ธนาคารกสิกรไทย
ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: Kasikornbank Public Company Limited; (SET:KBANK)) (จีนตัวย่อ: 开泰银行 ; จีนตัวเต็ม: 開泰銀行 ; พินอิน: Kāi Tài Yínháng) เป็นธนาคารในประเทศไทย โดยมีคำขวัญว่า "บริการทุกระดับประทับใจ" ปัจจุบันมีสาขาทั้งสิ้น 1,132 สาขา ธนาคารกสิกรไทยเป็นธนาคารอันดับ 1 ของประเทศไทย จากการจัดอันดับธนาคารแห่งปี หรือ Bank of the year ในปี พ.ศ. 2564-2565
![]() | |
ประเภท | บริษัทมหาชน |
---|---|
การซื้อขาย | (SET:KBANK) |
ISIN | TH1522733780 ![]() |
อุตสาหกรรม | ธุรกิจการเงิน ธนาคาร |
ก่อตั้ง | 8 มิถุนายน พ.ศ. 2488 (77 ปี) |
ผู้ก่อตั้ง | โชติ ล่ำซำ |
สำนักงานใหญ่ | 400/22 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร |
บุคลากรหลัก | กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร (ประธานกรรมการ) ขัตติยา อินทรวิชัย (ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร) |
รายได้ | ![]() |
สินทรัพย์ | ![]() |
ส่วนของผู้ถือหุ้น | ![]() |
พนักงาน | 19,153 |
อันดับความน่าเชื่อถือ | Fitch: AA+(tha)[2] |
เว็บไซต์ | www |
ธนาคารกสิกรไทยมีสำนักงานใหญ่แห่งแรกตั้งอยู่ที่ถนนเสือป่า ต่อมาได้ขยายการบริหารงาน ไปยังสำนักถนนสีลม, สำนักถนนพหลโยธิน และสำนักถนนราษฎร์บูรณะ ก่อนจะย้ายสำนักงานใหญ่จากอาคารราษฎร์บูรณะ กลับมายังถนนพหลโยธินในปัจจุบัน
ประวัติแก้ไข
ธนาคารกสิกรไทย (ชื่อภาษาอังกฤษเดิม: Thai Farmers Bank; TFB) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2488 โดยกลุ่มสกุลล่ำซำ ทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 5 ล้านบาท โดยมีพนักงานชุดแรก จำนวน 21 คน มีอาคารที่ทำการ ซึ่งปัจจุบันเป็นสาขาสำนักถนนเสือป่า ทั้งนี้ งวดบัญชีแรกของธนาคารฯ นับจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม สิ้นปีเดียวกัน มียอดเงินฝากจำนวน 12 ล้านบาท และธนาคารฯ มีสินทรัพย์รวม 15 ล้านบาท
ณ วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2557 มีทุนจดทะเบียน 30,486 ล้านบาท มีสินทรัพย์จำนวน 2,339,798 ล้านบาท เงินรับฝากจำนวน 1,567,499 ล้านบาท เงินให้สินเชื่อจำนวน 1,471,922 ล้านบาท มีสาขาและสำนักงานย่อยในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 315 สาขา และส่วนภูมิภาคจำนวน 739 สาขา มีสาขาและสำนักงานตัวแทนต่างประเทศจำนวน 11 แห่ง ได้แก่ สาขาลอสแอนเจลิส สาขาฮ่องกง สาขาหมู่เกาะเคย์แมน สาขาเซินเจิ้น สาขาเฉิงตู สาขาย่อยหลงกั่ง สำนักงานผู้แทนกรุงปักกิ่ง สำนักงานผู้แทนนครเซี่ยงไฮ้ สำนักงานผู้แทนเมืองคุนหมิง สำนักผู้แทนงานกรุงโตเกียว และสำนักงานผู้แทนย่างกุ้ง สาขาและสำนักงานผู้แทนในต่างประเทศเหล่านี้ ให้บริการและส่งเสริมความสะดวกต่าง ๆ ด้านการค้า การเงินระหว่างประเทศไทยและประเทศคู่ค้าทั่วโลก[3]
วิวัฒนาการแก้ไข
- พ.ศ. 2516 - ธนาคารฯ เริ่มให้บริการ "บัตรเครดิตอเนกประสงค์" ที่ให้บริการถอนเงินจากเครื่องจ่ายเงินอัตโนมัติ ตลอด 24 ชั่วโมง เป็นแห่งแรกในประเทศไทย ซึ่งเป็นต้นแบบของระบบเอทีเอ็ม อันเป็นที่นิยมอย่างสูงในปัจจุบัน
- พ.ศ. 2523 - ธนาคารฯ เริ่มออกใบรับฝากเงิน ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (Floating Rate Certificate of Deposits) ในตลาดการเงินของกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร เป็นมูลค่า 25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับเป็นธนาคารพาณิชย์แห่งแรกของไทย ที่ดำเนินการดังกล่าว
- พ.ศ. 2536 - ธนาคารฯ เริ่มนำระบบ "รีเอ็นจิเนียริ่ง" (Reengineering) มาใช้เป็นแห่งแรก ซึ่งส่งผลให้วงการธนาคารพาณิชย์ไทยตื่นตัว กับการปรับปรุงรูปแบบสาขาและการให้บริการ
- พ.ศ. 2540 - ธนาคารฯ เริ่มให้บริการ "บัตรเครดิตสำหรับนิติบุคคล" (Corporate Card) เป็นแห่งแรกในประเทศไทย
- พ.ศ. 2541 - ธนาคารฯ เริ่มเสนอขาย "หุ้นบุริมสิทธิ" ควบ "หุ้นกู้ด้อยสิทธิ์" (SLIPs) ซึ่งเป็นการระดมทุนรูปแบบใหม่ ขึ้นเป็นรายแรกของประเทศไทย จนกระทั่งต่อมาจึงกลายเป็นแนวทางให้ธนาคารอื่นใช้เป็นวิธีระดมทุน
- พ.ศ. 2542 - ธนาคารฯ เริ่มให้บริการ "บัตรเครดิตวีซ่าแพลทินัม" เป็นแห่งแรกของประเทศไทย
- พ.ศ. 2546 - ธนาคารฯ เริ่มให้บริการ "ร้านกาแฟภายในสาขา" (Coffee Banking) เป็นแห่งแรกของทวีปเอเชีย โดยความร่วมมือกับสตาร์บัคส์ โดยเริ่มต้นที่สาขาอาคารสมัชชาวานิช 2 เป็นแห่งแรก[4]
- พ.ศ. 2548 - ธนาคารฯ เริ่มให้บริการ "บัตรเครดิตติดชิพอัจฉริยะ" ซึ่งเป็นมาตรฐานของบัตรเครดิตยุคใหม่ และเริ่มดำเนินธุรกิจ ภายใต้ระบบ "เครือธนาคารกสิกรไทย" ซึ่งประกอบด้วย ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน), บริษัท แฟคเตอริ่งกสิกรไทย จำกัด, บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด, บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด, บริษัท หลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ลีสซิ่งกสิกรไทย จำกัด รวมทั้งสิ้น 6 บริษัท
- พ.ศ. 2549 - ธนาคารฯ เริ่มให้บริการ "บัตรชิพเครดิตมาสเตอร์การ์ด" (Master Credit Chip Card) เป็นแห่งแรกของประเทศไทย
- พ.ศ. 2550 - ธนาคารฯ เริ่มให้บริการ "K Now" เพื่อให้คำปรึกษา และสร้างองค์ความรู้ต่าง ๆ แก่ลูกค้าทุกระดับ อันเป็นการเพิ่มความสะดวก สบาย และสมบูรณ์ แก่กลุ่มลูกค้าส่วนบุคคล และกลุ่มลูกค้าธุรกิจ ให้สามารถมีธุรกิจที่เติบโต แข็งแกร่ง ก้าวหน้า อย่างต่อเนื่อง และยั่งยืน
- พ.ศ. 2551 - ธนาคารฯ เริ่มให้บริการ "KBank Extra Hour" โดยขยายเวลาทำการ ในสาขาที่มีสัญลักษณ์ของบริการฯ ในวันจันทร์-วันพฤหัสบดี ระหว่างเวลา 08.30 - 16.30 น. และ วันศุกร์ ระหว่างเวลา 08.30-18.00 น. จึงนับเป็นธนาคารพาณิชย์ของไทย ที่เปิดทำการจนถึงเวลา 18.00 น. เป็นแห่งแรกของประเทศไทย (ตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551 ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2552)
- พ.ศ. 2552 - ธนาคารฯ เริ่มให้บริการ "K-My Debit Card" บัตรเดบิตที่ออกแบบเองได้ เป็นแห่งแรกของประเทศไทย
- พ.ศ. 2553 - ธนาคารฯ ขยายเวลาทำการ แผนกซื้อขายเงินตราต่างประเทศ จนถึงเวลา 23.00 น. เป็นแห่งแรกของประเทศไทย (จากเดิมเปิดทำการถึงเวลา 17.00 น.) และเริ่มให้บริการ "ฝากได้ทุกเรื่องกับ KBank" เพื่อรับดูแลทางการเงิน, จัดการปัญหาการเงิน, ดูแลธุรกิจตั้งแต่เริ่มต้นกิจการ, แนะนำวิธีประกอบธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ, ช่วยค้นหาข้อมูลผ่านเครือข่ายทางธุรกิจ, ช่วยวางแผนการท่องเที่ยว, ช่วยดูแลทุกเรื่องภายในบ้าน ตลอดจนช่วยจัดการสารพัดเรื่องราวให้แก่ลูกค้า
- พ.ศ. 2554 - ธนาคารฯ ร่วมกับ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ให้บริการโอนเงินรับปลายทางที่ไปรษณีย์จากกสิกรไทย หรือ K-Bank to Post เป็นช่องทางใหม่ที่จะทำให้ลูกค้าสามารถโอนเงินผ่านเครื่องเอทีเอ็มของธนาคารกสิกรไทย โดยผู้รับเงินสามารถรับเงินได้ ณ ที่ทำการไปรษณีย์ทุกแห่งทั่วประเทศ เป็นธนาคารเดียวในประเทศที่ประกาศโอนเงินไปต่างประเทศได้ภายในวันเดียว
