อันดับจระเข้ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Crocodilia) เป็นอันดับของสัตว์เลื้อยคลาน โดยทั่วไปมีขนาดใหญ่ เป็นสัตว์นักล่า อาศัยกึ่งบนบกและน้ำ ที่รู้จักโดยรวมในชื่อ "จระเข้" โดยสัตว์ในอันดับนี้มีหลักฐานปรากฏขึ้นบนโลกครั้งแรกตั้งแต่ช่วงปลายยุคครีเทเชียส เมื่อ 95 ล้านปีก่อน และคาดว่าอยู่ร่วมสมัยกับไดโนเสาร์ จระเข้เป็นญาติที่ใกล้ชิดที่สุดของนก (Aves) (จระเข้ และ นก เป็นสัตว์ในกลุ่มอาร์โคซอร์เพียงสองพวกที่อยู่รอดมาจนปัจจุบัน) จระเข้ดึกดำบรรพ์ มีหลายขนาดตั้งแต่ 4-5 เมตร ไปจนถึง 11.2 - 18 เมตร ได้แก่ ราห์มโฟห์ซูคัส (Rhamphosuchus) ที่อาศัยอยู่ในยุคครีเทเชียสเมื่อ70ล้านปีมาแล้ว บางส่วนยังคงสืบเผ่าพันธุ์หรือวิวัฒนาการมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่ง "อันดับจระเข้" ครอบคลุมถึง วงศ์จระเข้ (หรือ จระเข้แท้ — Crocodylidae) วงศ์แอลลิเกเตอร์ (คือ แอลลิเกเตอร์ หรือบางครั้งเรียก "จระเข้ตีนเป็ด" และเคแมน) และ วงศ์ตะโขง (วงศ์ Gavialidae)

อันดับจระเข้
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ยุคครีเทเชียสตอนปลาย – ปัจจุบัน 83.5–0Ma
ตามภาพจากบนซ้าย: จระเข้น้ำเค็ม (Crocodylus porosus), แอลลิเกเตอร์อเมริกา (Alligator mississippiensis), และ ตะโขงอินเดีย (Gavialis gangeticus)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอต
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: สัตว์เลื้อยคลาน
Reptilia
เคลด: Pseudosuchia
Pseudosuchia
อันดับใหญ่: Crocodylomorpha
Crocodylomorpha
เคลด: Eusuchia
Eusuchia
อันดับ: อันดับจระเข้
Crocodilia
Owen, 1842
กลุ่มย่อย
การกระจายของอันดับจระเข้ บนบก (สีเขียว) และในทะเล (สีน้ำเงิน)

ลักษณะ

แก้

เป็นสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ มีแผ่นแข็งและหนาปกคลุมลำตัวคล้ายเกล็ด แผ่นแข็งที่ปกคลุมลำตัวด้านหลังมีกระดูกชิ้นใหญ่อยู่ในชั้นหนัง ซึ่งในหลายชนิดมีกระดูกในชั้นหนังทางด้านท้องด้วย แผ่นแข็งของวงศ์ Crocodylidae และวงศ์ Gavialidae มีแอ่งทำหน้าที่รับรู้ความรู้สึกสัมผัสได้ ส่วนของปลายหัวยื่นยาวและมีฟันอยู่ในแอ่งของขากรรไกร ตามีแผ่นหนังโปร่งใสคลุมทับขณะดำน้ำ หางมีขนาดใหญ่ ขามีขนาดใหญ่แต่สั้น แข็งแรง และมีแผ่นหนังเรียกว่าพังผืดยิดติดระหว่างนิ้ว ใช้ในการว่ายน้ำ ในวงศ์ Crocodylidae และวงศ์ Gavialidae มีต่อมขจัดเกลืออยู่บนลิ้น เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในน้ำหรือพื้นที่ชุ่มน้ำ

เป็นสัตว์กินเนื้อ ที่หากินในน้ำเป็นหลัก จึงมีสภาพของร่างกายใช้ชีวิตได้ดีเมื่ออยู่ในน้ำ กล่าวคือ ช่องเปิดจมูกอยู่ทางด้านบนตรงส่วนปลายสุดของส่วนหัวที่ยื่นยาวและช่องเปิดจมูกมีแผ่นลิ้นปิดได้อยู่ใต้น้ำ อุ้งปากมีเพดานปากทุติยภูมิเจริญขึ้นมาจึงแยกปากออกจากโพรงจมูกได้สมบูรณ์ โพรงจมูกทางด้านท้ายสุดของเพดานปากทุติยภูมิมีแผ่นลิ้นปิดเช่นเดียวกัน ซึ่งทำให้สามารถหายใจได้เมื่ออยู่ในน้ำขณะที่คาบอาหารอยู่ นอกจากนี้แล้วยังมีแผ่นเยื่อแบ่งแยกช่องอกออกจากช่องท้องซึ่งแผ่นเยื่อนี้ทำหน้าที่เหมือนกะบังลมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมแต่เจริญจากเนื้อเยื่อที่ต่างกัน ปอดจึงมีถุงลมที่เจริญกว่าปอดของสัตว์เลื้อยคลานในอันดับอื่น การแลกเปลี่ยนก๊าซจึงมีประสิทธิภาพสูงกว่า หัวใจมี 4 ห้องและมีลักษณะโครงสร้างคล้ายคลึงกับหัวใจของสัตว์ปีก ซึ่งเป็นสัตว์ในชั้นที่วิวัฒนาการมาจากสัตว์เลื้อยคลานจำพวกไดโนเสาร์เช่นกัน แต่การปะปนกันของเลือดยังคงเกิดขึ้นบ้างทางช่องตรงตำแหน่งที่หลอดเลือดแดงซีสทีมิกซ้ายและหลอดเลือดแดงซิสทีมิกขวาทอดข้ามกัน และสามารถควบคุมการไหลเวียนของเลือดให้ไปเฉพาะสมองได้ขณะดำน้ำ

ขณะอยู่บนบกแม้ไม่คล่องเท่าอยู่ในน้ำ แต่ก็เดินหรือวิ่งได้ดี โดยจะใช้ขายกลำตัวขึ้น และมีรายงานว่า จระเข้น้ำจืดออสเตรเลีย (Crocodylus johnsoni) สามารถกระโดดเมื่ออยู่บนบกได้ด้วย

ขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่ในดินหรือทรายริมตลิ่งที่ปะปนด้วยพืชจำพวกหญ้าหรือวัชพืชต่าง ๆ ปกคลุม หรือในบางพื้นที่อาจวางไข่ในแหล่งน้ำหรือพื้นที่เปิดโล่ง ทั้งตัวผู้และตัวเมียช่วยกันดูแลไข่จนกระทั่งฟักออกมา ซึ่งมีความรักและผูกพันต่อลูกมาก ซึ่งเป็นลักษณะการดูแลลูกของสัตว์ในอันดับอาร์โคซอร์ เช่นเดียวกับสัตว์ปีกและไดโนเสาร์ การกำหนดเพศของตัวอ่อนขึ้นอยู่กับปัจจัยทางอุณหภูมิ

อาหารส่วนมากเป็นสัตว์น้ำ แต่ก็อาจจะกินสัตว์อย่างอื่นหรือแม้กระทั่งสัตว์ที่ใหญ่กว่าได้ โดยมีมักหากินในเวลากลางคืน โดยลากลงไปในน้ำและใช้วิธีกดให้เหยื่อจมน้ำตายก่อนแล้วจึงกิน นับเป็นสัตว์กินเนื้อที่มีประสิทธิภาพในการล่าเหยื่อสูงมากจำพวกหนึ่ง

พบกระจายพันธุ์ในเขตอบอุ่นและเขตร้อนทั่วโลก และพบได้จนถึงแหล่งน้ำกร่อยหรือน้ำเค็ม เช่น ปากแม่น้ำหรือป่าโกงกาง แม้ส่วนใหญ่จะอาศัยและหากินในน้ำจืดเป็นหลักก็ตาม[1]

อนุกรมวิธานและวิวัฒนาการ

แก้
 
ภาพของสัตว์ในอันดับจระเข้ชนิดต่าง ๆ เมื่อเทียบกับมนุษย์ (สีแดง & สีส้ม-สูญพันธุ์ไปแล้ว)
 
ช่วงขนาดของกะโหลกของจระเข้และตะโขงในอันดับจระเข้ โดยเทียบสัดส่วนความยาวต่อความกว้าง เรียงจากกะโหลกแคบยาว (บน) สู่กะโหลกกว้างสั้น (ล่าง)

ความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการ

แก้

ความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการของอันดับจระเข้ (crocodilians) เป็นเรื่องที่ถกเถียงกันในการจัดลำดับวิวัฒนาการชาติพันธุ์ ก่อนหน้านี้ผลการศึกษาจำนวนมากในการระบุ "แผนภาพวิวัฒนาการชาติพันธุ์" (cladograms) หรือ "ลำดับเครือญาติ" (family trees) ของอันดับจระเข้ ด้วยการอ้างอิงจากการวิเคราะห์ลักษณะโครงกระดูกเพียงอย่างเดียว ผลพบว่าวงศ์จระเข้ (Crocodylidae) และวงศ์แอลลิเกเตอร์ (Alligatoridae) เป็นญาติใกล้ชิดและจัดเป็นกลุ่มพันธุ์ที่มีจมูกสั้นในชื่อ Brevirostres โดยมีวงศ์ตะโขง (Gavialidae) ที่มีจมูกยาวเป็นญาติที่แยกออกมาต่างหาก[2]

ในปีพ.ศ. 2555 Erickson (และคณะ) ศึกษาวิวัฒนาการชาติพันธุ์จากการจัดลำดับดีเอ็นเอ เพื่อสร้างแผนภาพวิวัฒนาการชาติพันธุ์ที่มีความเป็นไปได้สูงสุดในความสัมพันธ์ระหว่างสายพันธุ์จระเข้ที่มีชีวิตในปัจจุบัน (ไม่รวมเคแมนชนิด Caiman yacare ซึ่งไม่มีหลักฐานดีเอ็นเอ) จากผลการศึกษานี้ การแบ่งด้วยความแตกต่างของโครงสร้างกระดูกเป็นกลุ่มจมูกสั้น (Brevirostres) จึงต้องถูกล้มล้างด้วยหลักฐานทางดีเอ็นเอของตะโขง (gavialids) ที่แม้มีจมูกยาวแต่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับจระเข้ (Crocodylidae) มากกว่าจระเข้ตีนเป็ด (Alligatoridae)[3]

อันดับจระเข้ แบ่งออกได้เป็น 3 วงศ์ ปัจจุบันพบทั้งหมด 25 ชนิด (ในบางข้อมูลอาจจัดให้อยู่ในวงศ์เดียวกันหมด แต่แบ่งออกมาเป็นวงศ์ย่อย) โดยเฉพาะความสัมพันธ์กันระหว่างสกุล Tomistoma กับ สกุล Gavialis โดยแต่เดิมการวิเคราะห์ทางกายภาพโครงสร้างกระดูก จัดให้สกุล Tomistoma นั้นอยู่ในวงศ์ Crocodylidae แต่การวิเคราะห์ทางโมเลกุล พบว่าใกล้เคียงกับสกุล Gavialis ที่อยู่ในวงศ์ Gavialidae มากกว่า

Crocodilia

อนุกรมวิธาน

แก้
 
เขตการกระจายพันธุ์ของวงศ์จระเข้
วงศ์ สกุล ภาพ ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญ ลักษณะ แหล่งกระจายพันธุ์ สถานะ
วงศ์แอลลิเกเตอร์ (Alligatoridae) สกุล Alligator
 
Alligator mississippiensis แอลลิเกเตอร์อเมริกา (American alligator)
  • หัวแผ่กว้างและสั้น
  • ตีนมีพังผืด
  • ยาว 2.5-3.4 เมตร
สหรัฐอเมริกาทางตะวันออกเฉียงใต้ (ลุ่มน้ำมิสซิสสิปปี)   LC IUCN
 
Alligator sinensis แอลลิเกเตอร์จีน (Chinese alligator)
  • หัวแผ่กว้างและสั้น
  • ตีนมีพังผืด
  • มีขนาดเล็กมาก ยาวไม่เกิน 1.5-2 เมตร
จีน ทางตะวันออก (ลุ่มแม่น้ำแยงซี)   CR IUCN
สกุล Paleosuchus
 
Paleosuchus palpebrosus เคแมนแคระกูว์วีเย

(Cuvier's dwarf caiman)

