พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท

สมาชิกราชวงศ์สยาม

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท (9 กรกฎาคม พ.ศ. 2351 - 14 สิงหาคม พ.ศ. 2414) เป็นพระราชโอรสลำดับที่ 49 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย[2] เป็นต้นราชสกุลสนิทวงศ์

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหลวงวงศาธิราชสนิท
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 2
พระองค์เจ้าชั้นเอก
ประสูติ9 กรกฎาคม พ.ศ. 2351
สิ้นพระชนม์14 สิงหาคม พ.ศ. 2414 (63 ปี)
หม่อมแย้ม ณ บางช้าง
จันทร์ วงศาโรจน์[1]: 55 
พระบุตร52 พระองค์
ราชสกุลสนิทวงศ์
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระมารดาท้าววรจันทร์ (ปราง)

พระประวัติ

แก้

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท มีนามเดิมว่า พระองค์เจ้าชายนวม[note 1] ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาปรางใหญ่ พระสนมเอก ธิดาท่านขรัวยายทองอิน เมื่อวันเสาร์ เดือน 8 แรม 2 ค่ำ ปีมะโรง สัมฤทธิศก จ.ศ. 1170 ตรงกับวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2351[3] ทรงได้รับการศึกษาเบื้องต้นตามแบบฉบับของราชสำนักและผนวชเป็นสามเณร ได้รับการศึกษาในสำนักสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร ทรงได้รับการถ่ายทอดวิชาความรู้ด้านอักษรศาสตร์ ทั้งอักขรวิธีภาษาไทย อักษรเขมร และภาษาบาลี รวมทั้งวรรณคดี วิชาโบราณคดีและราชประเพณี[4]

ต่อมาทรงเข้ารับราชการในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกำกับกรมหมอหลวง และทรงศึกษาวิชาการแพทย์สมัยใหม่จากมิชชันนารีชาวอเมริกัน [3] โปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็นกรมหมื่นวงศาสนิท[5] เมื่อครั้นปี พ.ศ. 2392 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชปรารภ ถึงความเสื่อมโทรมของภาษาไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระองค์เจ้านวม ทรงแต่งตำราภาษาไทยขึ้นใหม่ เพื่ออนุรักษ์ภาษาไทย พระนิพนธ์เรื่อง “จินดามณี เล่ม 2” ซึ่งทรงดัดแปลงจากตำราเดิมสมัยอยุธยา อธิบายหลักเกณฑ์ภาษาไทยให้เข้าใจง่ายกว่าเดิม[4] ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ เลื่อนขึ้นเป็นกรมหลวงวงศาธิราชสนิท ทรงกำกับราชการมหาดไทย ว่าพระคลังสินค้า และเป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน ทรงเป็นเจ้านายหนึ่งในสี่พระองค์ ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงหมายจะให้สืบราชบัลลังก์ต่อจากพระองค์[3]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท สิ้นพระชนม์ในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อวันพุธ เดือน 10 ขึ้น 6 ค่ำ ปีมะเมียโทศก ตรงกับวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2414 สิริพระชันษา 63 ปี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2414[6]

ในปี พ.ศ. 2550 กระทรวงวัฒนธรรมได้เสนอพระนาม พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ในโครงการเฉลิมฉลองบุคคลสำคัญและเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของ ยูเนสโก ด้านปราชญ์และกวี ประจำปี 2551-2552 ในวาระครบรอบ 200 ปีของการประสูติ องค์การยูเนสโกได้มีมติรับรองในการประชุมเมื่อวันที่ 18-23 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ที่กรุงปารีส [7]

