สำหรับ จักรวรรดิดูที่ จักรวรรดิตูอีโตงา

ตูอีโตงา (ตองงา: Tuʻi Tonga) เป็นราชวงศ์ที่ปกครองจักรวรรดิตูอีโตงา โดยตำนานกล่าวถึงการที่เทพเจ้าตากาโลอาพระเจ้าของชาวตองงามีพระโอรสกับหญิงมนุษย์โลก แล้วให้กำเนิดออกมาเป็นพระเจ้าอะโฮเออิตู ซึ่งพระเจ้าอะโฮเออิตูนี้เป็นต้นราชวงศ์ตูอีโตงา โดยสถาปนาราชวงศ์นี้ในประมาณ ค.ศ. 950[1] ราชวงศ์ตูอีโตงาเจริญถึงขีดสุดในช่วงเวลาประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 12 ในรัชสมัยของพระเจ้าโมโม พระเจ้าตูอิตาตูอิและพระเจ้าตาลาตามา ซึ่งสามารถขยายอาณาเขตได้กว้างไกล จนกระทั่งประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 15 ราชวงศ์ตูอีโตงาเริ่มเสื่อมอำนาจลงจากการโอนอำนาจส่วนใหญ่ให้ตูอิฮาอะตากาลาอัว จนกระทั่งหมดอำนาจไปใน ค.ศ. 1826 และเสื่อมสลายไปใน ค.ศ. 1865 สำหรับกฎการสืบราชสมบัติของราชวงศ์นี้จะสืบจากพระบิดาสู่พระโอรสเท่านั้น ปัจจุบันเชื้อสายของราชวงศ์นี้ยังอยู่ในสายกาลานีอูวาลู

ตูอีโตงา
พระราชอิสริยยศตูอีโตงาแห่งจักรวรรดิตูอีโตงา
ปกครองจักรวรรดิตูอีโตงา
เชื้อชาติตองงา และ ซามัว
สาขากาลานีอูวาลู
จำนวนพระมหากษัตริย์39 พระองค์
ประมุขพระองค์แรกสมเด็จพระเจ้าอะโฮเออิตู
ประมุขพระองค์สุดท้ายสมเด็จพระเจ้าเลาฟิลิตองงา
ช่วงระยะเวลาค.ศ. 950–1826
สถาปนาค.ศ. 950
สิ้นสุดค.ศ. 1826
ล่มสลายค.ศ. 1865
ราชวงศ์ถัดไปราชวงศ์ตูโปอู
ราชอาณาจักรตองงา

การก่อตั้งราชวงศ์และการขยายอำนาจ

แก้

ราชวงศ์ตูอีโตงาก่อตั้งโดยพระเจ้าะโฮเออิตู ซึ่งตามตำนานเชื่อว่าเป็นพระราชโอรสของเทพเจ้าพื้นเมือง เมื่อสิ้นรัชกาลของพระเจ้าอะโฮเออิตูนั้น ไม่ปรากฏหลักฐานใดๆเกี่ยวกับบทบาทของราชวงศ์ นอกจากรายพระนามพระมหากษัตริย์[2] จนกระทั่งถึงในรัชสมัยพระเจ้าโมโม พระเจ้าตูอิตาตูอิและพระเจ้าตาลาตามา ราชวงศ์มีบทบาทสำคัญในการขยายอำนาจของจักรวรรดิได้ตั้งแต่นีวเวถึงติโกเปีย[3] หลังจากรัชกาลพระเจ้าตาลาตามาเกิดวิกฤตการณ์สืบราชสมบัติเพราะพระเจ้าตาลาตามาไม่มีพระโอรส จึงตั้งท่อนไม้ขึ้นเป็นตูอีโตงาพระนามว่าพระเจ้าตูอีโตงานุย โอเอตามาตู เพื่อให้เป็นพระราชบิดาของพระเจ้าตาลาอิฮาอะเปเปซึ่งเป็นพระอนุชาของพระเจ้าตาลาตามา[1]

