พิซซา

อาหารอิตาลี มีลักษณะเป็นแป้งแผ่นแบนโรยหน้าด้วยเครื่องต่าง ๆ เป็นอาหารจานด่วนที่ได้รับคว
(เปลี่ยนทางจาก พิซซ่า)

พิซซา หรือ พิซซ่า[1] (อิตาลี: pizza) เป็นอาหารอิตาลีและอาหารจานด่วนประเภทหนึ่ง ซึ่งชาวอิตาลีเป็นผู้คิดค้น มีลักษณะเป็นแป้งแผ่นกลมแบนราดด้วยซอสมะเขือเทศ แล้วทำให้สุกโดยการอบในเตาอบ

พิซซา
พิซซามาร์เกรีตา
ประเภทขนมปังแบน
มื้ออาหารกลางวัน, อาหารเย็น
แหล่งกำเนิดอิตาลี
ภูมิภาคแคว้นคัมปาเนีย (นาโปลี)
อุณหภูมิเสิร์ฟร้อนหรืออุ่น
ส่วนผสมหลักโด, ซอสมะเขือเทศ, เนยแข็ง
รูปแบบอื่นคัลโซเน, ปันเซรอตตี, สตรอมโบลี

ในประเทศอิตาลี การเสิร์ฟพิซซาในโอกาสที่เป็นทางการ เช่น การรับประทานในภัตตาคาร จะเสิร์ฟโดยไม่หั่นและจะรับประทานโดยใช้มีดและส้อม[2][3] ในขณะที่ชาวอิตาเลียนโดยทั่วไปเมื่อรับประทานพิซซาในโอกาสที่ไม่เป็นทางการ เช่น รับประทานกันเองที่บ้าน จะหั่นพิซซาให้เป็นชิ้นพอดีคำและนิยมรับประทานโดยใช้มือ

คำว่า พิซซา ได้รับการบันทึกครั้งแรกในช่วงศตวรรษที่ 10 ในบันทึกเอกสารภาษาละติน ณ เมืองกาเอตา (Gaeta) ทางตอนใต้ของอิตาลีในแคว้นลัตซีโอ บนพรมแดนติดกับกัมปาเนีย[4] พิซซาสมัยใหม่ได้คิดค้นขึ้นในเนเปิลส์ และได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในเวลาต่อมา[5] พิซซาได้กลายเป็นหนึ่งในอาหารยอดนิยมที่สุดในโลกและเป็นรายการอาหารจานด่วนที่หารับประทานได้ทั่วไปในทวีปยุโรปและทวีปอเมริกาเหนือ โดยหารับประทานได้ง่ายทั้งในร้านที่ขายพิซซาโดยเฉพาะ (Pizzerias), ในภัตตาคารอาหารตะวันตกทั่วไป และในรูปแบบของการจัดส่ง (Delivery)[6][7] และหลายบริษัทได้มีการจำหน่ายพิซซาในรูปแบบแช่แข็ง[8] เพื่อเพิ่มความสะดวกให้แก่ลูกค้าในการนำเข้าไมโครเวฟพร้อมรับประทานได้ทันที[9]

Associazione Verace Pizza Napoletana (True Neapolitan Pizza Association) ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ก่อตั้งขึ้นในปี 1984 มีสำนักงานใหญ่อยู่ในเมืองเนเปิลส์ ประเทศอิตาลี มีจุดมุ่งหมายเพื่อประชาสัมพันธ์รสชาติพิซซาแบบดั้งเดิมของชาวเนเปิลส์และส่งเสริมให้พิซซาได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ในปี 2009 องค์กรได้จดทะเบียนกับสหภาพยุโรปเพื่อรับรองให้พิซซาเป็นอาหารที่มีความพิเศษและสะท้อนถึงวัฒนธรรมดั้งเดิมของผู้ผลิต[10] และในปี 2017 ศิลปะการทำพิซซาได้รับการบรรจุไว้ในรายการมรดกโลกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของยูเนสโก[11]