  • กะโหลกเป็นรูปโดม
  • จมูกที่สั้นเรียบเว้า ส่วนปลายจมูกกระดกขึ้นคล้ายกับหัวของหมา
  • เป็นชนิดที่มีขนาดเล็กที่สุดในทวีปอเมริกา ยาวไม่เกิน 1.2 เมตร[4]
อเมริกาใต้ (ลุ่มน้ำแอมะซอน)   LC IUCN
 
Paleosuchus trigonatus เคแมนหน้าเรียบ

(Smooth-fronted caiman)

  • กะโหลกเป็นรูปโดม
  • หน้าเรียบ ไม่มีสันกระดูกระหว่างดวงตา
  • แผ่นแข็งที่ท้ายทอยและหางมีขนาดใหญ่เป็นรูปสามเหลี่ยมและแหลม
  • มีแผ่นแข็งที่หน้าท้อง
  • หางที่ค่อนข้างสั้น โคนหางแบนกว้างในแนวตั้ง
อเมริกาใต้ (ลุ่มน้ำแอมะซอน และลุ่มน้ำโอริโนโก)   LC IUCN
สกุล Caiman
 
Caiman yacare เคแมนยากาเร

(Yacare caiman)

  • ขนาดกลาง ยาว 2-3 เมตร
  • จุดดำกระจายทั่วร่างกาย เห็นชัดที่สุดที่
  • จมูกเรียบ ยาวปานกลางและกว้าง
  • มีก้อนบนเปลือกตาและสันโค้งระหว่างตา
อเมริกาใต้ ตอนใต้   LC IUCN
 
Caiman crocodilus เคแมนแว่น

(Spectacled caiman)

อเมริกากลาง อเมริกาใต้ในเขตลุ่มน้ำแอมะซอน และลุ่มน้ำโอริโนโก   LC IUCN
 
Caiman latirostris เคแมนปากกว้าง

(Broad-snouted caiman)

บราซิลตอนใต้   LC IUCN
สกุล Melanosuchus
 
Melanosuchus niger เคแมนดำ (black caiman) อเมริกาใต้   NE IUCN
วงศ์จระเข้ (Crocodylidae) สกุล Crocodylus
 
Crocodylus niloticus จระเข้แม่น้ำไนล์ แอฟริกา   LC IUCN
 
Crocodylus suchus จระเข้ทะเลทราย

(West African crocodile)

สถานะทางอนุกรมวิธานมีความขัดแย้งและไม่ชัดเจน แอฟริกากลางและตะวันตก

(เคยพบซากในแม่น้ำไนล์ตอนใต้)

 
Crocodylus siamensis จระเข้น้ำจืด หรือ จระเข้สยาม (Siamese crocodile) ประเทศไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม   CR IUCN
 
Crocodylus palustris จระเข้อินเดีย

(Mugger crocodile)

เอเชียใต้   VU IUCN
 
Crocodylus johnstoni จระเข้น้ำจืดออสเตรเลีย (Australian freshwater crocodile) ออสเตรเลียตอนเหนือ   LC IUCN
 
Crocodylus porosus จระเข้น้ำเค็ม (Saltwater crocodile) ชายฝั่งและป่าชายเลนของ เอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลียตอนเหนือ   LC IUCN
Crocodylus mindorensis จระเข้ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ตอนใต้   CR IUCN
Crocodylus novaeguineae จระเข้นิวกินี เกาะนิวกินี ของอินโดนีเซีย และปาปัวนิวกินี   LC IUCN
Crocodylus raninus จระเข้บอร์เนียว (Borneo crocodile) สถานะทางอนุกรมวิธานมีความขัดแย้งและไม่ชัดเจน
 
Crocodylus acutus จระเข้อเมริกา (American crocodile) อเมริกากลาง อเมริกาใต้ตอนเหนือ หมู่เกาะแคริบเบียน   VU IUCN
Crocodylus intermedius จระเข้โอริโนโก (Orinoco crocodile) อเมริกาใต้ (ลุ่มน้ำโอริโนโก)   CR IUCN
Crocodylus rhombifer จระเข้คิวบา (Cuban crocodile) เฉพาะในคิวบาเท่านั้น   CR IUCN
Crocodylus moreletii จระเข้เม็กซิโก หรือ จระเข้มอเรเล็ต

(Morelet's crocodile)

เม็กซิโก   LC IUCN
สกุล Mecistops
 
Mecistops cataphractus

[Crocodylus cataphractus]

