นีงาตะ (เมือง)

นครและเมืองหลวงของจังหวัดนีงาตะ ประเทศญี่ปุ่น

นีงาตะ หรือ นีกาตะ (ญี่ปุ่น: 新潟市โรมาจิNiigata-shi) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัดนีงาตะซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาคชูบุของประเทศญี่ปุ่น นีงาตะเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดบนชายฝั่งตะวันตกของเกาะฮนชู และเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับที่สองของภูมิภาคจูบุรองจากนาโงยะ ตัวเมืองอยู่ริมทะเลญี่ปุ่นและอยู่ใกล้กับเกาะซาโดะ

นีงาตะ

新潟市
ทิวทัศน์นครนีงาตะมองจากอาคารบันไดจิมะ
สะพานบันไดอดีตสำนักงานศุลกากรนีงาตะ
มินาโตเปียอนุสรณ์สถานศาลาว่าการจังหวัดนีงาตะ
ย่านฟูรูมาจิบันไดซิตี
ธงของนีงาตะ
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของนีงาตะ
ตรา
แผนที่
ที่ตั้งของนีงาตะ (เน้นสีม่วง) ในจังหวัดนีงาตะ
ที่ตั้งของนีงาตะ (เน้นสีม่วง) ในจังหวัดนีงาตะ
นีงาตะตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
นีงาตะ
นีงาตะ
ที่ตั้งในประเทศญี่ปุ่น
พิกัด: 37°54′58″N 139°2′11″E / 37.91611°N 139.03639°E / 37.91611; 139.03639
ประเทศธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
ภูมิภาคชูบุ, โคชิงเอ็ตสึ, โฮกูริกุ
จังหวัด นีงาตะ
สถานะนคร1 เมษายน ค.ศ. 1889[ต้องการอ้างอิง]
การปกครอง
 • ประเภทเทศบาลนคร
 • นายกเทศมนตรียาอิจิ นากาฮาระ (中原 八一; ตั้งแต่พฤศจิกายน ค.ศ. 2018)
พื้นที่
 • ทั้งหมด726.45 ตร.กม. (280.48 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (1 เมษายน ค.ศ. 2023)
 • ทั้งหมด774,383 คน
 • ความหนาแน่น1,066 คน/ตร.กม. (2,760 คน/ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล[1] (ค.ศ. 2015) (อันดับที่ 17)1,060,013 คน
เขตเวลาUTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น)
รหัสท้องถิ่น15100-9
โทรศัพท์025-243-4894
ที่อยู่ศาลาว่าการ1-602-1 Gakkōchō-dōri, Chūō-ku, Niigata-shi, Niigata-ken 951-8550
เว็บไซต์www.city.niigata.lg.jp
สัญลักษณ์
สัตว์ปีกหงส์
ดอกไม้ทิวลิป
ต้นไม้Willow (Salix)
นีงาตะ
"นีงาตะ" เมื่อเขียนด้วยคันจิ
ชื่อภาษาญี่ปุ่น
คันจิ新潟
การถอดเสียง
โรมาจิNiigata

ณ วันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2019 นครมีประชากรประมาณ 797,591 คน และมีความหนาแน่นของประชากรที่ 1,098 คนต่อตารางกิโลเมตร นครมีพื้นที่ 726.45 ตารางกิโลเมตร เขตมหานครนีงาตะ ซึ่งเป็นพื้นที่ธุรกิจของมหานคร มีจีดีพี 43.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐใน ค.ศ. 2010[2][3]

นีงาตะมีประวัติศาสตร์อันยาวนานในฐานะเมืองท่า ก่อนที่กลายเป็นเขตเศรษฐกิจอิสระหลังการปฏิรูปเมจิ รัฐบาลท้องถิ่นประจำนครก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1889 ต่อมาได้มีการควบรวมกับเทศบาลข้างเคียงใน ค.ศ. 2005 ทำให้ประชากรในนครพุ่งขึ้นสูงถึง 810,000 คน การผนวกรวมในครั้งนี้ทำให้นีงาตะเป็นนครที่มีพื้นที่นาข้าวมากที่สุดในญี่ปุ่น ในวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2007 นีงาตะกลายเป็นนครใหญ่ที่รัฐกำหนดแห่งแรกที่ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลญี่ปุ่นบนเกาะฮนชู