ประวัติ

แก้

ประวัติของพิซซาเริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ. 79 เมื่อภูเขาไฟวิสุเวียสระเบิดขึ้นและทลายเมืองปอมเปอีทั้งเมือง[12] หลังจากนั้นประมาณ ค.ศ. 640[13] แกตาโน ฟิโอเรลลี่ ได้ค้นพบเตาฟืนโบราณจำนวนมากมายในซากปรักหักพังของเมือง ที่ถูกลาวาถล่ม หนึ่งในจำนวนเตาทั้งหมดนั้นพบว่ามีเถ้าถ่านขนมปังติดอยู่ในเตาอยู่ถึง 7 กิโลกรัม ซึ่งเป็นหลักฐานที่น่าเชื่อถือว่าทหารโรมันในช่วงเวลาดังกล่าว (ก่อนเมืองปอมเปอีจะถูกถล่มด้วยลาวาและเถ้าภูเขาไฟ) ต่างรับประทานขนมปังที่อบด้วยเตาฟืนโบราณนี้ ซึ่งสันนิษฐานได้ว่าชาวเมืองในเมืองนาโปลีก็รับประทานขนมปังที่อบในเตาฟืนโบราณเช่นนี้มาประมาณ 700 ปีแล้ว ต่อมาในต้น ค.ศ. 1700 ชาวเมืองนาโปลีจึงได้เริ่มประยุกต์ใส่มะเขือเทศกับสมุนไพรบางอย่างลงในขนมปังแล้วนำไปอบในเตาฟืนโบราณ นี่เองคือจุดเริ่มต้นของมารีนาราพิซซา และร้านพิซซาร้านแรกในนาโปลีได้เปิดขายในปี ค.ศ. 1830[14]

ร้านดังกล่าวใช้วิธีการอบพิซซาในเตาที่ทำจากหินภูเขาไฟอีกประมาณร้อยปีต่อมา (นับจาก ค.ศ. 1700) และชีสเริ่มเข้ามามีอิทธิพลในอาหาร แต่ชีสดังกล่าวไม่ใช่ชีสปกติธรรมดาทั่วไป เป็นชีสที่ทำจากน้ำนมควายพื้นเมืองที่ชื่อ ฟิออเร ดี บัฟฟาลา ประมาณปี ค.ศ. 1850 ราฟาเอล เอสโปสิโต แห่งเมืองเนเปิล จึงริเริ่มพิซซามาเกอริตาขึ้น[15] เพื่อถวายสมเด็จพระราชาธิบดีอุมแบร์โตที่ 1 และสมเด็จพระราชินีมาเกอริตา ในคราวเสด็จเยือนเมืองเนเปิล พิซซาดังกล่าวใช้สีธงชาติอาลีเป็นสีบนหน้า โดยใช้ใบเบซิลแทนสีเขียว ใช้มอสซาเรลลาชีสแทนสีขาว และมะเขือเทศแทนสีแดง และตั้งชื่อพิซซาเพื่อเป็นเกียรติแด่พระราชินีว่า มาเกอริตา และพระนางทรงอนุญาตให้ใช้ชื่อพระนางเป็นชื่อของพิซซานี้เมื่อปี ค.ศ. 1889 พิซซาดังกล่าวได้กลายเป็นมาตรฐานของพิซซาในปัจจุบัน พิซซาในปัจุบันโดยทั่วไปต่างก็ดัดแปลงหน้ามาจากพิซซา 2 ชนิดซึ่งเป็นพิซซาดั้งเดิมของชาวนาโปลี คือมารีนาราพิซซาและมาเกอริตาพิซซา

การจัดเตรียม

แก้
 
ภาพการผลิตพิซซาในปี 1830

พิซซาขายสดแช่แข็งและเป็นชิ้นส่วนขนาดหรือชิ้นส่วน มีการพัฒนาวิธีการที่จะเอาชนะความท้าทายต่าง ๆ เช่นป้องกันไม่ให้ซอสเข้ากับแป้งและสร้างเปลือกที่สามารถแช่แข็งและอุ่นได้โดยไม่ต้องแข็งตัว มีพิซซาแช่แข็งที่มีส่วนผสมดิบและเปลือกโลกที่เพิ่มขึ้น

