จระเข้น้ำจืด
จระเข้น้ำจืด, จระเข้บึง, จระเข้สยาม หรือ จระเข้น้ำจืดสายพันธุ์ไทย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Crocodylus siamensis) มีถิ่นกำเนิดในบริเวณประเทศไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม กาลีมันตัน ชวา และสุมาตรา จัดเป็นจระเข้ขนาดปานกลางค่อนมาทางใหญ่ (3–4 เมตร) มีเกล็ดท้ายทอด มีช่วงวัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 10–12 ปี จระเข้ชนิดนี้วางไข่ครั้งละ 20–48 ฟอง โดยมีระยะเวลาฟักไข่นาน 68–85 วัน เริ่มวางไข่ในช่วงต้นฤดูฝนประมาณเดือนพฤษภาคม โดยขุดหลุมในหาดทรายริมแม่น้ำ ใช้เวลาเฉลี่ยราว 80 วัน ชอบอยู่และหากินเดี่ยว
จระเข้น้ำจืด ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: สมัยไพลสโตซีน–ปัจจุบัน, 2.6–0Ma[1] | |
---|---|
จระเข้น้ำจืด ที่ลานแสดงช้างและฟาร์มจระเข้สามพราน | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | สัตว์เลื้อยคลาน Reptilia |
อันดับ: | อันดับจระเข้ Crocodilia |
วงศ์: | Crocodylidae Crocodylidae |
สกุล: | จระเข้ Crocodylus Schneider, 1801 |
สปีชีส์: | Crocodylus siamensis |
ชื่อทวินาม | |
Crocodylus siamensis Schneider, 1801 | |
ชื่อพ้อง | |
|
โดยปกติจระเข้น้ำจืดจะกินปลาและสัตว์อื่นที่เล็กกว่าเป็นอาหาร จะไม่ทำร้ายมนุษย์หากไม่ถูกรบกวนหรือมีอาหารเพียงพอ ในอดีตในประเทศไทยเคยพบชุกชุมในแหล่งน้ำทั่วทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะในแถบที่ราบลุ่มภาคกลาง เช่น บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ ได้ชื่อว่าเป็นสถานที่จระเข้ชุม เคยมีรายงานว่าพบจระเข้ถึง 200 ตัว หรือในวรรณกรรมพื้นบ้านเรื่องต่าง ๆ เช่น ไกรทอง ของจังหวัดพิจิตร เป็นต้น แต่ปัจจุบันได้สูญหายไปจนหมดแล้ว แต่ในต่างประเทศยังคงพบอยู่เช่นที่ทะเลสาบเขมร ประเทศกัมพูชา โดยเฉพาะทิวเขาพนมกระวาน ซึ่งช่วงแรกค้นพบเพียง 3 ตัว จนนำไปสู่การค้นพบจระเข้นับร้อยตัวที่อาศัยโดยไม่พึ่งพาอาศัยมนุษย์ แต่ที่นี่ก็ประสบปัญหาการจับจระเข้ไปขายฟาร์มจำนวนมาก[3] สถานะในอนุสัญญาของไซเตสได้ขึ้นบัญชีจระเข้น้ำจืดไว้อยู่ในบัญชีหมายเลข 1 (Appendix 1)
ปัจจุบัน จระเข้สายพันธุ์นี้แท้ ๆ ก็ยังหายากในสถานที่เลี้ยง เนื่องจากถูกผสมสายพันธุ์กับจระเข้สายพันธุ์อื่นจนเสียสายพันธุ์แท้ไปด้วยจากเหตุผลทางด้านเศรษฐกิจ
สถานะตามธรรมชาติในไทย
แก้ปัจจุบันประเทศไทย เชื่อว่าจระเข้ที่ยังคงสถานะในธรรมชาติหลงเหลืออยู่ที่คลองระบม-สียัด เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤๅไน จังหวัดฉะเชิงเทรา ในอดีตมีนายพรานจากประเทศเวียดนามเข้ามาล่า ทำให้จระเข้หายไปจากป่าต้นน้ำคลองระบม-สียัด จนในปี พ.ศ. 2535 นายกิตติ กรีติยุตานนท์ ผู้ช่วยหัวหน้าสถานีวิจัยสัตว์ป่าฉะเชิงเทรา ได้พบจระเข้น้ำจืดในพื้นที่ดังกล่าว แต่คาดว่าเหลือไม่เกิน 5 ตัว[4] ปัจจุบันพบเพียงตัวผู้เพียงตัวเดียว[5]
ในอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี มีอยู่ประมาณ 5 ตัว เชื่อกันว่าเป็นเพศเมียทั้งหมด[6] แต่หลังจากในปี พ.ศ. 2552 ได้พบการวางไข่ของจระเข้กลุ่มดังกล่าว แต่ไข่กลับไม่ได้รับการผสม[7][8]
- ในบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ มีจระเข้ไม่เกิน 50 ตัว (คาดการณ์)[9] ปัจจุบันสามารถเห็นได้ชัด 1 ตัว บริเวณที่ทำการบึงบอระเพ็ดมักขึ้นมาแสดงตัวกับนักท่องเที่ยว พบแหล่งวางไข่บนเกาะวัดและเกาะ ดร.สมิท จำนวน 2 ตัว บริเวณคลองบึงบอระเพ็ดจำนวน 1–2 ตัว ฯลฯ และส่วนต่าง ๆ ในบริเวณบึงบอระเพ็ดที่ครอบคลุม 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองนครสวรรค์, อำเภอชุมแสง, อำเภอท่าตะโก สามารถพบเห็นจระเข้ได้ตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่พบจระเข้ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด ในปี พ.ศ. 2564 ชาวบ้านหาปลาเคยพบลูกจระเข้ในบึงที่เกิดเองในธรรมชาติ แต่ยังไม่มีการสำรวจที่แน่ชัดว่ามีประชากรเท่าไร เนื่องจากบึงบอระเพ็ดมีขนาดที่ใหญ่โตมาก และจระเข้เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำที่ค่อนข้างเงียบ เมื่ออยู่บนบกจะซุ่มเงียบในโพรงหญ้า เมื่ออยู่ในน้ำจะขึ้นมาหายใจให้เห็นเฉพาะจมูกเท่านั้น จระเข้บึงกินปลาเป็นอาหาร ในการกินแต่ละครั้งสามารถอยู่ได้ 10–15 วัน โดยไม่ต้องกินอาหารอีก ทำให้ระหว่างนั้นจระเข้มักหาที่นอนและเคลื่อนไหวช้า ยากต่อการค้นหา นักวิจัยบางส่วนเชื่อว่าในปี พ.ศ. 2564 มีจระเข้เหลืออยู่ในบึงบอระเพ็ดประมาณ 15–30 ตัวเท่านั้น ทั้งนี้คนกับจระเข้ในพื้นที่ไม่มีปัญหากัน เนื่องจากชาวบ้านมีความเชื่อเรื่องเจ้าแม่หมอนทองที่เป็นจระเข้ มีศาลสักการะบูชาเจ้าแม่หมอนทองในพื้นที่บึงบอระเพ็ดมาอย่างยาวนาน
- ในอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง มีจระเข้อย่างน้อย 3 ตัว ที่บ้านคลองชมพู อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งเป็นประชากรจระเข้กลุ่มเดียวในไทยที่ยังมีการผสมพันธุ์ตามธรรมชาติอยู่ และไม่มีประวัติการทำร้ายผู้คน[10][11]
- ในอุทยานแห่งชาติปางสีดา จังหวัดสระแก้ว เดิมมีจระเข้อาศัยอยู่ก่อนแล้วในแหล่งน้ำธรรมชาติ จากคำสัมภาษณ์ของชาวบ้าน เคยดำน้ำหาปลาพบจระเข้หลายครั้ง และเคยเห็นคนเข้ามาจับจระเข้มัดเพื่อขนย้ายออกไป โดยชาวบ้านไม่มีปัญหากับจระเข้ และจระเข้ไม่เคยทำร้ายชาวบ้าน ถึงแม้ชาวบ้านจะเคยเจอกับจระเข้ในน้ำหลายครั้งระหว่างหาปลาก็ตาม ทำให้ชาวบ้านเห็นด้วยกับโครงการอนุรักษ์จระเข้สายพันธุ์ท้องถิ่น ในปี พ.ศ. 2548 อุทยานได้มีการทดลองปล่อยจระเข้น้ำจืดไทยครั้งแรกจำนวน 10 ตัว เป็นตัวผู้ 5 ตัว ตัวเมีย 5 ตัว และครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2561 ได้มีการปล่อยจระเข้คืนสู่ธรรมชาติอีก 17 ตัว
- มีการรายงานว่าพบจระเข้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ายอดโดม จังหวัดอุบลราชธานี[12]
- มีการค้นพบร่องรอยจระเข้ในอุทยานแห่งชาติทับลาน ซึ่งเป็นผืนป่าที่เชื่อมต่อกับปางสีดาและป่าภูเขียว[3]
