ประเทศอิตาลี

ประเทศในทวีปยุโรป
(เปลี่ยนทางจาก สาธารณรัฐอิตาลี)

43°N 12°E / 43°N 12°E / 43; 12

สาธารณรัฐอิตาลี

Repubblica Italiana (อิตาลี)
ที่ตั้งของ ประเทศอิตาลี  (เขียวเข้ม)

– ในยุโรป  (เขียวอ่อน & เทาเข้ม)
– ในสหภาพยุโรป  (เขียวอ่อน)  —  [คำอธิบายสัญลักษณ์]

เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
โรม
41°54′N 12°29′E / 41.900°N 12.483°E / 41.900; 12.483
ภาษาราชการอิตาลีa
กลุ่มชาติพันธุ์
(ค.ศ. 2017)[1]
ศาสนา
(ค.ศ. 2020)[2]
เดมะนิมชาวอิตาลี
การปกครองรัฐเดี่ยว สาธารณรัฐระบบรัฐสภา
แซร์โจ มัตตาเรลลา
จอร์จา เมโลนี
• ประธานวุฒิสภา
อิญญัตซีโย ลา รุสซา
• ประธาน
สภาผู้แทนราษฎร
โลเรนโซ ฟอนตานา
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
วุฒิสภาแห่งสาธารณรัฐ
สภาผู้แทนราษฎร
ก่อตั้ง
17 มีนาคม ค.ศ. 1861
2 มิถุนายน ค.ศ. 1946
1 มกราคม ค.ศ. 1948
1 มกราคม ค.ศ. 1958
พื้นที่
• รวม
[convert: %s]%s (อันดับที่ 71)
1.24 (ใน ค.ศ. 2015)[3]
ประชากร
• ค.ศ. 2022 ประมาณ
ลดลงเป็นกลาง 58,853,482[4] (อันดับที่ 25)
201.3 ต่อตารางกิโลเมตร (521.4 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 71)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) ค.ศ. 2023 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 3.195 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ[5] (อันดับที่ 12)
เพิ่มขึ้น 54,216 ดอลลาร์สหรัฐ[5] (อันดับที่ 32)
จีดีพี (ราคาตลาด) ค.ศ. 2021 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 2.169 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ[5] (อันดับที่ 8)
เพิ่มขึ้น 36,812 ดอลลาร์สหรัฐ[5] (อันดับที่ 26)
จีนี (ค.ศ. 2020)positive decrease 32.5[6]
ปานกลาง
เอชดีไอ (ค.ศ. 2021)เพิ่มขึ้น 0.895[7]
สูงมาก · อันดับที่ 30
สกุลเงินยูโร ()b (EUR)
เขตเวลาUTC+1 (เวลายุโรปกลาง)
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+2 (เวลาออมแสงยุโรปกลาง)
รูปแบบวันที่วว/ดด/ปปปป
ปปปป-ดด-วว (ค.ศ.)[8]
ขับรถด้านขวามือ
รหัสโทรศัพท์+39c
โดเมนบนสุด.itd
  1. ภาษาเยอรมันเป็นภาษาทางการร่วมในซืททีโรลและแคว้นฟรียูลี-เวเน็ตเซียจูเลีย; ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการร่วมในแคว้นวัลเลดาออสตา; ภาษาสโลวีเนียเป็นภาษาทางการร่วมในจังหวัดตรีเยสเต, จังหวัดโกริตเซีย และแคว้นฟรียูลี-เวเน็ตเซียจูเลีย; ภาษาลาดินเป็นภาษาทางการร่วมในซืททีโรล, เตรนตีโน และพื้นที่ภาคเหนือ; ภาษาฟรียูลีเป็นภาษาทางการร่วมในแคว้นฟรียูลี-เวเน็ตเซียจูเลีย; ภาษาซาร์ดิเนียเป็นภาษาทางการร่วมในแคว้นซาร์ดิเนีย[9][10]
  2. ใช้สกุลลีราอิตาลีก่อน ค.ศ. 2002 ในกัมปีโยเนดีอีตาเลียยอมรับสกุลเงินยูโร แต่บริเวณนี้ใช้สกุลเงินฟรังก์สวิส[11]
  3. การโทรศัพท์ไปยังกัมปีโยเนดีอีตาเลียต้องกดรหัส +41 ของสวิตเซอร์แลนด์
  4. ยังใช้โดเมน .eu เพราะเป็นโดเมนที่ใช้ในรัฐสมาชิกสหภาพยุโรป

อิตาลี (อังกฤษ: Italy; อิตาลี: Italia, ออกเสียง: [iˈtaːlja] ( ฟังเสียง)) มีชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอิตาลี (อังกฤษ: Italian Republic; อิตาลี: Repubblica Italiana, ออกเสียง: [reˈpubblika itaˈljaːna])[12][13] เป็นประเทศในภูมิภาคยุโรปใต้[14] และยังถือเป็นส่วนหนึ่งของยุโรปตะวันตก ตาม​ภูมิศาสตร์การเมือง​[15] ตั้งอยู่บนคาบสมุทรอิตาลีและถูกคั่นด้วยเทือกเขาแอลป์ทางตอนเหนือ[16] อิตาลีมีพื้นที่ 301,340 ตารางกิโลเมตร ถือเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสิบของยุโรปตามขนาดพื้นที่ มีพรมแดนติดกับประเทศฝรั่งเศส, สวิตเซอร์แลนด์, ออสเตรีย, สโลวีเนีย และมีดินแดนแทรกขนาดเล็กตั้งอยู่ภายในได้แก่นครรัฐวาติกันและประเทศซานมารีโน มีประชากรเกือบ 60 ล้านคน[17] มากที่สุดเป็นอันดับสามในสหภาพยุโรป เมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดคือกรุงโรม และยังมีเมืองอื่น ๆ ซึ่งเป็นศูนย์กลางด้านการท่องเที่ยว, เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ได้แก่ มิลาน, นาโปลี, ตูริน, ฟลอเรนซ์ และ เวนิส

คาบสมุทรอิตาลีเป็นต้นกำเนิดและจุดหมายปลายทางของชนเผ่าโบราณมากมาย[18] ชาวลาตินได้รวมกันเป็นสังคมขนาดใหญ่ และร่วมกันสถาปนาราชอาณาจักรโรมันและกลายเป็นสาธารณรัฐโรมันในเวลาต่อมา และขยายอำนาจไปทั่วบริเวณเมดิเตอร์เรเนียนโดยมีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงโรม ก่อนจะกลายเป็นจักรวรรดิโรมันซึ่งเรืองอำนาจอีกหลายศตวรรษ[19] ในช่วงเวลานั้นเริ่มมีการพัฒนาระบบกฎหมาย, ศิลปะ, เทคโนโลยี และวรรณกรรม อิทธิพลของคริสตศาสนาส่งผลให้โรมกลายเป็นศูนย์กลางของโรมันคาทอลิกและพระสันตะปาปา ในสมัยกลางตอนต้นได้เกิดการการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกและการโยกย้ายถิ่นฐานในยุโรป ต่อมาในศตวรรษที่ 11 ถือเป็นยุครุ่งเรืองของนครรัฐต่าง ๆ บริเวณคาบสมุทร นำมาซึ่งความเจริญทางการค้าและการเดินเรือและการวางรากฐานแก่ระบบทุนนิยม[20] ตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 13 ถึงศตวรรษที่ 16 เป็นช่วงเวลาแห่งสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ฟลอเรนซ์ซึ่งขยายอิทธิพลไปทั่วยุโรป นักสำรวจชาวอิตาลีมีส่วนในการค้นพบเส้นทางใหม่สู่ตะวันออกไกลและโลกใหม่ ซึ่งเป็นการเข้าสู่ยุคแห่งการสำรวจในเวลาต่อมา อย่างไรก็ตาม ความขัดแย้งระหว่างนครรัฐซึ่งกินเวลาหลายศตวรรษ ทำให้รัฐต่าง ๆ ถูกแบ่งแยกจนถึงช่วงปลายสมัยใหม่[21] กอปรกับการท้าทายจากชาติมหาอำนาจอื่น ๆ ส่งผลให้ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของอิตาลีลดลงในศตวรรษที่ 17 และ 18[22]

ความขัดแย้งทางการเมืองและการแบ่งแยกดินแดนสิ้นสุดลงจากการรวมชาติใน ค.ศ. 1861 การกลับมารวมตัวกันของรัฐต่าง ๆ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของราชอาณาจักรอิตาลี[23] ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ถึงต้นศตวรรษที่ 20 อิตาลีได้พัฒนาอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็วโดยทางเฉพาะภูมิภาคตอนเหนือ และมีการล่าอาณานิคม ทว่าบริเวณตอนใต้ยังประสบปัญหาความยากจน และถูกกีดกันออกจากภาคอุตสาหกรรมส่งผลให้อิตาลีมีผู้พลัดถิ่นข้ามทวีปมาถึงปัจจุบัน แม้อิตาลีจะเป็นหนึ่งในมหาอำนาจของฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง แต่ประเทศได้เข้าสู่ช่วงวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจและความวุ่นวายทางสังคม ระบอบเผด็จการฟาสซิสต์ได้ถือกำเนิดขึ้นและครอบงำประเทศเบ็ดเสร็จ เป็นเหตุให้อิตาลีเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่สองโดยถือฝ่ายอักษะ ดินแดนบางส่วนถูกยึดครองโดยนาซีเยอรมนีโดยมีสาธารณรัฐสังคมอิตาลีทำหน้าที่เสมือนรัฐหุ่นเชิดของเยอรมนีในช่วงปลายสงคราม การทัพอิตาลีโดยฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นปฏิบัติการสำคัญซึ่งนำไปสู่ความปราชัยของอักษะ ตามมาด้วยการล่มสลายของฟาสซิสต์อิตาลี ความเสียหายทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมได้รับการฟื้นฟูในเวลาต่อมา รวมถึงมีการยกเลิกระบอบราชาธิปไตยและก่อตั้งสาธารณรัฐประชาธิปไตย

อิตาลีเป็นประเทศพัฒนาแล้ว มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 9 ของโลกตามผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ[24] และมีอุตสาหกรรมการผลิตใหญ่เป็นอันดับสองในยุโรป (อันดับ 8 ของโลก)[25] รวมทั้งมีทองคำสำรองมากเป็นอันดับสามของโลก และมีคุณภาพชีวิตประชากรสูง[26] จากการมีระบบการศึกษาและสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพ[27] อีกทั้งยังเป็นมหาอำนาจในด้านการทหาร, การทูต, การค้า และอุตสาหกรรม อิตาลีเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรป และเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ, เนโท, องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ, องค์การเพื่อความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป, องค์การการค้าโลก, กลุ่ม 7, กลุ่ม 20, สหภาพเพื่อเมดิเตอร์เรเนียน, สภายุโรป และพื้นที่เชงเกน อิตาลียังเป็นต้นกำเนิดของสิ่งประดิษฐ์และการค้นพบทางวิทยาศาสตร์มากมาย รวมทั้งเป็นศูนย์กลางทางศิลปะ[28], ดนตรี, วรรณกรรม, ปรัชญา และแฟชั่น[29] และมีอิทธิพลต่อวงการบันเทิงโลก[30] มีจุดเด่นในด้านอาหาร, กีฬา[31] และธุรกิจ รวมทั้งเป็นแหล่งสะท้อนความมั่งคั่งทางวัฒนธรรม โดยมีแหล่งมรดกโลกมากที่สุดในโลก (59 แห่ง)[32][33][34] และมีนักท่องเที่ยวเข้ามามากเป็นอันดับ 5 ของโลก[35]

ภาพวิวของลีแอร์นา-วาเรนนา ริมทะเลสาบโคโม

นิรุกติศาสตร์

แก้

สมมติฐานที่มาของชื่อประเทศ "อิตาลี" (Italy) มีมากมาย ประการแรก เป็นที่เชื่อกันว่าเป็นการยืมคำมาจากภาษากรีกซึ่งหมายถึง 'ดินแดนแห่งลูกวัว' ของ Oscan Víteliú เนื่องจากในยุคโบราณ ผู้คนมักเปรียบเทียบลักษณะประเทศของอิตาลีในแผนที่ว่าเหมือนน่องของวัว ไม่ได้เปรียบเหมือนรองเท้าบูทเหมือนในปัจจุบัน ต่อมา นักประวัติศาสตร์ชาวกรีก ไดโอนิซิอัส ได้เล่าถึงที่มาของชื่อประเทศกับตำนานที่ว่าอิตาลีได้รับการตั้งชื่อตามชื่อ คำว่า Italus ที่แอริสตอเติลและทิวซิดิดีสได้ใช้เรียกดินแดนบริเวณนี้ และตามคำกล่าวของอันทิโอคุสแห่งซีราคิวส์ คำว่าอิตาลีถูกใช้โดยชาวกรีกเพื่อกล่าวถึงส่วนใต้ของแคว้นคาลาเบรียซึ่งเป็นที่ตั้งจังหวัดเรจจิโอในปัจจุบัน รวมถึงส่วนหนึ่งของจังหวัดกาตันซาโร วิโบ และวาเลนเซียทางตอนใต้ของอิตาลี[36][37][38]

นอกจากนี้ ยังมีหลักฐานจากนักวิชาการและนักภาษาศาสตร์ในสมัยจักรวรรดิโรมันว่าชื่อ Italy มีการใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณเพื่อสื่อถึงบริเวณคาบสมุทรทั้งหมดซึ่งอยู่ใต้เทือกเขาแอลป์[39]

