &00000000045000000000004.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 4
อูตอร์
(ลาบูโย)
8 – 18 สิงหาคม พายุไต้ฝุ่น 195 กม./ชม. 925 hPa (27.32 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์, จีน &00000035624300000000003.56 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 97 [132][137][138]
TD 10 – 12 สิงหาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1002 hPa (29.59 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
13W 15 – 19 สิงหาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน 55 กม./ชม. 996 hPa (29.41 นิ้วปรอท) จังหวัดโอกินาวะ, จีน &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
จ่ามี
(มาริง)
16 – 24 สิงหาคม พายุโซนร้อนกำลังแรง 110 กม./ชม. 965 hPa (28.50 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์, ไต้หวัน, โอกินาวะ, จีน &0000000574940000000000575 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 29 [132]
เปวา 18 – 26 สิงหาคม พายุโซนร้อนกำลังแรง 100 กม./ชม. 990 hPa (29.23 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
อูนาลา 19 สิงหาคม พายุโซนร้อน 65 กม./ชม. 1000 hPa (29.53 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
03C 20 สิงหาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน 50 กม./ชม. 1008 hPa (29.77 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี [139]
กองเร็ย
(นันโด)
25 – 30 สิงหาคม พายุโซนร้อนกำลังแรง 100 กม./ชม. 980 hPa (28.94 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์, ไต้หวัน, จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้ &000000002500000000000025 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 9 [132][137]
TD 27 – 29 สิงหาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1002 hPa (29.59 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
TD 27 – 30 สิงหาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1008 hPa (29.77 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
ยวี่ถู่ 29 สิงหาคม – 5 กันยายน พายุโซนร้อน 65 กม./ชม. 1002 hPa (29.59 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี [140]
โทราจี 31 สิงหาคม – 4 กันยายน พายุโซนร้อนกำลังแรง 95 กม./ชม. 985 hPa (29.09 นิ้วปรอท) ไต้หวัน, ญี่ปุ่น &0000000000000000000000 เล็กน้อย 3
หม่านหยี่ 11 – 16 กันยายน พายุไต้ฝุ่น 120 กม./ชม. 960 hPa (28.35 นิ้วปรอท) ญี่ปุ่น, คาบสมุทรคัมชัตคา &0000000000000000000000 เล็กน้อย 6 [141]
18W 15 – 21 กันยายน พายุดีเปรสชันเขตร้อน 55 กม./ชม. 996 hPa (29.41 นิ้วปรอท) เวียดนาม, ลาว, ไทย &000000007970000000000079.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 23 [142][143][144][145][146][147][148]
อูซางิ
(โอเดตต์)]]
16 – 24 กันยายน พายุไต้ฝุ่น 205 กม./ชม. 910 hPa (26.87 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์, ไต้หวัน, จีน &00000043300000000000004.33 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 35 [132]
ปาบึก 19 – 27 กันยายน พายุโซนร้อนกำลังแรง 110 กม./ชม. 965 hPa (28.50 นิ้วปรอท) หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
TD 22 – 23 กันยายน พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1010 hPa (29.83 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
หวู่ติบ
(ปาโอโล)
25 กันยายน – 1 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่น 120 กม./ชม. 965 hPa (28.50 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์, เวียดนาม, ไทย, ลาว, จีน &0000000526280000000000526 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 77 [132][149]
เซอปัต 29 กันยายน – 2 ตุลาคม พายุโซนร้อน 75 กม./ชม. 992 hPa (29.29 นิ้วปรอท) ญี่ปุ่น, คาบสมุทรกัมชัตคา &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
ฟิโทว์
(เกดัน)
29 กันยายน – 7 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่น 140 กม./ชม. 960 hPa (28.35 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์, ปาเลา, หมู่เกาะรีวกีว, ไต้หวัน, จีน &000001040000000000000010.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 12 [132]
ดานัส
(รามิล)
1 – 9 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่น 165 กม./ชม. 935 hPa (27.61 นิ้วปรอท) หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา, กวม, หมู่เกาะรีวกีว, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้ &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
TD 2 – 4 ตุลาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1006 hPa (29.71 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
ไพลิน 5 – 6 ตุลาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1004 hPa (29.65 นิ้วปรอท) คาบสมุทรอินโดจีน &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
นารี
(ซันตี)
8 – 16 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่น 140 กม./ชม. 965 hPa (28.50 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์, จีน, เวียดนาม, ลาว, กัมพูชา, ไทย &0000000161140000000000161 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 87 [132][150][151][152][153]