- พ.ศ. 2555 - ธนาคารฯ ออกบัตรเดบิต Limited Edition การ์ตูนคาแรคเตอร์ ทั้ง Paul Frank, Angry Birds, Hello Kitty และการ์ตูนแอนนิเมชั่นไทย "ยักษ์" และเป็นธนาคารฯ แรกที่ให้บริการโอนเงินสำหรับแรงงานไปยังพม่า
- พ.ศ. 2556 - เปิดสาขาที่สองในจีนที่เมืองเฉิงตู
- พ.ศ. 2557 - เปิดตัวธนาคารท้องถิ่นจดทะเบียนใน สปป.ลาว ถือเป็นธนาคารไทยเต็มรูปแบบแห่งแรกที่ได้รับการจดทะเบียนใน สปป.ลาว
- พ.ศ. 2564 - ธนาคารฯ ย้ายที่ทำการสำนักงานใหญ่จากอาคารราษฎร์บูรณะกลับมายังอาคารพหลโยธิน[5]
คณะกรรมการธนาคารแก้ไข
ลำดับที่ | รายชื่อ | ตำแหน่ง |
---|---|---|
1 | นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร | ประธานกรรมการ |
2 | นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย | ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร |
3 | นางสาวสุจิตพรรณ ล่ำซำ | รองประธานกรรมการ |
4 | นายพิพัฒน์พงศ์ โปษยานนท์ | กรรมการ และกรรมการผู้จัดการ |
5 | นายกฤษณ์ จิตต์แจ้ง | กรรมการ และกรรมการผู้จัดการ |
6 | นายพิพิธ เอนกนิธิ | กรรมการ และกรรมการผู้จัดการ |
7 | นายพัชร สมะลาภา | กรรมการ และกรรมการผู้จัดการ |
8 | นายสาระ ล่ำซำ | กรรมการ |
9 | ดร.อภิชัย จันทรเสน | กรรมการ |
10 | นางสาวชนม์ชนัมม์ สุนทรศารทูล | กรรมการ |
11 | นายชนินทธ์ โทณวณิก | กรรมการอิสระ |
12 | น.ต. พญ.นลินี ไพบูลย์ | กรรมการอิสระ |
13 | นายสราวุฒิ อยู่วิทยา | กรรมการอิสระ |
14 | ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ | กรรมการอิสระ |
15 | นายกลินท์ สารสิน | กรรมการอิสระ |
16 | นายวิบูลย์ คูสกุล | กรรมการอิสระ |
17 | นางศุภจี สุธรรมพันธุ์ | กรรมการอิสระ |
18 | นางสาวเจนนิสา คูวินิชกุล | กรรมการอิสระ |
| 19 ||align="left"| นางสาว ภัทรสุดา อ่อนฉ่ำ || ผู้ขอรับผลประโยชน์ทางการเงินส่วนตัว |}
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่แก้ไข
- ข้อมูล ณ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564[6]
ลำดับที่ | รายชื่อผู้ถือหุ้น | จำนวนหุ้นสามัญ | สัดส่วนการถือหุ้น |
---|---|---|---|
1 | บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด | 443,939,592 | 18.55% |
2 | STATE STREET EUROPE LIMITED | 203,656,972 | 8.51% |
3 | SOUTH EAST ASIA UK (TYPE C) NOMINEES LIMITED | 142,055,420 | 5.94% |
4 | สำนักงานประกันสังคม | 85,905,100 | 3.59% |
5 | BNY MELLON NOMINEES LIMITED | 78,949,299 | 3.30% |
6 | THE BANK OF NEW YORK MELLON | 55,954,035 | 2.34% |
7 | STATE STREET BANK AND TRUST COMPANY | 51,034,453 | 2.13% |
8 | SOUTH EAST ASIA UK (TYPE A) NOMINEES LIMITED | 39,954,882 | 1.67% |
9 | NORTRUST NOMINEES LIMITED-NT0 SEC LENDING THAILAND CL AC | 32,586,142 | 1.36% |
10 | GIC PRIVATE LIMITED | 31,350,600 | 1.31% |
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ 1.0 1.1 1.2 งบการเงิน/ผลประกอบการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- ↑ อันดับเครดิต ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- ↑ ประวัติธนาคารกสิกรไทย จากเว็บไซต์ของธนาคารฯ
- ↑ "ฉีกกรอบประเพณีแบงก์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-01. สืบค้นเมื่อ 2019-09-15.
- ↑ "กสิกรไทยย้ายที่ทำการสำนักงานใหญ่มาอาคารพหลโยธิน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-29. สืบค้นเมื่อ 2022-04-02.
- ↑ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย