เขตการค้าเสรีทวีปแอฟริกา

เขตการค้าเสรีทวีปแอฟริกา (อังกฤษ: African Continental Free Trade Agreement, ย่อ: AfCFTA) คือ ความตกลงการค้าซึ่งมีผลใช้บังคับระหว่างรัฐสมาชิกสหภาพแอฟริกา 27 ประเทศ[1][8][9][10] ก่อตั้งโดย ความตกลงการค้าเสรีทวีปแอฟริกา ที่ลงนามในกรุงคิกาลี ประเทศรวันดา เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2561 จนถึงเดือนกรกฎาคม 2562 มีรัฐ 54 รัฐลงนามความตกลงฯ กำหนดให้ 22 ประเทศให้สัตยาบันก่อนความตกลงฯ มีผลใช้บังคับและเขตการค้าเสรีทวีปแอฟริกามีผล ความตกลงฯ ยังจะใช้เป็นองค์การรวมซึ่งจะมีการเพิ่มพิธีสารและภาคผนวก

เขตการค้าเสรีทวีปแอฟริกา (AfCFTA)
สถานภาพ ณ 7 กรกฎาคม 2562
  ภาคีให้สัตยาบันแล้ว
  ลงนามเดือนมีนาคม 2561 ยังไม่ให้สัตยาบัน
  ลงนามกรกฎาคม 2561 ยังไม่ให้สัตยาบัน
ประเภทเขตการค้าเสรี
วันลงนาม21 มีนาคม 2561
ที่ลงนามกรุงคิกาลี ประเทศรวันดา
วันมีผล30 พฤษภาคม 2562
เงื่อนไข22 รัฐให้สัตยาบัน
ผู้ลงนามแรกเริ่ม
ผู้ลงนาม
เพิ่มเติมอีก 10 รัฐ[1]
ภาคี
ผู้เก็บรักษาคณะกรรมการสหภาพแอฟริกา
ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส โปรตุเกส อาหรับ สเปน และสวาฮีลี

การเจรจาดำเนินต่อในปี 2561 ด้วยระยะที่ 2 รวมทั้งนโยบายการแข่งขัน การลงทุนและสิทธิทรัพย์สินทางปัญญา จะมีการเสนอร่างต่อสมัชชาสหภาพแอฟริกาในเดือนมกราคม 2563[11]

ประเทศเคนยาและกานาเป็นประเทศแรก ๆ ที่เก็บเอกสารให้สัตยาบันในวันที่ 10 พฤษภาคม 2561 หลังให้สัตยาบันผ่านรัฐสภาของประเทศนั้น ๆ แล้ว[2] ด้วยการให้สัตยาบันของเซียร์ราลีโอนและสาธารณรัฐซาราวีในวันที่ 29 เมษายน 2562 ก็ถึงขีดเริ่มแบ่งรัฐให้สัตยาบัน 22 รัฐสำหรับให้มีเขตการค้าเสรีอย่างเป็นทางการแล้ว[7] ผลจึงทำให้ความตกลงฯ มีผลใช้บังคับในวันที่ 30 พฤษภาคม 2562 ปัญหาที่สำคัญอย่างความตกลงสัมปทานการค้าและกฎประเทศที่มายังอยู่ระหว่างการเจรจา วันที่ 7 กรกฎาคม 2562 ในการประชุมสูงสุดในประเทศไนเจอร์ ความตกลงฯ เข้าสู่ระยะปฏิบัติการ[12][13]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "Summary of the key decisions and declarations of the 31st African Union Summit". 2018-06-06.
  2. 2.0 2.1 2.2 "Kenya and Ghana to ratify instruments of African Continental Free Trade Area | African Union". au.int (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 May 2018. สืบค้นเมื่อ 2018-05-11.
  3. "Africa's Single Market To Come Into Force In July 2019". KT Press. สืบค้นเมื่อ 14 January 2019.
  4. Dahir, Abdi Latif. "Africa moved the world closer to its largest free trade area since WTO in 2018". Quartz Africa.
  5. First, Togo. "Togo ratifies law to create African Continental Free Trade Area". www.togofirst.com.
  6. 6.0 6.1 "Uganda officially joins the Africa free trade deal, over 20 countries on the fence". 29 November 2018.
  7. 7.0 7.1 "Status of AfCFTA Ratification". tralac.org. 2020-12-30.
  8. "African states agree massive trade bloc". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2018-03-21. สืบค้นเมื่อ 2018-03-21.
  9. "Africa Set to Agree $3 Trillion Trade Bloc, Without Key Economy". Bloomberg.com (ภาษาอังกฤษ). 2018-03-21. สืบค้นเมื่อ 2018-03-21.
  10. AfricaNews. "Forty-four countries sign historic African Union free trade agreement | Africanews". Africanews (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-03-21.
  11. "Decision on the draft agreement establishing the African Continental Free Trade Area (AfCFTA)" (PDF). au.int. African Union. 21 March 2018.
  12. "AfCFTA Agreement secures minimum threshold of 22 ratification as Sierra Leone and the Saharawi Republic deposit instruments". African Union. 29 April 2019. สืบค้นเมื่อ 7 July 2019.
  13. Meldrum, Andrew. "African leaders to launch continent-wide free trade zone". AP News. Associated Press. สืบค้นเมื่อ 7 July 2019.