วิภา
(ตีโน)
9 – 16 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่น 165 กม./ชม. 930 hPa (27.46 นิ้วปรอท) หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา, กวม, ญี่ปุ่น, คาบสมุทรกัมชัตกา, รัฐแอลาสกา &0000000250000000000000250 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 41 [141][154]
ฟรานซิสโก
(อูร์ดูฮา)
15 – 26 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่น 195 กม./ชม. 920 hPa (27.17 นิ้วปรอท) กวม, ญี่ปุ่น &0000000000150000000000150 พันดอลลาร์สหรัฐ &0000000000000000000000 ไม่มี
27W 17 – 22 ตุลาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน 55 กม./ชม. 1002 hPa (29.59 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
เลกีมา 19 – 26 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่น 215 กม./ชม. 905 hPa (26.72 นิ้วปรอท) หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา, เกาะอิโอจิมะ, ญี่ปุ่น &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
กรอซา
(บินตา)
27 ตุลาคม – 5 พฤศจิกายน พายุไต้ฝุ่น 140 กม./ชม. 970 hPa (28.65 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์, ไต้หวัน, จีน, เวียดนาม &00000000064000000000006.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 9
30W
(วิลมา)
2 – 7 พฤศจิกายน พายุดีเปรสชันเขตร้อน 55 กม./ชม. 1004 hPa (29.65 นิ้วปรอท) Palau, ฟิลิปปินส์, เวียดนาม, กัมพูชา, ไทย, พม่า เล็กน้อย &0000000000000000000000 ไม่มี
ไห่เยี่ยน
(โยลันดา)
3 – 11 พฤศจิกายน พายุไต้ฝุ่น 230 กม./ชม. 895 hPa (26.43 นิ้วปรอท) ชุก, ยาป, ปาเลา, ฟิลิปปินส์, เวียดนาม, ลาว, จีน &00000045500000000000004.55 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 8,052 [155][132][156][157][158]
โพดุล
(โซไรดา)
11 – 15 พฤศจิกายน พายุโซนร้อน 65 กม./ชม. 1000 hPa (29.53 นิ้วปรอท) ปาเลา, ฟิลิปปินส์, เวียดนาม, กัมพูชา, ไทย &000000007200000000000072 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 44
TD 17 – 18 พฤศจิกายน พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1006 hPa (29.71 นิ้วปรอท) เวียดนาม &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
เลฮาร์ 19 – 22 พฤศจิกายน พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1004 hPa (29.65 นิ้วปรอท) อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ไทย &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
33W 3 ธันวาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1006 hPa (29.71 นิ้วปรอท) ไม่มี ไม่มี ไม่มี [159]
สรุปฤดูกาล
49 ลูก 1 มกราคม – 3 ธันวาคม   230 กม./ชม. 895 hPa (26.43 นิ้วปรอท)   &000002575953900000000025.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 8,570


ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Saunders, Mark; Lea, Adam (May 7, 2013). Extended Range Forecast for Northwest Pacific Typhoon Activity in 2013 (PDF) (Report). Tropical Storm Risk Consortium. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ July 8, 2013. สืบค้นเมื่อ October 1, 2013.
  2. 2.0 2.1 Saunders, Mark; Lea, Adam (July 8, 2013). July Forecast Update for Northwest Pacific Typhoon Activity in 2013 (PDF) (Report). Tropical Storm Risk Consortium. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ July 8, 2013. สืบค้นเมื่อ October 1, 2013.
  3. Saunders, Mark; Lea, Adam (August 6, 2013). August Forecast Update for Northwest Pacific Typhoon Activity in 2013 (PDF) (Report). Tropical Storm Risk Consortium. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ August 6, 2013. สืบค้นเมื่อ October 1, 2013.
  4. 4.0 4.1 4.2 Servando, Nathaniel T (August 13, 2012). "January — June 2013" (PDF) (Seasonal Climate Outlook). Philippine Atmospheric, Geophysical and Astronomical Services Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ July 5, 2013. สืบค้นเมื่อ October 1, 2013.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 Ming-Dean Cheng (June 27, 2013). Two to Four Typhoons Tend to Impinge upon Taiwan during 2013. Weather Forecast Center (Report). Taiwan: Central Weather Bureau. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (.doc)เมื่อ 2013-10-04. สืบค้นเมื่อ October 1, 2013.
  6. Climate Monitoring and Prediction Section (July 10, 2013). Tropical Cyclone Forecast: July to December 2013. Climatology and Agrometeorology Branch (Seasonal Climate Outlook). Philippine Atmospheric, Geophysical and Astronomical Services Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 17, 2013. สืบค้นเมื่อ October 1, 2013.
  7. Malano, Vicente B (July 29, 2013). July — December 2013 (PDF) (Seasonal Climate Outlook). Philippine Atmospheric, Geophysical and Astronomical Services Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ August 6, 2013. สืบค้นเมื่อ October 1, 2013.
