พหุนิยมทางการเมือง

แนวคิดพหุนิยมทางการเมือง (อังกฤษ: Political pluralism) เป็นการรับรองโดยสามัญสำนึกว่าในสังคมจะต้องมีความแตกต่างกัน ซึ่งแนวคิดดังกล่าวได้ถูกนำไปใช้ในวงกว้าง ในทางการเมือง แนวคิดพหุนิยมได้รับการพิจารณาว่าเป็นตัวแสดงของประชาธิปไตยสมัยใหม่ เพื่อผลประโยชน์ของพลเมือง แนวคิดพหุนิยมยังได้ใช้เป็นเครื่องหมายแสดงถึงจุดยืนในทางทฤษฎีของรัฐและอำนาจ ซึ่งได้มีผู้เสนอว่าแนวคิดดังกล่าวเป็นรูปแบบอันเหมาะสมในการกระจายอำนาจในสังคม

ในระบอบประชาธิปไตย แนวคิดพหุนิยมเป็นแนวทางชี้นำเพื่อก่อให้เกิดความสงบสุขบนความขัดแย้งของผลประโยชน์ ความเชื่อและการใช้ชีวิตที่แตกต่างกัน ซึ่งทำให้แนวคิดพหุนิยมแตกต่างจากแนวคิดรวมเข้าสู่ศูนย์กลาง เพราะแนวคิดพหุนิยมเชื่อว่า สมาชิกในสังคมสามารถอยู่ร่วมกันได้ โดยมีการเจรจาอย่างสันติ

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  • William James. (1909). A Pluralistic Universe
  • Stuart Hampshire. (1983). Morality and Conflict
  • Charles Blattberg. (2000). From Pluralist to Patriotic Politics
  • Isaiah Berlin. (2002). Liberty
  • Bernard Williams. (2005). In the Beginning Was the Deed
  • James W. Skillen. (2006). In Pursuit of Justice

แหล่งข้อมูลอื่น แก้