การปรุงอาหาร

แก้

ในร้านอาหารพิซซาสามารถอบในเตาอบที่มีก้อนอิฐหินเหนือแหล่งความร้อนเตาอบดาดฟ้าไฟฟ้าเตาอบสายพานลำเลียงหรือในกรณีของร้านอาหารราคาแพงกว่าเตาอบอิฐไม้หรือถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง บนเตาอบพิซซาสามารถเลื่อนลงไปในเตาอบบนไม้พายยาวเรียกว่าเปลือกและอบโดยตรงบนอิฐร้อนหรืออบบนหน้าจอ (ตะแกรงโลหะกลมมักเป็นอะลูมิเนียม) ก่อนการใช้งานอาจมีการโรยหน้าข้าวโพดด้วยเปลือกเพื่อให้พิซซาเลื่อนเข้าและออกได้ง่าย เมื่อทำที่บ้านสามารถนำไปอบบนหินพิซซาในเตาอบปกติเพื่อสร้างเอฟเฟกต์ของเตาอบอิฐ การทำอาหารโดยตรงในเตาอบโลหะส่งผลให้การถ่ายเทความร้อนเร็วเกินไปที่เปลือกโลกทำให้ไหม้ได้ พ่อครัวที่บ้าน Aficionado บางครั้งใช้เตาอบพิซซาแบบยิงด้วยไม้ชนิดพิเศษซึ่งมักติดตั้งกลางแจ้ง เตาอบพิซซารูปโดมใช้มานานหลายศตวรรษ ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งในการกระจายความร้อนอย่างแท้จริงในเตาอบพิซซาแบบใช้ถ่าน อีกทางเลือกหนึ่งคือพิซซาย่างที่เปลือกโลกจะอบโดยตรงบนเตาย่างบาร์บีคิว พิซซากรีกเช่นพิซซาสไตล์ชิคาโกจะอบในกระทะแทนที่จะวางบนเตาอิฐ

เปลือก

แก้

ด้านล่างของพิซซาที่เรียกว่า "เปลือก" อาจแตกต่างกันตามสไตล์บาง ๆ เช่นพิซซาเนเปิลส์แบบบางหรือแบบนุ่มหนาในสไตล์ชิคาโก ซึ่งแม้เป็นแบบดั้งเดิมธรรมดาแต่อาจปรุงด้วยกระเทียมหรือสมุนไพรหรือยัดไส้ด้วยชีสเพิ่ม

ชีส

แก้
 
พิซซาชีสซึ่งโรยหน้าด้วยผักต่าง ๆ

มอสซาเรลลามักใช้กับพิซซาโดยมีมอซซาเรลลาคุณภาพสูงที่ผลิตในบริเวณรอบ ๆ เนเปิลส์[16] ในที่สุดชีสอื่น ๆ ก็ใช้เป็นส่วนผสมของพิซซาโดยเฉพาะชีสอิตาเลียนรวมถึงโพรโวโลน, เพโคริโนโรมาโน, ริคอตตา ชีสแปรรูปที่มีราคาไม่แพงหรืออะนาล็อกชีสได้รับการพัฒนาสำหรับพิซซาในตลาดมวลชนเพื่อให้ได้คุณภาพที่ต้องการเช่นบราวนิง, ละลาย, ความยืดหยุ่น, ปริมาณไขมันและความชื้นที่สอดคล้องกันและอายุการเก็บที่มั่นคง

