อากิตะ (เมือง)
นครอากิตะ (ญี่ปุ่น: 秋田市; โรมาจิ: Akita-shi; ทับศัพท์: อากิตาชิ) เป็นนครศูนย์กลางของจังหวัดอากิตะ ประเทศญี่ปุ่น ได้รับการยกฐานะเป็นนครศูนย์กลางตั้งแต่ 1 เมษายน พ.ศ. 2432 เป็นต้นมา
อากิตะ 秋田市 | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ใจกลางเมืองอากิตะ | |||||||||||
ที่ตั้งของนครอากิตะ ในจังหวัดอากิตะ | |||||||||||
พิกัด: 39°43′12.1″N 140°6′9.3″E / 39.720028°N 140.102583°E | |||||||||||
ประเทศ | ญี่ปุ่น | ||||||||||
ภูมิภาค | โทโฮกุ | ||||||||||
จังหวัด | อากิตะ | ||||||||||
การปกครอง | |||||||||||
• นายกเทศมนตรี | โมโตมุ โฮซูมิ (穂積 志) | ||||||||||
พื้นที่ | |||||||||||
• ทั้งหมด | 906.07 ตร.กม. (349.84 ตร.ไมล์) | ||||||||||
ประชากร (1 มีนาคม ค.ศ. 2023) | |||||||||||
• ทั้งหมด | 301,584 คน | ||||||||||
• ความหนาแน่น | 333 คน/ตร.กม. (860 คน/ตร.ไมล์) | ||||||||||
เขตเวลา | UTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น) | ||||||||||
รหัสท้องถิ่น | 05201-9 | ||||||||||
โทรศัพท์ | 018-863-2222 | ||||||||||
ที่อยู่ศาลาว่าการ | 1-1 Sanno 1-chome, Akita-shi 010-8560 | ||||||||||
เว็บไซต์ | www | ||||||||||
|
ภูมิศาสตร์
แก้นครอากิตะตั้งอยู่บริเวณที่รายชายฝั่งตอนกลางของจังหวัดอากิตะ โดยทางตะวันตกของเมื่องเป็นชายฝั่งออกสู่ทะเลญี่ปุ่น กลางเมืองมีแม่น้ำโอโมโนะไหลผ่าน
เทศบาลข้างเคียง
แก้ประวัติศาสตร์
แก้พื้นที่อันเป็นที่ตั้งของนครอากิตะ ณ ปัจจุบัน เคยเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดเดวะ ซึ่งเป็นจังหวัดในยุคโบราณของญี่ปุ่นเมื่อกว่าพันปีที่แล้ว ภายในเมือง มีซากโบราณสถานสำคัญที่เรียกว่า จิโซเด็ง อยู่ ซึ่งโบราณวัตถุนั้นล้วนเป็นสิ่งของจากยุคหินจนถึงยุคยาโยอิ ต่อมาในยุคนาระ ราชสำนักได้สร้างปราสาทอากิตะขึ้นในปี พ.ศ. 1276 เพื่อที่จะสามารถควบคุมและปกครองชนเผ่าพื้นเมืองเอมิชิได้ ทั้งนี้ ในยุคเซ็งโงกุ อากิตะถูกปกครองโดยตระกูลซามูไรท้องถิ่นที่ปกครองโดยการสืบสายโลหิต จนกระทั่งในยุคเอโดะ ตระกูลซาตาเกะก็ได้เข้ามาปกครองพื้นที่แถบนี้และสถาปนาเป็นแคว้นคูโบตะ ภายใต้รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ
รัชสมัยเมจิและไทโช
แก้ในรัชสมัยเมจิ เมื่อรัฐบาลโชกุนโทกูงาวะล่มสลายและอำนาจสูงสุดหวนคืนสู่องค์จักรพรรดิ รัฐบาลสมเด็จพระจักรพรรดิได้ยุบแคว้นศักดินาคูโบตะ เมืองที่เป็นที่ตั้งของปราสาทถูกแบ่งออกเป็นสองเมือง คือ เมืองอากิตะและเมืองคูโบตะ จังหวัดอากิตะจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2414 ต่อมา อำเภออากิตะเดิมได้ถูกแบ่งออกเป็นสองอำเภอ คือ อำเภอคิตาอากิตะและอำเภอมินามิอากิตะในปี พ.ศ. 2421 ทั้งนี้ ในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2429 ได้เกิดเหตุเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ขึ้นในเมืองอากิตะ บ้านเรือนส่วนใหญ่ถูกเผาทำลาย
เมื่อประเทศมีระบบเทศบาลเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2432 "เทศบาลนครอากิตะ" ก็ได้รับการจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ ซึ่งเขตเทศบาลนี้ก็ได้รวมเอาเมืองอากิตะและเมืองคูโบตะที่มีอยู่เดิมเข้าด้วยกัน แต่ทั้งนี้ ในส่วนของพื้นที่บริเวณท่าเรือได้แยกออกไปเป็น "เทศบาลเมืองสึจิซากิโกะ"
ในรัชสมัยไทโช เป็นยุคที่เมืองอากิตะมีการพัฒนาอย่างมาก จากการเข้ามาของบริษัทน้ำมันนิปปอนออยล์คอร์เพอเรชันในปี พ.ศ. 2457 และการเปิดสาขาของธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2459