ภูมิศาสตร์

แก้
 
ภาพถ่ายดาวเทียมประเทศอิตาลี
 
ยอดเขามงบล็อง ภูเขาที่สูงที่สุดในอิตาลีและยุโรปตะวันตก

ภูมิประเทศ

แก้

ประเทศอิตาลีตั้งอยู่บนคาบสมุทรอิตาลี ถูกล้อมรอบด้วยทะเลในทุก ๆ ด้านยกเว้นด้านเหนือ โดยอาณาเขตทางทิศเหนือติดต่อกับประเทศฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์และออสเตรียอันมีเทือกเขาแอลป์กั้นแบ่ง ในเทือกเขาแห่งนี้มีภูเขาที่สูงที่สุดในยุโรปตะวันตก คือภูเขามอนเตบีอังโก (อิตาลี: Monte Bianco) ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศอิตาลี เทือกเขาที่สำคัญอีกแห่งของอิตาลีมีชื่อว่า เทือกเขาแอเพนไนน์ (อิตาลี: Appennini) พาดผ่านจากตอนกลางสู่ตอนใต้ของประเทศ แม่น้ำที่ยาวที่สุดในอิตาลีคือแม่น้ำโป (Po) และแม่น้ำไทเบอร์ที่ไหลผ่านกรุงโรม อิตาลีมีดินแดนที่ราบลุ่มริมแม่น้ำราว 25 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทั้งประเทศ[40] โดยที่ราบลุ่มแม่น้ำโป ทางตะวันออกเฉียงเหนือเป็นบริเวณพื้นที่ราบที่กว้างใหญ่ที่สุด อิตาลีมีเกาะมากมาย เกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือเกาะซิซิลี รองลงมาคือเกาะซาร์ดิเนีย ทั้งสองแห่งสามารถเดินทางได้โดยทางเรือและทางเครื่องบิน

ทางตอนเหนือของอิตาลีมีทะเลสาบที่มีขนาดใหญ่มากมาย เช่น ทะเลสาบการ์ดา โกโม มัจโจเร และทะเลสาบอีเซโอ เนื่องจากประเทศอิตาลีถูกล้อมรอบด้วยทะเล ดังนั้นจึงมีชายฝั่งทะเลยาวหลายพันกิโลเมตร ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก และนักท่องเที่ยวก็นิยมเที่ยวสถานที่ทางประวัติศาสตร์ของอิตาลีอีกด้วย ประเทศอิตาลีมีทะเลสาบปล่องภูเขาไฟมากอันดับหนึ่งของโลก เมืองหลวงของประเทศอิตาลีคือกรุงโรม และเมืองสำคัญอื่น ๆ เช่นเมืองมิลาน ตูริน ฟลอเรนซ์ เนเปิลส์ และเวนิส และภายในประเทศอิตาลียังมีประเทศแทรกอยู่ 2 ประเทศ ได้แก่ ประเทศซานมารีโนและนครรัฐวาติกัน

ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของประเทศ คือ ปรอท โพแทช (โพแทสเซียมคาร์บอเนต) หินอ่อน กำมะถัน แก๊สธรรมชาติ น้ำมันดิบ ปลาและถ่านหิน[41]

อิตาลีมีปัญหาด้านสภาพแวดล้อม เช่น มลภาวะเป็นพิษจากอุตสาหกรรมและการสันดาป ชายฝั่งแม่น้ำเน่าเสียจากอุตสาหกรรม และสารตกค้างจากการเกษตร ฝนกรด การขาดการดูแลบำบัดของเสียจากอุตสาหกรรมอย่างเพียงพอ และปัญหาด้านภัยธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว ดินและโคลนถล่ม ภูเขาไฟระเบิด น้ำท่วม รวมถึงปัญหาแผ่นดินทรุดตัวในเวนิส[41]

ภูมิอากาศ

แก้

ประเทศอิตาลีมีลักษณะอากาศหลากหลายแบบ และอาจมีความแตกต่างจากภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียนตามลักษณะพื้นที่ตั้ง พื้นที่ส่วนใหญ่ทางตอนเหนือของประเทศ เช่นเมืองตูริน มิลาน และโบโลญญา มีลักษณะแบบอากาศภาคพื้นทวีปที่ค่อนข้างร้อนชึ้น (การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปน: Cfa) พื้นที่ชายฝั่งติดกับทะเลของแคว้นลีกูเรียและส่วนใหญ่ของคาบสมุทรที่อยู่ใต้ลงไปจากฟลอเรนซ์เป็นภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน (การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปน: Csa) คือมีอากาศอบอุ่นตลอดทั้งปี โดยมีลมจากแอฟริกาพัดเอาความร้อนและความชี้นเข้ามา[40] พื้นที่ชายฝั่งของคาบสมุทรอิตาลีสามารถมีความแตกต่างกันได้มากจากระดับความสูงของภูเขาและหุบเขา โดยเฉพาะเมื่อถึงฤดูหนาวในที่สูงก็จะมีอากาศหนาว ชื้น และมักจะมีหิมะตก ภูมิภาคริมทะเลมีอากาศไม่รุนแรงในฤดูหนาว อากาศอุ่นและมักจะแห้งในฤดูร้อน และพื้นที่ต่ำกลางหุบเขามีอากาศค่อนข้างร้อนในฤดูร้อน

ประเทศอิตาลีมีฤดู 4 ฤดู ได้แก่ ฤดูหนาว ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน และฤดูใบไม้ร่วง โดยฤดูหนาวจะมีอุณหภูมิอยู่ในช่วง 0 °C (32 °F) บนเทือกเขาแอลป์ ถึง 12 °C (54 °F) บนเกาะซิซิลี และในฤดูร้อนจะมีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 20 °C (68 °F) ถึง 30 °C (86 °F) และอาจสูงกว่านี้ได้ในบางช่วง[42]

ประวัติศาสตร์

แก้

ยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงยุคจักรวรรดิโรมัน

แก้
 
สนามกีฬาโคลอสเซียม สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมในกรุงโรม

คาบสมุทรอิตาลีมีมนุษย์อาศัยตั้งแต่ยุคหินเก่า ดินแดนลุ่มแม่น้ำไทเบอร์เป็นที่ตั้งถิ่นฐานของมนุษย์นีแอนเดอร์ทัลตั้งแต่เมื่อประมาณ 5 หมื่นปีที่แล้ว และด้วยอิตาลีนั้นตั้งอยู่บนคาบสมุทรในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนซึ่งมีอารยธรรมโบราณกล่าวคือ อารยธรรมมิโนอันและไมซีเนียน อารยธรรมที่เกี่ยวพันกับอารยธรรมกรีกโบราณ อิตาลีเป็นประเทศที่มีอารยธรรมมาช้านานและแผ่ขยายดินแดนอื่น ๆ ในทวีปยุโรป[43]

ในช่วง 1,600 ปีก่อนคริต์ศักราช พวกอีทรัสคัน จากเอเชียไมเนอร์ก็ได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณที่เป็นแคว้นทัสกานีในปัจจุบัน พร้อมกับนำอารยธรรมกรีกเข้ามาเผยแพร่ ส่วนพวกกรีกเองก็ได้เดินทางมาตั้งอาณานิคมชื่อว่า “แมกนากราเซีย” (อิตาลี: Magna Graecia) ในตอนใต้ของอิตาลีใน 800 ปีก่อนคริสต์ศักราช มีพื้นที่ครอบคลุมบริเวณตั้งแต่เมืองเนเปิลส์จนถึงเกาะซิซิลี

ในคริสต์ศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสต์ศักราช พวกอีทรัสคันได้มีอำนาจปกครองดินแดนตั้งแต่บริเวณชายฝั่งตะวันตกของคาบสมุทรอิตาลีตั้งแต่หุบเขาโป จนถึงบริเวณเมืองนาโปลี และดินแดนรอบ ๆ กรุงโรม ขณะเดียวกันชนเผ่าอื่น ๆ ที่อาศัยอยู่ในคาบสมุทรอิตาลีก็รวมตัวกันจัดตั้งเป็นนครรัฐขึ้น เพื่อต่อต้านการขยายตัวและอำนาจของพวกอีทรัสคันและกรีก ชนเผ่าที่สำคัญในการต่อต้านอำนาจเหล่านี้ได้แก่พวกละติน หรือโรมัน ซึ่งเมื่อถึง 200 ปีก่อนคริสต์ศักราช พวกละตินก็ได้มีอำนาจเหนือดินแดนอิตาลี เกาะซาร์ดิเนียและซิซิลี ทั้งหมดแล้ว

ใน 27 ปีก่อนคริสต์ศักราช โรมได้เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากสาธารณรัฐเป็นระบอบจักรวรรดิ โดยมีจักรพรรดิออกเตเวียน เป็นจักรพรรดิพระองค์แรก นครหลวงแห่งนี้ได้เจริญถึงขีดสุดและสามารถขยายอำนาจปกครองอิทธิพลไปทั่วทั้งยุโรป และบริเวณรายรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางของการค้าและความเจริญในด้านวัฒนธรรมและศิลปวิทยาการแขนงต่างๆ แทนอารยธรรมกรีกที่เสื่อมถอยลง ระหว่างปี ค.ศ. 96180 เป็นช่วงระยะเวลาแห่งความเจริญรุ่งเรืองของจักรพรรดิที่ปกครอง 5 พระองค์ แต่หลังจากนั้น โรมต้องประสบปัญหาทั้งในทุก ๆ ด้าน รวมไปถึงการรุกรานของพวกอนารยชน รวมทั้งการเสื่อมโทรมทางศีลธรรมจรรยา ใน ค.ศ. 312 จักรพรรดิคอนสแตนตินทรงยอมรับคริสต์ศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งมีผลให้คริสต์ศาสนามีโอกาสได้เผยแพร่ไปทั่วดินแดนที่อยู่ใต้อาณัติของโรม และทรงแบ่งจักรวรรดิโรมันออกเป็นสองส่วน คือ จักรวรรดิโรมันตะวันตก และจักรวรรดิไบแซนไทน์

ในคริสต์คริสต์ศตวรรษที่ 5 จักรวรรดิโรมันตะวันตกและกรุงโรมได้ถูกพวกอนารยชนชาวเยอรมันเข้าปล้นสะดม ซึ่งต่อมาในปี ค.ศ. 476 จักรพรรดิโรมันพระองค์สุดท้ายก็ถูกพวกอนารยชนขับออกจากบัลลังก์ คาบสมุทรอิตาลีถูกแบ่งออกเป็นนครรัฐทั้งหลายซึ่งมีอิสระต่อกันกว่า 14 รัฐ

ยุคกลาง

แก้
 
แผ่นดินอิตาลีในยุคกลางตอนต้น

ในช่วงต้นของยุคกลาง ดินแดนต่าง ๆ ในยุโรปได้ตกอยู่ในสภาวะระส่ำระสายที่บ้านเมืองขาดผู้นำ ระบบการเมือง เศรษฐกิจและสังคมถูกทำลาย แต่ในขณะเดียวกันบิชอบแห่งโรม ก็ได้สามารถสถาปนาอำนาจสูงสุดในคริสตจักรซึ่งต่อมาคือสันตะปาปา และสามารถจัดตั้งรัฐสันตะปาปา อีกทั้งยังเป็นผู้สืบทอดอารยธรรมโรมันที่ยังหลงเหลือให้คงอยู่ต่อไป อย่างไรก็ดี แม้นครรัฐต่าง ๆ ในคาบสมุทรอิตาลีจะขาดเอกภาพทางการเมือง แต่นครรัฐเหล่านั้นยังเป็นศูนย์กลางของความเจริญมั่งคั่งและการฟื้นตัวของศิลปะและวัฒนธรรมของยุโรป

ในกลางคริสต์คริสต์ศตวรรษที่ 14 อิตาลีได้ประสบความสำเร็จในการฟื้นฟูศิลปวิทยาการของอารยธรรมกรีกและโรมัน โดยเรียกว่า ยุคเรอเนซองส์ และเป็นผู้นำของลัทธิมนุษยนิยม ในขณะที่ประเทศต่าง ๆ ในยุโรปยังตกอยู่ภายใต้การปกครองแบบศักดินา แต่เมื่อเข้าปลายคริสต์คริสต์ศตวรรษที่ 15 อิตาลีได้ตกเป็นสมรภูมิแย่งชิงอำนาจระหว่างฝรั่งเศส สเปน และออสเตรีย กล่าวคือ เมื่อปี ค.ศ. 1494 พระเจ้าชาร์ลที่ 8 แห่งฝรั่งเศสได้เปิดการโจมตีคาบสมุทร ซึ่งได้ดำเนินเรื่อยมาถึงกลางคริสต์คริสต์ศตวรรษที่ 16 และการโจมตีเพื่อแย่งการเป็นเจ้า ระหว่างฝรั่งเศสและสเปน

ราชอาณาจักรอิตาลี (ค.ศ. 1861-1946)

แก้
 
เบนิโต มุสโสลินี (ซ้าย) กับอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (ขวา) ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ได้มีการชุมนุมของขบวนการชาตินิยม เพื่อต้องการรวมอิตาลีจนเป็นผลสำเร็จ โดยการนำของพระเจ้าวิคเตอร์เอมมานูเอลที่ 2 นับแต่นั้นมา อิตาลีจึงอยู่ภายใต้การปกครองระบอบกษัตริย์ เรื่อยมาจนกระทั่งในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ซึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในอิตาลี เมื่อมีการประกาศยกเลิกความเป็นพันธมิตรกับเยอรมนีและจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี และเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง จนได้รับสมญานามว่าเป็น 1 ใน 4 มหาอำนาจ (The Big Four) ต่อมาสงครามได้ยุติลงด้วยชัยชนะของสัมพันธมิตร อิตาลีจึงได้ดินแดนบางส่วนของออสเตรียมาครอบครอง