ภูมินามวิทยา

แก้

คำว่า "นีงาตะ" มีอยู่ในบันทึกครั้งแรกเมื่อปี 1520 (ปีเอโชที่ 17)[4] ชื่อในอักษรคันจิสามารถแปลได้ดังนี้คือ "ใหม่", "ลากูน", "นคร"

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากไม่มีการบันทึกเกี่ยวกับที่มาของชื่อนี้จึงนำไปสู่ทฤษฎีหลายประการ ประการแรก "นีงาตะ" เป็นชื่อลากูนขนาดใหญ่ที่ปากแม่น้ำชินาโนะ ประการที่สองคือชื่ออ่าวภายในแผ่นดินที่บริเวณปากแม่น้ำ ประการที่สามคือชื่อหมู่บ้านที่ตั้งอยู่บนเกาะบริเวณปากแม่น้ำ ประการที่สี่คือชื่อของอีกหมู่บ้านหนึ่งบนเกาะที่ย้ายไปอยู่ในย่านฟูรูมาจิ และทำให้กลายเป็นชื่อของลากูนที่อยู่ใกล้เคียง[5]

ประวัติศาสตร์

แก้

ภูมิศาสตร์

แก้
 
ภาพถ่ายทางอากาศของนีงาตะ
 
ภาพมุมสูงของที่ราบเอจิโงะ [ja]เมื่อมองจากภูเขาคากูดะ [ja]

นีงาตะตั้งอยู่บนที่ราบชายฝั่งทะเลญี่ปุ่น ใกล้กับเกาะซาโดะ ตัวนครมีแม่น้ำชินาโนะและแม่น้ำอากาโนะไหลผ่าน นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ชุ่มน้ำหลายแห่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งทะเลสาบซากาตะที่ได้รับการจดทะเบียนให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำของอนุสัญญาแรมซาร์

พื้นที่ที่มีการยกตัวต่ำและแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์ทำให้ตัวนครสามารถถมทะเลและรับมือกับภาวะอุทกภัยได้อย่างดีในตลอดเวลาของช่วงประวัติศาสตร์

ในบางครั้ง นีงาตะถูกเรียกว่า "นครแห่งน้ำ" (ญี่ปุ่น: 水の都โรมาจิMizu-no-miyako) เพราะมีแม่น้ำสองสายไหลผ่าน มีที่ตั้งริมทะเลญี่ปุ่น และมีพื้นที่ชุ่มน้ำอีกหลายแห่ง นอกจากนี้ ยังถูกเรียกว่า "นครแห่งหลิว" (ญี่ปุ่น: 柳の都โรมาจิYanagi-no-miyako หรือ ญี่ปุ่น: 柳都โรมาจิRyuto) เพราะมีต้นหลิวจำนวนมากริมคลองสายเก่า ล่าสุด นีงาตะกลายเป็น "นครแห่งอาหารและดอกไม้" (ญี่ปุ่น: 食と花の政令市โรมาจิShoku to hana no seireishi) เพราะมีพื้นที่เกษตรกรรมนอกตัวนคร



ภาพทิวทัศน์

แก้
พื้นที่ใจกลางนครนีงาตะเมื่อมองจากทางเดินสะพานเรียวโตะโอฮาชิ ฝั่งขวาคือย่านฟูรูมาจิ ฝั่งซ้ายคือย่านบันได

ภูมิอากาศ

แก้

นครนีงาตะมีภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น (Cfa) แต่มีหิมะตกมากกว่านครอย่างมอสโก มอนทรีออล หรือออสโล ภูมิอากาศของนีงาตะมีความชื้นสูงและมีลมแรงจากทะเลญี่ปุ่น ในขณะที่ส่วนอื่นของจังหวัดนีงาตะมีหิมะที่ตกหนัก แต่นครนีงาตะกลับมีหิมะที่น้อยกว่าเพราะตั้งอยู่บนที่ต่ำและมีเกาะซาโดะเป็นโล่กำบังพายุหิมะ

อย่างไรก็ตาม นครนีงาตะมีหยาดน้ำฟ้าสูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในรูปแบบของฝน โดยมีวันที่มีหยาดน้ำฟ้าตกถึง 269 วันต่อปี และมี 170 วันที่มีฝนหรือหิมะในปริมาณมากกว่า 1 มิลลิเมตร[6] เดือนกรกฎาคมเป็นเดือนที่มีฝนตกมาก ในขณะที่เดือนพฤศจิกายนและธันวาคมก็มีหิมะตกมากเช่นกัน[7]

