ธนิตพล ไชยนันทน์
นายธนิตพล ไชยนันทน์ (ชื่อเล่น : เดี๊ยบ) [1] ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายสาธิต ปิตุเตชะ) กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตากติดต่อกัน 4 สมัย นับตั้งแต่ พ.ศ. 2544 - พ.ศ. 2556
ธนิตพล ไชยนันทน์ | |
---|---|
![]() | |
ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข | |
อยู่ในวาระ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 13 สิงหาคม พ.ศ. 2562 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 25 ธันวาคม พ.ศ. 2516 (47 ปี) จังหวัดตาก |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ |
คู่สมรส | วรกันยา ไชยนันทน์ |
ศาสนา | พุทธ |
ประวัติแก้ไข
นายธนิตพล ไชยนันทน์ เกิดวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2516[2] เป็นบุตรชายคนเล็กของ นายเทอดพงษ์ ไชยนันทน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และกรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ กับนางจันทิพา ไชยนันทน์ และเป็นหลานปู่ของนายเทียม ไชยนันทน์ อดีต ส.ส.จังหวัดตาก หนึ่งในผู้ก่อตั้งพรรคประชาธิปัตย์ นายธนิตพลสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ จากนั้นได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ทางด้านศิลปะ จาก École Supérieure d'Art de Nancy ประเทศฝรั่งเศส และปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับนางวรกันยา ณ ระนอง ไชยนันทน์ ที่โรงแรมเพนนินซูล่า เมื่อปี พ.ศ. 2549 ปัจจุบันมีบุตรสาวด้วยกัน 1 คน
การทำงานแก้ไข
นายธนิตพล ไชยนันทน์ เริ่มเข้าสู่งานการเมืองโดยการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดตาก พรรคประชาธิปัตย์ ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 เป็นกรรมาธิการแรงงานสภาผู้แทนราษฎร และเป็นเลขานุการคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) ในปี พ.ศ. 2551 (รัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ)
ในปี พ.ศ. 2548 เขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตากอีกครั้งเป็นสมัยที่ 2 พร้อมกับได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมาธิการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2549
ในปี พ.ศ. 2554 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมาธิการติดตามการบริหารงบประมาณ สภาผู้แทนราษฎร และได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์[3]
ในปี พ.ศ. 2562 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดตากในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[4] โดยต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สาธิต ปิตุเตชะ)[5]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแก้ไข
เขาได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดตากรวม 4 สมัย ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ทั้ง 4 สมัย คือ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
- พ.ศ. 2554 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ แขวน "พู่กัน" อำลา "เด็กอาร์ต" จุดพลิกชีวิต "ธนิตพล ไชยนันทน์"
- ↑ ประวัติ ส.ส.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ (จำนวน ๑๙ คน), เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๑๕๑ง หน้า ๕๓ วันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๔
- ↑ พลวุฒิ สงสกุล (19 กันยายน 2561). "แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เตรียมหย่อนบัตรปี 62 ส.ส. ลด 23 จังหวัด อีสานหด 10 ที่นั่ง". THE STANDARD. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2562. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ คำสั่งกระทรวงสาธารณสุข ที่ ๙๒๐/๒๕๖๒ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (จำนวน ๒ ราย ๑. นายธนิตพล ไชยนันทน์ ๒. นายเรวัต อารีรอบ)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทยประจำปี 2554