จระเข้ปากแหลมแอฟริกาตะวันตก (West African slender-snouted crocodile) แอฟริกาตะวันตก   CR IUCN
 
Mecistops leptorhynchus [Crocodylus leptorhynchus] จระเข้ปากแหลมแอฟริกากลาง (Central African slender-snouted crocodile) อาจจัดเป็นชนิดย่อยของ Mecistops cataphractus แอฟริกากลาง
สกุล Osteolaemus
 
Osteolaemus tetraspis จระเข้แคระ (Dwarf crocodile หรือ African dwarf crocodile)
  • เป็นจระเข้ชนิดที่เล็กที่สุดในโลก ยาวประมาณ 1.5 เมตร
  • จมูกทื่อ สั้น กว้าง
แอฟริกากลางและตะวันตก   VU IUCN
วงศ์ตะโขง (Gavialidae) สกุล Gavialis
 
Gavialis gangeticus ตะโขงแท้ หรือ ตะโขงอินเดีย
  • ปากแหลมเรียวยาว
  • มีปุ่มเนื้อ งอกอยู่ที่ส่วนปลายจมูก
  • ความยาวเต็มที่ได้ 6.5 เมตร
  • ชอบอาศัยอยู่ในน้ำมากที่สุดในบรรดาสัตว์ในอันดับจระเข้ที่สุด
เอเชียใต้ และพม่า   CR IUCN
สกุล Tomistoma
 
Tomistoma schlegelii ตะโขงเทียม หรือ ตะโขง
  • ปากแหลมเรียวยาว โคนปากกว้าง
  • ใม่มีก้อนเนื้อตอนปลายจมูก
  • มีจุดหรือลายดำ คาดขวางบนลำตัว
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ คาบสมุทรมาเลย์ เกาะบอร์เนียว เกาะสุมาตรา   VU IUCN


อ้างอิง

แก้
  1. วีรยุทธ์ เลาหะจินดา, วิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก หน้า 365-367 (พ.ศ. 2552) ISBN 978-616-556-016-0
  2. Holliday, Casey M.; Gardner, Nicholas M. (2012). Farke, Andrew A (บ.ก.). "A new eusuchian crocodyliform with novel cranial integument and its significance for the origin and evolution of Crocodylia". PLOS ONE. 7 (1): e30471. Bibcode:2012PLoSO...730471H. doi:10.1371/journal.pone.0030471. PMC 3269432. PMID 22303441.
  3. Erickson, G. M.; Gignac, P. M.; Steppan, S. J.; Lappin, A. K.; Vliet, K. A.; Brueggen, J. A.; Inouye, B. D.; Kledzik, D.; Webb, G. J. W. (2012). Claessens, Leon (บ.ก.). "Insights into the ecology and evolutionary success of crocodilians revealed through bite-force and tooth-pressure experimentation". PLOS ONE. 7 (3): e31781. Bibcode:2012PLoSO...731781E. doi:10.1371/journal.pone.0031781. PMC 3303775. PMID 22431965.
  4. Britton, Adam (2009-01-01). "Paleosuchus palpebrosus (Cuvier, 1807)". Crocodilian species list. สืบค้นเมื่อ 2013-10-28.

บรรณานุกรม

แก้
--- Sues, Hans-Dieter. "The Place of Crocodilians in the Living World". pp. 14–25.
--- Buffetaut, Eric. "Evolution". pp. 26–41.
--- Mazzotti, Frank J. "Structure and Function". pp. 42–57.
--- Ross, Charles A.; Magnusson, William Ernest. "Living Crocodilians". pp. 58–73.
--- Pooley, A. C. "Food and Feeding Habits". pp. 76–91.
--- Pooley, A. C.; Ross, Charles A. "Mortality and Predators". pp. 92–101.
--- Lang, Jeffrey W. "Social Behaviour". pp. 102–117.
--- Magnusson, William Ernest; Vliet, Kent A.; Pooley, A. C.; Whitaker, Romulus. "Reproduction". pp. 118–135.
--- Alcala, Angel C.; Dy-Liacco, Maria Teresa S. "Habitats". pp. 136–153.
--- Pooley, A. C.; Hines, Tommy C.; Shield, John. "Attacks on Humans. pp. 172–187.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้