ในฤดูร้อน ลมจากทางทิศใต้ทำให้มีสภาพอากาศร้อน ไต้ฝุ่นนำพาลมร้อนที่แรงมาสู่บริเวณนี้ ทำให้ที่นี่มีอุณหภูมิสูงกว่าส่วนอื่นของญี่ปุ่น สภาพอากาศของชายฝั่งตะวันตกของเกาะฮนชูในช่วงฤดูร้อนถือว่าดีกว่าของชายฝั่งแปซิฟิก

ข้อมูลภูมิอากาศของนีงาตะ (ค.ศ. 1981-2010)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 15.3
(59.5)
21.3
(70.3)
25.1
(77.2)
30.7
(87.3)
32.9
(91.2)
35.0
(95)
38.5
(101.3)
39.9
(103.8)
37.1
(98.8)
33.3
(91.9)
27.2
(81)
23.6
(74.5)
39.9
(103.8)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 5.5
(41.9)
6.0
(42.8)
9.7
(49.5)
16.0
(60.8)
21.0
(69.8)
24.5
(76.1)
28.2
(82.8)
30.6
(87.1)
26.2
(79.2)
20.3
(68.5)
14.2
(57.6)
8.7
(47.7)
17.6
(63.7)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 2.8
(37)
2.9
(37.2)
5.8
(42.4)
11.5
(52.7)
16.5
(61.7)
20.7
(69.3)
24.5
(76.1)
26.6
(79.9)
22.5
(72.5)
16.4
(61.5)
10.5
(50.9)
5.6
(42.1)
13.9
(57)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 0.2
(32.4)
0.1
(32.2)
2.3
(36.1)
7.3
(45.1)
12.7
(54.9)
17.6
(63.7)
21.7
(71.1)
23.4
(74.1)
19.2
(66.6)
12.8
(55)
7.0
(44.6)
2.7
(36.9)
10.2
(50.4)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) −11.7
(10.9)
−13.0
(9)
−6.4
(20.5)
−2.5
(27.5)
2.0
(35.6)
6.7
(44.1)
11.4
(52.5)
14.5
(58.1)
7.9
(46.2)
3.0
(37.4)
−1.8
(28.8)
−9.5
(14.9)
−13.0
(9)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 186.0
(7.323)
122.4
(4.819)
112.6
(4.433)
91.7
(3.61)
104.1
(4.098)
127.9
(5.035)
192.1
(7.563)
140.6
(5.535)
155.1
(6.106)
160.3
(6.311)
210.8
(8.299)
217.4
(8.559)
1,821.0
(71.693)
ปริมาณหิมะ ซม (นิ้ว) 91
(35.8)
73
(28.7)
19
(7.5)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
2
(0.8)
30
(11.8)
217
(85.4)
ความชื้นร้อยละ 72 71 67 65 69 74 77 73 73 71 71 72 71
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 0.5mm) 23.9 19.7 17.8 12.9 11.3 11.2 13.4 9.5 13.4 15.8 19.5 24.2 192.6
วันที่มีหิมะตกโดยเฉลี่ย 22.9 20.2 11.4 0.9 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 2.1 13.3 70.8
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 57.1 75.1 128.4 181.8 200.2 173.1 169.4 214.9 150.7 144.0 89.9 60.5 1,642.5
แหล่งที่มา: [8][9]

เขตการปกครอง

แก้
 
ภาพมุมสูงของเขตชูโอ

นีงาตะประกอบด้วย 8 เขตนับตั้งแต่ 1 เมษายน ค.ศ. 2007[10] แต่ละเขตมี "สีประจำเขต"

เขตของนีงาตะ
# ชื่อเขต สี แผนที่
ทับศัพท์ไทย คันจิ โรมาจิ
1 เขตอากิฮะ 秋葉区 Akiha-ku เขียว
 
แผนที่แสดงเขตทั้ง 8 เขตของนครนีงาตะ
2 เขตชูโอ
(ศูนย์กลางการบริหาร)
中央区 Chuo-ku ฟ้า
3 เขตฮิงาชิ 東区 Higashi-ku ฟ้าน้ำทะเล
4 เขตคิตะ 北区 Kita-ku เขียว
5 เขตโคนัง 江南区 Konan-ku เขียว
6 เขตมินามิ 南区 Minami-ku ฟ้า
7 เขตนิชิ 西区 Nishi-ku ส้ม
8 เขตนิชิกัง 西蒲区 Nishikan-ku เหลือง