พระโอรส-ธิดา

แก้
  1. หม่อมเจ้าหญิงวารี สนิทวงศ์[6]
  2. หม่อมเจ้าหญิงบัว สนิทวงศ์
  3. หม่อมเจ้าหญิงเม้า สนิทวงศ์
  4. หม่อมเจ้าชายเทโพ สนิทวงศ์
  5. หม่อมเจ้าชายจำรัส สนิทวงศ์ มีโอรส คือ
    1. หม่อมราชวงศ์เฟี้ยน สนิทวงศ์ ผู้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตติยานุจุลจอมเกล้าสืบราชสกุล
  6. หม่อมเจ้าชายเจริญ สนิทวงศ์ บางแห่งว่าชื่อหม่อมเจ้าชายดำ (ประสูติ พ.ศ. 2377 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2427) เสกสมรสกับหม่อมเจ้าหญิงรัชนี สนิทวงศ์ (ราชสกุลเดิม : ทินกร) พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ มีโอรส คือ
    1. หม่อมราชวงศ์ดัด สนิทวงศ์ (หลวงครรชิตศรกรรม) สมรสกับสาคร สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม : ประกอบสอน) มีธิดา คือ
      1. หม่อมหลวงชุบ สนิทวงศ์ หม่อมในพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอดิศรอุดมศักดิ์
  7. หม่อมเจ้าหญิงอรุณ สนิทวงศ์
  8. หม่อมเจ้าหญิงลูกจัน สนิทวงศ์
  9. หม่อมเจ้าหญิงไม่ปรากฏพระนาม
  10. หม่อมเจ้าหญิงไม่ปรากฏพระนาม
  11. หม่อมเจ้าชายเสือ สนิทวงศ์ (ประสูติ พ.ศ. 2388)
  12. หม่อมเจ้าหญิงลูกอิน สนิทวงศ์ (พระราชทานเพลิง ณ วัดอรุณราชวราราม เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2439)
  13. หม่อมเจ้าชายเผือก สนิทวงศ์ บางแห่งว่าชื่อหม่อมเจ้าชายหนูขาวเผือก
  14. หม่อมเจ้าชายนุช สนิทวงศ์
  15. หม่อมเจ้าหญิงไม่ปรากฏพระนาม
  16. หม่อมเจ้าชายท้วม สนิทวงศ์
  17. หม่อมเจ้าชายสาย สนิทวงศ์ ประสูติแต่หม่อมแย้ม (สกุลเดิม : ณ บางช้าง) ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงได้รับสถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ (ประสูติเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2388 สิ้นพระชนม์ 13 กันยายน พ.ศ. 2455) เสกสมรสกับ
    1. หม่อมเขียน สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม : ศศิสมิต) มีโอรส-ธิดา คือ
      1. หม่อมราชวงศ์สุวพันธุ์ สนิทวงศ์
      2. หม่อมราชวงศ์หญิงเนื่อง สนิทวงศ์ รับราชการฝ่ายในเป็นเจ้าจอมพระสนมเอกในรัชกาลที่ 5
      3. หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์ เป็นพระอัยกา (ตา) ใน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
      4. หม่อมราชวงศ์ชม สนิทวงศ์
      5. หม่อมราชวงศ์สวัสดิ์ สนิทวงศ์
      6. หม่อมราชวงศ์หญิงเสงี่ยม สนิทวงศ์ เป็นหม่อมห้ามสะใภ้หลวงในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์
      7. หม่อมราชวงศ์ทวี สนิทวงศ์
      8. หม่อมราชวงศ์หญิงไม่ปรากฏนาม
    2. ภรรยาอื่น มีโอรส-ธิดา
      1. หม่อมราชวงศ์พิณ สนิทวงศ์
      2. หม่อมราชวงศ์จวง สนิทวงศ์
      3. หม่อมราชวงศ์เจียม สนิทวงศ์
      4. หม่อมราชวงศ์ต้อ สนิมวงศ์
      5. หม่อมราชวงศ์เตื้อง สนิทวงศ์
      6. หม่อมราชวงศ์ตั้น สนิทวงศ์
      7. หม่อมราชวงศ์ตัน สนิทวงศ์
      8. หม่อมราชวงศ์หญิงบัว สนิทวงศ์ หม่อมในหม่อมเจ้ามงมลประวัติ สวัสดิกุล พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์
      9. หม่อมราชวงศ์เชื้อ สนิทวงศ์
      10. หม่อมราชวงศ์จี๊ด สนิทวงศ์
      11. หม่อมราชวงศ์อั้น สนิทวงศ์
      12. หม่อมราชวงศ์โต สนิทวงศ์
      13. หม่อมราชวงศ์ผอบ สนิทวงศ์
      14. หม่อมราชวงศ์ศิริมาน สนิทวงศ์
      15. หม่อมราชวงศ์หญิงข้อ สนิทวงศ์ รับราชการฝ่ายในเป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่ 5
