ปณวัตร เลี้ยงผ่องพันธุ์

นายปณวัตร เลี้ยงผ่องพันธุ์ (เกิด 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบุรีรัมย์ 8 สมัย

ปณวัตร เลี้ยงผ่องพันธุ์
ไฟล์:ปณวัตร เลี้ยงผ่องพันธุ์.jpg
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501 (66 ปี)
อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
พรรคการเมืองเพื่อไทย
คู่สมรสนางเจติยา เลี้ยงผ่องพันธุ์[1]

ประวัติ แก้

นายปณวัตร เลี้ยงผ่องพันธุ์ เกิดเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501 เป็นบุตรของนายฮังคี และ นางทิม เลี้ยงผ่องพันธุ์[2] สำเร็จการศึกษา นิติศาสตรบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยรามคำแหง รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต จาก สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ด้านครอบครัว ได้สมรสกับนางเจติยา เลี้ยงผ่องพันธุ์

งานการเมือง แก้

ปณวัตร มีอาชีพเป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง ในอำเภอคูเมือง บ้านเกิด ก่อนที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก ใน พ.ศ. 2529 สังกัดพรรคมวลชน ซึ่งได้รับเลือกตั้งในครั้งดังกล่าว และได้รับเลือกเรื่อยมาจนถึง พ.ศ. 2550 รวม 8 สมัย ในสังกัดพรรคสามัคคีธรรม พรรคกิจสังคม พรรคชาติไทย และพรรคประชาธิปัตย์ ตามลำดับ [3]

ปณวัตร เคยได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาปัญหาและวิธีการดำเนินการออกหนังสือกรรมสิทธิ์ในที่ดินทำกิน หนังสือสิทธิครอบครองให้แก่ราษฎรที่ตั้งบ้านเรือนและทำมาหากินในเขตป่าสงวนแห่งชาติหรือเขตที่ดินสาธารณประโยชน์ เมื่อปี พ.ศ. 2529[4]

พ.ศ. 2551 เขาถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง เป็นระยะเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคชาติไทย[5]

หลังกพ้นโทษจำคุกแล้ว ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 นายปณวัตร ได้ให้การสนับสนุน พีระพงษ์ เฮงสวัสดิ์ ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย[6]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แก้

ปณวัตร เลี้ยงผ่องพันธุ์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 8 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดบุรีรัมย์ สังกัดพรรคมวลชน
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดบุรีรัมย์ สังกัดพรรคมวลชน
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดบุรีรัมย์ สังกัดพรรคสามัคคีธรรม
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดบุรีรัมย์ สังกัดพรรคมวลชน → พรรคกิจสังคม
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดบุรีรัมย์ สังกัดพรรคชาติไทย
  6. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดบุรีรัมย์ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  7. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดบุรีรัมย์ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  8. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดบุรีรัมย์ สังกัดพรรคชาติไทย

คดีความ แก้

พ.ศ. 2558 ปณวัตร ถูกศาลฎีกาตัดสินให้จำคุก 4 ปี และปรับเป็นจำนวน 22 ล้านบาท ในคดีบุกรุกที่ในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม[1]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 จำคุก 4ปี "ปณวัตร" อดีตส.ส.บุรีรัมย์ 7 สมัย, เดลินิวส์, 27 มกราคม พ.ศ. 2558
  2. ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย] กรมการปกครอง
  3. ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
  4. ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่องตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาปัญหาและวิธีการดำเนินการออกหนังสือกรรมสิทธิ์ในที่ดินทำกิน หนังสือสิทธิครอบครองให้แก่ราษฎรที่ตั้งบ้านเรือนและทำมาหากินในเขตป่าสงวนแห่งชาติหรือเขตที่ดินสาธารณประโยชน์
  5. [https://web.archive.org/web/20160304213520/http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1227980971&grpid=04&catid=01 เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน "ศิลปอาชา"สูญพันธุ์ หลังยุบชาติไทย เปิด109 กก.บริหาร "พปช.-ชาติไทย-มัชฌิมาฯ"ถูกเพิกสิทธิเลือกตั้ง จากมติชน]
  6. ผู้สมัครส.ส.บุรีรัมย์เขต3พท.ควง'ปณวัตร'หาเสียง โวกระแสตอบรับดี-ชูปลูกเมล่อนแก้จน
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๙, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