พ.ศ. 2516 ที่ชานเมืองอากิตะ ได้มีรายงานการประจักษ์ของพระแม่มารีย์ ในบริเวณชนบทห่างไกลซึ่งได้รับความสนใจจากคริสตชนและชวาญี่ปุ่นทั่วประเทศ ภายหลังเป็นที่รู้จักกันในนามแม่พระประจักษ์ที่อากิตะ
ภูมิอากาศ
แก้ข้อมูลภูมิอากาศของนครอากิตะ (ค.ศ. 1991−2020) | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 13.7 (56.7) |
19.8 (67.6) |
21.0 (69.8) |
28.2 (82.8) |
31.8 (89.2) |
33.8 (92.8) |
37.9 (100.2) |
38.2 (100.8) |
36.1 (97) |
30.1 (86.2) |
25.2 (77.4) |
21.4 (70.5) |
38.2 (100.8) |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 3.1 (37.6) |
4.0 (39.2) |
7.9 (46.2) |
14.0 (57.2) |
19.6 (67.3) |
23.7 (74.7) |
27.1 (80.8) |
29.2 (84.6) |
25.4 (77.7) |
19.0 (66.2) |
12.2 (54) |
5.9 (42.6) |
15.9 (60.6) |
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) | 0.4 (32.7) |
0.8 (33.4) |
4.0 (39.2) |
9.6 (49.3) |
15.2 (59.4) |
19.6 (67.3) |
23.4 (74.1) |
25.0 (77) |
21.0 (69.8) |
14.5 (58.1) |
8.3 (46.9) |
2.8 (37) |
12.1 (53.8) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | -2.1 (28.2) |
-2.1 (28.2) |
0.4 (32.7) |
5.2 (41.4) |
11.1 (52) |
16.0 (60.8) |
20.4 (68.7) |
21.6 (70.9) |
17.1 (62.8) |
10.4 (50.7) |
4.5 (40.1) |
0.0 (32) |
8.5 (47.3) |
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | -19.8 (-3.6) |
-24.6 (-12.3) |
-19.5 (-3.1) |
-7.2 (19) |
-1.4 (29.5) |
4.1 (39.4) |
8.9 (48) |
9.0 (48.2) |
3.1 (37.6) |
-1.4 (29.5) |
-5.4 (22.3) |
-18.7 (-1.7) |
−24.6 (−12.3) |
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | 118.9 (4.681) |
98.5 (3.878) |
99.5 (3.917) |
109.9 (4.327) |
125.0 (4.921) |
122.9 (4.839) |
197.0 (7.756) |
184.6 (7.268) |
161.0 (6.339) |
175.5 (6.909) |
189.1 (7.445) |
159.8 (6.291) |
1,741.6 (68.567) |
ปริมาณหิมะ ซม (นิ้ว) | 100 (39.4) |
79 (31.1) |
30 (11.8) |
1 (0.4) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
6 (2.4) |
58 (22.8) |
273 (107.5) |
ความชื้นร้อยละ | 74 | 72 | 68 | 67 | 71 | 74 | 79 | 76 | 74 | 73 | 73 | 74 | 73 |
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 0.5 mm) | 23.8 | 20.0 | 17.4 | 13.2 | 12.7 | 11.4 | 13.2 | 11.7 | 13.5 | 16.0 | 19.6 | 23.6 | 196.0 |
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด | 39.0 | 64.3 | 121.5 | 168.6 | 184.9 | 179.5 | 150.3 | 186.9 | 160.8 | 143.1 | 83.2 | 45.3 | 1,527.4 |
แหล่งที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น[1] |
เมืองพี่น้อง
แก้- - หลานโจว, จีน, ตั้งแต่ พ.ศ. 2525
- - พัสเซา, เยอรมนี, ตั้งแต่ พ.ศ. 2527
- - มาลาโบน, ฟิลิปปินส์, ตั้งแต่ พ.ศ. 2530
- - เคไน, สหรัฐอเมริกา, ตั้งแต่ พ.ศ. 2535
- - เซนต์คลาวด์, สหรัฐอเมริกา, ตั้งแต่ พ.ศ. 2536
- - วลาดีวอสตอค, รัสเซีย, ตั้งแต่ พ.ศ. 2535
อ้างอิง
แก้- ↑ 気象庁 / 平年値(年・月ごとの値). กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น. สืบค้นเมื่อ May 19, 2021.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์ทางการ
- แบบภาษาอังกฤษ เก็บถาวร 2006-02-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน