ทฤษฎีอติชน

(เปลี่ยนทางจาก ทฤษฎีอภิสิทธิชน)

ในสาขารัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ ทฤษฎีอติชน หรือ ทฤษฎีอภิชน[1] (อังกฤษ: elite theory) เป็นทฤษฎีที่มุ่งหมายจะพรรณนาและอธิบายความสัมพันธ์ของกลุ่มอำนาจต่าง ๆ ในสังคมปัจจุบัน โดยอ้างว่า ชนกลุ่มน้อยที่เป็นสมาชิกของอภิสิทธิชนทางเศรษฐกิจหรือของเครือข่ายการกำหนดนโยบาย จะมีอำนาจมากที่สุดในสังคม โดยอำนาจนี้จะเป็นอิสระจากกระบวนการเลือกตั้งของประชาธิปไตย คืออาศัยตำแหน่งในบรรษัทหรือการเป็นสมาชิกคณะกรรมการบริษัท หรืออาศัยตำแหน่งในสถาบันนโยบายหรือกลุ่มอภิปรายนโยบาย หรืออาศัยอิทธิพลเหนือเครือข่ายบุคคลที่วางนโยบายโดยให้การสนับสนุนทางการเงินแก่มูลนิธิ/องค์กรต่าง ๆ สมาชิกของกลุ่มอภิสิทธิชนจะมีอำนาจสำคัญในการตัดสินนโยบายของบริษัทหรือของรัฐบาล ตัวอย่างที่เห็นได้ก็คือ บทความในนิตยสารฟอบส์ ชื่อว่า "ผู้มีอำนาจมากที่สุดในโลก (The World's Most Powerful People)" ที่แสดงรายการบุคคลที่นิตยสารอ้างว่ามีอำนาจมากที่สุดในโลก (โดยแต่ละคนเทียบเท่ากับคน 100,000,000 คนอื่น)[2] ลักษณะทางสังคมที่เข้าข่ายทฤษฎีโดยพื้นฐานก็คือ อำนาจมีการรวมศูนย์ อภิสิทธิชนพร้อมเพรียงกัน คนที่ไม่ใช่อภิสิทธิชนมีหลากหลายและไร้อำนาจ เทียบกับผลประโยชน์/สิ่งที่อภิสิทธิชนสนใจที่มีเอกภาพเนื่องจากมีพื้นเพหรือตำแหน่งที่คล้ายคลึงกัน โดยลักษณะเฉพาะของการมีอำนาจก็คือการมีตำแหน่งในสถาบัน[3]

แม้กลุ่มอาจจะไม่ได้อยู่ในเครือข่ายอำนาจธรรมดาของรัฐ (เช่นในประวัติศาสตร์ อาจจะเป็นเพราะเกณฑ์ต่าง ๆ รวมทั้งความป็นขุนนาง เชื้อชาติ เพศ หรือศาสนา) ทฤษฎีก็ยังแสดงว่า "กลุ่มต้านอภิสิทธิชน" (counter-elites) บ่อยครั้งก็จะเกิดภายในกลุ่มที่ถูกยกเว้นเช่นนี้ ดังนั้น การเจรจาต่อรองระหว่างกลุ่มเช่นนี้กับรัฐ จึงมองได้ว่าเป็นการต่อรองระหว่างกลุ่มต่อต้านอภิสิทธิชนกับกลุ่มอภิสิทธิชน ซึ่งก็จะทำให้เห็นปัญหาสำคัญอีกอย่างว่า อภิสิทธิชนสามารถรวบผู้ต่อต้านให้เป็นพวกได้

ทฤษฎีอภิสิทธิชนเป็นเรื่องตรงข้ามกับทฤษฎีพหุนิยมทางการเมือง ซึ่งสมมุติว่า ทุก ๆ คน หรืออย่างน้อยก็กลุ่มสังคมต่าง ๆ จะมีอำนาจเท่ากันและจะถ่วงดุลกันเอง ทำให้ได้ผลลัพธ์ทางการเมืองที่เป็นประชาธิปไตย และที่เป็นตัวแทนผลประโยชน์ของคนทั้งหมดในสังคม เทียบกับทฤษฎีนี้ที่อ้างว่า ประชาธิปไตยเป็นเรื่องเหลวไหลแบบอุตมรัฐ หรือไม่ก็เป็นไม่ไปได้ในกรอบของทุนนิยม ซึ่งเป็นมุมมองปัจจุบันที่เข้ากับลัทธิมากซ์ได้

ทฤษฎีดั้งเดิม แก้

ทฤษฎีนี้โดยเฉพาะกับคนชั้นขุนนาง เป็นทฤษฎีดั้งเดิมที่อาศัยแนวคิดสองอย่าง คือ

  1. อำนาจอยู่ที่ตำแหน่งหน้าที่ในสถาบันทางเศรษฐกิจและการเมืองหลัก ๆ
  2. ความรู้สึกที่แบ่งอภิสิทธิชนจากคนอื่นก็คือ ตนมีความสามารถเฉพาะตน เช่น ความฉลาดและทักษะความสามารถ และมีความสนใจเป็นพิเศษในเรื่องการปกครอง ในขณะที่คนที่เหลือไร้ความสามารถ ไร้สมรรถภาพในการปกครองตนเอง อภิสิทธิชนโดยเปรียบเทียบเป็นคนมีปัญญาที่สามารถทำให้การปกครองเป็นไปได้ เพราะจริง ๆ แล้ว เป็นกลุ่มชนที่เสียหายมากที่สุดถ้าการปกครองล้มเหลว

มุมมองจากนักทฤษฎีดั้งเดิม แก้

Vilfredo Pareto แก้

นักรัฐศาสตร์ชาวอิตาลีผู้นี้เน้นความเหนือกว่าทางปัญญาของอภิสิทธิชน ผู้เชื่อว่าตนเป็นคนเก่งที่สุดในเรื่องนั้น ๆ เขากล่าวถึงอภิสิทธิชนสองประเภทคือ

  1. อภิสิทธิชนที่มีอำนาจปกครอง
  2. อภิสิทธิชนที่ไม่มีอำนาจปกครอง

เขายังขยายทฤษฎีด้วยว่า กลุ่มอภิสิทธิชนทั้งหมดอาจถูกทดแทนด้วยกลุ่มใหม่ และจะเกิดขึ้นได้อย่างไร

Gaetano Mosca แก้

นักรัฐศาสตร์ชาวอิตาลีผู้นี้เน้นลักษณะทางสังคมและลักษณะเฉพาะตนของอภิสิทธิชน เขากล่าวว่า อภิสิทธิชนเป็นชนกลุ่มน้อยที่รวมตัวกันดี เทียบกับมวลชนที่เป็นคนกลุ่มมากแต่ไม่ลงตัวกัน ชนชั้นปกครองจะประกอบด้วยอภิสิทธิชนและรองอภิสิทธิชน เขาแบ่งโลกออกเป็นสองกลุ่มคือ

  1. คนชั้นปกครอง
  2. คนใต้การปกครอง

เขาอ้างว่า อภิสิทธิชนมีความเหนือกว่าทางปัญญา ทางจริยธรรม และทางทรัพย์สินที่คนให้ความเคารพนับถือและมีอิทธิพล

Robert Michels แก้

นักสังคมวิทยาชาวเยอรมันผู้นี้ได้พัฒนาทฤษฎีกฎเหล็กของคณาธิปไตย ซึ่งเขาอ้างว่า คนเพียงไม่กี่คนจะเป็นผู้ดำเนินการองค์กรทางสังคมและทางการเมือง โดยการจัดระเบียบทางสังคมและการแบ่งงานเช่นนี้เป็นเรื่องกุญแจสำคัญ เขาเชื่อว่า องค์กรทุกอย่างต้องมีอภิสิทธิชน และมีหลัก 3 อย่างที่ช่วยอภิสิทธิชนสร้างระบบดำเนินการขององค์กรทางการเมือง

  1. ความจำเป็นต้องมีผู้นำ บวกกับเจ้าหน้าที่และสถานที่สำหรับดำเนินการโดยเฉพาะ ๆ
  2. การใช้ที่ดำเนินการโดยผู้นำในองค์กร
  3. สมรรถภาพทางจิตใจของผู้นำเป็นเรื่องสำคัญ

