ถั่วพู

สปีชีส์ของพืช
ถั่วพู
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Magnoliopsida
อันดับ: Fabales
วงศ์: Fabaceae
วงศ์ย่อย: Faboideae
เผ่า: Phaseoleae
สกุล: Psophocarpus
สปีชีส์: P.  tetragonolobus
ชื่อทวินาม
Psophocarpus tetragonolobus
(L.) D.C.

ถั่วพู (ชื่อวิทยาศาสตร์: Psophocarpus tetragonolobus) เป็นพืชล้มลุก ดอกสีขาวอมม่วง ผลเป็นฝักแบนยาวมี 4 ปีก ความยาวของฝักประมาณ 3-4 นิ้ว ภายในมีเมล็ดกลมเรียบ นิยมนำถั่วพูมาประกอบอาหารประเภทยำหรือกินสด ถั่วพูเป็นผักที่เสียเร็ว เหี่ยวง่ายและเกิดสีน้ำตาลเร็ว เก็บได้ไม่นาน คุณค่าทางอาหาร ถั่วพูมีคาร์โบไฮเดรต เส้นใย โปรตีน ไขมัน แคลเซียม เหล็ก ฟอสฟอรัส วิตามินเอ ซี อี บี1 บี2 ไนอะซิน สรรพคุณทางยาบำรุงกำลัง แก้อ่อนเพลีย บรรเทาอาการปวดเมื่อย แก้ตัวร้อน ลดไข้[1]

ในอาหารไทยนำฝักอ่อนมาลวก กินกับน้ำพริก ยำ หั่นใส่ในแกงส้ม แกงป่าหรือกินกับขนมจีน หั่นผสมในทอดมัน ยอดอ่อนและดอกใช้จิ้มน้ำพริก ใบอ่อนทำสลัดหรือใส่ในแกงจืด เมล็ดแก่คั่วให้สุกรับประทานได้ หัวแก่ใช้เชื่อมเป็นของหวานหรือเผารับประทานเช่นเดียวกับมันเทศหรือมันสำปะหลัง ในพม่า นำหัวถั่วพูไปต้มจิ้มน้ำจิ้ม กินเป็นอาหารว่าง ใบอ่อนกินเป็นสลัด ในปาปัวนิวกินีนำหัวถั่วพูไปห่อใบตองหรือใบไผ่แล้วย่างรับประทาน ในอินโดนีเซียนำเมล็ดถั่วพูไปทำเทมเป้เช่นเดียวกับถั่วเหลือง หัวถั่วพูนำมาสับ ตากแห้งคั่วให้เหลือง ชงน้ำดื่มต่างน้ำ เป็นยาบำรุงกำลัง[2]

ในทางสิ่งแวดล้อม ถั่วพูสามารถส่งเสริมการย่อยสลายแอนทราซีนและฟลูออรีนในไรโซสเฟียร์ได้ดี[3]

ถั่วพู, เมล็ดโตเต็มที่, ดิบ
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์)
พลังงาน1,711 กิโลจูล (409 กิโลแคลอรี)
41.7 g
ใยอาหาร25.9 g
16.3 g
อิ่มตัว2.3 g
ไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่เดี่ยว6 g
ไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่หลายคู่4.3 g
29.65 g
วิตามิน
ไทอามีน (บี1)
(90%)
1.03 มก.
ไรโบเฟลวิน (บี2)
(38%)
0.45 มก.
ไนอาซิน (บี3)
(21%)
3.09 มก.
(16%)
0.795 มก.
วิตามินบี6
(13%)
0.175 มก.
โฟเลต (บี9)
(11%)
45 μg
แร่ธาตุ
แคลเซียม
(44%)
440 มก.
เหล็ก
(103%)
13.44 มก.
แมกนีเซียม
(50%)
179 มก.
แมงกานีส
(177%)
3.721 มก.
ฟอสฟอรัส
(64%)
451 มก.
โพแทสเซียม
(21%)
977 มก.
โซเดียม
(3%)
38 มก.
สังกะสี
(47%)
4.48 มก.

ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐสำหรับผู้ใหญ่
แหล่งที่มา: USDA FoodData Central

อ้างอิง แก้

  1. นิตยสารชีวจิต ฉบับวันที่ 1 มิถุนายน 2550
  2. กรณิศ รัตนามหัทธนะ.ความลับของถั่วพู. ครัว. ปีที่ 19 ฉบับที่ 226 เมษายน 2556 หน้า 18-20
  3. Somtrakoon, K., W. Chouychai, H. Lee.Comparing Anthracene and Fluorene Degradation in Anthracene and Fluorene-Contaminated Soil by Single and Mixed Plant Cultivation International Journal of Phytoremediation. 2014. 16: 415-428. DOI: 10.1080/15226514.2013.803024

แหล่งข้อมูลอื่น แก้