ต่อมาในปี ค.ศ. 1922 ระบบเผด็จการฟาสซิสต์ ถูกนำมาใช้ในประเทศอิตาลีกว่า 20 ปี โดยการนำของเบนิโต มุสโสลินี ถึงแม้ว่าจะมีกษัตริย์ทรงเป็นประมุข แต่ก็เป็นเพียงในนามเท่านั้น จนกระทั่งเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สอง อิตาลีเข้าร่วมกับฝ่ายอักษะ เมื่อฝ่ายสัมพันธมิตรยึดเกาะซิซิลีได้ มุสโสลินีจึงถูกปลดออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และแต่งตั้งปีเอโตร บาโดลโย ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทน และประกาศสงครามกับนาซีเยอรมนี จนได้รับชัยชนะ โดยมุสโสลินีถูกกลุ่มต่อต้านฟาสซิสต์จับกุม และถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าในข้อหาทรยศต่อชาติที่เมืองมิลาน[44]

สาธารณรัฐอิตาลี

แก้

เมื่อสงครามโลกครั้งที่สอง สิ้นสุดลง อิตาลียังคงมีพระเจ้าวิคเตอร์ เอ็มมานูเอลที่ 3 เป็นประมุขอยู่ ต่อมาพระองค์สละราชสมบัติให้กับพระเจ้าอุมแบร์โตที่ 2 ขึ้นครองราชย์แทน แต่ครองราชย์ได้เพียง 1 เดือนเท่านั้น ประชาชนต่างลงประชามติให้อิตาลีเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบกษัตริย์มาเป็นระบบสาธารณรัฐในระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน ค.ศ. 1946 โดยมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญในปี ค.ศ. 1948 จนถึงปัจจุบัน[44]

การเมืองการปกครอง

แก้

การปกครองของประเทศอิตาลีเป็นรูปแบบสาธารณรัฐประชาธิปไตย มีรัฐสภา และใช้ระบบพรรคผสม รัฐสภาของอิตาลีประกอบด้วยวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร ผู้แทนของทั้งสองสภาดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี[45] รัฐมนตรีได้รับการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี ส่วนอำนาจนิติบัญญัติควบคุมโดยสภานิติบัญญัติสองสภา ประเทศอิตาลีใช้รูปแบบการปกครองแบบสาธารณรัฐประชาธิปไตยมาตั้งแต่วันที่ 2 มิถุนายน ค.ศ. 1946 หลังจากการล้มล้างระบอบราชาธิปไตยโดยการลงประชามติของประชาชน มีรัฐธรรมนูญฉบับแรกประกาศใช้เมื่อ 1 มกราคม ค.ศ. 1948

บริหาร

แก้
แซร์โจ มัตตาเรลลา ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีตั้งแต่ ค.ศ. 2015
จอร์จา เมโลนี ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตั้งแต่ ค.ศ. 2022

อิตาลีมีรัฐบาลแบบรัฐสภาซึ่งใช้ระบบการลงคะแนนเสียงแบบสัดส่วนและแบบเสียงข้างมาก นายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นประธานอย่างเป็นทางการของคณะรัฐมนตรี (Presidente del Consiglio dei Ministri) เป็นหัวหน้ารัฐบาลของอิตาลี นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐอิตาลีและต้องผ่านการโหวตไว้วางใจในรัฐสภาจึงจะเข้ารับตำแหน่งได้ การจะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไปได้จะต้องผ่านการลงมติเพิ่มเติมด้วยความเชื่อมั่นหรือไม่ไว้วางใจในรัฐสภาในที่สุด[46][47]

นายกรัฐมนตรีคือประธานคณะรัฐมนตรีซึ่งมีอำนาจบริหารที่มีประสิทธิภาพ และเขาต้องได้รับคะแนนเสียงอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินกิจกรรมทางการเมืองส่วนใหญ่ สำนักงานมีลักษณะคล้ายกับระบบรัฐสภาอื่นๆ ส่วนใหญ่ แต่ผู้นำรัฐบาลอิตาลีไม่ได้รับอนุญาตให้ขอให้ยุบรัฐสภาอิตาลี นายกรัฐมนตรีมีอำนาจแต่เพียงผู้เดียวในการ: ประสานนโยบายข่าวกรอง กำหนดทรัพยากรทางการเงิน และเสริมสร้างความมั่นคงทางไซเบอร์ของประเทศ ใช้และปกป้องความลับของรัฐ อนุญาตให้ตัวแทนดำเนินการในอิตาลีหรือต่างประเทศโดยฝ่าฝืนกฎหมาย[48]

นิติบัญญัติ

แก้

รัฐสภาอิตาลีประกอบด้วย 2 สภา คือ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ประธานรัฐสภา คือ ประธานสภาผู้แทนราษฎร การบัญญัติกฎหมายใดๆ จะต้องได้รับความเห็นชอบจากทั้ง 2 สภา วาระการดำรงตำแหน่งของสมาชิกทั้ง 2 สภาคือ 5 ปี และการเลือกตั้งจะทำพร้อมกันทั้ง 2 สภา โดยจะมีขึ้นทุก ๆ 5 ปี หรือเร็วกว่านั้นหากประธานาธิบดีไม่อาจสรรหานายกรัฐมนตรีที่สามารถจัดตั้ง คณะรัฐบาลให้ทั้ง 2 สภาให้ความเห็นชอบได้ การเลือกตั้งครั้งสุดท้ายคือเมื่อวันที่ 9 - 10 เมษายน พ.ศ. 2549 (มีการเลือกตั้ง 2 วันโดยมีจุดประสงค์เพื่อให้คนมาลงคะแนนมากขึ้น) สภาผู้แทนราษฎร (อิตาลี: Camera dei Deputati) ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 630 คน โดย 475 คนมาจากการเลือกตั้งโดยตรง และอีก 155 คนมาจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วนจากแคว้นต่างๆ ผู้สมัครเข้ารับการเลือกตั้งจะต้องมีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป วุฒิสภา (อิตาลี: Senato della Repubblica) ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 326 คน โดย 315 คนมาจากการเลือกตั้งทั่วไป จากแคว้น ต่างๆ ทั่วประเทศ และมีสมาชิกวุฒิสภาตลอดชีพอีกจำนวนหนึ่ง (ปัจจุบันมี 7 คน) ซึ่งจะแต่งตั้งจากบุคคลชั้นนำของสังคม[49]

ตุลาการ

แก้

สิทธิมนุษยชน

แก้

นโยบายต่างประเทศ

แก้

อิตาลีเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC) ปัจจุบันคือสหภาพยุโรป (EU) และของเนโท และเป็นสมาชิกและสนับสนุนองค์การระหว่างประเทศจำนวนมาก เช่น องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า/ องค์การการค้าโลก (GATT/WTO) องค์การเพื่อความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป (OSCE) สภายุโรป และโครงการริเริ่มของยุโรปกลาง องค์การเพื่อความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป, กลุ่ม 7 และสภาสหภาพยุโรป อิตาลียังเป็นสมาชิกชั่วคราวของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ

อิตาลีสนับสนุนการเมืองระหว่างประเทศ รวมทั้งสนับสนุนสหประชาชาติและกิจกรรมด้านความมั่นคงระหว่างประเทศ ในปี 2013 อิตาลีส่งทหาร 5,296 นายไปต่างประเทศ มีส่วนร่วมในภารกิจขององค์การสหประชาชาติและองค์การเนโท 33 แห่งใน 25 ประเทศทั่วโลก อิตาลีส่งกำลังทหารเพื่อสนับสนุนภารกิจรักษาสันติภาพของสหประชาชาติในโซมาเลีย โมซัมบิก และติมอร์ตะวันออก และให้การสนับสนุนปฏิบัติการของเนโท และ UN ในบอสเนีย โคโซโว และแอลเบเนีย และยังส่งทหารกว่า 2,000 นายในอัฟกานิสถานเพื่อสนับสนุน Operation Enduring Freedom (OEF)

ความสัมพันธ์กับสหภาพยุโรป

แก้

ความสัมพันธ์กับประเทศไทย

แก้
ความสัมพันธ์อิตาลี – ไทย
 
 
อิตาลี
 
ไทย
ด้านการทูต

ประเทศไทยมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับอิตาลีมา ตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2411 (ค.ศ. 1868) โดยไทยและอิตาลีได้ลงนามสนธิสัญญาฉบับแรกคือ สนธิสัญญาว่าด้วยมิตรภาพ การพาณิชย์ และการเดินเรือ (Treaty of Friendship, Commerce and Navigation) ซึ่งได้ลงนามเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2411 (ค.ศ. 1868) ต่อมาอิตาลีได้แต่งตั้งกงสุลอิตาลีประจำประเทศไทย เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2429

ความสัมพันธ์ทวิภาคีไทย-อิตาลีโดยทั่วไปดำเนินไปอย่างราบรื่น ทั้งสองฝ่ายไม่มีปัญหาขัดแย้งที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน นอกจากนั้น ยังมีการแลกเปลี่ยนการเยือนทั้งในระดับพระราชวงศ์ บุคคลสำคัญ และเจ้าหน้าที่อาวุโสของรัฐบาลทั้งสองประเทศอย่างสม่ำเสมอ

ไทยมีสถานเอกอัครราชทูตไทยประเทศอิตาลีที่กรุงโรม และมีสถานกงสุลใหญ่ประจำประเทศไทย 5 แห่ง คือ ที่เมืองตูริน เจโนวา มิลาน นาโปลี และคาตาเนีย[49] และที่มีสถานเอกอัครราชทูตอิตาลีประจำประเทศไทยที่กรุงเทพ

ด้านการค้าและเศรษฐกิจ

ในปี พ.ศ. 2549 ประเทศอิตาลีเป็นคู่ค้าของไทยอันดับที่ 4 ในสหภาพยุโรป และอันดับที่ 21 ในโลก โดยมีมูลค่าการค้ารวม 2.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 9.2 ของการค้ารวมของไทย เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2548 ร้อยละ 0.24 โดยไทยส่งออก 1.49 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นำเข้า 1.47 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนการลงทุน ในปี พ.ศ. 2549 การลงทุนของอิตาลีในไทย มีมูลค่ารวม 481.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 19 จากปี พ.ศ. 2548 โดยเป็นด้านแร่ธาตุและเซรามิค 1 โครงการ อุตสาหกรรมเบาและเส้นใย 2 โครงการ ผลิตภัณฑ์โลหะและเครื่องจักร 3 โครงการ ด้านเคมีภัณฑ์และกระดาษ 1 โครงการและด้านบริการ 2 โครงการ

สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ รถยนต์และส่วนประกอบ ยางพารา ปลาหมึกสดแช่เย็น เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ อัญมณีและเครื่องประดับ ผ้าผืน เครื่องโทรสาร โทรพิมพ์ โทรศัพท์ เป็นต้น

สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ผ้าผืน ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ผลิตภัณฑ์โลหะ ผลิตภัณฑ์พลาสติก เครื่องมือ เครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ การทดสอบ เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด เป็นต้น[49]

ด้านการท่องเที่ยว

นักท่องเที่ยวอิตาลีมาท่องเที่ยวที่ประเทศไทยประมาณ 130,000 คนต่อปี โดยมีจำนวนมากน้อยตามสภาวะเศรษฐกิจของอิตาลีและยุโรป ในขณะที่นักท่องเที่ยวไทยไปอิตาลีปีละประมาณ 12,350 คน และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี และสายการบินไทยมีเส้นทางการบินจากกรุงเทพสู่มิลาน สัปดาห์ละ 3 เที่ยวบิน จากเดิมมีเพียงการบินจากโรมเข้าสู่กรุงเทพทั้งสิ้น 7 เที่ยวบินต่อสัปดาห์[49]

กองทัพ

แก้

กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และกองกำลังคาราบินิเอรีของอิตาลีรวมตัวกันเป็นกองทัพอิตาลี ภายใต้การบังคับบัญชาของสภาป้องกันสูงสุด ซึ่งมีประธานาธิบดีแห่งอิตาลีเป็นประธาน ตั้งแต่ปี 2005 การรับราชการทหารเป็นไปโดยสมัครใจ[50] ในปี 2010 กองทัพอิตาลีมีบุคลากรประจำการ 293,202 นาย การใช้จ่ายทางทหารทั้งหมดของอิตาลีในปี 2010 อยู่ในอันดับ 10 ของโลก โดยอยู่ที่ 35.8 พันล้านดอลลาร์ เท่ากับ 1.7% ของ GDP ของประเทศ อิตาลียังเป็นผู้จัดหาระเบิดนิวเคลียร์ B61 ให้แก่สหรัฐอเมริกาจำนวน 90 ลูก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การแบ่งปันนิวเคลียร์ของเนโท ซึ่งตั้งอยู่ในฐานทัพอากาศ Ghedi และ Aviano

กองทัพอิตาลีเป็นกองกำลังป้องกันภาคพื้นดินแห่งชาติ จำนวน 109,703 ในปี 2008 ยานเกราะต่อสู้ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือยานรบทหารราบดาร์โด ยานพิฆาตรถถัง Centauro และรถถัง Ariete รวมถึงการมีเฮลิคอปเตอร์โจมตี Mangusta นอกจากนี้ยังมีรถหุ้มเกราะรุ่น Leopard 1 และ M113 อีกหลายรุ่น