มุมมองจากนักทฤษฎีปัจจุบัน แก้

Elmer Eric Schattschneider แก้

นักรัฐศาสตร์ชาวอเมริกันคนนี้ได้คัดค้านทฤษฎีรัฐศาสตร์อเมริกันคือพหุนิยมทางการเมืองอย่างรุนแรง คือแทนที่จะมีระบบประชาธิปไตยที่แท้จริงซึ่งกลุ่มต่าง ๆ ของประชาชนจะแข่งขันกัน โดยมีกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่เป็นผู้แทนในการกดดันรัฐบาล เขาอ้างว่า ระบบความกดดันเช่นนี้จะเข้าข้าง "สมาชิกสังคมที่มีการศึกษามากที่สุดและมีรายได้มากที่สุด" และแสดงว่า "ความแตกต่างระหว่างผู้ที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมของกลุ่มผลประโยชน์กับผู้ที่ไม่ทำอะไร ยิ่งใหญ่กว่าระหว่างผู้ลงคะแนนเสียงและผู้ไม่ลง"[4]

เขาอ้างว่า ขอบเขตของระบบความกดดันเช่นนี้แคบมาก คือ "พิสัยของกลุ่มที่จัดตั้งอย่างดี ระบุได้ ที่รู้จัก แคบอย่างไม่น่าเชื่อ มันไม่ใช่อะไรที่ทั่วไป" และ "ความลำเอียงต่อชนชั้นบริหารหรือคนชั้นสูงในระบบกดดันมีอยู่ทั่วไป" เขากล่าวว่า "แนวคิดว่าระบบกดดันจะเป็นผู้แทนของกลุ่มประชาชนทั้งหมดเป็น (เพียงแค่) ตำนาน" โดยตรงข้าม "ระบบเบี้ยวบูด ถ่วงโกงด้วยดีบุก และไม่สมดุลโดยเข้าข้างคนป็นจำนวนน้อย"[5]

C. Wright Mills แก้

นักสังคมวิทยาชาวอเมริกันคนนี้เขียนหนังสือ อภิสิทธิชนผู้ทรงอำนาจ (The Power Elite) โดยอ้างมุมมองทางสังคมใหม่เกี่ยวกับระบบอำนาจในสหรัฐ เขาระบุกลุ่ม 3 กลุ่ม คือกลุ่มการเมือง กลุ่มเศรษฐกิจ และกลุ่มการทหาร ซึ่งเป็นกลุ่มอำนาจที่แยกจากกันในสหรัฐ เขาเสนอว่า กลุ่มเหล่านี้เกิดขึ้นได้อาศัยการอ้างหาเหตุผลแบบเข้าข้างของสังคมอุตสาหกรรมก้าวหน้าทั้งหมด ทำให้กลไกทางอำนาจรวมศูนย์อยู่ในมือของกลุ่มชนที่จำกัด ซึ่งเป็นกลุ่มที่ไม่ค่อยใสสะอาด[6]

กระบวนการนี้จะสะท้อนความเสื่อมทรามของการเมืองในฐานะเป็นเวทีการอภิปราย โดยลดอำนาจจนเป็นเพียงแค่การคุยกันพอเป็นรูปแบบเท่านั้น[7] การวิเคราะห์ในระดับกว้าง ๆ เช่นนี้หมายชี้ความเสื่อมทรามของประชาธิปไตยในสังคม "ก้าวหน้า" และชี้ความจริงว่า อำนาจโดยทั่วไปอยู่นอกมือของผู้แทนที่ได้รับเลือกตั้ง

G. William Domhoff แก้

ในหนังสือที่สร้างความขัดแย้งของเขาคือ ใครปกครองอเมริกา (Who Rules America?) นักสังคมศาสตร์ชาวอเมริกันผู้นี้ได้วิจัยกระบวนการตัดสินใจทั้งในระดับพื้นที่และระดับชาติ เพื่อแสดงโครงสร้างอำนาจในสหรัฐ เขาอ้างว่า อภิสิทธิชนที่เป็นเจ้าของและผู้จัดการทรัพย์สินที่สร้างรายได้มหาศาล (เช่นธนาคารและบริษัท) จะครอบงำโครงสร้างอำนาจทั้งทางการเมืองและทางเศรษฐกิจ[8]

James Burnham แก้

หนังสือ ปฏิวัติผู้จัดการ (The Managerial Revolution) ของนักทฤษฎีชาวอเมริกันผู้นี้ แสดงอำนาจว่าอยู่ในมือของผู้จัดการ ไม่ใช่ของนักการเมืองหรือเจ้าของ ซึ่งแยกการเป็นเจ้าของออกจากอำนาจควบคุม[9] ซึ่งไอเดียนี้ต่อมาใช้เพื่อสร้างทฤษฎี รัฐโดยผู้จัดการ (managerial state)