พิซซาในประเทศต่าง ๆ

แก้

อิตาลี

แก้
 
ร้านพิซซาในเมืองเนเปิลส์ แคว้นคัมปาเนีย ประเทศอิตาลี

อิตาลีถือว่าเป็นประเทศต้นกำเนิดของพิซซา พิซซาเนเปิลส์แท้ ๆ (Pizza Napoletana) ทำจากมะเขือเทศซานมาร์ซาโน ซึ่งปลูกบนที่ราบภูเขาไฟทางตอนใต้ของภูเขาไฟวิสุเวียส[17] และมอสซาเรลลา ดิ บูฟาลา คัมปานา ซึ่งผลิตจากนมควายที่เลี้ยงในที่ลุ่มของกัมปาเนียและลัตซีโย[18] ชีสมอสซาเรลลานี้ได้รับการคุ้มครองจากแหล่งกำเนิดในทวีปยุโรป พิซซาแบบดั้งเดิมอื่น ๆ ที่มีการบันทึกมาอย่างยาวนาน ได้แก่ พิซซาอัลลามารินารา (Alla Marinara) ซึ่งราดด้วยซอสมารินาราและเป็นพิซซาซอสมะเขือเทศที่เก่าแก่ที่สุดในโลก[19] ต่อมาคือ พิซซาคาปริซิโอซาซึ่งปรุงด้วยมอสซาเรลลาชีส แฮมอบ เห็ด อาร์ติโชก และมะเขือเทศ และพิซซาปูกลีส ปรุงด้วยมะเขือเทศ มอสซาเรลลาชีส และหัวหอม ถือเป็นพิซซาอีกประเภทหนึ่งที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน

พิซซาที่ได้รับความนิยมในอิตาลีคือ พิซซาซิซิลี (ในท้องถิ่นเรียกว่า Sfincione หรือ Sfinciuni) เป็นพิซซาแป้งหนาจานลึกที่มีต้นกำเนิดในช่วงศตวรรษที่ 17 ในซิซิลี โดยปกติแล้วจะรับประทานกับซอสพิซซารูปแบบอื่น ๆ ยังพบได้ในภูมิภาคอื่นของอิตาลี เช่น Pizza al padellino หรือ Pizza al tegamino[20] พิซซาจานลึกขนาดเล็ก ขอบหนา ซึ่งปกติจะเสิร์ฟในเมืองตูริน[21][22]

สหรัฐอเมริกา

แก้
 
คณะรัฐมนตรีของรัฐบาลสหรัฐ ร่วมรับประทานพิซซา ณ ทำเนียบขาวในปี 2009

สหรัฐอเมริกาถือเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีการบริโภคพิซซากันอย่างแพร่หลายมายาวนาน โดยร้านพิซซาแห่งแรงถือกำเนิดขึ้นใน ค.ศ. 1905 ณ แมนฮัตตัน นครนิวยอร์ก[23] ท็อปปิ้งทั่วไปสำหรับพิซซาในสหรัฐอเมริกา ได้แก่ แองโชวี่ เนื้อบด ไก่ แฮม เห็ด มะกอก หัวหอม พริก เป็ปเปอร์โรนี สับปะรด ซาลามี่ ไส้กรอก ผักโขม สเต็ก และมะเขือเทศ ซึ่งแตกต่างกันไปตามแต่ละภูมิภาค[24]

จากการสำรวจพบว่า ในแต่ละวันมีชาวอเมริกันริโภคพิซซากันมากถึง 13% ของประชากรทั้งหมด[25] และมีแบรนด์ที่มีชื่อเสียงมากมาย เช่น โดมิโน่พิซซ่า (Domino's Pizza, Inc.) ก่อตั้ง ใน ค.ศ. 1960[26] มีสำนักงานใหญ่อยู่ในรัฐมิชิแกน[27] และ พิซซ่าฮัท ซึ่งสองพี่น้อง แฟรงค์ และแดน คาร์นี[28][29] ชาวเมืองวิชิทอ รัฐแคนซัส เริ่มก่อตั้งในปี ค.ศ. 1958[30] เปิดสาขาแรกที่เมืองวิชิทอ รัฐแคนซัส