กองทัพเรืออิตาลีในปี 2008 มีกำลังพล 35,200 นาย[51] พร้อมเรือรบ 85 ลำและเครื่องบิน 123 ลำ เป็นเรือดำน้ำสีน้ำเงิน ในยุคปัจจุบัน กองทัพเรืออิตาลีซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปและเนโทได้เข้าร่วมปฏิบัติการในการรักษาสันติภาพของพันธมิตรหลายครั้งทั่วโลก

กองทัพอากาศอิตาลีในปี 2008 มีกำลัง 43,882 ลำ และใช้งานเครื่องบิน 585 ลำ รวมถึงเครื่องบินรบ 219 ลำและเฮลิคอปเตอร์ 114 ลำ ความสามารถในการขนส่งได้รับการยอมรับจากกองทัพนานาชาติจากการเป็นเจ้าของฝูงบิน C-130Js และ C-27J Spartan จำนวน 27 ลำ

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

การปกครองส่วนท้องถิ่น อิตาลีแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 20 แคว้น แบ่งเป็นแคว้น 15 แคว้น และแคว้นปกครองตนเอง 5 แคว้น โดยในแต่ละแคว้นจะมีองค์กรการปกครองหลักอยู่ 3 องค์กร คือ[49]

  • คณะมนตรีแคว้น (Regional Council) ทำหน้าที่ตรากฎหมายและระเบียบข้อบังคับในเขตอำนาจ
  • คณะมนตรีกรรมการ (The Junta) ทำหน้าที่เป็นฝ่ายบริหาร
  • ประธานคณะกรรมการ (The President of the Junta) ทำหน้าที่คล้ายนายกรัฐมนตรีในเขตอำนาจ แต่ทั้งนี้ ก็จะมีผู้แทนของรัฐบาลคนหนึ่งอยู่ประจำ ณ นครหลวงของแคว้นนั้น ๆ คอยควบคุมดูแลการบริหารของรัฐบาลท้องถิ่นและทำหน้าที่ประสานงานระหว่างรัฐบาลท้องถิ่นกับรัฐบาลกลาง

สาธารณรัฐอิตาลีแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 15 แคว้นหรือ เรโจนี (อิตาลี: Regioni) และ 5 แคว้นปกครองตนเอง หรือ เรโจนีเอาโตโนเม (อิตาลี: Regioni autonome) และแต่ละแคว้นก็จะแบ่งการปกครองออกเป็นจังหวัด (อิตาลี: Province) และแต่ละจังหวัดก็จะแบ่งออกเป็นเทศบาลหรือ โกมูนี (อิตาลี: Comuni)


(ตัวหนังสือเอียง หมายถึง เป็นแคว้นปกครองตนเอง)

# แคว้น เมืองหลวง พื้นที่
(ตร.กม.)
ประชากร
[52]
1 อาบรุซโซ
Abruzzo
ลากวีลา
L'Aquila
10,794 1,334,675
2 บาซีลีคาตา
Basilicata
โปเตนซา
Potenza
9,992 590,601
3 คาลาเบรีย
Calabria
คาตันซาโร
Catanzaro
15,080 2,008,709
4 คัมปาเนีย
Campania
เนเปิลส์ (นาโปลี)
Naples (Napoli)
13,595 5,812,962
5 เอมีเลีย-โรมัญญา
Emilia-Romagna
โบโลญญา
Bologna
22,124 4,337,979
6 ฟรียูลี-เวเน็ตเซียจูเลีย
Friuli-Venezia Giulia
ตรีเยสเต
Trieste
7,855 1,230,936
7 ลาซีโอ
Lazio
โรม (โรมา)
Rome (Roma)
17,207 5,626,710
8 ลีกูเรีย
Liguria
เจนัว (เจโนวา)
Genoa (Genova)
5,421 1,615,064
9 ลอมบาร์ดี (ลอมบาร์เดีย)
Lombardy (Lombardia)
มิลาน (มีลาโน)
Milan (Milano)
23,861 9,742,676
10 มาร์เค
Marche
อังโกนา
Ancona
9,694 1,569,578
11 โมลีเซ
Molise
กัมโปบัสโซ
Campobasso
4,438 320,795
12 ปีเยมอนเต
Piemonte
ตูริน (โตรีโน)
Turin (Torino)
25,399 4,432,571
13 ปุลยา
Puglia
บารี
Bari
19,362 4,079,702
14 ซาร์ดิเนีย (ซาร์เดญญา)
Sardinia (Sardegna)
คัลยารี
Cagliari
24,090 1,671,001
15 วัลเลดาออสตา (วาเลโดสต์)
Valle d'Aosta (Vallée d'Aoste)
อาออสตา
Aosta
3,263 4,337,979
16 ทัสกานี (ตอสกานา)
Tuscany (Toscana)
ฟลอเรนซ์ (ฟีเรนเซ)
Florence (Firenze)
22,997 3,707,818
17 เตรนตีโน-อัลโตอาดีเจ
Trentino-Alto Adige
เตรนโต
Trento
13,607 1,018,657
18 อุมเบรีย
Umbria
เปรูจา
Perugia
8,456 894,222
19 ซิซิลี (ซีชีเลีย)
Sicily (Sicilia)
ปาแลร์โม
Palermo
25,708 5,037,799
20 เวเนโต
Veneto
เวนิส (เวเนเซีย)
Venice (Venezia)
18,391 4,885,548

เมืองสำคัญ

แก้

เศรษฐกิจ

แก้

เกษตรกรรม

แก้

ในช่วงหลังของทศวรรษ 1980 เศรษฐกิจของอิตาลีจัดอยู่ในเกณฑ์ดี แต่เริ่มประสบปัญหาในทศวรรษต่อมา ทำให้รัฐบาลไม่สามารถควบคุมปัญหาการขาดดุลสาธารณะได้ เดิมอิตาลีเป็นประเทศเกษตรกรรม แต่หลังจากปี ค.ศ. 1945 ได้เริ่มพัฒนาภาคอุตสาหกรรมจนกระทั่งปัจจุบันมีประชากรเพียงร้อยละ 7 อยู่ในภาคการเกษตร ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ทางภาคใต้และมีฐานะยากจนกว่าทางภาคเหนือและกลาง พืชหลักที่เพาะปลูก ได้แก่ ต้นบีต ข้าวสาลี ข้าวโพด มันเทศและองุ่น (อิตาลีใช้องุ่นทำไวน์และเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกด้วย)[41]

ประเทศอิตาลีมีพื้นที่ส่วนใหญ่ไม่เหมาะแก่การเกษตรกรรม และมีทรัพยากรธรรมชาติไม่มาก แม้จะมีก๊าซธรรมชาติอยู่บ้าง จึงเป็นประเทศที่ต้องนำเข้าอาหาร และพลังงาน อิตาลีเปลี่ยนจากระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพาเกษตรกรรม เป็นอุตสาหกรรมแบบพื้นฐาน และมีขนาดใหญ่เป็นลำดับต้นๆ ของโลก โดยรายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรสูงไล่เลี่ยกับอังกฤษและฝรั่งเศส อิตาลีมีจุดแข็งในอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)

ประเทศอิตาลีเป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศแรกทั้งหมด 11 ประเทศที่เข้าร่วมในสหภาพยุโรปในปี ค.ศ. 2002 และอิตาลีก็ได้เปลี่ยนสกุลเงินมาเป็นยูโร ซึ่งก่อนหน้านั้นอิตาลีใช้สกุลเงินลีร์ (ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1881)

อุตสาหกรรม

แก้
 
รถยนต์เฟียท 500 (Fiat 500) รุ่นใหม่ที่ผลิตขึ้นในเมืองโตริโน แคว้นปีเยมอนเต
 
เฟอร์รารี 458 อิตาเลีย

อุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศมี รถยนต์ บริษัทรถยนต์ที่รู้จักกันดี เช่น อัลฟาโรเมโอ เฟียต เฟอร์รารี่ ลัมโบร์กีนี (ปัจจุบันอยู่ในเครือโฟล์กสวาเกน) และ มาเซราติ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล การก่อสร้าง เคมีภัณฑ์ เภสัชภัณฑ์ เครื่องไฟฟ้า เครื่องเรือน อุตสาหกรรมทอผ้า เสื้อผ้า แฟชั่น และการท่องเที่ยว อิตาลีเป็นสมาชิกกลุ่มจี 8 และเข้าร่วมสหภาพการเงินของสหภาพยุโรป (EMU) เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1998 แม้ระบบเศรษฐกิจของอิตาลีเป็นระบบทุนนิยม ที่ภาคเอกชนสามารถดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อย่างเสรี แต่รัฐบาลยังคงเข้ามามีบทบาทควบคุมกิจกรรมที่สำคัญ เช่น สาธารณูปโภค อุตสาหกรรมพื้นฐาน เป็นต้น ซึ่งได้ก่อประโยชน์ให้แก่ภาครัฐบาลในการสร้างฐานอำนาจ และแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างพรรคการเมืองที่เข้าร่วมรัฐบาล อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันได้มีความพยายามที่จะลดบทบาทของพรรคการเมือง โดยการแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้ภาคเอกชนเข้ามาดำเนินการ แต่อิตาลียังมีปัญหาเศรษฐกิจภายในประเทศหลายอย่าง เช่น การขาดดุลงบประมาณในระดับสูง การว่างงาน การขาดแคลนทรัพยากรพลังงานในประเทศ และระดับการพัฒนาที่แตกต่างกันอย่างมากระหว่างอิตาลีตอนเหนือ (แคว้นลอมบาร์ดี เอมีเลีย-โรมัญญา และทัสกานี) ซึ่งเป็นแหล่งอุตสาหกรรมและการค้า และมีกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs อยู่หนาแน่น กับอิตาลีตอนกลางและตอนล่าง รวมทั้งเกาะซิซิลีและเกาะซาร์ดิเนีย ซึ่งเป็นแหล่งเกษตรกรรม บริเวณที่พัฒนาน้อยกว่านี้มีพื้นที่ประมาณ 40% ของพื้นที่ทั้งประเทศ โดยพื้นที่นี้มีประชากรอาศัยอยู่ถึงร้อยละ 35 ของประชากรทั้งประเทศ และมีอัตราการว่างงานสูงถึงกว่าร้อยละ 20[53]

พลังงาน

แก้
 
Eni หนึ่งในบริษัทน้ำมันรายใหญ่ของโลก

Eni ซึ่งมีการดำเนินงานใน 79 ประเทศ เป็นหนึ่งในเจ็ดบริษัทน้ำมัน "Supermajor" หรือผู้ผลิตรายใหญ่ของโลก[54] และเป็นหนึ่งในบริษัทอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดในโลก[55] พื้นที่ Val d'Agri, Basilicata เป็นแหล่งไฮโดรคาร์บอนบนบกที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป อิตาลีมีปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติในระดับปานกลาง ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในหุบเขา Po และทะเลเอเดรียติกนอกชายฝั่ง ถูกค้นพบในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และเป็นทรัพยากรแร่ที่สำคัญที่สุดของประเทศ อิตาลีเป็นหนึ่งในผู้ผลิตหินภูเขาไฟ ปอซโซลานา และเฟลด์สปาร์ชั้นนำของโลก ทรัพยากรแร่ที่โดดเด่นอีกประการหนึ่งคือหินอ่อน[56] โดยเฉพาะอย่างยิ่งหินอ่อน Carrara สีขาวที่มีชื่อเสียงระดับโลกจากเหมือง Massa และ Carrara ในแคว้นตอสกานา อิตาลีจำเป็นต้องนำเข้าพลังงานจากชาติอื่นประมาณ 80%[57]

ในทศวรรษที่ผ่านมา อิตาลีได้กลายเป็นหนึ่งในผู้ผลิตพลังงานหมุนเวียนรายใหญ่ที่สุดของโลก โดยเป็นผู้ผลิตรายใหญ่เป็นอันดับสองในสหภาพยุโรปและอันดับที่เก้าของโลก พลังงานลม ไฟฟ้าพลังน้ำ และพลังงานความร้อนใต้พิภพก็เป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าที่สำคัญในประเทศเช่นกัน แหล่งพลังงานหมุนเวียนคิดเป็น 27.5% ของไฟฟ้าทั้งหมดที่ผลิตในอิตาลี โดยพลังน้ำเพียงอย่างเดียวถึง 12.6% ตามด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ 5.7% ลมที่ 4.1% พลังงานชีวภาพที่ 3.5% และความร้อนใต้พิภพที่ 1.6% ความต้องการส่วนที่เหลือของประเทศครอบคลุมโดยเชื้อเพลิงฟอสซิล (ก๊าซธรรมชาติ 38.2% ถ่านหิน 13% น้ำมัน 8.4%) และการนำเข้า

การผลิตพลังงานแสงอาทิตย์เพียงอย่างเดียวคิดเป็นเกือบ 9% ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมดในประเทศในปี 2014 ทำให้อิตาลีเป็นประเทศที่มีส่วนร่วมสูงสุดจากพลังงานแสงอาทิตย์ในโลก สถานีไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ Montalto di Castro เสร็จสมบูรณ์ในปี 2010 เป็นโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดในอิตาลีด้วยกำลังไฟฟ้า 85 เมกะวัตต์ ตัวอย่างอื่นๆ ของโรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ขนาดใหญ่ในอิตาลี ได้แก่ San Bellino (70.6 MW), Cellino san Marco (42.7 MW) และ Sant’ Alberto (34.6 MW) อิตาลียังเป็นประเทศแรกที่ใช้ประโยชน์จากพลังงานความร้อนใต้พิภพเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า[58]

