ถนนสุขสวัสดิ์ (อักษรโรมัน: Thanon Suk Sawat) ซึ่งระยะทางส่วนใหญ่ของถนนมีฐานะเป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 303 สายราษฎร์บูรณะ–พระสมุทรเจดีย์ (ในสมัยก่อนมีชื่อว่า "ทางหลวงแผ่นดินสายดาวคะนอง - ป้อมพระจุล") สร้างตั้งแต่สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ถนนนี้ตั้งชื่อนี้เพื่อเป็นเกียรติแก่ร้อยโทหม่อมเจ้าธัญญลักษณ์ ศุขสวัสดิ นายช่างหัวหน้าการก่อสร้าง กรมทางหลวง เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2493 ตามนโยบายของรัฐบาล มีความยาวทั้งหมด 28 กิโลเมตร โดยเริ่มต้นกิโลเมตรที่ 0 นับจากสะพานพระพุทธยอดฟ้าเป็นต้นมา แต่ถนนมีจุดเริ่มต้นตั้งแต่ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน (สะพานข้ามคลองดาวคะนอง) จนถึงป้อมพระจุลจอมเกล้า เริ่มต้นทางหลวงแผ่นดินตั้งแต่ถนนพระรามที่ 2 เป็นถนนขนาด 8 ช่องทางจราจรตั้งแต่ดาวคะนองถึงสามแยกวัดพระสมุทรเจดีย์ แล้วส่วนของสามแยกพระสมุทรเจดีย์-ป้อมพระจุลจอมเกล้ามีขนาด 2 ช่องทางจราจร

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 303
ถนนสุขสวัสดิ์
แผนที่
Suk Sawat road.jpg
ถนนสุขสวัสดิ์ ช่วงตลาดบางปะกอก ก่อนถึงห้างเทสโก้ โลตัส บางปะกอก
ข้อมูลของเส้นทาง
ความยาว21.732 กิโลเมตร (13.504 ไมล์)
ทางแยกที่สำคัญ
ปลายทางทิศตะวันตกถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน (สะพานข้ามคลองดาวคะนอง) ใน เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร
ปลายทางทิศตะวันออกป้อมพระจุลจอมเกล้า ใน อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ
ตำแหน่งที่ตั้ง
ประเทศไทย
ระบบทางหลวง

อนึ่ง ถนนสุขสวัสดิ์ช่วงตั้งแต่สะพานข้ามคลองดาวคะนองถึงสะพานข้ามคลองบางปะแก้วเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างเขตจอมทองกับเขตราษฎร์บูรณะ

ถนนสุขสวัสดิ์ช่วงตั้งแต่กิโลเมตรที่ 0 ถึงกิโลเมตรที่ 6+463 อยู่ในความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร ส่วนตั้งแต่กิโลเมตรที่ 6+463 ถึงกิโลเมตรที่ 21+732 อยู่ในความรับผิดชอบของแขวงทางหลวงสมุทรปราการ ส่วนที่เหลือตั้งแต่กิโลเมตรที่ 21+732 จนถึงป้อมพระจุลอมเกล้า อยู่ในความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ

ในปีพ.ศ. 2493 ได้มีประกาศเรื่องต้้งชื่อทางหลวงเเผ่นดินและสะพานขนาตใหญ่ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2493 [1] ต่อมาในปีพ.ศ. 2506 มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ระบบหมายเลขทางหลวงแผ่นดินแห่งประเทศไทย. พ.ศ. 2506 โดยที่ทางหลวงแผ่นดินได้มีระบบหมายเลขทางหลวงเป็นระบบสากลแล้ว จึงเห็นสมควรยกเลิกชื่อทางหลวงแผ่นดินที่ได้ขนานนามไว้แล้วเสียทั้งหมด และให้ใช้ระบบหมายเลขทางหลวงแผ่นดินแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2506 ลงวันที่ 23 พฤษภาคม 2506 จึงได้กำหนดให้เป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 405 สายป้อมพระจุลจอมเกล้า - วงเวียนท่าพระ - พระราม 6 - รังสิต ต่อมาในปีต่อมาในปีพ.ศ. 2509 พ.ศ. 2511 พ.ศ. 2516 ได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ระบบหมายเลขทางหลวงแผ่นดินและทางหลวงจังหวัดแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2509 จึงให้ยกเลิกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ระบบหมายเลขทางหลวงแผ่นดินแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2506 ลงวันที่ 23 พฤษกาคม 2506 [2] ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ระบบหมายเลขทางหลวงแผ่นดินและทางหลวงจังหวัด พ.ศ. 2511 ให้ยกเลิกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ระบบหมายเลขทางหลวงแผ่นดินและทางหลวงจังหวัดแห่งประเทศไทย พ.ศ.2509 ลงวันที่ 25 มิถุนายน 2509 [3] ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ระบบหมายเลขทางหลวงแผ่นดินและทางหลวงจังหวัด พ.ศ. 2516 [4] จึงทำให้มาใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 303 สายดาวคะนอง - ป้อมพระจุล และสายราษฎร์บูรณะ–พระสมุทรเจดีย์ ตามลำดับ

