ศาสตราจารย์พิเศษ ร้อยโท บรรจบ บรรณรุจิ (นามสกุลเดิม: ปั๋งมี) (12 มกราคม พ.ศ. 2496 - ) อดีตอนุศาสนาจารย์ ประจำกรมยุทธศึกษาทหารบก และกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ ภาควิชาภาษาตะวันออก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และราชบัณฑิต[1]


บรรจบ บรรณรุจิ

ไฟล์:รท.ดร.บรรจบ บรรณรุจิ.jpg
เกิดบรรจบ บรรณรุจิ
12 มกราคม พ.ศ. 2496 (71 ปี)
สัญชาติไทย
การศึกษาเปรียญธรรม 9 ประโยค
ปริญญาเอก
องค์การจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ราชบัณฑิตยสถาน

ประวัติ แก้

กำเนิด แก้

ศาสตราจารย์พิเศษ ร้อยโท บรรจบ บรรณรุจิ เกิดเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2496 ณ บ้านเลขที่ 18 หมู่ 2 ตำบลธรรมเสน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี

การบรรพชา แก้

ศาสตราจารย์พิเศษ ร้อยโท ดร.บรรจบ บรรณรุจิ ได้บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดแก้วฟ้า อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี จนกระทั่งปี พ.ศ. 2516 สอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยคขณะยังเป็นสามเณร จึงได้รับพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์จากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงรับเป็น นาคหลวง อุปสมบท ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริ) เป็นพระอุปัชฌาย์[2] สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (พุฒ สุวฑฺฒโน) เป็นพระอนุสาวนาจารย์[2]

การศึกษา แก้

ศาสตราจารย์พิเศษ ร้อยโท ดร.บรรจบ บรรณรุจิ สอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค (ป.ธ.9) ในปี พ.ศ. 2516 เมื่อขณะที่เป็นสามเณร จากนั้นเข้าศึกษาระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้รับวุฒิพุทธศาสตรบัณฑิต (พธ.บ.) เมื่อ พ.ศ. 2521 สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทเมื่อ พ.ศ. 2532 ในหลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิต (อ.ม.) สาขาภาษาบาลีและสันสกฤต คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้ศึกษาต่อที่ประเทศอินเดียและสำเร็จระดับปริญญาเอกเมื่อ พ.ศ. 2540 สาขาพุทธปรัชญา ณ มหาวิทยาลัยมคธ ประเทศอินเดีย

หน้าที่การงานปัจจุบัน แก้

ดำรงตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์พิเศษ ภาควิชาภาษาตะวันออก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และดำรงตำแหน่งเป็นภาคีสมาชิก สาขาศาสนศาสตร์ สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสถาน[3]

ด้านการเมือง แก้

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้รับการเสนอชื่อเป็นบุคคลที่พรรคการเมืองจะเสนอให้รัฐสภาพิจารณาแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ในนามพรรคแผ่นดินธรรม[4]

ผลงาน แก้

งานวิชาการ แก้

ท่านมีงานเขียนหลากหลายรูปแบบ ทั้งที่เป็นตำราเรียนและหนังสือปรัชญาพุทธศาสนา เช่น;

  • จิต มโน วิญญาณ
  • ปฏิจจสมุปบาท,
  • อสีติมหาสาวก
  • ภิกษุณี:พุทธสาวิกาครั้งพุทธกาล
  • พุทธประวัติ:ประสูติ-ตรัสรู้
  • พระเวสสันดร:มหาบุรุษแห่งหิมพานต์
  • ไวยากรณ์ภาษาบาลี
  • ไวยากรณ์บาลีเบื้องต้น
  • นิทานปรัชญาพุทธ ชุดผู้แสวงหา
  • บทเพลงพระนิพพาน
  • ปาฏิหาริย์:สื่อการสอนของพระพุทธเจ้า
  • จิตวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างพระพุทธเจ้ากับซิกมันด์ฟรอยด์
  • ฯลฯ

