ปลาออสการ์ (สกุล)
ปลาออสการ์ | |
---|---|
ปลาออสการ์ (A. ocellatus) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Perciformes |
วงศ์: | Cichlidae |
วงศ์ย่อย: | Astronotinae |
สกุล: | Astronotus Swainson, 1839 |
ชนิดต้นแบบ | |
Lobotes ocellatus Agassiz, 1831 | |
ชื่อพ้อง[1] | |
|
ปลาออสการ์ เป็นชื่อสกุลของปลาน้ำจืดสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) ในวงศ์ย่อยปลาออสการ์ (Astronotinae) โดยใช้ชื่อสกุลว่า Astronotus (/แอส-โตร-โน-ตัส/) ซึ่งมาจากภาษากรีกคำว่า astra = ปลากระเบน และ noton = หลัง[1] [2]
เป็นปลาที่พบกระจายพันธุ์ในแม่น้ำหลายสายในทวีปอเมริกาใต้ เช่น แอมะซอน, ปารานา เป็นปลาที่กินเนื้อเป็นอาหาร มีอุปนิสัยดุร้ายก้าวร้าว มีริมฝีปากหนา ดวงตากลมโต ครีบหางกลม มีขนาดยาวได้ถึง 35 เซนติเมตร
ปลาออสการ์ เป็นปลาที่ใช้รับประทานอาหารของชาวพื้นเมืองในทวีปอเมริกาใต้ โดยมีชื่อเรียกเป็นภาษาท้องถิ่นว่า Acará-acu[3] นอกจากนี้แล้วยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยเลี้ยงกันมาอย่างยาวนานไม่ต่ำกว่า 50 ปีมาแล้ว และถือว่าเป็นปลาหมอสีชนิดแรก ๆ ด้วยที่เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย[4] เป็นปลาที่สามารถจำแนกเพศได้โดยดูจากช่องเพศที่บริเวณหลังครีบท้อง เพศผู้จะมีช่องเปิดของอวัยวะเพศยื่นออกมา ในเพศเมียมีลักษณะกลม เพศผู้มีครีบหลังใหญ่กว่าเพศเมีย ในขณะที่เพศเมียครีบหลังค่อนข้างกลม เป็นปลาที่สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ในที่เลี้ยง[5]
การจำแนก
แก้- Astronotus crassipinnis เป็นชนิดที่หายากในแวดวงปลาสวยงาม เมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดเล็กกว่าชนิดที่เป็นที่นิยมกัน แต่มีลวดลายเป็นสีขาวสลับดำเป็นปล้อง ๆ
- Astronotus ocellatus (ปลาออสการ์) เป็นชนิดที่นิยมเลี้ยงกันหลากหลาย จนปัจจุบันได้มีการเพาะขยายพันธุ์จนได้สีสันต่าง ๆ สวยแปลกตาจากปลาที่พบในธรรมชาติ หรือมีครีบพริ้วยาวสวยงาม[5]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 Swainson, W. 1839: The natural history and classification of fishes, amphibians, & reptiles, or monocardian animals. Spottiswoode & Co., London. 2: i-vi + 1-448.
- ↑ Günther, A. 1862: Catalogue of the fishes in the British Museum. Catalogue of the Acanthopterygii, Pharyngognathi and Anacanthini in the collection of the British Museum. 4: i-xxi + 1-534.
- ↑ หน้า 55 คอลัมน์ "บุก Rio Amazonras", ตลุยตลาดปลา เมืองมาเนาส์ ประเทศบราซิล โดย ผศ.สมหมาย เจนกิจการ, RoF นิตยสาร Aquarium Biz ฉบับที่ 12 ปีที่ 1 ประจำเดือนมิถุนายน 2011
- ↑ หน้า 104 คอลัมน์ "Aquarium Talk", 10 ปลาน้ำจืดในดวงใจ สุดยอด Aquarist, นิตยสาร Aquarium Biz ฉบับที่ 28 ปีที่ 2 ประจำเดือนตุลาคม 2012
- ↑ 5.0 5.1 "ปลาออสการ์". กรมประมง. 15 April 2014. สืบค้นเมื่อ 15 April 2014.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Astronotus ที่วิกิสปีชีส์