  8. Servando, Nathaniel T (August 13, 2012). January to June 2013 (PDF) (Seasonal Climate Outlook). Philippine Atmospheric, Geophysical and Astronomical Services Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-07-05. สืบค้นเมื่อ March 1, 2013.
  9. Shun, C.M (March 18, 2013). "Speech by Mr CM Shun, Director of the Hong Kong Observatory March 18, 2013" (PDF). Hong Kong Observatory. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-05. สืบค้นเมื่อ July 5, 2013.
  10. Climatological Center, Meteorological Development Bureau (April 26, 2013). "Weather outlook for Thailand during Rainy Season (Around mid-May to mid-October 2013)" (PDF). Thai Meteorological Department. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-05. สืบค้นเมื่อ July 5, 2013.
  11. "Up to 19 more PHL cyclones this year: PAGASA". InterAksyon. Philippines News Agency. July 16, 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-17. สืบค้นเมื่อ July 17, 2013.
  12. Climate Monitoring and Prediction Section (July 10, 2013). Tropical Cyclone Forecast: July to December 2013. Climatology and Agrometeorology Branch (Seasonal Climate Outlook). Philippine Atmospheric, Geophysical and Astronomical Services Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-17. สืบค้นเมื่อ July 17, 2013.
  13. http://www.jma.go.jp/en/g3/
  14. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-12-03. สืบค้นเมื่อ 2013-01-03.
  15. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-11. สืบค้นเมื่อ 2013-01-03.
  16. "สำเนาที่เก็บถาวร". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-03. สืบค้นเมื่อ 2013-01-03.
  17. http://www.jma.go.jp/en/typh/
  18. http://www.usno.navy.mil/NOOC/nmfc-ph/RSS/jtwc/warnings/wp0113web.txt[ลิงก์เสีย]
  19. http://www.jma.go.jp/en/typh/
  20. http://www.tmd.go.th/warningwindow.php?wID=3421
  21. http://www.tmd.go.th/warningwindow.php?wID=3426
  22. http://www.tmd.go.th/warningwindow.php?wID=3428
  23. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-06. สืบค้นเมื่อ 2013-01-06.
  24. http://www.wunderground.com/hurricane/wp19791.asp
  25. "Marine Weather Warning for GMDSS Metarea XI 2013-02-18 06z". Japan Meteorological Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-24. สืบค้นเมื่อ 18 February 2013.
  26. "Tropical Cyclone Warning: Tropical Depression Crising February 18, 2013 09z". Philippine Atmospheric, Geophysical and Astronomical Services Administration. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-18. สืบค้นเมื่อ February 18, 2013.
  27. "TROPICAL DEPRESSION 02W (TWO) WARNING NR 001". Joint Typhoon Warning Center. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-19. สืบค้นเมื่อ 22 February 2013.
  28. "TROPICAL DEPRESSION 02W (TWO) WARNING NR 010 RELOCATED". Joint Typhoon Warning Center. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-21. สืบค้นเมื่อ 22 February 2013.
  29. "Tropical Cyclone Warning for GMDSS Metarea XI 2013-02-22T00:00:00Z". GISC Tokyo (Japan Meteorological Agency). สืบค้นเมื่อ 22 February 2013.
  30. "02W TWO". United States Naval Research Laboratory. สืบค้นเมื่อ 22 February 2013.[ลิงก์เสีย]
  31. "Tropical Cyclone Advisory for Analysis and Forecast 2013-02-23T06:00:00Z". GISC Tokyo (Japan Meteorological Agency). สืบค้นเมื่อ 23 February 2013.
  32. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-02-25.
  33. "Marine Weather Warning for GMDSS Metarea XI 2013-06-16T06:00:00Z". WIS Portal – GISC Tokyo. Japan Meteorological Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-03. สืบค้นเมื่อ 16 June 2013.
  34. "Weather Bulletin Number One Tropical Cyclone Alert: Tropical Depression "EMONG"". Tropical Depression "EMONG". Philippine Atmospheric, Geophysical, and Astronomical Services Administration. June 16, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-28. สืบค้นเมื่อ 16 June 2013.
  35. Dinglasan, Rouchelle R. (June 15, 2013). "Flash flood warning up over Davao Oriental and Compostela Valley". GMA News Online. สืบค้นเมื่อ 16 June 2013.
  36. "PAGASA: LPA hovering off Surigao City; floods, landslides threaten Bicol, Vis-Min". GMA News Online. June 16, 2013. สืบค้นเมื่อ 16 June 2013.
  37. Japan Meteorological Agency (June 19, 2013). "TD Tropical Cyclone Advisory Jun 19 1800z". JMA RSMC Tropical Cyclone Advisory. Edkins Family Index Page. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-20. สืบค้นเมื่อ 22 June 2013.