งานแปล

  • พระพุทธเจ้าสอนอะไร
  • พระพุทธเจ้า พระศาสดา...โลกลืมไม่ได้
  • พระพุทธศาสนาเพื่อโลกสมัยใหม่
  • สัทธรรมปุณฑรีกสูตร 3 สูตร
  • ประวัติศาสตร์อินเดียโบราณ
  • ฯลฯ

งานวิจัย

  • ปัญญาในธัมมจักกัปปวัฒนสูตร:ชื่อเรียกและพัฒนาการ
  • โสตัตถกีมหานิทาน:การชำระและการศึกษาวิเคราะห์ ฯลฯ

บทความ

  • สังคมในทรรศนะของพระพุทธศาสนา
  • มองชีวิตไทยผ่านพระไตรปิฎก
  • มองรัฐธรรมนูญ ฉบับพุทธศักราช 2550 ผ่านมิติทางศาสนา
  • บวชที่มา:ความหมาย และอิทธิพล
  • โคลนนิ่งแล้วได้อะไร คำถามจากวิทยาศาสตร์-คำตอบจากพุทธศาสนา
  • พระนางพิมพา ในวารสารราชบัณฑิตยสถาน เมษายน - มิถุนายน พ.ศ. 2539[5]
  • พระพุทธศาสนาในจีนสองยุค ในวารสารราชบัณฑิตยสถาน กรกฎาคม - กันยายน พ.ศ. 2540[5]
  • คำสอนของพระพุทธเจ้าในชื่อต่าง ๆ ในวารสารศาสนปริทรรศน์ พฤศจิกายน พ.ศ. 2542[5]
  • พระพุทธศาสนาในฐานะเป็นฐานหนึ่งของปัญญาไทย ในวารสารราชบัณฑิตยสถานฉบับพิเศษ เมษายน พ.ศ. 2543[5]
  • ฯลฯ

งานบริการวิชาการ แก้

นอกจากงานประจำที่สอนนิสิตในจุฬาลงกรณ์ และเป็นภาคีสมาชิกของราชบัณฑิตยสถานแล้ว ท่านยังมีงานบริการวิชาการอื่น ๆ อีกเช่น กรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์พระไตรปิฎก ราชบัณฑิตยสถาน, กรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ราชบัณฑิตยสถาน ฯลฯ

งานเผยแผ่พุทธศาสนา แก้

ท่านนำที่พักส่วนตัวเปิดเป็นสถานที่ฝึกสอน อบรม ความรู้ทางด้านพุทธศาสนา โดยเปิดเป็นสาขาที่ ๙ ของสถาบันจิตตานุภาพ ซึ่งก่อตั้งโดยพระธรรมมงคลญาณ (วิริยังค์ สิรินฺธโร) ชื่อว่า บ้านบรรณรุจิ โดยมีการเปิดสอนในหลักสูตรครูสมาธิและหลักสูตรพระไตรปิฎกศึกษา

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชบัณฑิต, เลม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๒๓๑ ง, ๒๗ กันยายน ๒๕๖๔, หน้า ๒๙
  2. 2.0 2.1 รายการธรรมะจัดสรร บทสัมภาษณ์ ผศ. ร.ท. ดร. บรรจบ บรรณรุจิ ครั้งที่ 2[ลิงก์เสีย]
  3. รายนามราชบัณฑิตและภาคีสมาชิก สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ตามประเภทและสาขาวิชา
  4. รายชื่อบุคคลที่พรรคการเมืองจะเสนอให้รัฐสภาพิจารณาแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 "ผลงานวิชาการของคณาจารย์ สาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-23. สืบค้นเมื่อ 2009-07-04.
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๐ ข หน้า ๑๒๕, ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๐
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2021-11-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๖ ข หน้า ๓๓, ๑๓ มีนาคม ๒๕๔๖

แหล่งข้อมูลอื่น แก้