Robert D. Putnam แก้

นักรัฐศาสตร์ชาวอเมริกันผู้นี้เห็นการพัฒนามีความรู้ทางวิชาการเฉพาะเรื่องแบบผูกขาด ในบรรดาผู้จัดการและกลุ่มผู้เชี่ยวชาญอื่น ๆ ว่าเป็นกลไกที่กระบวนการประชาธิปไตยเสียอำนาจหลุดไปให้พวกกุนซือและผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลในกระบวนการตัดสินใจ[10]

ถ้าบุคคลสำคัญในร้อย ๆ ปีที่ผ่านมาเป็นผู้ลงทุนทำกิจการ นักธุรกิจ และผู้บริหารอุตสาหกรรมต่าง ๆ บุคคลสำคัญใหม่ในปัจจุบันก็คือนักวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ นักเศรษฐศาสตร์ และวิศวกรของเทคโนโลยีทางปัญญาใหม่

— Robert D. Putnam - นักรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด, หนังสือ การศึกษาเปรียบเทียบอภิสิทธิชนทางการเมือง (The Comparative Study of Political Elites)[11]

Thomas R. Dye แก้

หนังสือ การออกนโยบายจากยอดไปสู่ล่าง (Top Down Policymaking) นักรัฐศาสตร์ชาวอเมริกันผู้นี้อ้างว่า นโยบายสาธารณะของสหรัฐไม่ได้เป็นผลจาก "ความต้องการของประชาชน" แต่มาจากมติของกลุ่มอภิสิทธิชนในบรรดามูลนิธิไม่แสวงผลกำไร องค์กรนโยบาย กลุ่มผลประโยชน์พิเศษ กลุ่มวิ่งเต้นหาเสียงในการออกกฎหมายที่สำคัญ และสำนักงานทนายความที่ตั้งอยู่ในวอชิงตัน ดี. ซี.

George A. Gonzalez แก้

ในหนังสือ "อำนาจบริษัทกับสิ่งแวดล้อม (Corporate Power and the Environment)" นัทฤษฎีผู้นี้เขียนว่า อำนาจของอภิสิทธิชนทางเศรษฐกิจในสหรัฐ ได้กำหนดรูปแบบนโยบายของรัฐเพื่อประโยชน์ของตน

Ralf Dahrendorf แก้

ในหนังสือ การไตร่ตรองถึงปฏิวัติในยุโรป (Reflections on the Revolution in Europe)[12] นักวิชาการและนักการเมืองชาวเยอรมัน-อังกฤษผู้นี้อ้างว่า เนื่องจากต้องมีความสามารถสูงเพื่อทำกิจกรรมทางการเมือง พรรคการเมืองความจริงเป็นองค์กรที่ให้ "บริการทางการเมือง" ซึ่งก็คือการบริหารจัดการตำแหน่งหน้าที่ของรัฐไม่ว่าจะในระดับพื้นที่หรือในะระดับประเทศ ในช่วงหาเสียง พรรคแต่ละพรรคจะพยายามโน้มน้าวผู้ออกเสียงว่า ตนเหมาะที่สุดในการจัดการราชการ ดังนั้น การยอมรับลักษณะเช่นนี้ก็เป็นเรื่องสมเหตุผล และควรลงทะเบียนพรรคเหล่านี้ว่าเป็นบริษัทให้บริการ

เมื่อเป็นดังนี้ ชนชั้นปกครองก็จะเป็นสมาชิกและผู้ร่วมงานในบริษัทตามกฎหมาย และ "ชนชั้นใต้ปกครอง" ก็จะเลือกบริษัทผู้สามารถบริหารรัฐโดยให้ผลประโยชน์แก่ตนได้มากที่สุดผ่านการเลือกตั้ง