- ในปี พ.ศ. 2556 มีการพบซากจระเข้น้ำจืดตัวหนึ่งและจระเข้ที่มีชีวิตอีกตัวหนึ่งในแม่น้ำชุมพรที่บ้านบางสมอ ตำบลตากแดด อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นจระเข้ตามธรรมชาติเนื่องจากกรงเล็บและเขี้ยวแหลมคม ในอดีตเมื่อ 50–60 ปีก่อนที่นี่เคยเป็นแหล่งอาศัยของจระเข้น้ำจืดที่ชุกชมมาก่อน แต่ต่อมาประชากรได้ลดจำนวนลง[13] เวลาต่อมาได้มีการสั่งประกาศจับเป็นหรือจับตายจระเข้อีกหนึ่งตัวที่เหลืออยู่[14]
จระเข้ในไทยในปัจจุบันคาดว่าในแต่ละแหล่งคงมีจระเข้หลงเหลือไม่เกิน 1–3 ตัว และไม่น่ามีการผสมพันธุ์กัน จระเข้ตามธรรมชาติของไทยจึงสุ่มเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์[15] ล่าสุดมีการพบที่ลานหินตาด ภายในอุทยานแห่งชาติปางสีดา จังหวัดสระแก้ว เมื่อปลายเดือนเมษายนและต้นเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2557 ด้วยหลักฐานภาพถ่ายและวีดิทัศน์ของนักท่องเที่ยวชาวสวิส คาดว่ามีความยาวประมาณ 1.3 เมตร โดยที่แห่งนี้เคยมีการค้นพบจระเข้น้ำจืดมาแล้วในอดีตเมื่อปี พ.ศ. 2537[16]
ทางวัฒนธรรมและความเชื่อ
แก้ในประเทศไทย บริเวณลุ่มน้ำคลองระบม-สียัด จังหวัดฉะเชิงเทรา มีความเชื่อเรื่อง "จระเข้เจ้า" ว่าเป็นพาหนะของเจ้าพ่อเขากา ที่ไม่ทำร้ายผู้คน แต่ถ้าหากใครไปทำร้ายก็จะประสบกับภัยพิบัติ[4] บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แถบลำน้ำโดมใหญ่หรือบางแห่งในลุ่มน้ำมูล มีความเชื่อเรื่อง "จระเข้เจ้า" เช่นกัน แต่จะเป็นจระเข้เผือกที่ภาษาถิ่นเรียกว่า "แข้ด่อน" ส่วนคนในบ้านครัว ชุมชนมุสลิมริมคลองแสนแสบ กรุงเทพมหานคร มีตำนานปรัมปราว่า บรรพบุรุษของชาวบ้านครัวเป็นจระเข้ที่อยู่ในคลองแสนแสบ[17] ทั้งนี้ในนิทานเรื่อง ไกรทอง ได้ให้ภาพพจน์ของจระเข้มีสถานะและความสัมพันธ์เทียบเท่ากับมนุษย์ และเรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอนพลายชุมพลปราบจระเข้เถรขวาด ก็แสดงให้เห็นถึงความเชื่อและมุมมองของคนในสมัยก่อนที่มีต่อจระเข้[17]
การเพาะพันธุ์
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Rio, J. P. & Mannion, P. D. (2021). "Phylogenetic analysis of a new morphological dataset elucidates the evolutionary history of Crocodylia and resolves the long-standing gharial problem". PeerJ. 9: e12094. doi:10.7717/peerj.12094. PMC 8428266. PMID 34567843.
- ↑ 2.0 2.1 Bezuijen, M.; Simpson, B.; Behler, N.; Daltry, J. & Tempsiripong, Y. (2012). "Crocodylus siamensis". IUCN Red List of Threatened Species. 2012: e.T5671A3048087. doi:10.2305/IUCN.UK.2012.RLTS.T5671A3048087.en. สืบค้นเมื่อ 22 January 2022.
- ↑ 3.0 3.1 ธเนศ งามสม (พฤศจิกายน 2005). "ปางสีดา เราจะนำอดีตกลับคืนมาอีกครั้ง". อนุสาร อ.ส.ท. Vol. 46 no. 4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 ตุลาคม 2008. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2011.
- ↑ 4.0 4.1 วิบูลย์ เข็มเฉลิม. วิถีคนป่าตะวันออกผืนสุดท้าย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2548. หน้า 119–120. ISBN 974-966-676-3.