อาร์เจนตินา

แก้

ชาวอาร์เจนตินาเป็นชาติที่บริโภคพิซซามากที่สุดในทวีปอเมริกาใต้[31] โดยเป็นอาหารยอดนิยมอันดับต้น ๆ นอกเหนือจากเนื้อย่าง (Asado)[32] ทั่วประเทศอาร์เจนตินาโดยเฉพาะอย่างยิ่ง นครบัวโนสไอเรส เมืองหลวง มีผู้อพยพชาวอิตาลีเข้ามาจำนวนมากในศตวรรษที่ 19 โดยมากมาจากเมืองเนเปิลส์ และพวกเขานำวัฒนธรรมการผลิตพิซซาเข้ามาในเมือง ต่อมา เมื่อรสชาติเป็นที่ถูกปาก พิซซาจึงกลายเป็นที่นิยมทั่วไปในอาร์เจนตินาโดยสามารถหารับประทานได้ทั่วไปแทบจะทุกเมือง และคนอาร์เจนตินามักทำพิซซารับประทานกันเองในครอบครัว

พิซซาอาร์เจนตินาโดยทั่วไปจะมีขอบที่หนากว่าแป้งสไตล์อิตาเลียนแท้ ๆ และเรียกว่า "มีเดีย มาซา" และยังนิยมใส่ชีสมากกว่า ประเพณีการทำพิซซาของอาร์เจนตินามักเสิร์ฟพิซซากับเฟนา ซึ่งเป็นแป้งถั่ววางบนพิซซา และไวน์มอสคาโต พิซซาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดเรียกว่า "muzzarella" (mozzarella) คล้ายกับพิซซา Neapolitan (ขนมปัง ซอสมะเขือเทศ และชีส) แต่ทำด้วยแป้ง "มีเดีย มาซา" ที่หนากว่า ส่วนประกอบอื่น ๆ ได้แก่ ชีส และซอสมะเขือเทศ และมักใส่มะกอกด้วย สามารถพบได้ในเกือบทุกมุมของประเทศ บัวโนสไอเรสถือเป็นเมืองที่มีพิซซาบาร์มากที่สุดในโลก[33] พิซซาที่มีหัวหอมสองสายพันธุ์ที่เกิดในอาร์เจนตินาก็เป็นที่นิยมเช่นกันได้แก่ fugazza รับประทานกับชีส และ fugazzetta รับประทานได้กับเครื่องเคียงหลายประเภท โดยในอดีต จะประกอบด้วยเปลือกพิซซาปกติราดด้วยชีสและหัวหอม ต่อมาเริ่มมีชีสคั่นระหว่างเปลือกพิซซา 2 แผ่น โรยด้วยหัวหอมด้านบน[34][35]

สถิติโลก

แก้

พิซซาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกจัดทำขึ้นในกรุงโรมในเดือนธันวาคม 2012[36] และมีขนาด 1,261 ตารางเมตร (13,570 ตารางฟุต) พิซซาได้รับการตั้งชื่อว่า "ออตตาเวีย" เพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อจักรพรรดิโรมันผู้ยิ่งใหญ่ อ็อตตาเวียน เอากุสตุส และทำด้วยส่วนผสมที่ปราศจากกลูเตน ส่วนพิซซาที่มีขนาดยาวที่สุดในโลกผลิตขึ้นในเมืองฟอนทานา รัฐแคลิฟอร์เนียในปี 2017[37] และวัดขนาดได้ถึง 1,930.39 เมตร (6,333 ฟุต 3+1⁄2 นิ้ว)

พิซซาที่แพงที่สุดในโลกที่กินเนสส์ เวิลด์ เรคคอร์ด บันทึก คือพิซซาแป้งบางที่มีจำหน่ายที่ร้าน Maze ในกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ซึ่งมีราคา 100 ปอนด์ พิซซาดังกล่าวอบด้วยไฟฟืน โรยด้วยหัวหอม เห็ดทรัฟเฟิลขาว ชีสฟอนติน่า เบบี้มอสซาเรลลา แพนเช็ตต้า เห็ดเซป ผักกาดมิซูน่าเก็บสด และเห็ดทรัฟเฟิลขาวหายากจากอิตาลี