  38. "Weather Bulletin Number One Tropical Cyclone Alert: Tropical Depression "FABIAN"". PAGASA Tropical Cyclone Weather Bulletin. Philippine Atmospheric, Geophysical, and Astronomical Services Administration. June 20, 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-20. สืบค้นเมื่อ 22 June 2013.
  39. Joint Typhoon Warning Center (June 20, 2013). "Prognostic Reasoning For Tropical Depression 05W Warning NR 03". JTWC Tropical Cyclone Prognostic Reasoning. Pearl Harbor, Hawaii: Edkins Family Index Page. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-21. สืบค้นเมื่อ 22 June 2013.
  40. Japan Meteorological Agency (June 21, 2013). "TS 1305 Bebinca (1305) Tropical Cyclone Advisory Jun 21 0000z". JMA RSMC Tropical Cyclone Advisory. Edkins Family Index Page. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-21. สืบค้นเมื่อ 22 June 2013.
  41. Joint Typhoon Warning Center. "Tropical Storm Bebinca Best Track Data". Unisys. สืบค้นเมื่อ 22 June 2013.
  42. http://www.tmd.go.th/warningwindow.php?wID=3623
  43. Xuequan, Mu (June 22, 2013). "8,000 passengers stranded as tropical storm Bebinca hits S China". Sanya, China. Xinhua. สืบค้นเมื่อ 22 June 2013.
  44. "4 fishermen missing after Bebinca reaches S China". Xinhua. June 22, 2013. สืบค้นเมื่อ 22 June 2013.
  45. Xuequan, Mu (June 22, 2013). "Four missing fishermen found in S China". Haikou, China. Xinhua. สืบค้นเมื่อ 22 June 2013.
  46. Philippine Atmospheric; Geophysical; Astronomical Services Administration; Weather Manilla (June 27, 2013). "Weather Bulletin Number One: Tropical Cyclone Alert: Tropical Depression "Gorio"" (PDF). Tropical Cyclone Weather Bulletin. Quezon City, Philippines: Republic of the Philippines Department of Science and Technology. p. 1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-06-27. สืบค้นเมื่อ 27 June 2013.
  47. "Tropical Cyclone Information (27/15z)". Japan Meteorological Agency. June 27, 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-27. สืบค้นเมื่อ 28 June 2013.
  48. Japan Meteorological Agency (June 28, 2013). "TS 1306 Rumbia (1306) Tropical Cyclone Advisory Jun 21 0000z". JMA RSMC Tropical Cyclone Advisory. Edkins Family Index Page. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-28. สืบค้นเมื่อ 28 June 2013.
  49. "Weather Bulletin Number Five Tropical Cyclone Alert: Tropical Storm "GORIO"" (PDF). PAGASA Tropical Cyclone Weather Bulletin. Philippine Atmospheric, Geophysical, and Astronomical Services Administration. June 28, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-06-28. สืบค้นเมื่อ 28 June 2013.
  50. Joint Typhoon Warning Center (June 29, 2013). "Prognostic Reasoning For Tropical Storm 06W (Rumbia) Warning NR 05". JTWC Tropical Cyclone Prognostic Reasoning. Pearl Harbor, Hawaii: Joint Typhoon Warning Center. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-29. สืบค้นเมื่อ 28 June 2013.
  51. Philippine Atmospheric; Geophysical; Astronomical Services Administration; Weather Manilla (June 29, 2013). "Weather Bulletin Number Seven: Tropical Cyclone Alert: Tropical Storm "Gorio"" (PDF). Tropical Cyclone Weather Bulletin. Quezon City, Philippines: Republic of the Philippines Department of Science and Technology. p. 1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-06-29. สืบค้นเมื่อ 26 June 2013.
  52. Japan Meteorological Agency (June 29, 2013). "TS 1306 Rumbia (1306) Tropical Cyclone Advisory Jun 29 0300z". JMA RSMC Tropical Cyclone Advisory. Edkins Family Index Page. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-29. สืบค้นเมื่อ 28 June 2013.
  53. http://www.tmd.go.th/warningwindow.php?wID=3633 ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "พายุ “รุมเบีย” "ฉบับที่ 2 ลงวันที่ 30 มิถุนายน 2556
  54. http://tmd.go.th/warningwindow.php?wID=3638 ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "พายุ “รุมเบีย” " ฉบับที่ 7 ลงวันที่ 01 กรกฎาคม 2556
  55. http://tmd.go.th/warningwindow.php?wID=3643 ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "พายุ “รุมเบีย” " ฉบับที่ 11 ลงวันที่ 02 กรกฎาคม 2556
  56. "Several Luzon provinces under Signal No. 1 as tropical depression 'Isang' intensifies". Frances Mangosing. สืบค้นเมื่อ July 16, 2013.