- ↑ สนับบุญ (กรกฎาคม 2008). เสียงโหยหวนจากพงไพร "กระทิง-ช้าง"เขาอ่างฤๅไนจึงอยากพามาเที่ยวฝนนี้ เก็บถาวร 2009-09-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
- ↑ "รายการคม-ชัด-ลึกตอนตามล่าจระเข้เขาใหญ่". คม-ชัด-ลึก. 4 กันยายน 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 กันยายน 2009. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2009.
{{cite news}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "บันทึกการสำรวจลำน้ำเพชรฯ กับความหวังสุดท้ายของจระเข้น้ำจืดไทย Part 1". Wildlife Conservation Society Thailand Program. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 กันยายน 2009. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2011.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "จากเลื้อยสยองที่เขาใหญ่ ถึงสถานการณ์ "จระเข้พันธุ์ไทย"". ไทยโพสต์. 16 สิงหาคม 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 สิงหาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2011.
- ↑ "นำร่องปล่อยจระเข้คืนป่า 'แก่งกระจาน-ปางสีดา-ตะรุเตา'". ไทยรัฐ. 28 กุมภาพันธ์ 2013. สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2013.
- ↑ siamensis.org. "สารคดี - สิ่งแวดล้อม : รายงานการค้นพบจระเข้น้ำจืดสายพันธุ์ไทยในอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง". Sarakadee Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 ตุลาคม 2007. สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2011.
- ↑ รายงานการค้นพบจระเข้น้ำจืดสายพันธุ์ไทย ในเขตอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง จังหวัดพิษณุโลก
- ↑ "จระเข้น้ำจืด". สัตว์ป่าเมืองไทย. Prince Royal's College. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 มิถุนายน 2011. สืบค้นเมื่อ 29 ธันวาคม 2010.
- ↑ "ชาวบ้านผวา! จระเข้น้ำจืดโผล่แม่น้ำชุมพร เร่งล่า". ไทยรัฐ. 21 พฤษภาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 23 พฤษภาคม 2013.
- ↑ "เร่งล่า 'จระเข้' ตัวเขื่อง ชาวบ้าน 2 ฝั่งแม่น้ำชุมพรผวาหนัก". ไทยรัฐ. 23 พฤษภาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 23 พฤษภาคม 2013.
- ↑ "นักอนุรักษ์สุดปลื้ม!! จระเข้น้ำจืดสายพันธุ์ไทย! ที่หายาก-ใกล้สูญพันธุ์ โผล่หน้ากล้องดักถ่าย อช.แก่งกระจาน". ผู้จัดการออนไลน์. 23 มกราคม 2021.
- ↑ "จระเข้สายพันธุ์ไทยโผล่ที่ปางสีดา". เดลินิวส์. No. 23,583. 8 พฤษภาคม 2014. pp. 14 ต่อข่าวหน้า 1.
- ↑ 17.0 17.1 ศรีศักร วัลลิโภดม (มกราคม–มีนาคม 2003). "ลุ่มน้ำเจ้าพระยากับตะเข้". วารสารเมืองโบราณ. Vol. 29 no. 1. มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 ตุลาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 8 มิถุนายน 2014.
- ↑ "'จระเข้สยาม' เกิดอีก 13 ตัว เจอเป็นๆ ในป่า จ.เกาะกง". ผู้จัดการออนไลน์. 16 มิถุนายน 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 สิงหาคม 2017.
- ↑ ลาวช่วยเพาะจระเข้พันธุ์สยามรอดพ้นจากการสูญพันธุ์ขึ้นได้อีก. ไทยรัฐ. 7 กันยายน 2011.
- ↑ "ฟักไข่จระเข้น้ำจืดสายพันธุ์ไทยแท้สำเร็จ". ครอบครัวข่าว 3. 24 มิถุนายน 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 มิถุนายน 2014.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Crocodylus siamensis – The Crocodile Specialist Group.
- Crocodylus siamensis – from the Biodiversity Heritage Library [1] เก็บถาวร 2016-10-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Action Plan for Crocodylus siamensis. IUCN/SSC Crocodile Specialist Group – Status Survey and Conservation Action Plan, 2nd edition.
- "Rare crocs back from extinction (video)". BBC. 5 February 2009.
- "New crocodile hope in Cambodia". BBC. 10 November 2009.
- "Saving the last Siamese crocodiles". Fauna and Flora International. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-23. สืบค้นเมื่อ 2009-11-11.