ธงชาติอิตาลี
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ธงชาติสาธารณรัฐอิตาลี (อิตาลี: Il Tricolore) มีลักษณะเป็นธงสามสี รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ภายในแบ่งเป็นสามแถบตามแนวตั้ง เป็นสีต่างๆ เรียงจากด้านคันธงตามลำดับ คือ สีเขียว สีขาว และสีแดง
อิตาลี: "Il Tricolore" | |
การใช้ | ธงชาติ |
---|---|
สัดส่วนธง | 2:3 (ธงกองทัพ 1:1) |
ประกาศใช้ | 1 มกราคม พ.ศ. 2491 |
ลักษณะ | ธงสามสีแบ่งตามแนวตั้ง พื้นสีเขียว-ขาว-แดง ความกว้างเท่ากัน |
การใช้ | ธงเรือราษฎร์ |
สัดส่วนธง | 2:3 |
ลักษณะ | ธงชาติอิตาลี กลางธงมีภาพอย่างตรากองทัพเรืออิตาลี แต่ไม่มีรูปมงกุฎ และรูปสิงโตนั้นถือหนังสือแทนดาบ |
การใช้ | ธงนาวี |
สัดส่วนธง | 2:3 |
ประกาศใช้ | ธงชาติอิตาลี กลางธงมีตรากองทัพเรืออิตาลี |
วิวัฒนาการ
แก้ยุคนโปเลียน
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
-
สาธารณรัฐซิสปาดาน ค.ศ. 1797
-
สาธารณรัฐซิซัลไพน์ ค.ศ. 1798
-
สาธารณรัฐนโปเลียน ค.ศ. 1802
-
ราชอาณาจักรนโปเลียน ค.ศ. 1805
ราชอาณาจักรอิตาลี
แก้การใช้ | ธงพลเรือน และ ธงเรือพลเรือน |
---|---|
สัดส่วนธง | 2:3 |
ประกาศใช้ | ค.ศ. 1861 (ซาร์ดิเนีย ค.ศ. 1851) |
ลักษณะ | ธงชาติอิตาลี กลางมีรูปตราอาร์มแห่งแคว้นซาวอยภายใต้มงกุฎ. |
การใช้ | ธงราชการ ธงเรือราชการ และ ธงนาวี |
สัดส่วนธง | 2:3 |
ประกาศใช้ | ค.ศ. 1861 (ซาร์ดิเนีย ค.ศ. 1851) |
ลักษณะ | ธงสามสีอันเป็นธงชาติอิตาลี กลางมีโล่จากตราอาร์มแห่ง แคว้นซาวอย. |
การใช้ | ธงกองทัพ |
สัดส่วนธง | 1:1 |
ประกาศใช้ | ค.ศ. 1861 (ซาร์ดิเนีย ค.ศ. 1848)[1] |
ลักษณะ | ธงราชการราชอาณาจักรอิตาลี สัดส่วน 1:1 |
ระหว่าง ค.ศ. 1848 ถึง ค.ศ. 1861, ช่วงเวลาของสงครามประกาศอิสรภาพ และ การรวมชาติอิตาลี (ประกอบด้วย แคว้นเวเนโต, รัฐพระสันตะปาปา (โรม), เตรนตีโน และ ตรีเยสเต, ภายใต้การนำของ ขบวนการชาตินิยมอิตาลี (Italia irredenta), เป็นการรวบตัวรัฐต่างๆเข้าเป็นรัฐชาติสมัยใหม่ ในปีค.ศ. 1866, 1870, และ 1918 ตามลำดับ); ในช่วงเวลาดังกล่าวเรียกว่า การวมชาติอิตาลี, เป็นปฐมบทในการใช้, ธงสามสี เป็นสัญลักษณ์ในการเคลื่อนไหวต่อสู้เพื่ออิสรภาพ และ การสร้างรัฐชาติสมัยใหม่.[2]
ธงแถบเขียว-ขาว-แดง, กลางมีรูปตราอาร์มแห่งแคว้นซาวอย ประกาศใช้ครั้งแรก ในฐานะธงกองทัพของกองทัพบก โดย กองทัพปิเยมอนต์แห่งราชอาณาจักรซาร์ดิเนียเมื่อ ค.ศ. 1848. ระหว่างการประกาศอิสรภาพของลอมบาร์ด-เวเนเชียน, โดยชารล์ส อัลเบิรต์แห่งซาร์ดิเนีย กล่าวว่า "... in order to show more clearly with exterior signs the commitment to Italian unification, We want that Our troops ... have the Savoy shield placed on the Italian tricolour flag."[3] ตราอาร์มแห่งราชวงศ์ซาวอย กางเขนสีขาวบนอาร์มสีแดงภายในขอบสีน้ำเงิน, สีน้ำเงิน หมายถึง พระราชวงศ์ซาวอย, ทั้งนี้มิได้อ้างอิงตามหลักมุทราศาสตร์.[4] ประกาศใช้อย่างเป็นทางการตามพระบรมราชโองการ ค.ศ. 1851.