การท่องเที่ยว

แก้
 
เวนิส หนึ่งในเมืองท่องเที่ยวยอดนิยมของอิตาลี

อิตาลีเป็นประเทศที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวสูงเป็นอันดับ 5 ของโลก[59] โดยมีนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศทั้งหมด 52.3 ล้านคนในปี 2016 การมีส่วนร่วมโดยรวมของการเดินทางและการท่องเที่ยวต่อ GDP (รวมถึงผลกระทบในวงกว้างจากการลงทุน ห่วงโซ่อุปทาน และผลกระทบต่อรายได้) อยู่ที่ 162.7 พันล้านยูโรในปี 2014 (10.1% ของ GDP) และมีอัตราการจ้างงานเพิ่มถึง 1,082,000 ตำแหน่ง ในปี 2014 (4.8% ของการจ้างงานทั้งหมด)

อิตาลีมีชื่อเสียงในด้านเส้นทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม และเป็นที่ตั้งของแหล่งมรดกโลกของยูเนสโก 58 แห่ง กรุงโรมเป็นเมืองที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดเป็นอันดับ 3 ในยุโรปและอันดับที่ 12 ของโลก โดยมีผู้มาเยือน 9.4 ล้านคนในปี 2017 ในขณะที่มิลานเป็นเมืองที่ 27 ของโลกที่มีนักท่องเที่ยว 6.8 ล้านคน[60] นอกจากนี้ เวนิสและฟลอเรนซ์ยังเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางยอดนิยม 100 อันดับแรกของโลกอีกด้วย

โครงสร้างพื้นฐาน

แก้

ทรัพยากร

แก้

ในสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 อิตาลีเป็นประเทศที่มีทรัพยากรมากที่สุดและยังมีทรัพยากรจากแหล่งอาณานิคม ทรัพยากรของอิตาลีมี เหล็ก ทองแดง กำมะถันพบมากในซาร์ดิเนียทางตอนใต้ของอิตาลีมีทะเลสาบปล่องภูเขาไฟจำนวนมาก อิตาลียังมีถ่านหิน ดีบุกส่วนเกาะซิซิลีของอิตาลีมีก๊าซธรรมชาติมาก เกาะซาร์ดิเนียมีบีตและโรงงานทำน้ำตาลซึ่งใหญ่ที่สุดในยุโรป[61][62] (น้ำตาลในยุโรปส่วนใหญ่มาจากอิตาลี) อิตาลีปลูกกาแฟมากที่สุดในยุโรป[63][64][65][66] เป็นที่มาของคาปูชิโนและเอสเปรสโซทั้งสองมีต้นกำเนิดที่อิตาลี ทางตอนเหนือของอิตาลีนิยมปลูกองุ่นที่ใช้ทำไวน์ อิตาลีเป็นประเทศที่ค้าไวน์รายใหญ่แห่งหนึ่งของโลก

คมนาคม และ โทรคมนาคม

แก้
 
แอร์บัส เอ320-200 ของอิตาแอร์เวย์ สายการบินประจำชาติและสายการบินที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ

การคมนาคม

แก้

ประเทศอิตาลีมีถนนความยาวทั้งหมด 487,700 กิโลเมตร เชื่อมต่อ 13 ประเทศรอบอิตาลี มีสนามบินทั้งหมด 132 แห่ง โดยที่เป็นศูนย์กลางการบิน 2 แห่ง คือ ท่าอากาศยานเลโอนาร์โด ดา วินชี-ฟีอูมีชีโนในกรุงโรม และท่าอากาศยานมัลเปนซาในมิลาน มีสายการบินสู่ประเทศ 44 ประเทศ (ค.ศ. 2008) มีทางรถไฟความยาวทั้งหมด 19,460 กิโลเมตร เชื่อมต่อ 16 ประเทศ[67]

สายการบินประจำชาติของอิตาลีคืออิตาแอร์เวย์[68] และยังเป็นสายการบินที่ใหญ่ที่สุดของประเทศอีกด้วย โดยให้บริการจุดหมายปลายทาง 55 แห่งด้วยเครื่องบินกว่า 83 ลำในประจำการ (ค.ศ. 2023) และยังมีสายการบินระดับภูมิภาค (เช่น แอร์โดโลมีตี) สายการบินต้นทุนต่ำ และผู้ให้บริการเช่าเหมาลำ (เช่น นีโอซ์, บลูพานาโนมาแอร์ไลน์ และ โปสเตแอร์คาร์โก) ผู้ดำเนินการขนส่งสินค้ารายใหญ่ของอิตาลี ได้แก่ อาลีตาเลียคาร์โกและคาร์โกลักซ์อิตาเลีย

อิตาลีเป็นประเทศอันดับ 5 ในยุโรปในแง่จำนวนผู้โดยสารโดยการขนส่งทางอากาศ[69] โดยมีผู้โดยสารประมาณ 148 ล้านคนหรือประมาณ 10% ของจำนวนผู้โดยสารทั้งหมดในยุโรปในปี 2011 อิตาลียังมีท่าเรือหลัก 43 แห่ง รวมทั้งท่าเรือเจนัว ซึ่งเป็นท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดและใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

อิตาลีเป็นจุดหมายปลายทางสุดท้ายของเส้นทางสายไหมมาหลายศตวรรษ[70][71][72] โดยเฉพาะการก่อสร้างคลองสุเอซทำให้การค้าทางทะเลกับแอฟริกาตะวันออกและเอเชียเข้มข้นขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 19

โทรคมนาคม

แก้

วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี

แก้
 
กาลิเลโอ กาลิเลอี หนึ่งในนักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่และโด่งดังที่สุดตลอดกาล

ตลอดหลายศตวรรษที่ผ่านมา อิตาลีได้เป็นหนึ่งในศูนย์กลางทางวิทยาศาสตร์โลก ที่สร้างการค้นพบที่สำคัญมากมายในด้านฟิสิกส์และวิทยาศาสตร์อื่น ๆ ในช่วงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลี เช่น เลโอนาร์โด ดา วินชี (1452–1519) มีเกลันเจโล (1475–1564) และ เลออน บัสติสตา อัลแบร์ตี (1404–1472) มีส่วนสำคัญในสาขาวิชาต่างๆ รวมถึงชีววิทยา สถาปัตยกรรม และวิศวกรรม กาลิเลโอ กาลิเลอี (1564-1642) นักฟิสิกส์ นักคณิตศาสตร์ และนักดาราศาสตร์ มีบทบาทสำคัญในการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ ความสำเร็จของเขารวมถึงการค้นพบและการทดลองของกล้องโทรทรรศน์และการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์มากมาย นักดาราศาสตร์คนอื่นๆ เช่น Giovanni Domenico Cassini (1625–1712) และ Giovanni Schiaparelli (1835–1910) ได้ค้นพบทฤษฎีสำคัญมากมายเกี่ยวกับระบบสุริยะ

ประชากรศาสตร์

แก้

ประชากร

แก้
 
ย่านลิตเติลอิตาลี ในนครนิวยอร์ก เป็นย่านที่มีชาวอิตาลีอยู่เป็นจำนวนมาก

ประชาชนที่อยู่ในประเทศอิตาลีเรียกว่า ชาวอิตาลี ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากคนในสมัยโรมันโบราณ จำนวนประชากรของประเทศอิตาลีมีประมาณ 60 ล้านคน[52] โดยประมาณ 2.5 ล้านคนอาศัยอยู่ในกรุงโรม และอีก 1.5 ล้านคนอยู่ในมิลาน ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก มีภาษาทางการคือภาษาอิตาลี และบางพื้นที่ในประเทศเยอรมนีและฝรั่งเศสก็พูดด้วย แต่จะเป็นภาษาซิซิลี และภาษาซาร์ดีเนีย ซึ่งคล้ายกับภาษาอิตาลีแต่ต่างกันที่สำเนียงเท่านั้น

ประชากรส่วนใหญ่ในอิตาลีมีเชื้อชาติอิตาลีถึง 94.2% ของประชากรทั้งประเทศ และอื่นๆอีก เช่น อัลบาเนีย ยูเครน โรมาเนีย 1.94% แอฟริกัน 1.34% เอเชีย 0.92% อเมริกาใต้ 0.46% และอื่นๆ 1.14%[73]

ประเทศอิตาลีมีสถานที่ที่เป็นแหล่งมรดกโลกอยู่มากกว่าประเทศอื่นในโลก[74] ซึ่งมีทั้งมรดกโลกทางวัฒนธรรมและมรดกโลกทางธรรมชาติที่มีคุณค่าอย่างมาก ประมาณ 60% ของงานจิตรกรรมทั้งหมดในโลกสรรค์สร้างขึ้นในประเทศอิตาลี และประเทศนี้ยังผลิตไวน์ที่มากกว่าประเทศอื่นอีกด้วย

ศาสนา

แก้
 
มหาวิหารนักบุญเปโตรในนครรัฐวาติกัน

ศาสนาที่ผู้คนส่วนใหญ่ในอิตาลีนับถือคือ ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ชาวอิตาลีถึง 87.8% เป็นโรมันคาทอลิกโดยพฤตินัย[75] แม้ว่ามีเพียงประมาณหนึ่งในสามที่มีเหตุผลในการเลือกนับถือศาสนาคริสต์ (36.8%) ส่วนนิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์มีผู้นับถือมากกว่า 700,000 คน ประกอบด้วยกรีกออร์ทอดอกซ์ 180,000 คน[76]และอีก 550,000 คนนับถือเพนเทคอสตัลและอิแวนจิลิคัล (0.8%) ส่วนสมาชิกของอะเซมบลีส์ออฟกอดมีประมาณ 400,000 คน กลุ่มพยานพระยะโฮวา 235,685 คน (0.4%) [77] นิกายวัลเดนเชียน 30,000 คน[78] เซเวนธ์-เดย์แอดเวนทิสต์ มีประมาณ 22,000 คน นิกายมอรมอน 22,000 คน แบปทิสต์ 15,000 คน ลูเทอแรน 7,000 คน และเมทอดิสต์ 4,000 คน[79] ส่วนศาสนิกชนกลุ่มน้อยที่เก่าแก่ที่สุดคือศาสนายูดาห์ มีคนนับถือ 45,000 คน ประเทศอิตาลีมีกลุ่มศาสนาที่ไม่ใช่ศาสนาคริสต์เข้ามาเผยแพร่ไม่ค่อยมากนัก เช่นการอพยพเข้ามาของประชากรจากส่วนอื่นๆ ของโลก เป็นผลทำให้อิตาลีมีชาวมุสลิมอาศัยอยู่ประมาณ 825,000 คน[80] (1.4% ของประชากรทั้งประเทศ) แต่เป็นพลเมืองอิตาลีเพียง 50,000 คน นอกจากนี้ อิตาลีมีชาวพุทธ 50,000 คน[81][82] โดยที่ศาสนาพุทธ รัฐบาลอิตาลี ได้รับรองสถานะของสมาคมชาวพุทธในอิตาลี เมื่อ 20 มีนาคม พ.ศ. 2543 และมีวัดไทยสำคัญคือ วัดสันตจิตตาราม อยู่ห่างจากกรุงโรม 52 กิโลเมตร[45] ซิกข์ 70,000 คน[83] และชาวฮินดู 70,000 คน

ภาษา

แก้

ภาษาราชการของอิตาลีคือภาษาอิตาลี ตามที่ระบุไว้ในกรอบกฎหมายฉบับที่ 482/1999[84] และธรรมนูญพิเศษของ Trentino Alto-Adige ซึ่งนำมาใช้กับกฎหมายรัฐธรรมนูญ มีผู้พูดภาษาอิตาลีเป็นภาษาแม่ประมาณ 64 ล้านคนทั่วโลก และอีก 21 ล้านคนที่ใช้ภาษานี้เป็นภาษาที่สอง ภาษาอิตาลีมักเป็นภาษาพูดโดยกำเนิดในภาษาต่าง ๆ ในภูมิภาค เพื่อไม่ให้สับสนกับภาษาประจำภูมิภาคและภาษาชนกลุ่มน้อยของอิตาลี อย่างไรก็ตาม การจัดตั้งระบบการศึกษาแห่งชาติทำให้ความแตกต่างของภาษาที่พูดกันทั่วประเทศลดลงในช่วงศตวรรษที่ 20[85]

สืบเนื่องจากปริมาณการอพยพ ทำให้อิตาลีมีประชากรจำนวนมากซึ่งภาษาแม่ไม่ใช่ภาษาอิตาลีหรือภาษาประจำภูมิภาค ตามข้อมูลของสถาบันสถิติแห่งชาติของอิตาลี โรมาเนียเป็นภาษาแม่ที่พบมากที่สุดในหมู่ชาวต่างชาติในอิตาลี: เกือบ 800,000 คนพูดภาษาโรมาเนียเป็นภาษาแรกของพวกเขา (21.9% ของชาวต่างประเทศอายุ 6 ปีขึ้นไป) ภาษาแม่อื่น ๆ ที่แพร่หลาย ได้แก่ ภาษาอาหรับ (พูดโดย 475,000 คน, 13.1% ของชาวต่างชาติ), แอลเบเนีย (380,000 คน) และสเปน (255,000 คน)

สาธารณสุข

แก้
 
น้ำมันมะกอก วัตถุดิบหลักของอาหารเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งได้รับการยอมรับว่าดีต่อสุขภาพ