ยุคเสื่อมของราชวงศ์

แก้

นับตั้งแต่พระเจ้าฮาเวอาที่ 1 ตูอีโตงาพระองค์ที่ 19 จนถึงรัชสมัยของพระเจ้าตากาลาอัว ตูอีโตงาพระองค์ที่ 23 มีเหตุการณ์ลอบสังหารบ่อยครั้ง พระเจ้าเกาอูลูโฟนูอาที่ 1 จึงตั้งราชวงศ์ตูอิฮาอะตากาลาอัวขึ้น เพื่อช่วยตูอีโตงาปกครอง อย่างไรก็ตามหลังจากสิ้นรัชสมัยของพระเจ้าเกาอูลูโฟนูอาที่ 1 ตูอิฮาอะตากาลาอัวได้เนรเทศตูอีโตงาไปอยู่ที่ซามัว จนกระทั่งตูอีโตงาอ่อนแอลง จึงเชิญตูอีโตงากลับมาปกครอง แต่ไม่มีพระราชอำนาจใดๆมากนัก เป็นเพียงแต่ผู้นำทางจิตวิญญาณเท่านั้น

การสิ้นสุดราชวงศ์

แก้

ราชวงศ์ตูอีโตงาสิ้นสุดลง เมื่อเตาฟาอาเฮาได้รับชัยชนะเหนือพระเจ้าเลาฟิลิตองงาใน ค.ศ. 1826 ทำให้พระราชอำนาจทุกอย่างของตูอีโตงาหมดลง คงเหลือเพียงแต่ตำแหน่งในนามจนพระเจ้าเลาฟิลิตองงาสวรรคตใน ค.ศ. 1865 ก็มิได้ตั้งใครขึ้นมาดำรงตำแหน่งตูอีโตงาอีก จึงถือว่าราชวงศ์ตูอีโตงาสิ้นสุดลง โดยมีพระมหากษัตริย์ที่มาจากราชวงศ์นี้รวมทั้งสิ้น 39 พระองค์

มรดกของราชวงศ์

แก้

การปกครองภายใต้ราชวงศ์นี้ มีการก่อสร้างลางีสำหรับฝังพระบรมศพของตูอีโตงาโดยเฉพาะ ซึ่งอยู่บริเวณเมืองมูอา และเป็นมรดกทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญอย่างหนึ่งของประเทศตองงา