-
ธงพระอิสริยยศสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งซาร์ดิเนีย ค.ศ. 1834–1848
-
ธงพระอิสริยยศสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งอิตาลี ค.ศ. 1861-1870
-
ธงพระอิสริยยศสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งอิตาลี
-
ธงพระอิสริยยศมกุฎราชกุมาร
รัฐฟาสซิสต์
แก้การใช้ | ธงราชการ และ ธงเรือราชการ |
---|---|
สัดส่วนธง | 2:3 |
ประกาศใช้ | ค.ศ. 1943 |
ลักษณะ | ธงชาติอิตาลี. |
การใช้ | ธงกองทัพ และ ธงนาวี |
สัดส่วนธง | 2:3 |
ประกาศใช้ | ค.ศ. 1944[5] |
ลักษณะ | ธงชาติอิตาลี กลางธงมีรูปนกอินทรีสีเทาเข้มจับขวานมัดหวาย (fasci littori). |
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ข้อบังคับและธรรมเนียมปฏิบัติ
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สีธง
แก้Description | Number | RGB | CMYK | HSV | Hex | |
---|---|---|---|---|---|---|
Fern Green | 17-6153 TC | 0-146-70 | 100-0-52-43 | 149-100-057 | #009246 | |
Bright White | 11-0601 TC | 241-242-241 | 0-0-0-5 | 120-000-095 | #F1F2F1 | |
Flame Scarlet | 18-1662 TC | 206-43-55 | 0-79-73-19 | 365-079-081 | #CE2B37 |
ความหมายสีธง
แก้การปรากฏความหมายของธงสามสีที่เป็นธงชาติอิตาลีในทุกวันนี้ เริ่มมีขึ้นครั้งแรกในธงชาติ สาธารณรัฐซิสปาดานา (อิตาลี: Repubblica Cispadana) เมื่อ ค.ศ. 1796 (พ.ศ. 2339) ซึ่งเป็นช่วงภายหลังจากการยกทัพเข้ามาในอิตาลีของกองทัพฝรั่งเศส ภายใต้การนำของนายพลนโปเลียน โบนาปาร์ต ในยุคนั้นสาธารณรัฐขนาดเล็กจำนวนมากถูกจัดตั้งขึ้นตามรูปแบบของพรรคจาโคแบงในประเทศฝรั่งเศส และเกือบทั้งหมดนั้นก็ใช้ธงของตัวเองที่มีลักษณะคล้ายธงสามสีของฝรั่งเศส ผิดกันแต่ว่ามีสีบางสีที่แตกต่างกันออกไป สำหรับสาธารณรัฐซิสปาดานานั้นเลือกใช้สีแดงกับสีขาว ซึ่งเป็นสีของธงประจำแคว้นมิลาน และสีเขียว ซึ่งเป็นสีของเครื่องแบบกองทหารแคว้นลอมบาร์เดีย [6]
มีอยู่บางกลุ่มที่ให้นิยามความหมายของสีธงชาตินี้เป็นการเฉพาะว่า สีเขียวเป็นตัวแทนของที่ราบและหุบเขาอันเขียวขจีในประเทศอิตาลี สีขาวคือสีขาวหิมะบนเทือกเขาแอลป์ และสีแดงหมายถึงเลือดที่รินไหลในสงครามประกาศเอกราชอิตาลี การให้คำนิยามธงชาติอิตาลีในอีกที่หนึ่ง ซึ่งมีความหมายค่อนข้างอยู่ในเชิงศาสนา โดยอิงจากคุณธรรม 3 อย่าง ในศาสนาคริสต์ (Theological virtues) กล่าวคือ สีเขียว หมายถึง ความหวังใจ (Hope) สีขาวหมาวถึง ความเชื่อมั่น (Faith) และสีแดงหมายถึงความรัก (Charity)