เทศกาลสำคัญ

แก้

มีการจัดเทศกาลเดือนพิซซาแห่งชาติ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา[38] และประเทศแคนาดา[39][40] จัดขึ้นเป็นประจำทุกเดือนตุลาคม Gerry Durnell ผู้จัดพิมพ์นิตยสาร Pizza Today เริ่มพิธีนี้ขึ้นในเดือนตุลาคม ปี 1984 ประชาชนทั่วไปจะออกมาเฉลิมฉลองด้วยการรับประทานพิซซากันในร้านค้าต่าง ๆ ทั่วท้องถนนในเมืองใหญ่ ๆ[41]

ข้อกังวลทางสุขภาพ

แก้

พิซซาแทบทุกประเภทถูกจัดอยู่กลุ่มอาหารจานด่วนซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่ามีส่วนผสมที่ส่งผลเสียโดยตรงต่อร่างกาย[42][43] เนื่องด้วยส่วนผสมของพิซซานั้นมีเกลือ ไขมันเลว และให้พลังงานมากเกินไป ผลการวิจัยของกระทรวงเกษตรของสหรัฐ (USDA) ระบุว่าในปริมาณพิซซาขนาด 36 เซนติเมตร (14 นิ้ว) จะมีปริมาณโซเดียมเฉลี่ยถึง 5,101 มิลลิกรัม[44] และการรับประทานเป็นประจำอาจนำไปสู่ภาวะโรคอ้วน, คอเลสเตอรอล ในเลือดสูง และโรคอื่น ๆ อีกมากมาย[45]

