พระเจ้าโมโม
สมเด็จพระเจ้าโมโม (ตองงา: Momo) ทรงเป็นตูอีโตงา (พระมหากษัตริย์) พระองค์ที่ 10 แห่งจักรวรรดิตูอีโตงา[1] พระองค์มีพระชนม์ชีพอยู่ในระหว่างประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 11 หรือ 12 พระนามของพระองค์มาจากมนุษย์กลุ่มแรกของโลกตามความเชื่อพื้นเมืองตองงาคือโกไฮ, โกเอา, โม โมโม ในรัชสมัยของพระองค์ถือได้ว่าเป็นยุคเริ่มต้นของความรุ่งเรืองของจักรวรรดิตูอีโตงา และเป็นรัชกาลแรกหลังจากรัชสมัยของพระเจ้าอะโฮเออิตูที่มีบันทึกและเรื่องเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในรัชสมัย
พระเจ้าโมโม | |
---|---|
ตูอีโตงาแห่งจักรวรรดิตูอีโตงา | |
ครองราชย์ | ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 12 |
รัชสมัย | ไม่ทราบปีที่แน่นอน |
ราชาภิเษก | ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 12 |
รัชกาลก่อนหน้า | สมเด็จพระเจ้าอาฟูลูงา |
รัชกาลถัดไป | สมเด็จพระเจ้าตูอิตาตูอิ |
พระมเหสี | สมเด็จพระราชินีนูอา |
พระราชบุตร | สมเด็จพระเจ้าตูอิตาตูอิ เจ้าหญิงลาตูตามา (ตูอีโตงาเฟฟีเน) |
สมเด็จพระเจ้าโมโม | |
ราชวงศ์ | ตูอีโตงา |
พระราชบิดา | สมเด็จพระเจ้าอาฟูลูงา |
พระราชมารดา | ไม่ทราบ |
พระราชประวัติ
แก้สมเด็จพระเจ้าโมโมเป็นพระราชโอรสที่ปรากฏพระนามเพียงพระองค์เดียวของสมเด็จพระเจ้าอาฟูลูงากับพระราชมารดาที่ไม่ทราบพระนาม[2] เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็นตูอีโตงาสืบต่อจากพระราชบิดานั้น พระองค์ได้ส่งราชทูตเลฮาอูลีสู่ของธิดาของโลเอา (ตูอิฮาอะเมอา) ซึ่งปกครองดินแดนอยู่ตอนกลางของเกาะโตงาตาปู[3] อย่างไรก็ตามโลเอาได้แจ้งแก่ราชทูตว่าธิดาของตนคือนูอานั้นได้แต่งงานและมีลูกแล้ว ในขณะที่ธิดาของตนอีกคนหนึ่งก็ยังไม่บรรลุนิติภาวะ สำหรับสามีของนูอานั้นคือโงโงคิลิโตโต หัวหน้าของเผ่าฮาอะโงโงซึ่งอาศัยอยู่ที่มาลาโป[3] อย่างไรก็ตามพระเจ้าโมโมต้องการนูอามาเป็นพระมเหสี ซึ่งท้ายที่สุดโงโงคิลิโตโตจำเป็นต้องยอม นูอาจึงกลายเป็นพระมเหสีของพระเจ้าโมโม[3]
สำหรับพระราชโอรสและพระธิดาของพระเจ้าโมโมและพระมเหสีนูอาที่ปรากฏพระนามมี 2 พระองค์ดังนี้คือ[4]
- สมเด็จพระเจ้าตูอิตาตูอิ
- เจ้าหญิงลาตูตามา
นอกจากนี้แล้วยังปรากฏนามบุตรคนสำคัญของนูอากับโงโงคิลิโตโตคือฟาซีอาปูเลซึ่งจะมีส่วนสำคัญในการช่วยเหลือพระเจ้าตูอิตาตูอิ
พระราชกรณียกิจ
แก้พระองค์ย้ายที่ประทับมาอยู่ที่เฮเกตา[5] ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับนีอูโทอัว ในรัชสมัยของพระองค์ประชาชนจะต้องก้มศีรษะให้ต่ำกว่าตูอีโตงาเพื่อเป็นการแสดงความเคารพ นอกจากนี้ยุคนี้ยังมีการเริ่มขยายอำนาจของจักรวรรดิให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้นด้วย ซึ่งต่อมาจะประสบความสำเร็จในรัชสมัยของพระโอรสของพระองค์[3]
พงศาวลี
แก้พงศาวลีของพระเจ้าโมโม | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
รายการอ้างอิง
แก้- ↑ "The 'Ahoe'itu Dynasty". Royalark. 14 January 2014.
- ↑ "TU'I TONGA 'Afulunga (d. date unknown)". familytreemaker. 14 January 2014.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 "BACKGROUND TO TONGAN SOCIETY AT THE TIME OF CAPTAIN COOK'S VISITS" (PDF). The Journal of the Polynesian Society. 14 January 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-12-09. สืบค้นเมื่อ 2014-01-15.
- ↑ "TU'I TONGA Momo (d. date unknown)". familytreemaker. 15 January 2014.
- ↑ "The Ancient Capitals of the Kingdom of Tonga". UNESCO. 15 January 2014.
ก่อนหน้า | พระเจ้าโมโม | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สมเด็จพระเจ้าอาฟูลูงา | ตูอีโตงาแห่งจักรวรรดิตูอีโตงา (ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 12) |
สมเด็จพระเจ้าตูอิตาตูอิ |