  18. หม่อมเจ้าชายสวาสดิ์ สนิทวงศ์ ประสูติแต่หม่อมสุ่น (สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2443 พระราชทานเพลิง ณ วัดราชสิทธาราม) เสกสมรสกับ
    1. หม่อมพลอย สนิทวงศ์ ณ อยุธยา มีธิดา คือ
      1. หม่อมราชวงศ์หญิงเกสร สนิทวงศ์ รับราชการฝ่ายในเป็นเจ้าจอมพระสนมเอกในรัชกาลที่ 5
    2. หม่อมเขียน สนิทวงศ์ ณ อยุธยา มีธิดา คือ
      1. หม่อมราชวงศ์หญิงเลิศวิไลยลักษณ์ สนิทวงศ์
      2. หม่อมราชวงศ์หญิงจำรัสศรี สนิทวงศ์
    3. หม่อมเทียบ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
      1. หม่อมราชวงศ์สายหยุด สนิทวงศ์
    4. หม่อมอิน สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
      1. หม่อมราชวงศ์ฉายแสงวัชระ สนิทวงศ์
  19. หม่อมเจ้าหญิงสนิท สนิทวงศ์ หรือ หม่อมเจ้าหญิงสนิทถนอม (ประสูติ พ.ศ. 2390 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2472) เสกสมรสกับ พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประเสริฐศักดิ์
  20. หม่อมเจ้าหญิงเกษร สนิทวงศ์ (สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2452 พระราชทานเพลิง ณ วัดบรมนิวาส เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2456)
  21. หม่อมเจ้าหญิงงาม สนิทวงศ์ (สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2449 พระราชทานเพลิง ณ วัดอนงคาราม เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2456) เสกสมรสกับหม่อมเจ้าพูลสวัสดิ์ ทินกร พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงภูวเนตรนรินทร์ฤทธิ์
  22. หม่อมเจ้าหญิงกระจ่าง สนิทวงศ์ (ประสูติ พ.ศ. 2391 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2475 พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ)
  23. หม่อมเจ้าหญิงกระลำภัก สนิทวงศ์ (ประสูติเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2400 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2468 พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2469)
  24. หม่อมเจ้าหญิงผอบ สนิทวงศ์ (ประสูติ พ.ศ. 2402 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2463 พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ พ.ศ. 2469)
  25. หม่อมเจ้าหญิงเชย สนิทวงศ์ หรือ หม่อมเจ้าหญิงอบเชย (ประสูติ พ.ศ. 2402 สิ้นชีพิตักษัย 28 เมษายน พ.ศ. 2467 พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ)
  26. หม่อมเจ้าหญิงชม สนิทวงศ์ (ประสูติ พ.ศ. 2402)
  27. หม่อมเจ้าหญิงชื่น สนิทวงศ์ (ประสูติ พ.ศ. 2402 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2439 พระราชทานเพลิง ณ วัดอรุณราชวราราม)
  28. หม่อมเจ้าหญิงอำพัน (ประสูติ พ.ศ. 2403 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2437 พระราชทานเพลิง ณ วัดอินทาราม เมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2438)
  29. หม่อมเจ้าชายเจ้ง สนิทวงศ์ บางแห่งว่าชื่อหม่อมเจ้าชายเจง (พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ พ.ศ. 2406)
  30. หม่อมเจ้าหญิงไม่ปรากฏพระนาม (พระราชทานเพลิง ณ วัดอรุณราชวราราม พ.ศ. 2406)
  31. หม่อมเจ้าชายเกด สนิทวงศ์ (ประสูติ พ.ศ. 2407 สิ้นชีพิตักษัย 9 กันยายน พ.ศ. 2432)
  32. หม่อมเจ้าชายสะอาด สนิทวงศ์ (พระราชทานเพลิง ณ วัดอรุณราชวราราม พ.ศ. 2408)