  57. "TRMM Sees Strong Tropical Storm Cimaron". สืบค้นเมื่อ July 19, 2013.
  58. ""西马仑"横扫福建 雨势猛烈开车如开船" (ภาษาจีน). Sina Corp. July 19, 2013. สืบค้นเมื่อ October 1, 2013.
  59. "闽南地区受热带风暴"西马仑"影响发生特大暴雨" (ภาษาจีน). 新华网. July 20, 2013. สืบค้นเมื่อ October 1, 2013.
  60. "热带风暴"西马仑"造成福建4.8万多户用户停电" (ภาษาจีน). 网易公. July 19, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-05. สืบค้นเมื่อ October 1, 2013.
  61. "LPA Being Monitored Near General Santos". Philippine Inquirer. July 26, 2013. สืบค้นเมื่อ July 26, 2013.
  62. "Exiting LPA to Continue to Bring Rains in PH". Philippine Inquirer. July 30, 2013. สืบค้นเมื่อ July 30, 2013.
  63. http://tmd.go.th/warningwindow.php?wID=3667
  64. "LPA Being Monitored Near General Santos". Philippine Inquirer. July 26, 2013. สืบค้นเมื่อ July 26, 2013.
  65. "Exiting LPA to Continue to Bring Rains in PH". Philippine Inquirer. July 30, 2013. สืบค้นเมื่อ July 30, 2013.
  66. "Tropical Storm Jolina Intensifies into Storm". GMA News. July 31, 2013.
  67. http://tmd.go.th/warningwindow.php?wID=3671
  68. "30000 Affected by Floods in Cotabato City, Maguindanao, North Cotabato, Sultan Kudarat". InterAksyon. July 27, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-02. สืบค้นเมื่อ July 30, 2013.
  69. Typhoon Utor (RSMC Tropical Cyclone Best Track). Japan Meteorological Agency. September 10, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-19. สืบค้นเมื่อ October 1, 2013.
  70. "Prognostic Reasoning for Tropical Depression 11W Warning Number 1 August 8, 2013 21z". Joint Typhoon Warning Center. August 8, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-09. สืบค้นเมื่อ October 1, 2013.
  71. "Tropical Cyclone Alert: Tropical Depression "Labuyo": Number One August 8, 2013 21z". Philippine Atmospheric, Geophysical and Astronomical Services Administration. August 8, 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-09. สืบค้นเมื่อ October 1, 2013.
  72. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-21. สืบค้นเมื่อ 2013-08-31.
  73. "Tropical Storm 12W (Trami), # 4; Tropical Storm 01C (Pewa), # 3". สืบค้นเมื่อ August 19, 2013.
  74. Heavy monsoon rains cause floods in Metro Manila, nearby provinces - Yahoo! Philippines News เก็บถาวร 2014-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Anc.yahoo.com. Retrieved on August 22, 2013.
  75. Several areas in NCR flooded; PAGASA issues orange advisory | News | GMA News Online. Gmanetwork.com (August 18, 2013). Retrieved on August 22, 2013.
  76. Marikina River reaches 15 meters; Ipo, La Mesa Dams at or near critical level | News | GMA News Online. Gmanetwork.com (August 18, 2013). Retrieved on August 22, 2013.
  77. Walang pasok: No classes on Monday in some NCR, Luzon areas due to expected rain | News | GMA News Online. Gmanetwork.com (August 18, 2013). Retrieved on August 22, 2013.
  78. Tropical Storm Trami and monsoon rains causing flooding in the Philippines. Science Codex. Retrieved on August 22, 2013.
  79. Land warning for Tropical Storm Trami. The China Post. Retrieved on August 22, 2013.
  80. Tropical storm Trami is forecast to strike China as a typhoon at about 12:00 GMT on 21 August เก็บถาวร 2013-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Trust.org. Retrieved on August 22, 2013.
  81. http://www.theaustralian.com.au/news/breaking-news/typhoon-trami-batters-china/story-fn3dxix6-1226702202958
  82. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-22. สืบค้นเมื่อ 2013-08-31.
  83. http://www.chinadaily.com.cn/cndy/2013-08/23/content_16915123.htm
  84. http://news.xinhuanet.com/english/china/2013-08/22/c_132654943.htm
  85. http://reliefweb.int/report/china/trami-downgraded-tropical-storm-after-landfall-china
  86. 86.0 86.1 Severe Tropical Storm Pewa (RSMC Tropical Cyclone Best Track). September 27, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-27. สืบค้นเมื่อ September 27, 2013.