Martin Gilens และ Benjamin I. Page แก้

ในงานวิเคราะห์ทางสถิติของนโยบาย 1,779 ประเด็น นักวิชาการคู่นี้พบว่า

อภิสิทธิชนทางเศรษฐกิจและกลุ่มจัดตั้งต่าง ๆ ซึ่งเป็นตัวแทนผลประโยชน์ทางธุรกิจ มีอิทธิพลอย่างสำคัญที่เป็นอิสระ (จากการเลือกตั้งเป็นต้น) ต่อนโยบายรัฐบาลสหรัฐ ในขณะที่ประชาชนทั่วไปและกลุ่มผลประโยชน์ที่เป็นตัวแทนมวลชนไม่มีหรือมีอิทธิพลที่เป็นอิสระน้อย"[13]

เชิงอรรถและอ้างอิง แก้

  1. "elite theorism", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕, (รัฐศาสตร์) ทฤษฎีนิยมอติชน, ทฤษฎีนิยมอภิชน
  2. "The World's Most Powerful People". Forbes. 2009-11-11. สืบค้นเมื่อ 2015-09-09.
  3. Deric., Shannon, (2011-01-01). Political sociology : oppression, resistance, and the state. Pine Forge Press. ISBN 9781412980401. OCLC 746832550.{{cite book}}: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์)
  4. Woolley and Papa 1998, 165
  5. Schattschneider 1960, 30-36
  6. Bottomore, T. (1993). Elites and Society (2nd ed.). London: Routledge. p. 25.
  7. Mills, C. Wright (1956). The Power Elite. p. 274. ISBN 0-19-541759-3.
  8. Domhoff, G. William (1967). Who Rules America?. McGraw-Hill. ISBN 0-7674-1637-6.
  9. Bottomore, T. (1993). Elites and Society (2nd ed.). London: Routledge. p. 59.
  10. Putnam, Robert D. (1977). "Elite Transformation in Advance Industrial Societies: An Empirical Assessment of the Theory of Technocracy". Comparative Political Studies. 10 (3): 383-411 (p.385).
  11. Putnam, Robert D. (1976). The Comparative Study of Political Elites. New Jersey: Prentice Hall. p. 384. ISBN 0-13-154195-1. If the dominant figures of the past hundred years have been the entrepreneur, the businessman, and the industrial executive, the ‘new men’ are the scientists, the mathematicians, the economists, and the engineers of the new intellectual technology.
  12. Dahrendorf, Ralf (1990). Reflections on the Revolution in Europe: In a letter intended to have been sent to a gentleman in Warsaw. New York: Random House.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  13. "Testing Theories of American Politics: Elites, Interest Groups, and Average Citizens" (PDF). 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  • Bottomore, T. (1993) Elites and Society (2nd Edition). London: Routledge.
  • Burnham, J. (1960) The Managerial Revolution. Bloomington: Indiana University Press.
  • Hunter, Floyd (1953) Community Power Structure: A Study of Decision Makers.
  • Domhoff. G. William (1967-2009) Who Rules America? McGraw-Hill.
  • Mills, C. Wright (1956) The Power Elite.
  • Lerner, R., A. K. Nagai, S. Rothman (1996) American Elites. New Haven CT: Yale University Press
  • Neumann, Franz Leopold (1944). Behemoth: The Structure and Practice of National Socialism, 1933 - 1944. Harper.
  • Putnam, R. D. (1976) The Comparative Study of Political Elites. New Jersey: Prentice Hall.
  • Putnam, R. D. (1977) ‘Elite Transformation in Advance Industrial Societies: An Empirical Assessment of the Theory of Technocracy’ in Comparative Political Studies Vol. 10, No. 3, pp383–411.
  • Schwartz, M. (ed.) (1987) The Structure of Power in America: The Corporate Elite as a Ruling Class. New York: Holmes & Meier.
  • Dye, T. R. (2000) Top Down Policymaking New York: Chatham House Publishers.
  • Gonzalez, G. A. (2012) Energy and Empire: The Politics of Nuclear and Solar Power in the United States. Albany: State University of New York Press
  • Gonzalez, G. A. (2009) Urban Sprawl, Global Warming, and the Empire of Capital. Albany: State University of New York Press
  • Gonzalez, G. A. (2006) The Politics of Air Pollution: Urban Growth, Ecological Modernization, And Symbolic Inclusion. Albany: State University of New York Press
  • Gonzalez, G. A. (2001) Corporate Power and the Environment. Rowman & Littlefield Publishers
  • "Who Rules America?" website
  • Forbes Magazine list of the 67 'most powerful people in the world.'