ทางแยกที่สำคัญ

แก้
รายชื่อทางแยกบน   ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 303 (ถนนสุขสวัสดิ์) ทิศทาง: ดาวคะนอง–ป้อมพระจุลจอมเกล้า
จังหวัด กม.ที่ ชื่อจุดตัด ซ้าย ขวา
ถนนสุขสวัสดิ์ (เขตกรุงเทพมหานครควบคุม)
กรุงเทพมหานคร 0+000 แยกดาวคะนอง เชื่อมต่อจาก:   ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน จากวงเวียนใหญ่, ดาวคะนอง
ไม่มี ถนนจอมทอง ไปถนนเอกชัย
  ดาวคะนอง–ป้อมพระจุลจอมเกล้า (ถนนสุขสวัสดิ์)
กรุงเทพมหานคร 6+463 เชื่อมต่อจาก: ถนนสุขสวัสดิ์ (ในเขตควบคุมกรุงเทพมหานคร)
แยกบางปะแก้ว ไม่มี   ถนนพระรามที่ 2 ไปสมุทรสาคร
แยกราษฎร์พัฒนา   ถนนราษฎร์พัฒนา บรรจบถนนราษฎร์บูรณะ ไม่มี
แยกประชาอุทิศ ไม่มี   ถนนประชาอุทิศ ไปทุ่งครุ
ด่านเก็บเงินสุขสวัสดิ์   ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ไป สะพานพระราม 9   ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ไป   ถนนพระรามที่ 2
ทางเชื่อมต่อสะพานภูมิพล 1, 2 ไปถนนพระรามที่ 3, ถนนปู่เจ้าสมิงพราย ไม่มี
สมุทรปราการ แยกพระประแดง ถนนนครเขื่อนขันธ์ ไปพระประแดง ไม่มี
ทางแยกต่างระดับสุขสวัสดิ์     ทางพิเศษกาญจนาภิเษก ไปบางนา       ถนนกาญจนาภิเษก (วงแหวนรอบนอกด้านใต้) ไปถนนพระรามที่ 2
แยกพระสมุทรเจดีย์ ไม่มี   ถนนสุขสวัสดิ์ ไปป้อมพระจุลจอมเกล้า
ตรงไป: ถนนสุขสวัสดิ์-พระสมุทรเจดีย์ เข้าพระสมุทรเจดีย์
21+732 ตรงไป: ถนนสุขสวัสดิ์ ไปป้อมพระจุลจอมเกล้า
ถนนสุขสวัสดิ์ (องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ)
สมุทรปราการ ไม่มี   ถนนเลียบคลองสรรพสามิต ไปวัดคู่สร้าง, บางขุนเทียน
ไม่มี ถนนสุขสวัสดิ์-วัดสาขลา ไปวัดสาขลา
      สะพาน              กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

สถานที่สำคัญ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "เรื่องตั้งชื่อทางหลวงเเผ่นดินและสะพานขนาตใหญ่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 1960-12-10.
  2. [www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2509/D/057/2148.PDF "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ระบบหมายเลขทางหลวงแผ่นดินและทางหลวงจังหวัดแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๐๙"] (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 1963-07-02. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)
  3. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ระบบหมายเลขทางหลวงแผ่นดินและทางหลวงจังหวัด พ.ศ. ๒๕๑๑" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 1968-06-04.
  4. [ratchakitcha.soc.go.th/documents/1305941.pdf "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ระบบหมายเลขทางหลวงแผ่นดินและทางหลวงจังหวัด พ.ศ. ๒๕๑๖"] (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 1975-01-10. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้