  87. "Prognostic Reasoning for Tropical Storm 01C (Pewa) Warning Nr 08". Joint Typhoon Warning Center. August 18, 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-18. สืบค้นเมื่อ September 27, 2013.
  88. "NASA infrared imagery indicates Pewa weakened". สืบค้นเมื่อ August 23, 2013.
  89. "Tropical Depression 02C (Unala) Warning 4". Joint Typhoon Warning Center. August 19, 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-20. สืบค้นเมื่อ October 1, 2013.
  90. 90.0 90.1 Tropical Storm Unala (RSMC Tropical Cyclone Best Track). Japan Meteorological Agency. September 27, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-28. สืบค้นเมื่อ September 27, 2013.
  91. The Central Pacific Hurricane Center's Hurricane Specialist Unit (September 14, 2013). "Tropical Weather Summary for the Central North Pacific: August 2013". National Oceanic and Atmospheric Administration's National Weather Service. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-15. สืบค้นเมื่อ October 1, 2013.
  92. "JMA WWJP25 Warning and Summary August 30, 2013 06z". Japan Meteorological Agency. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-31. สืบค้นเมื่อ August 31, 2013.
  93. RSMC Tokyo — Typhoon Center (September 1, 2013). "RSMC Tropical Cyclone Advisory: Tropical Storm Yutu, September 1, 2013 0000z". Japan Meteorological Agency. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-01. สืบค้นเมื่อ September 1, 2013.
  94. "TROPICAL CYCLONE FORMATION ALERT". Joint Typhoon Warning Center. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-19. สืบค้นเมื่อ 19 September 2013.
  95. "PROGNOSTIC REASONING FOR TROPICAL DEPRESSION 17W (SEVENTEEN) WARNING NR 01". Joint Typhoon Warning Center. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-19. สืบค้นเมื่อ 19 September 2013.
  96. "PROGNOSTIC REASONING FOR TROPICAL STORM 17W (USAGI) WARNING NR 03". Joint Typhoon Warning Center. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-19. สืบค้นเมื่อ 19 September 2013.
  97. "PROGNOSTIC REASONING FOR TYPHOON 17W (USAGI) WARNING NR 08". Joint Typhoon Warning Center. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-19. สืบค้นเมื่อ 19 September 2013.
  98. "PROGNOSTIC REASONING FOR SUPER TYPHOON 17W (USAGI) WARNING NR 12". Joint Typhoon Warning Center. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-20. สืบค้นเมื่อ 20 September 2013.
  99. "Tropical Storm Pabuk Forms North-West of Marianas". Kevin Kerrigan. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-05. สืบค้นเมื่อ September 22, 2013.
  100. "NASA views a transitioning Tropical-Storm Pabuk". Rob Gutro. สืบค้นเมื่อ September 26, 2013.
  101. "Tropical Depression 21W, # 1". Dave Ornauer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-05. สืบค้นเมื่อ September 30, 2013.
  102. "Tropical Storm Sepat". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-05. สืบค้นเมื่อ October 2, 2013.
  103. "Tropical Storm FITOW (QUEDAN) Update Number 001". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-03. สืบค้นเมื่อ October 3, 2013.
  104. "Orange Tropical Cyclone alert for FITOW-13 in China". สืบค้นเมื่อ October 6, 2013.
  105. "One dead as Typhoon Fitow slams into China". สืบค้นเมื่อ October 7, 2013.
  106. <"Typhoon Fitow leaves 2 dead in E China". Liu Dan. สืบค้นเมื่อ October 7, 2013.
  107. "Tropical Depression 23W Tracking North of Saipan". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-04. สืบค้นเมื่อ October 4, 2013.
  108. "Tropical Storm Danas Forms North of Guam, Likely Impact on Southern Japan". robspeta. สืบค้นเมื่อ October 4, 2013.[ลิงก์เสีย]
  109. Middlebrooks. "Danas (23W) Public Advisory number 5". NWS Guam. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-05. สืบค้นเมื่อ 4 October 2013.
  110. "Typhoon Danas". สืบค้นเมื่อ October 7, 2013.
  111. "LPA off Catanduanes intensifies into Tropical Depression Santi". DVM, GMA News. สืบค้นเมื่อ October 9, 2013.
  112. "TS Santi intensifies, may cross Central Luzon". ELR, GMA News. สืบค้นเมื่อ October 10, 2013.
  113. "Disturbance UPGRADED to Tropical Depression 26W". News Release. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ October 16, 2013.
  114. "Haiyan moves West leaving a trail of death and destruction". robspeta. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-11. สืบค้นเมื่อ November 8, 2013.
  115. "DSWD: 905,353 pamilya sa buong bansa apektado ng Bagyong Yolanda". สืบค้นเมื่อ November 9, 2013.