  33. หม่อมเจ้าชายพร้อม สนิทวงศ์ ในสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงได้รับสถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพร้อมพงษ์อธิราช (ประสูติเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2411 สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2482 พระราชทานเพลิง ณ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2482) เสกสมรสกับหม่อมสะอาด สนิทวงศ์ ณ อยุธยา และทรงมีหม่อมอีก 8 คน คือ หม่อมลมัย หม่อมเจิม หม่อมจร หม่อมแป้น หม่อมพร หม่อมเกษร หม่อมเนิน และหม่อมไสว มีโอรสธิดากับหม่อมต่าง ๆ 14 คน คือ
    1. หม่อมราชวงศ์หญิงสอิ้ง ดิศกุล เสกสมรสกับหม่อมเจ้าทรงวุฒิภาพ ดิศกุล
    2. พระสนิทวงศ์อนุวรรต (หม่อมราชวงศ์พร้อมใจ สนิทวงศ์) สมรสกับทวี จารุรัตน์
    3. หม่อมราชวงศ์หญิงสุดสอาด ดิศกุล เสกสมรสกับหม่อมเจ้าทรงวุฒิภาพ ดิศกุล
    4. หม่อมราชวงศ์หญิงชวลิต สนิทวงศ์ เสกสมรสกับพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย
    5. หม่อมราชวงศ์จำนงค์ สนิทวงศ์
    6. หม่อมราชวงศ์หญิงขจิต ศตศิริ
    7. หม่อมราชวงศ์หญิงอุไร ชมุนี
    8. หม่อมราชวงศ์กุศทิน สนิทวงศ์
    9. หม่อมราชวงศ์หญิงนันทา สนิทวงศ์
    10. หม่อมราชวงศ์หญิงสมศรี สนิทวงศ์
    11. หม่อมราชวงศ์หญิงวิภารดี อินทรประสิทธิ์
    12. หม่อมราชวงศ์พรรคพงศ์สนิท สนิทวงศ์
    13. หม่อมราชวงศ์หญิงวิจิตรมาลี สนิทวงศ์
    14. หม่อมราชวงศ์หญิงระวีวรรณ ภัทรประภา
  34. หม่อมเจ้าชายเปียก สนิทวงศ์
  35. หม่อมเจ้าชายประวัติวงษ์ สนิทวงศ์ (ประสูติ พ.ศ. 2412 สิ้นชีพิตักษัย 14 ตุลาคม พ.ศ. 2452 พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2454)
  36. หม่อมเจ้าชายเล็ก สนิทวงศ์ (ประสูติ พ.ศ. 2413 สิ้นชีพิตักษัย 28 กันยายน พ.ศ. 2445 พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ) เสกสมรสกับหม่อมพลับ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา มีธิดา คือ
    1. หม่อมราชวงศ์หญิงปลื้มจิตร สนิทวงศ์
  37. หม่อมเจ้าชายตุ้ม สนิทวงศ์ ในสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงได้รับสถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสนิทพงศ์พัฒนเดช (ประสูติเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2412 สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2481) เสกสมรสกับหม่อมเล็ก สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
  38. หม่อมเจ้าชายแฉ่ง สนิทวงศ์ (พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2428)
  39. หม่อมเจ้าชายรัสมี สนิทวงศ์ (สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2439)
  40. หม่อมเจ้าหญิงแพ สนิทวงศ์
  41. หม่อมเจ้าหญิงสารภี สนิทวงศ์ หรือ หม่อมเจ้าสารภี ชุมสาย เสกสมรสกับหม่อมเจ้าประวิช ชุมสาย พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนราชสีหวิกรม
  42. หม่อมเจ้าหญิงชมนาท สนิทวงศ์ (สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2448 พระราชทานเพลิง ณ วัดกัลยาณมิตร)
  43. หม่อมเจ้าหญิงทองคำ สนิทวงศ์
  44. หม่อมเจ้าหญิงละม้าย สนิทวงศ์
  45. หม่อมเจ้าหญิงจันฑณเทศ สนิทวงศ์ (พระราชทานเพลิง ณ วัดวงษมูลวิหาร เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2432)
  46. หม่อมเจ้าหญิงกฤษณา สนิทวงศ์
  47. หม่อมเจ้าหญิงถนอม สนิทวงศ์
  48. หม่อมเจ้าชายจิ๋ว สนิทวงศ์ (พระราชทานเพลิง ณ วัดอรุณราชวราราม เมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2431)
  49. หม่อมเจ้าหญิงประภา สนิทวงศ์
  50. หม่อมเจ้าหญิงประทุม สนิทวงศ์
  51. หม่อมเจ้าชายเปลี่ยน สนิทวงศ์
  52. หม่อมเจ้าหญิงกลาง สนิทวงศ์

