ประสิทธิ์ ชัยวิรัตนะ

นายแพทย์ประสิทธิ์ ชัยวิรัตนะ (เกิด 5 เมษายน พ.ศ. 2499) เป็นนักการเมืองชาวไทย เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชัยภูมิ 6 สมัย และเป็นอดีตกรรมาธิการหลายคณะ

ประสิทธิ์ ชัยวิรัตนะ
ไฟล์:ประสิทธิ์ ชัยวิรัตนะ.jpg
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด5 เมษายน พ.ศ. 2499 (68 ปี)
อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ
พรรคการเมืองพรรครวมไทยสร้างชาติ

ประวัติ แก้

นายแพทย์ประสิทธิ์ ชัยวิรัตนะ เกิดเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2499 เป็นบุตรของนายฮวด และ นางอ่องแอ ชัยวิรัตนะ[1] และเป็นน้องชายของ สันติ ชัยวิรัตนะ และเป็นอาของ สุนทรี ชัยวิรัตนะ เขาสำเร็จการศึกษา แพทยศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

งานการเมือง แก้

อดีตเคยรับราชการเป็นนายแพทย์ ก่อนที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกใน พ.ศ. 2529 สังกัดพรรคกิจสังคม ซึ่งได้รับเลือกตั้งในครั้งนั้น และได้รับเรื่อยมารวม 6 ครั้ง

ประสิทธิ์ ชัยวิรัตนะ ได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี)[2]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในสังกัดพรรคภูมิใจไทย แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แก้

นายแพทย์ประสิทธิ์ ชัยวิรัตนะ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 6 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดชัยภูมิ สังกัดพรรคกิจสังคม
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดชัยภูมิ สังกัดพรรคกิจสังคม
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดชัยภูมิ สังกัดพรรคสามัคคีธรรม
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดชัยภูมิ สังกัดพรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)พรรคไทยรักไทย
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดชัยภูมิ สังกัดพรรคไทยรักไทย
  6. การเลือกตั้งซ่อมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชัยภูมิ แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. 2551 สังกัดพรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)พรรคเพื่อไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย] กรมการปกครอง
  2. "คำสั่งกระทรวงสาธารณสุข ที่ ๘๘๒/๒๕๔๕ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นายประสิทธิ์ ชัยวิรัตนะ)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-10-25. สืบค้นเมื่อ 2019-10-25.
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๑, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