  116. "Yolanda on the way out, 3 fatalities reported". JDS/DVM GMA News. สืบค้นเมื่อ November 9, 2013.
  117. "JMA WWJP25 Warning and Summary November 9, 2013 06z". Japan Meteorological Agency. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-10. สืบค้นเมื่อ November 10, 2013.
  118. http://www.jma.go.jp/en/g3/
  119. http://www.weatheronline.co.uk/cgi-bin/expertcharts?LANG=en&MENU=0000000000&CONT=soas&MODELL=gfs&MODELLTYP=1&BASE=-&VAR=prec&HH=3&LOOP=1&ZOOM=1&ARCHIV=0&RES=0&WMO=
  120. "JMA WWJP25 Warning and Summary August 16, 2013 00z". Japan Meteorological Agency. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-16. สืบค้นเมื่อ August 28, 2013.
  121. http://www.stripes.com/blogs/pacific-storm-tracker/pacific-storm-tracker-1.106563/tropical-depressions-12w-13w-3-tropical-storm-pewa-2-1.235970
  122. Japan Meteorological Agency (April 11, 2013). "Marine Weather Warning for GMDSS Metarea XI 2013-04-11T18:00:00Z". World Meteorological Organization Information Center – Tokyo Global Information System Centre. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ July 5, 2013.
  123. 123.0 123.1 Padgett, Gary. "Monthly Tropical Cyclone Summary December 1999". Australian Severe Weather. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-28. สืบค้นเมื่อ 2013-10-01.
  124. 124.0 124.1 The Typhoon Committee (2013-02-21). "Typhoon Committee Operational Manual 2013" (PDF). World Meteorological Organization. pp. 37–38. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-28. สืบค้นเมื่อ 2013-10-01.
  125. http://www.typhooncommittee.org/48th/docs/item%204%20technical%20presentations/4.1.Review2015TyphoonSeason.pdf
  126. Zhou, Xiao; Lei, Xiaotu (2012). "Summary of retired typhoons within the Western North Pacific Ocean". Tropical Cyclone Research and Review. The Economic and Social Commission for Asia and the Pacific/World Meteorological Organization's Typhoon Committee. 1 (1): 23–32. doi:10.6057/2012TCRR01.03. ISSN 2225-6032. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-12. สืบค้นเมื่อ 2014-12-21.
  127. 127.0 127.1 127.2 "Philippine Tropical Cyclone Names". Philippine Atmospheric, Geophysical and Astronomical Services Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 28, 2016. สืบค้นเมื่อ January 20, 2016.
  128. http://www.typhooncommittee.org/46th/Docs/FINAL/TC46FINAL%20adopted%2013FEB.pdf
  129. "'Yolanda' joins 'Labuyo,' 'Santi' in retired list". Manilla Bulletin. November 23, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 24, 2015. สืบค้นเมื่อ November 24, 2013.
  130. "Final Report re:Effects of Tropical Storm Auring (Sonamu)" (PDF). National Disaster Risk Reduction & Management Council. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ March 5, 2016. สืบค้นเมื่อ May 6, 2016.
  131. "SitRep No.4 re Preparedness Measures and Effects of Tropical Depression "Bising"" (PDF). National Disaster Risk Reduction and Management Council. January 15, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ December 7, 2013. สืบค้นเมื่อ December 7, 2013.
  132. 132.00 132.01 132.02 132.03 132.04 132.05 132.06 132.07 132.08 132.09 132.10 132.11 132.12 China Meteorological Administration (November 22, 2013). Member Report: China (PDF). ESCAP/WMO Typhoon Committee: 8th Integrated Workshop/2nd TRCG Forum. ESCAP/WMO Typhoon Committee. p. 16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ December 2, 2013. สืบค้นเมื่อ November 26, 2013.
  133. June 2013 Global Catastrophe Recap (PDF) (Report). Aon Benfield. p. 7. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-12-11. สืบค้นเมื่อ December 8, 2013.
  134. "SitRep No.9 re Preparedness Measures and Effects of Tropical Storm "Gorio"" (PDF). National Disaster Risk Reduction and Management Council. July 1, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ December 5, 2013. สืบค้นเมื่อ December 3, 2013.
  135. 135.0 135.1 July 2013 Global Catastrophe Recap (PDF) (Report). Aon Benfield. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-10-29. สืบค้นเมื่อ December 8, 2013.
  136. "SitRep No. 3 re Effects and Actions Taken in Response to TS Isang" (PDF). July 17, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ December 4, 2013. สืบค้นเมื่อ December 3, 2013.
  137. 137.0 137.1 137.2 ""August 2013 Global Catastrophe Recap"" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-04-18. สืบค้นเมื่อ 2019-01-22.