นอกจากนี้ การให้ความหมายสีธงที่ได้รับความนิยมทั่วไปอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งถูกนำมาใช้ในบางคราวโดยบรรดาผู้ที่ชื่นชอบในอาหารอิตาลี เป็นการนิยามจากสีเครื่องปรุงที่ปรากฏในอาหารอิตาลี เช่น สีแดงเป็นเครื่องหมายของมะเขือเทศ สีเขียวคือใบโหระพา และสีขาวเป็นสีของเนยแข็งขาวมอซซาเรลลา (mozzarella) สิ่งของเหล่านี้คือสิ่งสามารถพบได้ทั่วไปในอาหารอิตาลียอดนิยมอย่างพิซซ่าและลาซาญา
อ้างอิง
แก้- ↑ Regio decreto del 25 marzo 1860; see 1860 — La nuova bandiera dei Corpi di Fanteria e Cavalleria Uniformi e Tradizioni, Ministero della Difesa (retrieved 19 January 2013). Note No. 41 of 16 March 1863 (published in the Official Military Journal) is, in effect, an amendment to the 1860 decree with regard to fortresses, towers and military establishments; see 1863 — Bandiere per le fortezze, torri e stabilimenti militari Uniformi e Tradizioni, Ministero della Difesa (retrieved 22 January 2013)
- ↑ Ghisi, Enrico Il tricolore italiano (1796–1870) Milano: Anonima per l'Arte della Stampa, 1931; see Gay, H. Nelson in The American Historical Review Vol. 37 No. 4 (pp. 750–751), July 1932
- ↑ "Per viemmeglio dimostrare con segni esteriori il sentimento dell'unione italiana vogliamo che le Nostre truppe ... portino lo scudo di Savoia sovrapposto alla bandiera tricolore italiana." See Lawrence, D.H. (ed. Philip Crumpton) Movements in European History (p. 230) Cambridge University Press, 1989 for an overview
- ↑ Lo Statuto Albertino Art. 77, dato in Torino addì quattro del mese di marzo l'anno del Signore mille ottocento quarantotto, e del Regno Nostro il decimo ottavo (given in Turin on the fourth of the month of March in the year of our Lord one thousand eight hundred and forty-eight, and of Our Reign the eighteenth)
- ↑ Foggia della bandiera nazionale e della bandiera di combattimento delle Forze Armate decreto legislativo del Duce della Repubblica Sociale Italiana e Capo del Governo n. 141 del 28 gennaio 1944, XXII EF (GU 107 del 6 maggio 1944 XXII EF)
- ↑ http://www.quirinale.it/simboli/tricolore/tricolore.htm
ดูเพิ่ม
แก้แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ธงชาติอิตาลี ที่ Flags of the World (อังกฤษ)
- ธงชาติอิตาลี
- รัฐบัญญัติเลขที่ 671 ลงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2539 (อิตาลี)
- ธงชาติอิตาลี จากเว็บไซต์สำนักประธานาธิบดีสาธารณรัฐอิตาลี
- Centro Italiano Studi Vessillologici (อิตาลี)
- ดวงตราไปรษณียากรที่ระลึก เนื่องในโอกาสครบรอบ 200 ปี ธงชาติอิตาลี