พรชัย ทองบุราณ
เรือเอก พรชัย ทองบุราณ (ชื่อเล่น: หมี, อู๊ด; เกิด 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2517) ที่อำเภอกุดข้าวปุ้น จังหวัดอุบลราชธานี เป็นอดีตนักมวยสากลสมัครเล่นเหรียญทองแดงทีมชาติไทย ในการชกโอลิมปิก 2000 ที่เมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย[1]
พรชัย ทองบุราณ | |
---|---|
เกิด | 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2517 อำเภอกุดข้าวปุ้น จังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย |
สัญชาติ | ไทย |
ชื่ออื่น | หมี, อู๊ด |
การศึกษา | โรงเรียนจ่าทหารเรือ |
อาชีพ | |
อาชีพนักมวย | |
สัญชาติ | ไทย |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
แผนก/ | กองทัพเรือไทย |
ชั้นยศ | เรือเอก |
ประวัติ
แก้พรชัยเป็นบุตรชายคนที่ 3 ในจำนวนบุตรทั้ง 4 คนของนายสำลีและนางบังอร ทองบุราณ และมีศักดิ์เป็นหลานชายของนายสมบูรณ์ ทองบุราณ อดีตสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดยโสธร (สว.ยโสธร) เริ่มชกมวยครั้งแรกเมื่ออายุได้ 10 ขวบ ด้วยการหัดมวยสากลสมัครเล่นเลย ผิดกับคนอื่นที่หัดมวยไทย พรชัยหัดมวยเป็นครั้งแรกกับ จ.ส.ต.รณยุทร ยี่สันเที๊ยะ ซึ่งเป็นน้าชายของตัวเอง โดยจุดประสงค์ตอนนั้นเพื่อจะต่อยในกีฬาจังหวัด โดยพรชัยได้เป็นตัวแทนของตำบล ชกในรุ่นไม่เกิน 30 กิโลกรัม ซึ่งแม้ว่าพรชัยจะหัดชกไม่กี่เดือน และน้ำหนักตัวตอนนั้นก็เพียงแค่ 22 กิโลกรัม แต่พรชัยก็สามารถคว้าเหรียญทองมาได้ด้วยการชนะรวด 3 คน ภายในวันเดียว
จากนั้น พรชัยก็หันมาชกมวยไทยเมื่ออายุได้ 17 ปีในชื่อ "ศักดิ์กิ่งเฟื่อง ศิษย์ บ.ต." ที่จังหวัดอุบลราชธานี ในช่วงปลายปีได้โชว์ฟอร์มดีจนกระทั่งได้ถูกทาบทามให้มาชกในกรุงเทพ
ในช่วงที่ชกในกรุงเทพ พรชัยได้เปลี่ยนชื่อเป็น "รณยุทร ศิษย์พงษ์ระวี" โดยชกใน รายการนายขนมต้มที่สนามมวยเวทีลุมพินี หรือบางทีก็ย้ายไปชกที่เวทีราชดำเนินบ้าง ทว่าการชกมวยไทยของพรชัยไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร
ชกมวยสากลสมัครเล่น
แก้ซึ่งผิดกับการชกมวยสากลสมัครเล่น พรชัยก็ยังชกอยู่อย่างต่อเนื่องโดยชกให้กับการแข่งขันกีฬาเขตให้กับจังหวัดอุบลราชธานี จนกระทั่งจบ ม.6 ก็ได้เข้าเรียนต่อในโรงเรียนจ่าทหารเรือ ในสังกัดของกองทัพเรือ โดยพรชัยก็ชกมวยสากลสมัครเล่นในนามของทีมราชนาวีมาตลอดจนได้แชมป์ประเทศไทยหลายสมัยและติดทีมชาติครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2536 ใน รายการเมเยอร์คัพ ที่ฟิลิปปินส์ ซึ่งพรชัยก็ได้เหรียญทองจนได้ไปชกใน เอเชียนเกมส์ครั้งที่ 12 ที่ฮิโรชิม่า ประเทศญี่ปุ่น แม้พรชัยเป็นนักมวยหน้าใหม่ในขณะนั้น แต่ก็สามารถคว้าเหรียญทองแดงได้ในรุ่นไลท์เวลเตอร์เวท (63.5 กิโลกรัม) มาได้อย่างไม่มีใครคาดคิด
จากนั้น พรชัยก็ติดอันดับทีมชาติมาตลอด สามารถคว้าเหรียญทองได้ในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ที่อินโดนีเซีย และที่บรูไน จนกระทั่งได้มีชื่อติดทีมชาติไปแข่งขันโอลิมปิก ที่ซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ด้วยการคว้าเหรียญเงินในการแข่งขันคัดเลือกตัวในเลก 2 ที่โซล ประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งในครั้งนี้พรชัยได้เปลี่ยนไปชกในรุ่นที่ใหญ่ขึ้น คือ ไลท์มิดเดิลเวท (71 กิโลกรัม)
เส้นทางการชกของพรชัยในโอลิมปิก
แก้- รอบแรก ชนะคะแนน บัลซ์เซย์ คาโรลี่ (ฮังการี) 17/12
- รอบรองชนะเลิศ แพ้คะแนน มาริน ซิมิโอน (โรมาเนีย) 16/26 (ดีกรีแชมป์โลก)
โดยในการชกครั้งนี้ ก็ไม่มีใครคาดคิดมาก่อนว่าพรชัยจะได้เหรียญรางวัลใด ๆ เช่นเดียวกับวิจารณ์ พลฤทธิ์ ที่ได้เหรียญทองไปในคราวเดียวกัน หลังการชกโอลิมปิกแล้วพรชัยก็ได้แขวนนวมไปโดยไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับวงการมวยอีกเลย โดยได้รับราชการเป็นทหารชั้นประทวนในสังกัดกองทัพเรือ และเปิดค่ายมวย พ. ทองบุราณ ที่อำเภอสัตหีบ[2] ชีวิตส่วนตัวเขาสมรสและมีบุตร[3]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)[4]
- พ.ศ. 2544 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย (จ.ม.)[5]
- พ.ศ. 2543 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[6]
- พ.ศ. 2551 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[7]
อ้างอิง
แก้- ↑ "รวบแล้วหมอเสน่ห์ฆ่าข่มขืนพี่สะใภ้ 'พรชัย ทองบุราณ' นักมวยฮีโร่โอลิมปิก". มติชนออนไลน์. 7 มีนาคม 2556. สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "พลทหาร อดีตนักมวยค่าย "พรชัย ทองบุราณ" พลัดตกแมนชั่นดับสยอง !". ข่าวสดออนไลน์. 24 มกราคม 2556. สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ แบน ท่าพระ (14 พฤษภาคม 2555). "คอลัมน์มวยสยาม: พรชัย ทองบุราณ". สยามกีฬา. สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๕๑[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๑ ข หน้า ๒๘, ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๒๒๘, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๓, ๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๕๑ เก็บถาวร 2022-06-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๑ ข หน้า ๔๓, ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๒