  138. SitRep No.18 re Effects of Typhoon "Labuyo" (Utor) (PDF) (Report). National Disaster Risk Reduction and Management Council. February 24, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ December 7, 2013. สืบค้นเมื่อ December 7, 2013.
  139. "Tropical Depression Three-C" (.docx). United States Central Pacific Hurricane Center. February 2, 2015. สืบค้นเมื่อ May 6, 2016.
  140. Tropical Storm Yutu (RSMC Tropical Cyclone Best Track). Japan Meteorological Agency. October 1, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 1, 2013. สืบค้นเมื่อ October 1, 2013.
  141. 141.0 141.1 Japan Meteorological Agency (November 22, 2013). Member Report: Japan (PDF). ESCAP/WMO Typhoon Committee: 8th Integrated Workshop/2nd TRCG Forum. ESCAP/WMO Typhoon Committee. p. 9. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ November 26, 2013. สืบค้นเมื่อ November 26, 2013.
  142. September 2013 Global Catastrophe Recap (PDF) (Report). AON Benefield. October 10, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ October 25, 2013.
  143. Vietnamese National Center for Hydro Meteorological Forecasts (December 11, 2013). Member Report: Vietnam (PDF). ESCAP/WMO Typhoon Committee: 8th Integrated Workshop/2nd TRCG Forum. ESCAP/WMO Typhoon Committee. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ December 12, 2013. สืบค้นเมื่อ December 11, 2013.
  144. Khanh Hoan — Nguyen Dung (September 22, 2013). "10 người chết, 12 người mất tích do bão lũ (10 dead, 12 missing as storm and floods)". ThanhNien Daily (ภาษาเวียดนาม). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-01. สืบค้นเมื่อ November 13, 2013.
  145. Thien Thu, Le Trinh (September 20, 2013). "Bão số 8 oanh tạc, 3.000 ngôi nhà chìm, 2 tàu cá mất tích, 2 người tử vong". An Ninh Thủ đô Daily (ภาษาเวียดนาม). สืบค้นเมื่อ November 7, 2013.
  146. Nguyễn Duy (September 24, 2013). "Nghệ An: 13 người chết do mưa lũ, thiệt hại gần 400 tỷ đồng". Dân Trí. สืบค้นเมื่อ November 22, 2013.
  147. Nam Đông: Bão số 8 gây thiệt hại gần 2 tỷ đồng (Nam Dong: The 8th Storm damages nearly 2 billion dong) Song Huong Magazine.
  148. Thailand Meteorological Department (November 28, 2013). Member Report: Thailand (PDF). ESCAP/WMO Typhoon Committee: 8th Integrated Workshop/2nd TRCG Forum. ESCAP/WMO Typhoon Committee. p. 9. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ November 29, 2013. สืบค้นเมื่อ November 29, 2013.
  149. Writer VnExpress (October 4, 2013). "Gần 11.000 tỷ đồng thiệt hại do bão Wutip". VnExpress (ภาษาเวียดนาม). สืบค้นเมื่อ November 19, 2013.
  150. "Archived copy" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-10-17. สืบค้นเมื่อ 2013-10-10.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  151. "Typhoon Nari kills five, causes major damage in Vietnam". Agence France-Presse. Rappler. October 15, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-15. สืบค้นเมื่อ October 16, 2013.
  152. "October Recap" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-01-22. สืบค้นเมื่อ 2019-01-22.
  153. "Sitrep No.11 re Effects of TY "SANTI"" (PDF). National Disaster Risk Reduction and Management Council. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ October 16, 2013. สืบค้นเมื่อ November 23, 2013.
  154. "October 2013 Global Catastrophe Recap" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-01-22. สืบค้นเมื่อ December 8, 2013.
  155. Final Report RE: Effects of Typhoon "Yolanda" (Haiyan) (PDF) (Report). The Philippine National Disaster Risk Reduction and Management Council. December 11, 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ June 30, 2016. สืบค้นเมื่อ May 6, 2016.
  156. "Philippines reels from catastrophe as Typhoon Haiyan hits Vietnam - CNN.com". CNN. November 11, 2013.
  157. "台湾でも台風30号の被害 養殖カキに約17億円規模の損害". フォーカス台湾. 2013-11-12. สืบค้นเมื่อ 2013-11-12.
  158. "November 2013 Global Catastrophe Recap" (PDF). thoughtleadership.aonbenfield.com. Aon Benfield. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-12-11. สืบค้นเมื่อ December 5, 2013.
  159. "JTWC best track analysis: Tropical Depression 33W". United States Joint Typhoon Warning Center. July 9, 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 24, 2013. สืบค้นเมื่อ May 6, 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้