อ้างอิง

แก้
  1. ราชบัณฑิตยสถาน (2552). พจนานุกรมคำใหม่ เล่ม 2 ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (PDF). กรุงเทพฯ: ยูเนียนอุลตร้าไวโอเร็ต. p. 88.
  2. "Italians To New Yorkers: 'Forkgate' Scandal? Fuhggedaboutit". NPR.org (ภาษาอังกฤษ).
  3. "How to eat: Neapolitan-style pizza". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). September 6, 2019.
  4. "yourDictionary.com • Library: Origin of Pizza". web.archive.org. 2003-01-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2003-01-15. สืบค้นเมื่อ 2021-06-27.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  5. "American Pie | AMERICAN HERITAGE". www.americanheritage.com.
  6. "Order Pizza Online for Carryout & Delivery – Domino's Pizza Thailand". Domino's Pizza Thailand, Order Online in Thailand.
  7. Baofu, Peter (2013-01-03). The Future of Post-Human Culinary Art: Towards a New Theory of Ingredients and Techniques (ภาษาอังกฤษ). Cambridge Scholars Publishing. ISBN 978-1-4438-4484-0.
  8. "AVPN - about us". AVPN (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  9. "Best Frozen Pizza | Frozen Pizza Brand". Home Run Inn Pizza (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  10. https://eur-lex.europa.eu/LexUriServ/LexUriServ.do?uri=OJ:L:2010:034:0007:0016:EN:PDF
  11. Naples, Agence France-Presse in (December 7, 2017). "Naples' pizza twirling wins Unesco 'intangible' status". the Guardian (ภาษาอังกฤษ).
  12. Helstosky, Carol (2008). Pizza: A Global History. London: Reaktion. pp. 21–22.
  13. Turim, Gayle. "Who Invented Pizza?". HISTORY (ภาษาอังกฤษ).
  14. "Pizza Margherita: History and Recipe | Pizza | ITALY Magazine". web.archive.org. February 7, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 7, 2013. สืบค้นเมื่อ 2021-06-27.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  15. "Neapolitan history through the history of Pizza Margherita | visitnaples.eu". visitnaples.eu (ภาษาอังกฤษ).
  16. "What is Neapolitan pizza?". ItaliaRail (ภาษาอังกฤษ).
  17. "Doughy, Cheesy Neapolitan Pizza—It's Certified!". The Spruce Eats (ภาษาอังกฤษ).
  18. "Naples and Pizza: The Story Behind Neapolitan Pizza - Bodrum" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  19. "La vera storia della pizza napoletana". Cultura (ภาษาอิตาลี). May 20, 2013.
  20. "Beniamino, il profeta della pizza gourmet". la Repubblica (ภาษาอิตาลี). 2013-01-19.
  21. "Pizza al padellino (o tegamino): che cos'è? « Gelapajo". web.archive.org. December 10, 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 10, 2015. สืบค้นเมื่อ 2021-06-27.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  22. "Pizza al tegaminio: riscoperta della tradizione torinese". Agrodolce (ภาษาอิตาลี). April 3, 2014.
  23. Otis, Ginger Adams (September 15, 2010). New York City (ภาษาอังกฤษ). Lonely Planet Publications. ISBN 978-1-74220-397-3.
  24. "Pizza Garden: Italy, the Home of Pizza". web.archive.org. October 19, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 19, 2013. สืบค้นเมื่อ 2021-06-27.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  25. SouthFloridaReporter.com (February 9, 2020). "The USDA Estimates 13% Of Americans Eat Pizza Every Day (+28 More Fun Facts)". South Florida Reporter (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  26. "Order Pizza Online for Carryout & Delivery – Domino's Pizza Thailand". Domino's Pizza Thailand, Order Online in Thailand.
  27. "History". biz.dominos.com (ภาษาอังกฤษ).
  28. "History of the Pizza Hut". www.wichita.edu.
  29. "Pizza Hut Inc. - Company Profile, Information, Business Description, History, Background Information on Pizza Hut Inc". www.referenceforbusiness.com.
  30. "Hut Life – Official Pizza Hut Blog". Hut Life – Pizza Hut Brand Blog (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  31. "Will pizza oust steak as Argentina's favourite dish?". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). December 9, 2011. สืบค้นเมื่อ 2021-09-26.
  32. "Food and drink in Argentina | Where to eat in Argentina". Rough Guides (ภาษาอังกฤษ).
  33. Gomez, Leire (July 17, 2015). "Buenos Aires: la ciudad de la pizza". Tapas (ภาษาสเปน).
  34. Acuña, Cecilia (June 26, 2017). "La historia de la pizza argentina: ¿de dónde salió la media masa?". La Nación (ภาษาสเปน). ISSN 0325-0946. สืบค้นเมื่อ 2021-09-26.
  35. Clarín.com (February 12, 2006). "Los inventores de la fugazza con queso". www.clarin.com (ภาษาสเปน).
  36. "Largest pizza". Guinness World Records (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
  37. "Longest pizza". Guinness World Records (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
  38. Smith, Andrew; Kraig, Bruce (2013-01-31). The Oxford Encyclopedia of Food and Drink in America (ภาษาอังกฤษ). OUP USA. ISBN 978-0-19-973496-2.
  39. Lund, Joanna M. (2007). Pizza Anytime. p. 4.
  40. Genovese, Peter (2013-05-13). Pizza City. p. 97
  41. pizza.com http://pizza.com/news/national-pizza-month/. {{cite web}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  42. "Fast food salt levels 'shocking'" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). October 18, 2007. สืบค้นเมื่อ 2021-06-27.
  43. "Food Standards Agency - Survey of pizzas". web.archive.org. December 28, 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 28, 2005. สืบค้นเมื่อ 2021-06-27.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  44. "Show Foods". web.archive.org. November 7, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 7, 2014. สืบค้นเมื่อ 2021-06-27.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  45. Gallus, S.; Tavani, A.; Vecchia, C. La (November 2004). "Pizza and risk of acute myocardial infarction". European Journal of Clinical Nutrition (ภาษาอังกฤษ). 58 (11): 1543–1546. doi:10.1038/sj.ejcn.1601997. ISSN 1476-5640.