รัฐบาลอิตาลีดำเนินการระบบการรักษาพยาบาลสาธารณะที่เป็นสากลตั้งแต่ปี 1978[86] อย่างไรก็ตาม ประชาชนและผู้อยู่อาศัยทุกคนมีการดูแลสุขภาพด้วยระบบสาธารณะและเอกชนแบบผสมผสาน ภายใต้กระทรวงสาธารณสุขและการบริหารงานในระดับภูมิภาค การใช้จ่ายด้านการดูแลสุขภาพในอิตาลีคิดเป็น 9.2% ของ GDP ของประเทศในปี 2012 ซึ่งใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยของประเทศ OECD ที่ 9.3%[87] ประเทศอิตาลีในปี 2000 ได้รับการจัดอันดับให้มีระบบการรักษาพยาบาลที่ดีที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก

อายุขัยประชากรอิตาลีคือ 80 ปีในผู้ชายและ 85 ปีสำหรับผู้หญิง ติดอันดับ 1 ใน 5 ประเทศที่มีอายุขัยมากที่สุด[88] และเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศตะวันตกอื่น ๆ อิตาลีมีอัตราโรคอ้วนในผู้ใหญ่ที่ค่อนข้างต่ำ (ต่ำกว่า 10%)[89] เนื่องจาการทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยเฉพาะอาหารเมดิเตอร์เรเนียน[90] แม้อาหารหลักบางรายการ เช่น พิซซา จะส่งผลเสียสุขภาพพอสมควร อย่างไรก็ตาม การสูบบุหรี่ยังถือเป็นปัญหาสำคัญ สัดส่วนของผู้สูบบุหรี่รายวันอยู่ที่ 22% ในปี 2012 ลดลงจาก 24.4% ในปี 2000 แต่ยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มประเทศ OECD เล็กน้อย การสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ เช่น บาร์ ร้านอาหาร ไนท์คลับ และสำนักงาน ถูกจำกัดให้อยู่ในห้องที่มีการระบายอากาศเฉพาะมาตั้งแต่ปี 2005[91]

ในปี 2013 ยูเนสโกได้เพิ่มอาหารเมดิเตอร์เรเนียนลงในรายการตัวแทนมรดกโลกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของอิตาลี โมร็อกโก สเปน โปรตุเกส กรีซ ไซปรัส และโครเอเชีย[92]

การศึกษา

แก้
 
มหาวิทยาลัยโบโลญญา ถือเป็นสถาบันการศึกษาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก

การศึกษาในอิตาลี แบ่งเป็นประถมศึกษาจนถึงระดับมัธยมศึกษา ใช้เวลาเรียน 13 ปี (ใช้ระบบ 5-3-5) และระดับอุดมศึกษาซึ่งค่อนข้างยุ่งยากและมีความแตกต่างจากระบบการศึกษาในประเทศอื่น

การศึกษาในระดับต้นในอิตาลีไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียนและเป็นภาคบังคับตั้งแต่อายุ 6-16 ปี[93] การศึกษาระดับประถมศึกษาใช้เวลา 8 ปี นักเรียนจะได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาษาอิตาลี อังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ สังคมศึกษา พลศึกษา ทัศนศิลป์ และดนตรี การศึกษาระดับมัธยมศึกษามีระยะเวลา 5 ปี รวมถึงโรงเรียนสามประเภทที่เน้นระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน: liceo เตรียมนักเรียนสำหรับการศึกษาในมหาวิทยาลัยด้วยหลักสูตรทั่วไปหรือวิทยาศาสตร์ ในขณะที่ istituto tecnico และ Istituto professionale เตรียมนักเรียนสำหรับอาชีวศึกษา ในปี 2018[94] คะแนนการศึกษาของนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาของอิตาลีได้รับการประเมินว่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มประเทศ OECD อื่น ๆ เนื่องมาความเหลื่อมล้ำจากการที่คุณภาพทางการศึกษาของสถาบันทางตอนใต้ยังด้อยกว่าสถาบันทางภาคเหนือ ซึ่งยังเป็นปัญหาสำคัญที่รัฐบาลกำลังแก้ไข[95]

การศึกษาระดับอุดมศึกษาในอิตาลีแบ่งออกเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ มหาวิทยาลัยเอกชน และบัณฑิตวิทยาลัยชั้นนำที่มีชื่อเสียงและต้องสอบคัดเลือก เช่น Scuola Normale Superiore di Pisa มหาวิทยาลัยในอิตาลี 33 แห่งได้รับการจัดอันดับให้อยู่ใน 500 อันดับแรกของโลกในปี 2019 ซึ่งใหญ่เป็นอันดับสามในยุโรปรองจากสหราชอาณาจักรและเยอรมนี มหาวิทยาลัยโบโลญญา (Bologna University) ก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1088 เป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในโลก[96][97][98][99] และเป็นหนึ่งในสถาบันการศึกษาชั้นนำในอิตาลีและยุโรป มหาวิทยาลัย Bocconi, Università Cattolica del Sacro Cuore, LUISS, Polytechnic University of Turin, Polytechnic University of Milan, Sapienza University of Rome และ University of Milan ยังได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลก[100]

วัฒนธรรม

แก้

อิตาลีถือเป็นหนึ่งในแหล่งกำเนิดของอารยธรรมตะวันตกและเป็นมหาอำนาจทางวัฒนธรรม ถูกแบ่งแยกตามการเมืองและภูมิศาสตร์เป็นเวลาหลายศตวรรษจนกระทั่งมีการรวมกันในปี 1961 วัฒนธรรมของอิตาลีได้รับการหล่อหลอมจากขนบธรรมเนียมประเพณีระดับภูมิภาคมากมายและศูนย์กลางอำนาจและการอุปถัมภ์ในท้องถิ่น อิตาลีมีบทบาทสำคัญในวัฒนธรรมตะวันตกมานานหลายศตวรรษ และยังคงเป็นที่รู้จักในด้านประเพณีวัฒนธรรมและศิลปิน ในช่วงยุคกลางและยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ได้มีการแข่งขันกันระหว่างสถาปนิก ศิลปิน และนักวิชาการที่เก่งที่สุด ก่อให้เกิดมรดกตกทอดที่ยิ่งใหญ่ของประเทศในด้าน อนุสรณ์สถาน ภาพเขียน ดนตรีและวรรณกรรม[101]

อิตาลีมีคอลเลกชั่นศิลปะ วัฒนธรรม และวรรณคดีมากมายจากหลายยุคสมัย ประเทศนี้มีอิทธิพลทางวัฒนธรรมในวงกว้างทั่วโลก เนื่องจากชาวอิตาลีจำนวนมากอพยพไปยังที่อื่นในช่วงที่อิตาลีประสบปัญหาการเมืองในประเทศ นอกจากนี้ อิตาลียังมีอนุสรณ์สถานกว่า 100,000 แห่ง (พิพิธภัณฑ์ พระราชวัง อาคาร รูปปั้น โบสถ์ หอศิลป์ วิลล่า น้ำพุ บ้านประวัติศาสตร์ และซากโบราณสถาน)

เทศกาลสำคัญ

แก้
 
เทศกาลคาร์นิวัลที่เมืองเวียเรจจีโอ แคว้นตอสคานา
  • เทศกาลคาร์นิวัล จัดในช่วงปลายเดือนมกราคมถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ จัดตามเมืองต่างๆ แต่ที่มีชื่อเสียงที่สุดอยู่ที่เมืองเวนิส แคว้นเวเนโต มีลักษณะของงานคือเน้นการแต่งการแฟนซีและสวมหน้ากาก
  • เทศกาลทางศาสนา เช่น เทศกาลอีสเตอร์ ประกอบด้วยการเดินขบวนกู๊ดฟรายเดย์หรือเรียกว่าวันอาทิตย์อีสเตอร์ จัดขึ้นในช่วงรอยต่อระหว่างเดือนมีนาคมถึงเมษายน ภายในเทศกาลจะมีการเฉลิมฉลอง พระสันตะปาปาจะมีกระแสรับสั่งถึงคริสต์ศาสนิกชนในวันอาทิตย์อีสเตอร์ ซึ่งจัดขึ้นที่นครรัฐวาติกัน
  • เทศกาลศิลปะและดนตรี (อิตาลี: Maggio Musicale Fiorentino) จัดขึ้นในเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน ที่เมืองฟลอเรนซ์ แคว้นทัสกานี
  • เทศกาลโอเปร่า ที่เมืองเวโรนา แคว้นเวเนโต
  • เทศกาลลดราคาสินค้าประจำปี จัดขึ้นทั่วประเทศในช่วงเดือนกรกฎาคม และเดือนต่อมาก็จะเป็นช่วงแห่งการพักร้อน ร้านค้าและกิจการในเมืองจะปิด และผู้คนจะไปพักร้อนตามทะเล
  • เทศกาลฉลองฤดูกาลเก็บเกี่ยวองุ่นที่ใช้ทำไวน์
  • เทศกาลภาพยนตร์ จัดที่เมืองฟลอเรนซ์ ในเดือนพฤศจิกายน
  • พิธีมิสซา (ศีลมหาสนิท) ตามโบสถ์ต่างๆ และในคืนวันที่ 24 ธันวาคม สมเด็จพระสันตะปาปาจะเสด็จออกจากบนพระระเบียงมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ นครรัฐวาติกัน

วันหยุด

แก้
  • 1 มกราคม วันขึ้นปีใหม่
  • 6 มกราคม วัน Epiphany
  • วันอาทิตย์และจันทร์ปลายเดิอนมีนา หรือต้นเดือนเมษายน วันGood Friday และEaster Monday
  • 25 เมษายน วันฉลองอิสรภาพ (Liberation Day)
  • 1 พฤษภาคม วันแรงงาน
  • 2 มิถุนายน วันสถาปนาสาธารณรัฐ
  • 15 สิงหาคม วันแฟร์รากอสโต้ หรือวันพระแม่มาเรียขึ้นสวรรค์ (Farragosto)
  • 1 พฤศจิกายน วันนักบุญ
  • 8 ธันวาคม วันพระแม่มารีพ้นมลทิน
  • 25 ธันวาคม วันคริสต์มาส
  • 26 ธันวาคม วันนักบุญเซนต์สตีเฟ่น

สื่อสารมวลชน

แก้

ปรัชญา

แก้

ปรัชญาและวรรณคดีอิตาลีมีอิทธิพลอย่างมากต่อปรัชญาตะวันตก[102] โดยเริ่มจากชาวกรีกและโรมัน และเข้าสู่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยยุคแห่งการตรัสรู้ และปรัชญาสมัยใหม่ ปรัชญาถูกนำไปยังอิตาลีโดยพีทาโกรัส ผู้ก่อตั้งโรงเรียนปรัชญาแห่งอิตาลีในเมืองโครโตเน นักปรัชญาชาวอิตาลีที่สำคัญในยุคกรีก ได้แก่ Xenophanes, Parmenides, Zeno, Empedocles และ Gorgias นักปรัชญาชาวโรมัน ได้แก่ ซิเซโร ลูเครเชียส เซเนกาผู้น้อง Musonius Rufus พลูตาร์ค Epictetus มาร์คัส ออเรลิอุส

สถาปัตยกรรม

แก้

อิตาลีถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีสถาปัตยกรรมที่สวยงามและดึงดูดนักท่องเที่ยวมากที่สุดแห่งหนึ่ง[103] โดยสิ่งปลูกสร้างต่างๆมีประวัติความเป็นมายาวนานนับตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 14 เป็นต้นมา หรือที่เรียกว่ายุคฟื้นฟูศิลปวิทยการ สถาปัตยกรรมในอิตาลียังสะท้อนถึงปรัชญา, ความเชื่อ และวัฒนธรรมที่สอดแทรกเข้าไปในงานทุกชิ้น[104] โดยได้พัฒนาและทำให้แพร่หลายมากขึ้นโดยสถาปนิก ชาร์ลส์ แบร์รี ในปี 1830 ซึ่งส่วนมากจะใช้การตกแต่งแบบเรอเนซองส์[105]

อิตาลีมีสิ่งปลูกสร้างและผลงานทางสถาปัตยกรรมที่มีชื่อเสียงหลายแห่งเช่น:

หอเอนเมืองปิซา (Torre pendente di Pisa): ตั้งอยู่ที่เมืองปิซาในจัตุรัสเปียซซา เดล ดูโอโม (Piazza Del Duomo) หอระฆังของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก[106] เป็นหอทรงกระบอก 8 ชั้น สร้างด้วยหินอ่อนสีขาวสูง 183.3 ฟุต (55.86 เมตร) ซึ่งเป็นสถานที่ๆ กาลิเลโอ กาลิเลอิ เคยใช้ทดลองทฤษฎีแรงโน้มถ่วง ในช่วงที่เขาศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยปิซา วันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1964 รัฐบาลอิตาลีพยายามหยุดการเอียงของหอเอนเมืองปิซา โดยผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ เช่น วิศวกร, นักคณิตศาสตร์ และนักประวัติศาสตร์ โดยใช้เหล็กรวมกว่า 800 ตัน ค้ำไว้ไม่ให้หอล้มลงมา[107]

โคลอสเซียม (Colosseo): เป็นสนามกีฬากลางแจ้งขนาดใหญ่ตั้งอยู่ใจกลางกรุงโรม เริ่มสร้างขึ้นในสมัยจักรพรรดิแว็สปาซิอานุสแห่งจักรวรรดิโรมัน และสร้างเสร็จในสมัยของจักรพรรดิติตุส ในคริสต์ศตวรรษที่ 1 หรือประมาณปี ค.ศ. 80 อัฒจันทร์เป็นรูปวงกลมก่อด้วยอิฐและหินทรายวัดโดยรอบได้ประมาณ 527 เมตร สูง 57 เมตร สามารถจุผู้ชมได้ประมาณ 50,000 คน

มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ (Basilica di San Pietro in Vaticano): มหาวิหารนี้เป็นหนึ่งในสี่มหาวิหารหลักในกรุงโรม (อีก 3 แห่งคือ: มหาวิหารเซ็นต์จอห์นแลเตอร์รัน, มหาวิหารซานตามาเรียมัจโจเร และ มหาวิหารเซ็นต์พอล) มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์เป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่และสำคัญที่สุดในนครรัฐวาติกัน โดมของมหาวิหารสูงโดดเด่นสามารถเห็นได้แต่ไกลในตัวเมืองโรม

 
กีร์กุสมักซิมุสในปี 2019

กีร์กุสมักซิมุส (Circo Massimo): สร้างในสมัยของ จูเลียส ซีซาร์ เป็นสนามกีฬากลางแจ้งที่ยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งของจักรวรรดิโรมันเช่นเดียวกับโคลอสเซียม ตั้งอยู่ในใจกลางกรุงโรมในปัจจุบัน ในอดีตเคยใช้เป็นสนามกีฬาสำหรับแข่งรถม้าโดยเฉพาะ แต่ภายหลังเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกโดยใช้เป็นสถานที่ต่อสู้ของกลาดิเอเตอร์

ศิลปะ

แก้

 อิตาลีเป็นดินแดนที่มีความก้าวหน้าและเจริญรุ่งเรืองด้านศิลปะทั้งประติมากรรม จิตรกรรม และสถาปัตยกรรมมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะในยุคเรอเนสซองส์ (Renaissance) และยุคบาโรก (Baroque) ตั้งแต่ศตวรรษที่ 14 จนถึงศตวรรษที่ 18 มีความเจริญรุ่งเรืองสุดขีดเป็นศูนย์กลางแห่งศิลปะของโลก เมืองสำคัญหลายเมืองในอิตาลีอย่างเช่น โรม ฟลอเรนซ์ และเวนิสเป็นแหล่งรวมของศิลปินชั้นนำที่ได้สร้างงานศิลปะชั้นยอดให้ผู้คนได้ชื่นชม ศิลปะที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นของอิตาลีถูกสร้างสรรค์ขึ้นมาอย่างประณีต งดงาม และสมจริง

มีศิลปินชาวอิตาลีมากมายที่ได้สร้างผลงานยิ่งใหญ่ที่สร้างความประทับใจให้ผู้คนทั่วโลกมาอย่างยาวนานหลายร้อยปี มีสุดยอดศิลปินเอกชาวอิตาลี เช่น เลโอนาร์โด ดา วินชี (Leonardo da Vinci) ไมเคิลแองเจโล (Michelangelo) ซานโดร บอตติเชลลี (Sandro Botticelli)

แฟชั่น

แก้
 
ร้าน Prada ในเมืองมิลาน

แฟชั่นอิตาลีมีประเพณีอันยาวนานและถือได้ว่ามีความสำคัญที่สุดในโลก มิลาน ฟลอเรนซ์ และโรมเป็นเมืองหลวงแห่งแฟชั่นหลักของอิตาลี ในปี 2009 มิลานได้รับการประกาศให้เป็น "เมืองหลวงแห่งแฟชั่นของโลก" โดย Global Language Monitor เอง แบรนด์แฟชั่นชั้นนำของอิตาลี เช่น Gucci, Armani, Prada, Versace, Valentino, Dolce & Gabbana, Missoni, Fendi, Moschino, Max Mara, Trussardi และ Ferragamo เป็นต้น ถือเป็นหนึ่งในแบรนด์แฟชั่นที่ดีที่สุดในโลก อัญมณีเช่น Bvlgari, Damiani และ Buccellati ก่อตั้งขึ้นในอิตาลี นอกจากนี้ นิตยสารแฟชั่น Vogue Italia ถือเป็นหนึ่งในนิตยสารแฟชั่นที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก[108]

อาหาร

แก้

อาหารอิตาเลียน ได้รับความนิยมไปทั่วโลก ซึ่งอาหารอิตาเลียนได้รับความนิยมมาตั้งแต่อดีต[109] เนื่องจากในอดีตทวีปยุโรปค่อนข้างมีความเจริญ เป็นแหล่งรวมของวัตถุดิบอันหลากหลายและเชฟผู้มีฝีมือมากมาย[110] ดังนั้นอาหารของชาวยุโรปจึงมีความหลากหลายตามไปด้วยโดยเฉพาะประเทศอิตาลี คนอิตาลีมีวัฒนธรรมในการชอบทำอาหารและปลูกฝังกันมาจากรุ่นสู่รุ่น

วัตถุดิบส่วนใหญ่ของอาหารอิตาเลียน ได้แก่ น้ำมันมะกอก, แฮม,ไส้กรอก,ซาลามี่, พาสตา, ปลา, มันฝรั่ง, ข้าว, ข้าวโพด และชีส เป็นต้น[111][112] อาหารอิตาเลียนจะแบ่งออกได้ 4 ประเภทหลักดังนี้:

 
พาสตา หนึ่งในอาหารที่เป็นที่นิยมที่สุดในประเทศอิตาลี

1. ของทานเล่นยามว่าง โดยมากจะเป็นแป้งอบที่ทาด้วยซอสอาจมีเห็ดหรือผักต่างๆ และชีสผสมอยู่ด้วยซึ่งเมนูที่คนทั้งโลกรู้จักกันดีก็คือ พิซซา

2. Antipasto หรืออาหารเรียกน้ำย่อย ซึ่งแต่ละภูมิภาคของประเทศอิตาลีก็จะมีอาหารเรียกน้ำย่อยที่แตกต่างกันออกไป เช่น หากอยู่ในแถบที่ติดทะเลอาหารเรียกน้ำย่อยส่วนใหญ่จะเน้นไปที่อาหารทะเลสด บางที่นิยมทานไส้กรอก แฮม กับผักสด บางครั้งก็ทานพาสตา เป็นต้น

3. อาหารจานหลัก โดยจะเน้นเนื้อสัตว์ได้แก่ เนื้อวัว, เนื้อหมู หรือเนื้อแกะ รวมทั้งอาหารทะเล เช่น ปลาทะเลตัวใหญ่ เป็นต้น มักจะนิยมทานคู่กับมันฝรั่งและผักต่างๆ หรืออาจมีเครื่องเคียงอื่นๆ เช่น เฟรนช์ฟรายส์

 
ปันนาค็อตตา ของหวานที่เป็นที่ยิมในประเทศอิตาลี

4. ของหวาน คนอิตาลีนิยมทานของหวานหลังมื้ออาหารเสมอ โดยของหวานมักจะเป็นไอศกรีมผลไม้ และปันนาค็อตตา

กีฬา

แก้

กีฬาประเภททีมที่ได้รับความนิยมในอิตาลี ได้แก่ ฟุตบอล บาสเกตบอล วอลเลย์บอล และรักบี้ ทีมวอลเลย์บอลชายและหญิงทีมชาติอิตาลีมักถูกยกย่องเป็นหนึ่งในทีมที่ดีที่สุดในโลก ผลงานที่ดีที่สุดของทีมบาสเกตบอลอิตาลีคือเหรียญทองในการแข่งขัน Eurobasket 1983 และ 1999 รวมถึงเหรียญเงินในโอลิมปิก 2004 Lega Basket Serie A ได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในลีกที่มีการแข่งขันสูงที่สุด[113][114] รักบี้ได้รับความนิยมในระดับที่ดี โดยเฉพาะในภาคเหนือของประเทศ อิตาลีเข้าร่วมการแข่งขันชิงแชมป์โลกเป็นประจำ และได้รับการจัดอันดับอยู่ในอันดับที่ 1 โดยสมาคมรักบี้โลก ทีมวอลเลย์บอลชายอิตาลีคว้าแชมป์โลกได้ 3 สมัยในปี 1990, 1994 และ 1998 และได้รับเหรียญเงินโอลิมปิก 3 สมัย

การแข่งจักรยานได้รับความนิยมเช่นกัน อิตาลีได้รับรางวัล UCI World Championships มากกว่าประเทศอื่น ๆ การแข่งขัน Giro d'Italia จัดขึ้นทุกเดือนพฤษภาคม และเป็นหนึ่งในสาม Grand Tours ร่วมกับ Tour de France (ฝรั่งเศส) และ Vuelta a España (สเปน) การเล่นสกีแบบอัลไพน์ยังเป็นกีฬาที่แพร่หลายมากในอิตาลี และประเทศนี้เป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมสำหรับการเล่นสกีนานาชาติซึ่งเป็นที่รู้จักจากสกีรีสอร์ท[115] นักเล่นสกีชาวอิตาลีประสบความสำเร็จในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว และการแข่งขันชิงแชมป์โลก

ประเทศอิตาลีประสบความสำเร็จสูงในกีฬาโอลิมปิก[116][117] โดยมีส่วนร่วมจากการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 47 ครั้งจากทั้งหมด 48 ครั้ง นักกีฬาอิตาลีได้รับเหรียญรางวัลรวม 522 เหรียญในโอลิมปิกฤดูร้อน[118] และอีก 106 เหรียญในโอลิมปิกฤดูหนาว ทำให้พวกเขาเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดอันดับ 5 ในประวัติศาสตร์โอลิมปิกในแง่จำนวนเหรียญรางวัล[119] อิตาลีเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวสองครั้งและกำลังจะเป็นเจ้าภาพครั้งที่สาม (ในปี 1956, 2006 และ 2026) และเป็นเจ้าภาพการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อนหนึ่งครั้ง (ปี 1960)

ฟุตบอล

แก้
 
ฟุตบอลทีมชาติอิตาลีในการแข่งขันยูโร 2012

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในประเทศ[120][121] อิตาลีเป็นหนึ่งในชาติที่ประสบความเร็จสูงในการแข่งขันระดับโลก โดยชนะเลิศฟุตบอลโลก 4 สมัย มากที่สุดเป็นอันดับสองเท่ากับเยอรมนี และเป็นรองเพียงบราซิล และชนะเลิศฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป (ยูโร) 2 สมัย มีลีกการแข่งขันที่เป็นที่รู้จักกันดีคือ เซเรียอา มีสโมสรที่ประความสำเร็จมากที่สุดคือ ยูเวนตุส และมีทีมชั้นนำมากมาย เช่น เอซี มิลาน, อินเตอร์ มิลาน, โรมา, นาโปลี, ลาซีโอ และ ฟีออเรนตินา และอิตาลียังเป็นต้นกำเนิดของนักฟุตบอลระดับโลกมากมาย