พระเกียรติยศ

แก้
ธรรมเนียมพระยศของ
กรมหลวงวงศาธิราชสนิท
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ

พระอิสริยยศ

แก้
  • พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้านวม
  • พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้านวม
  • พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้านวม
  • พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวงศาธิราชสนิท
  • พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท
  • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

ในวัฒนธรรมสมัยนิยม

แก้

มีนักแสดงผู้รับบท พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ได้แก่

พงศาวลี

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม. 27 เจ้าพระยา (ฉบับพิสดาร). โรงพิมพ์แพร่การช่าง, 2510
  2. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 14, กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. หน้า 30. ISBN 978-974-417-594-6
  3. 3.0 3.1 3.2 กิตติพงษ์ วิโรจน์ธรรมากูร. ย้อนรอยราชสกุลวงศ์ "วังหลวง". กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ดอกหญ้า, พิมพ์ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2549. 304 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-941-205-2
  4. 4.0 4.1 จัดงาน200ปีกรมหลวงวงษาธิราชสนิท[ลิงก์เสีย] dailynews.co.th
  5. กรมหลวงวงศาธิราชสนิท โดย จุลลดา ภักดีภูมินทร์[ลิงก์เสีย] นิตยสารสกุลไทย ฉบับที่ 2638 ปีที่ 51 วันที่ 10 พฤษภาคม 2548
  6. 6.0 6.1 ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-221-818-8
  7. ยูเนสโกยกย่องต้นราชสกุล สนิทวงศ์ เดลินิวส์ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
  8. 8.0 8.1 ราชสกุลวงศ์. พระนคร: พระจันทร์. 2512.
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 ลำดับราชินิกูลบางช้าง. พระนคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศิวพร. 2501.
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 10.5 10.6 พงษาวดารราชินิกูลบางช้าง (PDF). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทย สพานยศเส. 2457.

เชิงอรรถ

  1. สันนิษฐานว่า พระนามมาจากคำว่า นวม (อ่านว่า นะวะมะ) ซึ่งมีความหมายว่า "ที่ ๙"

บรรณานุกรม

  • Nopphanat Anuphongphat and Komatra Chuengsatiansup. “Krom luang Wongsa and the House of snidvongs: Knowledge Transition and the Transformation of Medicine in Early Modern Siam.” in Tim Harper, and Sunil S. Amrith (eds.), Histories of Health in Southeast Asia: Perspectives on the Long Twentieth Century. pp. 19-43. Bloomington, IN: Indiana University Press. Indiana University Press, 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้