พระเจ้าฟาตาเฟฮี ตูอิปูโลตูที่ 2

พระเจ้าฟาตาเฟฮี ตูอิปูโลตูที่ 2 (ตองงา: Fatafehi Tuʻipulotu II) หรือเป็นที่รู้จักในพระนามว่า พระเจ้าตูอิปูโลตูอิลางีตูโอเตเอา (ตองงา: Tu'i Pulotu'i Langi Tu'oteau) ซึ่งมีความหมายว่า "พระมหากษัตริย์แห่งปูโลตู [ฟิจิ] (ที่ถูกฝัง) ในสุสานหลวงนภาร้อยชั้น" เป็นตูอิโตงาพระองค์ที่ 35 แห่งจักรวรรดิตูอิโตงา พระองค์เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าฟากานาอะนาอา ตูอิโตงารัชกาลก่อนหน้ากับพระนางโตโงเตอาโมเฮโอโฟ พระธิดาในตูอิกาโนกูโปลูที่ 4[1] จากพระนามของพระองค์ทำให้นักวิชาการคาดได้ว่าในรัชสมัยของพระองค์มีอิทธิพลของฟีจีต่อการเมืองท้องถิ่นเป็นอย่างมาก ซึ่งอาจเกิดจากการสร้างพันธมิตรระหว่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระนามของพระองค์เอง "ปูโลตู" ก็เป็นสิ่งสะท้อนว่าที่มาดั้งเดิมของพระองค์นั้นมาจากฟีจี[2] ในรัชสมัยของพระองค์ตูอิกาโนกูโปลูถือได้ว่ามีอิทธิพลสูง จากการที่โมเฮโอโฟมีที่มาจากราชตระกูลนั้น[3] เมื่อพระองค์สวรรคต เจ้าชายเปาสืบราชสมบัติต่อทั้งที่ไม่ใช่พระโอรสองค์โตหรือประสูติแต่โมเฮโอโฟหลัก ทั้งนี้มีการสันนิษฐานว่าพระองค์อาจเป็นผู้เลือกรัชทายาทด้วยพระองค์เองโดยข้ามลำดับการสืบราชสมบัติตามปกติ[4]

พระเจ้าฟาตาเฟฮี ตูอิปูโลตูที่ 2
ตูอิโตงาแห่งจักรวรรดิตูอีโตงา
ครองราชย์ค.ศ. 17XX–1770
รัชกาลก่อนหน้าพระเจ้าฟากานาอะนาอา
รัชกาลถัดไปพระเจ้าฟาตาเฟฮี เปาลาโฮ
สวรรคตค.ศ. 1770
ฝังพระศพ
พระมเหสีตูอิโลโกมานูโมเฮโอโฟ
พระราชบุตรพระโอรส 7 พระองค์
พระธิดา 3 พระองค์
พระเจ้าตูอิปูโลตูอิลางีตูโอเตเอา
ราชวงศ์ตูอีโตงา
พระราชบิดาพระเจ้าฟากานาอะนาอา
พระราชมารดาโตโงเตอาโมเฮโอโฟ

อ้างอิง

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "The 'Ahoe'itu Dynasty". royalark. สืบค้นเมื่อ 10 February 2021.
  2. Māhina, p.176
  3. Māhina, p.178
  4. Herda & Lythberg, p.290

แหล่งข้อมูล

แก้
  • Māhina, ’Okusitino (1992). The Tongan Traditional History TALA-E-FONUA. A Vernacular Ecology-Centred Historico-Cultural Concept (PhD). Australian National University.
  • Herda, Phyllis; Lythberg, Billie (2014). "Featherwork and Divine Chieftainship in Tonga". The Journal of the Polynesian Society. 123 (3): 277–300. สืบค้นเมื่อ 2021-02-06.
ก่อนหน้า พระเจ้าฟาตาเฟฮี ตูอิปูโลตูที่ 2 ถัดไป
พระเจ้าฟากานาอะนาอา    
ตูอิโตงาแห่งจักรวรรดิตูอีโตงา
(17XX–1770)
  พระเจ้าฟาตาเฟฮี เปาลาโฮ