การขนส่ง

แก้
 
ถนนที่รายล้อมไปด้วยต้นหลิวในนีงาตะ

ท่าอากาศยาน

แก้

ท่าอากาศยานนีงาตะตั้งอยู่ทางทิศเหนือของใจกลางนครนีงาตะไปประมาณ 6 กิโลเมตร ให้บริการเที่ยวบินทั้งภายในและระหว่างประเทศ โดย ณ เดือนตุลาคม ค.ศ. 2016 มีเที่ยวบินในประเทศไปยังโอซากะ (10 เที่ยวต่อวัน), ซัปโปโระ (5-6 เที่ยวต่อวัน), ฟูกูโอกะ (3 เที่ยวต่อวัน), โอกินาวะ (1-2 เที่ยวต่อวัน), นาโงยะ (3 เที่ยวต่อวัน), นาริตะ (หนึ่งเที่ยวต่อวัน) และเกาะซาโดะ (3 เที่ยวต่อวัน) นอกจากนี้ ยังมีเที่ยวบินระหว่างประเทศไปยังฮาร์บิน (2 เที่ยวต่อสัปดาห์), โซล (5 เที่ยวต่อสัปดาห์), เซี่ยงไฮ้ (2 เที่ยวต่อสัปดาห์) และวลาดีวอสตอค[11]

ทางราง

แก้

สถานีรถไฟนีงาตะเป็นสถานีรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในนครนีงาตะ โดยตั้งอยู่ในย่านบันได หนึ่งในสองย่านการค้าหลักใจกลางนครนีงาตะ มีผู้โดยสารมาใช้บริการที่สถานีแห่งนี้ประมาณ 37,000 คนต่อวัน โจเอ็ตสึชิงกันเซ็งวิ่งให้บริการจากนีงาตะไปยังโตเกียวทุกวัน นอกจากนี้ยังมีรถไฟสายหลักชินเอ็ตสึ, สายฮากูชิน, สายอิชิโกะ, สายหลักอูเอ็ตสึ และสายบันเอ็ตสึตะวันตกที่วิ่งออกจากสถานีแห่งนี้ เส้นทางเหล่านี้ให้บริการรถไฟไปยังเมืองเมียวโก, อิโตอิงาวะ, อากิตะ, ซากาตะ และอาอิสึวากามัตสึ

ก่อนหน้านี้เคยมีรถไฟสายนีงาตะคตสึเด็นเท็ตสึและกัมบาระเด็นเท็ตสึวิ่งให้บริการจนถึงคริสต์ทศวรรษ 1990 แต่ในปัจจุบันได้ยุติการเดินรถไปแล้ว

รถโดยสารประจำทาง

แก้

รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ "สายบันได-บาชิ" วิ่งให้บริการระหว่างพื้นที่การค้าหรือธุรกิจในย่านใจกลางนครนีงาตะ (สถานีรถไฟนีงาตะ—สะพานบันไดฟูรูมาชิ—ศาลาว่าการ—สถานีรถไฟฮากูซัน—อาโอยามะ)

ท่าเรือ

แก้

ในอดีต นีงาตะเคยเป็นจุดหมายปลายทางของเรือข้ามฟากมังย็องบง-92 ซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีการเดินทางระหว่างญี่ปุ่นกับเกาหลีเหนือ

เมืองพี่น้อง

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "UEA Code Tables". Center for Spatial Information Science, University of Tokyo. สืบค้นเมื่อ January 26, 2019.
  2. Yoshitsugu Kanemoto. "Metropolitan Employment Area (MEA) Data". Center for Spatial Information Science, The University of Tokyo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-15. สืบค้นเมื่อ 2016-09-29.
  3. Conversion rates - Exchange rates - OECD Data
  4. 知っておきたい新潟県の歴史編集委員会 (2010). 知っておきたい新潟県の歴史. 新潟日報事業社. ISBN 978-4861323720.
  5. 角川日本地名大辞典 編纂委員会 (1989). 角川日本地名大辞典 15 新潟県. (株)角川書店. ISBN 4-04-001150-3.
  6. 平年値(年・月ごとの値)
  7. Niigata City 2007 Statistical Data, published 2007
  8. 気象庁 / 平年値(年・月ごとの値). Japan Meteorological Agency.
  9. 観測史上1~10位の値( 年間を通じての値)). Japan Meteorological Agency. สืบค้นเมื่อ 2011-12-02.
  10. Map เก็บถาวร กันยายน 27, 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  11. Flight Schedule - NIIGATA AIRPORT

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้