รายพระนามตูอีโตงา

แก้
รัชกาลที่ พระปรมาภิไธย ขึ้นครองราชย์/สละราชสมบัติ
1
สมเด็จพระเจ้าอะโฮเออิตู ค.ศ. 950 – ??
2
สมเด็จพระเจ้าโลโลฟากางาโล ไม่ทราบปีที่แน่นอน
3
สมเด็จพระเจ้าฟางาโอเนโอเน ไม่ทราบปีที่แน่นอน
4
สมเด็จพระเจ้าลีเฮา ไม่ทราบปีที่แน่นอน
5
สมเด็จพระเจ้าโกฟูตู ไม่ทราบปีที่แน่นอน
6
สมเด็จพระเจ้ากาโลอา ไม่ทราบปีที่แน่นอน
7
สมเด็จพระเจ้ามาอูเฮา ไม่ทราบปีที่แน่นอน
8
สมเด็จพระเจ้าอาปูอาเนอา ไม่ทราบปีที่แน่นอน
9
สมเด็จพระเจ้าอาฟูลูงา ไม่ทราบปีที่แน่นอน
10
สมเด็จพระเจ้าโมโม ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 12
11
สมเด็จพระเจ้าตูอิตาตูอิ ช่วงเวลาประมาณ ค.ศ. 1100
12
สมเด็จพระเจ้าตาลาตามา ช่วงเวลาประมาณ ค.ศ. 1150
13
สมเด็จพระเจ้าตูอีโตงานุย โอเอตามาตู ครึ่งหลังของ ค.ศ. 1150 (รวม 3 ปี)
14
สมเด็จพระเจ้าตาลาอิฮาอะเปเป ไม่ทราบปีที่แน่นอน
15
สมเด็จพระเจ้าตาลากาอีฟาอีกี ไม่ทราบปีที่แน่นอน
16
สมเด็จพระเจ้าตาลาฟาปีเต ไม่ทราบปีที่แน่นอน
17
สมเด็จพระเจ้าตูอีโตงา มาอะกิโตเอ ไม่ทราบปีที่แน่นอน
18
สมเด็จพระเจ้าตูอีโตงา ปุยปุย ไม่ทราบปีที่แน่นอน
19
สมเด็จพระเจ้าฮาเวอาที่ 1 ไม่ทราบปีที่แน่นอน
20
สมเด็จพระเจ้าตาตาฟูเออีกีเมอีมูอา ไม่ทราบปีที่แน่นอน
21
สมเด็จพระเจ้าโลมีอาเอตูปูอา ไม่ทราบปีที่แน่นอน
22
สมเด็จพระเจ้าฮาเวอาที่ 2 ไม่ทราบปีที่แน่นอน
23
สมเด็จพระเจ้าตากาลาอัว ไม่ทราบปีที่แน่นอน
24
สมเด็จพระเจ้าเกาอูลูโฟนูอาที่ 1 ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 15
โอนอำนาจการปกครองส่วนใหญ่ให้แก่ตูอิฮาอะตากาลาอัว ดำรงสถานะเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณสูงสุด
สมเด็จพระเจ้าเกาอูลูโฟนูอาที่ 1 ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 15
ตูอิฮาอะตากาลาอัวเชิญตูอีโตงาประทับที่ซามัว
25
สมเด็จพระเจ้าวากาฟูฮู ไม่ทราบปีที่แน่นอน
26
สมเด็จพระเจ้าปุยปุยฟาตู ไม่ทราบปีที่แน่นอน
27
สมเด็จพระเจ้าเกาอูลูโฟนูอาที่ 2 ไม่ทราบปีที่แน่นอน
ตูอีโตงาได้รับอนุญาตให้กลับมาประทับที่มูอา
28
สมเด็จพระเจ้าตาปูโอซี ไม่ทราบปีที่แน่นอน
29
สมเด็จพระเจ้าอูลูอาคิมาตาที่ 1 ประมาณปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16
ตูอิกาโนกูโปลูเริ่มมีอำนาจ
30
สมเด็จพระเจ้าฟาตาเฟฮี ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 17
31
สมเด็จพระเจ้าเกาอูลูโฟนูอาที่ 3 ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 17
32
สมเด็จพระเจ้าอูลูอาคิมาตาที่ 2 ไม่ทราบปีที่แน่นอน
33
สมเด็จพระเจ้าตูอิปูโลตูที่ 1 ไม่ทราบปีที่แน่นอน
34
สมเด็จพระเจ้าฟากานาอะนาอา ไม่ทราบปีที่แน่นอน
35
สมเด็จพระเจ้าตูอิปูโลตูที่ 2 ค.ศ. 17XX–1770
36
สมเด็จพระเจ้าเปาลาโฮ ค.ศ. 1770–1784 (รวม 14 ปี)
37
สมเด็จพระเจ้ามาอูลูเปโกโตฟา ค.ศ. 1784–1795 (รวม 11 ปี)
38
สมเด็จพระเจ้าฟูอานูนูอีอาวา ค.ศ. 1793–1810 (รวม 17 ปี)
39
สมเด็จพระเจ้าเลาฟิลิโตงา ค.ศ. 1810–1826 (รวม 16 ปี)
พ่ายแพ้ในสงครามกลางเมือง จักรวรรดิล่มสลาย
สมเด็จพระเจ้าเลาฟิลิโตงา ค.ศ. 1827–1865 (รวม 38 ปี) (ครั้งที่ 2 ไม่มีพระราชอำนาจ)

ดูเพิ่ม

แก้

รายการอ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "The 'Ahoe'itu Dynasty". royalark. สืบค้นเมื่อ 18 January 2014.
  2. "BACKGROUND TO TONGAN SOCIETY AT THE TIME OF CAPTAIN COOK'S VISITS" (PDF). The Journal of the Polynesian Society. 18 January 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-12-09. สืบค้นเมื่อ 2014-01-18.
  3. "Tu'i Tonga". Palace Office2013, Tonga. 18 January 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-13. สืบค้นเมื่อ 2014-01-18.