ปลาออสการ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Perciformes
วงศ์: Cichlidae
วงศ์ย่อย: Astronotinae
สกุล: Astronotus
สปีชีส์: A.  ocellatus
ชื่อทวินาม
Astronotus ocellatus
(Agassiz, 1831)
ชื่อพ้อง
ชื่อพ้อง
  • Acara compressus
  • Acara hyposticta
  • Astronotus ocellatus zebra
  • Astronotus orbiculatus
  • Lobotes ocellatus Agassiz, 1831

ปลาออสการ์ (อังกฤษ: Oscar fish, Red belvet, Velvet cichlid, Marbled cichlid, Peacock-eyed cichilld, Tiger oscar, Peacock cichilld; ชื่อวิทยาศาสตร์: Astronotus ocellatus) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) เป็นปลาพันธุ์พื้นเมืองของลุ่มแม่น้ำโอริโนโก, แม่น้ำอะเมซอน และแม่น้ำลา พลาตา ในทวีปอเมริกาใต้อย่างกว้างขวาง เช่น ประเทศบราซิล, โคลอมเบีย, เปรู, เฟรนช์เกียนา, อุรุกวัย, เวเนซุเอลา และอาร์เจนตินา

เป็นปลาที่หากินในบริเวณแหล่งน้ำที่เป็นน้ำตื้นทีมีพื้นท้องน้ำเป็นโคลนปนทรายหรือกรวดทราย ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 45.7 เซนติเมตร คุณภาพของน้ำในแหล่งที่พบอาศัยมีอุณหภูมิระหว่าง 80-85 องศาเซลเซียส ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ประมาณ 700-800

มีรูปร่างแบนข้างและลำตัวป้อม ส่วนหัวค่อนข้างใหญ่ ตาโต ปากกว้าง ริมฝีปากหนา ลำตัวมีสีน้ำตาลอมเขียว ที่ขอบของแผ่นกระดูกปิดเหงือกและด้านล่างของลำตัวมีสีส้มอมแดงหรือส้มจาง ๆ ที่ด้านบนของคอดหางมีจุดกลมสีดำคล้ายลูกตาดำและมีวงสีส้มนปลาที่ว่ายน้ำช้า กินสัตว์อื่นเป็นอาหารได้หลากหลาย ทั้งสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ และแมลงด้วย

ปลาออสการ์ เป็นปลาที่ใช้บริโภคกันในพื้นถิ่น โดยจะพบวางขายกันในตลาดสด มีชื่อเรียกในภาษาถิ่นว่า Acará-acu และเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะการเป็นปลาสวยงาม ซึ่งนิยมเลี้ยงกันมาอย่างยาวนาน จัดเป็นปลาที่มีนิสัยดุร้ายก้าวร้าวชนิดหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่เลี้ยงดูลูกอ่อน ทั้งเพศผู้และเพศเมีย

ว่ากัดว่าปลาออสการ์กัดองคชาติของผู้เลี้ยงมาแล้วนักต่อนัก

ในราวต้นพุทธทศวรรษ 2500 ถือเป็นปลาหมอสีชนิดแรก ๆ ที่นำเข้ามาสู่ประเทศไทย ในฐานะปลาสวยงาม ซึ่งมีราคาซื้อขายแพงมาก โดยตกคู่ละ 500 บาท (ราคาทองคำแท่งในขณะนั้นบาทละ 400 บาท)[1]

ปัจจุบัน มีการเพาะเลี้ยงกันจนมีสีสันที่สวยงามกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิมมาก เช่น ปลาเผือก, สีเหลืองสดหรือสีทองหรือสีแดงสดทั้งตัว รวมทั้งมีแบบที่มีครีบยาวกว่าปกติด้วย[2]

โดยชื่อ "ออสการ์" นั้นมาจากชื่อกลางของนักมีนวิทยาชาวสวีเดน สเวน ออสการ์ คูลเลนเดอร์ ที่ศึกษาโดยเฉพาะกับปลาในวงศ์ปลาหมอสี[3]

รูปภาพ แก้

อ้างอิง แก้

  1. หน้า 104 คอลัมน์ Aquarium Talk 10 ปลาน้ำจืดในดวงใจ สุดยอด Aquarist, นิตยสาร Aquarium Biz ฉบับที่ 28 ปีที่ 2 ประจำเดือนตุลาคม 2012
  2. หน้า 55 คอลัมน์ บุก Rio Amazonras ตลุยตลาดปลา เมืองมาเนาส์ ประเทศบราซิล โดย ผศ.สมหมาย เจนกิจการ, RoF นิตยสาร Aquarium Biz ฉบับที่ 12 ปีที่ 1 ประจำเดือนมิถุนายน 2011
  3. "SARF, Oscar nr 31" (ภาษาสวีเดน). Sveriges Akvarieföreningars Riksförbund. 2008-03-05. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-06. สืบค้นเมื่อ 2009-01-26.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้