ดูเพิ่ม

แก้

หมายเหตุ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "Foreign citizens 2017". ISTAT. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 August 2017. สืบค้นเมื่อ 15 June 2018.
  2. "Italy". Global Religious Futures. Pew Research Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-11. สืบค้นเมื่อ 17 August 2021.
  3. "Surface water and surface water change". Organisation for Economic Co-operation and Development (OECD). สืบค้นเมื่อ 11 October 2020.
  4. "Indicatori demografici". www.istat.it (ภาษาอิตาลี). 20 February 2020. สืบค้นเมื่อ 11 April 2020.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 "Report for Selected Countries and Subjects". IMF.
  6. "Gini coefficient of equivalised disposable income – EU-SILC survey". ec.europa.eu. Eurostat. สืบค้นเมื่อ 10 August 2021.
  7. "Human Development Report 2020" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). United Nations Development Programme. 15 December 2020. สืบค้นเมื่อ 15 December 2020.
  8. บางครั้งมีการใช้แบบปี-เดือน-วัน แต่น้อยมาก ส้วนใหญ่ใช้ในทางคอมพิวเตอร์
  9. "Legge Regionale 15 ottobre 1997, n. 26". Regione autonoma della Sardegna – Regione Autònoma de Sardigna. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-26. สืบค้นเมื่อ 2021-09-15.
  10. "Regione Autonoma Friuli Venezia Giulia - Comunità linguistiche regionali". www.regione.fvg.it.
  11. "Comune di Campione d'Italia". Comune.campione-d-italia.co.it. 14 July 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 April 2011. สืบค้นเมื่อ 30 October 2010.
  12. "COSTITUZIONE DELLA REPUBBLICA ITALIANA". www.gazzettaufficiale.it. สืบค้นเมื่อ 28 May 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  13. "Constitution of the Italian Republic (English)" (PDF). วุฒิสภาแห่งสาธารณรัฐ (ประเทศอิตาลี). สืบค้นเมื่อ 28 May 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  14. "Italian Peninsula | peninsula, Europe | Britannica". www.britannica.com (ภาษาอังกฤษ).
  15. Italy is often grouped in Western Europe. Academic works describing Italy as a Western European country:
  16. https://unstats.un.org/unsd/methodology/m49/
  17. https://worldpopulationreview.com/countries/italy-population
  18. Waldman, Carl; Mason, Catherine (2006). Encyclopedia of European Peoples (ภาษาอังกฤษ). Infobase Publishing. ISBN 978-1-4381-2918-1.
  19. J. F. Lazenby (1998). Hannibal's war. Internet Archive. University of Oklahoma Press. ISBN 978-0-8061-3004-0.
  20. "Italian Trade Cities | Western Civilization". courses.lumenlearning.com.
  21. Accetturo, Antonio; Mocetti, Sauro (2019-07-01). "Historical Origins and Developments of Italian Cities". Italian Economic Journal (ภาษาอังกฤษ). 5 (2): 205–222. doi:10.1007/s40797-019-00097-w. ISSN 2199-3238.
  22. Bouchard, N.; Ferme, V. (2013-09-04). Italy and the Mediterranean: Words, Sounds, and Images of the Post-Cold War Era (ภาษาอังกฤษ). Springer. ISBN 978-1-137-34346-8.
  23. "Unification of Italy". web.archive.org. 2009-03-07. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-07. สืบค้นเมื่อ 2021-09-08.
  24. https://www.economist.com/media/pdf/QUALITY_OF_LIFE.pdf
  25. "Manufacturing by Country 2023". worldpopulationreview.com.
  26. https://www.economist.com/media/pdf/QUALITY_OF_LIFE.pdf
  27. https://www.economist.com/media/pdf/QUALITY_OF_LIFE.pdf
  28. "Art and History". Italian Tourism Official Website (ภาษาอังกฤษ). 2010-06-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-07. สืบค้นเมื่อ 2021-06-26.
  29. "How Italy Is Built On Fashion". Google Arts & Culture.
  30. "Italy on Film: 1860 to the Present - Trips & Courses - Education Vacations". sce.cornell.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-26. สืบค้นเมื่อ 2021-06-26.
  31. "Italian Sport". stanford.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-25. สืบค้นเมื่อ 2021-06-26.
  32. "Unesco Italy sites: the complete list of Unesco world heritage sites in italy". Delightfully Italy (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  33. "UNESCO World Heritage Sites". Italian Tourism Official Website (ภาษาอังกฤษ). 2012-07-03. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-18. สืบค้นเมื่อ 2021-06-26.
  34. Schukin, Anya. "Italy's Most Spectacular UNESCO World Heritage Sites". Culture Trip.
  35. "Italian Tourism Official Website". www.italia.it. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-18. สืบค้นเมื่อ 2021-06-26.
  36. J.P. Mallory and D.Q. Adams, Encyclopedia of Indo-European Culture (London: Fitzroy and Dearborn, 1997), 24.
  37. Pallottino, M., History of Earliest Italy, trans. Ryle, M & Soper, K. in Jerome Lectures, Seventeenth Series, p. 50
  38. Giovanni Brizzi, Roma. Potere e identità: dalle origini alla nascita dell'impero cristiano, Bologna, Patron, 2012 p. 94
  39. Carlà-Uhink, Filippo (2017-09-25). The "Birth" of Italy: The Institutionalization of Italy as a Region, 3rd-1st Century BCE (ภาษาอังกฤษ). Walter de Gruyter GmbH & Co KG. ISBN 978-3-11-054478-7.
  40. 40.0 40.1 ข้อมูลท่องเที่ยวอิตาลี เก็บถาวร 2009-01-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, จากเว็บไซด์โชคทวีทัวร์, สืบค้นวันที่ 15 ก.ค. 2552
  41. 41.0 41.1 41.2 ระบบเศรษฐกิจ เก็บถาวร 2010-07-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, จากศูนย์แนะแนวการศึกษาต่อต่างประเทศ, สืบค้นวันที่ 18 ก.ค. 2552
  42. "Climate Atlas of Italy". Network of the Air Force Meteorological Service.
  43. "History of Italy". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ).
  44. 44.0 44.1 ประวัติประเทศอิตาลี เก็บถาวร 2011-05-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, จากเว็บไซด์ปากเซ ดอตคอม, สืบค้นวันที่ 19 ก.ค. 2552
  45. 45.0 45.1 การปกครอง การศึกษาและเทศกาล เก็บถาวร 2009-08-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, จากเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ, สืบค้นวันที่ 15 ก.ค. 2552
  46. "About us - Sistema di informazione per la sicurezza della Repubblica". web.archive.org. 2015-03-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-29. สืบค้นเมื่อ 2021-09-23.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  47. "Government of Italy: Useful links - OECD". www.oecd.org.
  48. "Italy - Government and society". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ).
  49. 49.0 49.1 49.2 49.3 49.4 การปกครองและความสัมพันธ์กับประเทศไทย เก็บถาวร 2007-06-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, จากกระทรวงการต่างประเทศ, สืบค้นวันที่ 18 ก.ค. 2552
  50. "L 226/2004". www.camera.it. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-23. สืบค้นเมื่อ 2021-09-23.
  51. "Homepage - Marina Militare". www.marina.difesa.it (ภาษาอิตาลี).
  52. 52.0 52.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ ประชากรอิตาลี
  53. เศรษฐกิจอิตาลี เก็บถาวร 2009-05-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, จากเว็บไซด์ทัวร์แฮปปี้ ทริปส์, สืบค้นวันที่ 15 ก.ค. 2552
  54. "The spotlight sharpens: Eni and corruption in Republic of Congo's oil sector". Global Witness (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-07-25. สืบค้นเมื่อ 2021-09-23.
  55. "ENI S.p.A. (E) Stock Price, News, Quote & History - Yahoo Finance". finance.yahoo.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  56. "Italy | Facts, Geography, History, Flag, Maps, & Population". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ).
  57. "Energy imports, net (% of energy use) | Data". data.worldbank.org.
  58. "Emerging Nuclear Energy Countries | New Nuclear Build Countries - World Nuclear Association". www.world-nuclear.org.
  59. "International tourism, number of arrivals | Data". data.worldbank.org.
  60. "Ranking the 30 Most-Visited Cities in the World". TravelPulse.[ลิงก์เสีย]
  61. "Mines Tour - Discover the History, Nature and Beaches of Sardinia". Sardegna.com Blog: Travel advice, events and everything you need to know about Sardinia (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2012-07-03.
  62. "Cagliari | Italy". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ).
  63. "The Italian market potential for coffee | CBI". www.cbi.eu.
  64. Rome, Wanted in (2020-10-01). "The history of coffee culture in Italy". Wanted in Rome (ภาษาอังกฤษ).
  65. "What is the demand for coffee on the European market? | CBI". www.cbi.eu.
  66. "Italy Coffee Market Growth, Trends and Forecast 2020-2025 - ResearchAndMarkets.com". AP NEWS (ภาษาอังกฤษ). 2020-07-20.
  67. การคมนาคมในอิตาลี เก็บถาวร 2017-07-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, จาก The World Factbook, สืบค้นวันที่ 19 ก.ค. 2552
  68. "Italy: Alitalia still dominant on domestic routes; 3rd behind Ryanair/easyJet on intl/EU". anna.aero (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2009-08-07.
  69. "Italy: leading airports 2020". Statista (ภาษาอังกฤษ).
  70. Babones, Salvatore. "The 'Chinese Virus' Spread Along the New Silk Road". Foreign Policy (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  71. "Italy | Silk Roads Programme". en.unesco.org.
  72. "Italy joins China's New Silk Road project". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2019-03-23. สืบค้นเมื่อ 2021-09-23.
  73. The foreign people resident in Italy เก็บถาวร 2012-01-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, จาก ISTAT, (9 ต.ค. 2552), สืบค้นวันที่ 19 ก.ค. 2552 (อิตาลี)
  74. World Heritage List, จาก World Heritage Centre, สืบค้นวันที่ 14 ก.ค. 2552 (อังกฤษ)
  75. Italy: 88% of Italians declare themselves Catholic, จาก Corriere della Sera, (18 ม.ค. 2006) (อังกฤษ)
  76. "The Holy Orthodox Archdiocese of Italy and Malta". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-21. สืบค้นเมื่อ 2009-07-14.
  77. Center for Studies on New Religions (อิตาลี)
  78. Waldensian Evangelical Church เก็บถาวร 2012-07-24 ที่ archive.today (อิตาลี)
  79. World Council of Churches เก็บถาวร 2008-07-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (อังกฤษ)
  80. "UK Foreign and Commonwealth Office". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-16. สืบค้นเมื่อ 2009-07-14.
  81. Italian Buddhist Union เก็บถาวร 2018-12-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (อิตาลี)
  82. Italian Buddhist Institute "Soka Gakkai" เก็บถาวร 2008-02-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (อิตาลี)
  83. Etnomedia เก็บถาวร 2009-06-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (อิตาลี)
  84. "Legge 482". www.camera.it. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-12. สืบค้นเมื่อ 2021-09-23.
  85. "Italian". Ethnologue (ภาษาอังกฤษ).
  86. "Italy - Health". web.archive.org. 2009-07-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-01. สืบค้นเมื่อ 2021-09-23.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  87. https://web.archive.org/web/20150924133234/http://www.oecd.org/els/health-systems/Briefing-Note-ITALY-2014.pdf
  88. "The World Health Organization's ranking of the world's health systems, by Rank". www.photius.com.
  89. https://web.archive.org/web/20090327044232/http://www.iotf.org/database/documents/GlobalPrevalenceofAdultObesity16thDecember08.pdf
  90. "UNESCO - Mediterranean diet". ich.unesco.org (ภาษาอังกฤษ).
  91. Welle (www.dw.com), Deutsche. "Smoking Ban Begins in Italy | DW | 10.01.2005". DW.COM (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
  92. "UNESCO - Eighth Session of the Intergovernmental Committee (8.COM) – from 2 to 7 December 2013". ich.unesco.org (ภาษาอังกฤษ).
  93. "L 296/2006". www.camera.it. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-04. สืบค้นเมื่อ 2021-09-23.
  94. "Publications - PISA". www.oecd.org (ภาษาอังกฤษ).
  95. https://web.archive.org/web/20151117015624/http://new.sis-statistica.org/wp-content/uploads/2013/10/CO09-The-literacy-divide-territorial-differences-in-the-Italian.pdf
  96. Seelinger, Lani (2016-05-25). "The 14 Oldest Universities in The World". Culture Trip.
  97. "Foundation of the University of Bologna, the Oldest Continuously Operating University : History of Information". www.historyofinformation.com.
  98. "Europe's oldest university Bologna Italy". Intriguing History (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2013-04-26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-23. สืบค้นเมื่อ 2021-09-23.
  99. "10 of the Oldest Universities in the World". Top Universities (ภาษาอังกฤษ).
  100. "Number of top-ranked universities by country in Europe" (ภาษาอังกฤษ).
  101. Killinger, Charles L. (2005). Culture and customs of Italy. Internet Archive. Westport, Conn. : Greenwood Press. ISBN 978-0-313-32489-5.
  102. Garin, Eugenio (2008). History of Italian Philosophy (ภาษาอังกฤษ). Rodopi. ISBN 978-90-420-2321-5.
  103. Doctor of Arts, University of Albany; M. S., Literacy Education; B. A., English; Facebook, Facebook; Twitter, Twitter. "Architecture in Italy - From Ancient to Modern". ThoughtCo (ภาษาอังกฤษ). {{cite web}}: |last4= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  104. "Renaissance Architecture". World History Encyclopedia (ภาษาอังกฤษ).
  105. "Famous Italian Architecture in Rome, Florence & Venice". Moon Travel Guides (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2018-02-12.
  106. "Time Travel Turtle - History's biggest scam?" (ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย). 2012-05-28AEST14:00:00+10:00. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  107. "Leaning Tower of Pisa Facts". Leaning Tower of Pisa (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  108. Hartsog, Debbie; Press, Debbie; Press, Skip (2000). Your Modeling Career: You Don't Have to be a Supermodel to Succeed (ภาษาอังกฤษ). Allworth Press. ISBN 978-1-58115-045-2.
  109. admin (2017-05-18). "ความเป็นมาอาหารอิตาเลี่ยน | เมนูอาหารยุโรป อาหารฝรั่งยอดนิยม วิธีทำอาหารต่างประเทศ" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-26. สืบค้นเมื่อ 2021-06-26.
  110. greatbritishchefs. "Chefs at Great Italian Chefs - Great Italian Chefs". www.greatitalianchefs.com.
  111. "Italian Ingredient Glossary A to N | Italian Food Forever". www.italianfoodforever.com.
  112. "25 Essential Ingredients in the Italian Pantry". Allrecipes (ภาษาอังกฤษ).
  113. "Lega Serie A Statistics and History". Basketball-Reference.com (ภาษาอังกฤษ).
  114. "Home Page". legabasket.it (ภาษาอิตาลี).
  115. Hall, James (2016-02-29). "Italy is best value skiing country, report finds". The Telegraph (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0307-1235. สืบค้นเมื่อ 2021-09-23.
  116. "Star of Italy's medal-winning Olympic squad returns to hero's welcome - Global Times". www.globaltimes.cn.
  117. "Team Italy - Medals by Sport | Tokyo 2020 Olympics". olympics.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-23. สืบค้นเมื่อ 2021-09-23.
  118. "Italian Results and Medals in the Olympic Games". www.olympiandatabase.com.
  119. "Olympic Games: all-time medal tally Italian team 1896-2021". Statista (ภาษาอังกฤษ).
  120. "Sport in Italy". www.topendsports.com.
  121. neoprimesport. "Top 5 Most Popular Sports in Italy Till Now | Neo Prime Sport" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).

บรรณานุกรม

แก้
  • Hacken, Richard. "History of Italy: Primary Documents". EuroDocs: Harold B. Lee Library: Brigham Young University. สืบค้นเมื่อ 6 March 2010.
  • "FastiOnline: A database of archaeological excavations since the year 2000". International Association of Classical Archaeology (AIAC). 2004–2007. สืบค้นเมื่อ 6 March 2010.
  • Hibberd, Matthew. The media in Italy (McGraw-Hill International, 2007)
  • Sarti, Roland, ed. Italy: A reference guide from the Renaissance to the present (2004)
  • Sassoon, Donald. Contemporary Italy: politics, economy and society since 1945 (Routledge, 2014)
  • "Italy History – Italian History Index" (ภาษาอิตาลี และ อังกฤษ). European University Institute, The World Wide Web Virtual Library. 1995–2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-15. สืบค้นเมื่อ 6 March 2010.
  • อนันต์ชัย เลาหะพันธุ. สารานุกรมประเทศในทวีปยุโรป ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2550.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
รัฐบาล
เศรษฐกิจ
ข้อมูลทั่วไป