จตุลังคบาท (คำอ่าน: จะ-ตุ-ลัง-คะ-บาด)[1] เป็นพระตำรวจประจำ 4 เท้าช้างทรงของพระมหากษัตริย์ไทยในยามศึกสงคราม ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในสงครามยุทธหัตถี ระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับพระมหาอุปราชา[2]

การแสดงที่งานช้างสุรินทร์ ซึ่งมีจตุลังคบาทถือดาบและเขน (โล่กลม)
ภาพจิตรกรรมฝาผนังสงครามยุทธหัตถีอนุสรณ์สถานแห่งชาติ จังหวัดปทุมธานี อันมีจตุลังคบาทประจำเท้าทั้งสี่ของช้างทรง

ประวัติ แก้

จตุลังคบาท เป็นผู้คุ้มครองเท้าทั้ง 4 ของช้างทรง มีฝีมือในการรบทุกรูปแบบ โดยเฉพาะการใช้ดาบสองมือ, เขน, ทวน และมวย จตุลังคบาทประจำ 2 เท้าหน้ามียศเป็นออกหลวง ส่วนจตุลังคบาทประจำ 2 เท้าหลังมียศเป็นออกขุน โดยบางตำราระบุว่า นอกเหนือจากจตุลังคบาทที่คุ้มกันช้างแล้ว ยังมีอีก 1 นายที่ทำหน้าที่ดังกล่าว คือพลนำหน้าช้าง[3]

จตุลังคบาทปรากฏในการทำยุทธหัตถีของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช[4] โดยเมื่อครั้งที่พระเจ้านันทบุเรงได้ให้พระมหาอุปราชายกทัพใหญ่มาตีกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระนเรศวรมหาราชและสมเด็จพระเอกาทศรถทราบข่าวจึงยกทัพหลวงไปตั้งรับ ณ หนองสาหร่าย ช้างพระที่นั่งได้พากันไล่ล่าศัตรู กระทั่งทั้งสองพระองค์ตกอยู่ในวงล้อมของศัตรูโดยไม่รู้ตัว มีเพียงจตุลังคบาทและทหารรักษาพระองค์เท่านั้นที่ติดตามได้ทัน[5][6][7]

ซึ่งการจัดตำแหน่งจตุลังคบาทในสมัยสมเด็จพระนเรศวร มีดังนี้:

สมเด็จพระนเรศวร แก้

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงช้างเจ้าพระยาไชยานุภาพ (พลายภูเขาทอง) มีนายมหานุภาพเป็นตวาญช้าง, ส่วนเจ้ารามราฆพเป็นกลางช้าง และมีจตุลังคบาททำหน้าที่พิทักษ์ช้างทรง (คนนอกถือหอก คนในถือดาบ) ได้แก่:[8]

  • "พระมหามนตรี" ประจำเท้าหน้าขวา[8]
  • "พระมหาเทพ" ประจำเท้าหน้าซ้าย[8]
  • "หลวงอินทรเทพ" ประจำเท้าหลังขวา[8]
  • "หลวงพิเรนทรเทพ" ประจำเท้าหลังซ้าย[8]

ทั้งนี้ จากคำให้การชาวกรุงเก่า นายทหารทั้ง 4 ทิศ ผู้ทำหน้าที่เป็นพระตำรวจจตุลังคบาท ยังมีข้อมูลที่ตรงกัน และไม่ตรงกันอยู่บ้าง อันได้แก่ มหาเทพ (ขาดอินทรเทพ), มหามนตรี (ขาดพิเรนทรเทพ), ราชรินทร (ไม่มีพรหรมบริรักษ์), อินทเดช (ไม่มีสุริยภักดี)[9]

สมเด็จพระเอกาทศรถ แก้

สมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงช้างเจ้าพระยาปราบไตรจักร (พลายบุญเรือง) มี "นายแวง" เป็นจตุลังคบาท[10][11]

สิ่งสืบทอด แก้

 
พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัย ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีนักรบจตุลังคบาทถือดาบสองมือ

พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัยทุ่งมะขามหย่อง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีนักรบจตุลังคบาทตั้งอยู่บนเกาะกลางน้ำ[12] ซึ่งบังเอิญมีโครงหน้าคล้ายพลเอก วิมล วงศ์วานิช และพลเอก สุนทร คงสมพงษ์[13][14] ขณะที่บางคนเห็นว่าจตุลังคบาทประจำเท้าซ้ายหน้า มีใบหน้าคล้ายพลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์[15]

ส่วนที่เก๋งจีนคู่หลังเล็ก ในพระราชวังกรุงธนบุรี (หรือพระราชวังเดิม) เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร มี "ดาบจตุลังคบาท" และ "ดาบญี่ปุ่นคร่ำทอง" ภายในตู้เดียวกัน ซึ่งด้ามดาบจตุลังคบาทนี้ ทำมาจากงาช้าง รวมถึงมี "ดาบหัวช้าง" ที่มีลักษณะคล้ายกันวางอยู่ข้าง ๆ[16][17]

ในวัฒนธรรมร่วมสมัย แก้

ในการจัดฉายภาพยนตร์พระเจ้าช้างเผือก ที่ประเทศฟิลิปปินส์ ได้ทำการตลาด ด้วยการจ้างให้มีคนแต่งกายเป็นจตุลังคบาท เดินตามถนนสายต่าง ๆ ทั่วกรุงมะนิลา[18] ส่วนในภาพยนตร์ต้มยำกุ้ง ที่นำแสดงโดยจา พนม ตัวละครเอกของเรื่องเป็นผู้สืบทอดวิชาจตุลังคบาท[19]

เดือนธันวาคม พ.ศ. 2561 สามารถ พยัคฆ์อรุณ และสมรักษ์ คำสิงห์ ได้นำทัพนักมวยไทยของตนเข้าแข่งมวยไทยในรายการ จตุลังคบาท ศึกมวยไทยมรดกโลก ซึ่งตั้งชื่อตามผู้ปกป้องการรุกรานจากข้าศึกในประวัติศาสตร์ไทย โดยจัดที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา[20][21]

ผู้ฝึกวิชาจตุลังคบาทที่มีชื่อเสียงสมัยใหม่ แก้

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "จตุลังคบาท รู้ความ แต่ไม่รู้คำ อ่านว่า จะ-ตุ-ลัง-คะ-บาด – เสรีชน : เสรีธรรม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-09. สืบค้นเมื่อ 2020-04-15.
  2. มารู้จักพยัญชนะ ตัว จ ที่น่าจดจำ - กระทรวงวัฒนธรรม
  3. จตุลังคบาท
  4. จตุลังคบาท - สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
  5. วันกองทัพไทย ย้อนอดีตมหาวีรกรรมสมเด็จพระนเรศวรฯ ทรงทำยุทธหัตถีปราบพระมหาอุปราชา ไล่พม่ากลับประเทศ ขยายอาณาจักรไทยยิ่งใหญ่ไพศาล
  6. "วันสำคัญทางประวัติศาสตร์ "วันยุทธหัตถี"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-21. สืบค้นเมื่อ 2020-04-15.
  7. คอลัมนิสต์ - ๑๘ มกราคม ของทุกปี วันยุทธหัตถี วันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และวันกองทัพไทย - บ้านเมือง
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 การจัดขบวนทัพช้าง - ช้างไทย ช้างศึก
  9. คำให้การชาวกรุงเก่า ชื่อขุนนางวังหลวง
  10. สมเด็จพระนเรศวรมหาราช - welcome! - WordPress.com
  11. "ช้างศึก - SuphamitOto - Google Sites". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-31. สืบค้นเมื่อ 2020-04-15.
  12. "พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระศรีสุริโยทัย - Thailand Tourism Directory". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-30. สืบค้นเมื่อ 2020-04-15.
  13. "ทุ่งมะขามหย่อง สถานที่ท่องเที่ยวพระนครศรีอยุธยา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-02. สืบค้นเมื่อ 2020-04-15.
  14. ความงามเหนือแผ่นดิน : พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัย - winnews
  15. "อย่าเข้าใจผิด จตุลังคบาท ไม่ใช่ "บิ๊กแดง" - เนชั่นสุดสัปดาห์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-19. สืบค้นเมื่อ 2020-04-15.
  16. 10 สิ่งต้องดูในวังเดิม วังเดียวในสมัยกรุงธนบุรีที่เปิดให้ดูแค่ 14 วัน
  17. "คลังทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด โครงการระบบสื่อสาระออนไลน์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-30. สืบค้นเมื่อ 2020-04-15.
  18. เมื่อ "พระเจ้าช้างเผือก" เข้าฉายที่ฟิลิปปินส์ - ศิลปวัฒนธรรม
  19. เกร็ดน่ารู้ ต้มยำกุ้ง (2005) - Siamzone
  20. อยุธยาจัดมวยไทยมรดกโลก ศึกจาตุลังคบาท ทัพมวยสามารถ ปะทะ ทัพมวยสมรักษ์ - ข่าวอยุธยา
  21. "สามารถ พยัคฆ์อรุณ จัดทัพมวยประลองฝีมือมวยไทยมวยโลก กับ ทัพมวยสมรักษ์ คำสิงห์ "ศึกจตุลังคบาท" ในงานยอยศยิ่งฟ้าอยุธยามรดกโลก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-19. สืบค้นเมื่อ 2020-04-15.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้