คิกาลี (คินยาเรอวานดา: Kigali, [ci.ɡɑ́.ɾi]) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศรวันดา ตั้งอยู่เกือบใจกลางของประเทศ เป็นเมืองศูนย์กลางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และการเดินทาง เป็นเมืองหลวงของประเทศใน ค.ศ. 1962 เป็นเมืองที่พักและทำงานของประธานาธิบดีแห่งรวันดา

คิกาลี
Panorama photograph of Kigali, including the towers of the CBD in the distance
Photograph of Sainte Famille church, showing the front and one of the sides
Photograph of houses in Remera on the hillside, with the Amahoro stadium visible at the top of the hill
Photograph of a street scene including buildings, pedestrians and vehicles on the road
ตามเข็มนาฬิกาจากบน: ตึกระฟ้าในคิกาลี, ชานเมืองเรเมราและสนามกีฬาอามาโฮโร, ถนนในย่านธุรกิจของคิกาลี, โบสถ์แซ็งต์-ฟามีย์
คิกาลีตั้งอยู่ในประเทศรวันดา
คิกาลี
คิกาลี
คิกาลีตั้งอยู่ในแอฟริกา
คิกาลี
คิกาลี
พิกัด: 1°56′38″S 30°3′34″E / 1.94389°S 30.05944°E / -1.94389; 30.05944พิกัดภูมิศาสตร์: 1°56′38″S 30°3′34″E / 1.94389°S 30.05944°E / -1.94389; 30.05944
ประเทศ รวันดา
จังหวัดคิกาลี
ก่อตั้งค.ศ. 1907
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีPudence Rubingisa
พื้นที่
 • เมืองหลวง730 ตร.กม. (280 ตร.ไมล์)
ความสูง1,567 เมตร (5,141 ฟุต)
ประชากร
 (สำมะโน ค.ศ. 2012)
 • เมืองหลวง1,132,686 คน
 • ความหนาแน่น1,552 คน/ตร.กม. (4,020 คน/ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง859,332 คน
เขตเวลาUTC+2 (เวลาแอฟริกากลาง)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+2 (ไม่มี)
อำเภอ[1]
1. กาซาโบ
2. กิจูกิโร
3. ญารูเกเง
ดัชนีการพัฒนามนุษย์ (2018)0.632[2]
ปานกลาง · อันดับ 1 จาก 5
เว็บไซต์www.kigalicity.gov.rw

ภูมิอากาศ แก้

ข้อมูลภูมิอากาศของคิกาลี ประเทศรวันดา
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 26.9
(80.4)
27.4
(81.3)
26.9
(80.4)
26.2
(79.2)
25.9
(78.6)
26.4
(79.5)
27.1
(80.8)
28.0
(82.4)
28.2
(82.8)
27.2
(81)
26.1
(79)
26.4
(79.5)
26.89
(80.41)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 15.6
(60.1)
15.8
(60.4)
15.7
(60.3)
16.1
(61)
16.2
(61.2)
15.3
(59.5)
15.0
(59)
16.0
(60.8)
16.0
(60.8)
15.9
(60.6)
15.5
(59.9)
15.6
(60.1)
15.73
(60.31)
ปริมาณฝน มม (นิ้ว) 76.9
(3.028)
91.0
(3.583)
114.2
(4.496)
154.2
(6.071)
88.1
(3.469)
18.6
(0.732)
11.4
(0.449)
31.1
(1.224)
69.6
(2.74)
105.7
(4.161)
112.7
(4.437)
77.4
(3.047)
950.9
(37.437)
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย (≥ 0.1 mm) 11 11 15 18 13 2 1 4 10 17 17 14 133
แหล่งที่มา: องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก[3]

ประชากร แก้

 
มัสยิดสีเขียวที่ญามิรัมโบ (Nyamirambo)

จากสำมะโนรวันดา ค.ศ. 2012 เมืองคิกาลีมีประชากร 1,132,686 คน[4] โดยอาศัยอยู่ในเมือง 859,332 คน[4] มีความหนาแน่นประชากรอยู่ที่ 1,552 คนต่อตารางกิโลเมตร (4,020 คนต่อตารางไมล์)[5] ตอนเป็นเอกราชใน ค.ศ. 1962 คิกาลีมีประชากร 6,000 คน ส่วนใหญ่มีส่วนเกี่ยวข้องกับถิ่นที่อยู่อาณานิคมของเบลเยียม[6] หลังมีสถานะเป็นเมืองหลวง ประชากรในเมืองจึงเพิ่มขึ้น[7] ถึงแม้ว่ามันยังคงเป็นเมืองเล็กจนถึงคริสต์ทศวรรษ 1970 เนื่องจากนโยบายกีดกั้นการอพยพจากชนบทเข้าเมืองของรัฐบาล[8] ใน ค.ศ. 1978 เมืองนี้มีประชากร 115,000 คน และใน ค.ศ. 1991 มีประชากร 235,000 คน[8] ตัวเมืองเริ่มเสียประชากรจำนวนมากในช่วงการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ใน ค.ศ. 1994[9] จาก ค.ศ. 1995 เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวและผู้อพยพชาวตุตซีเริ่มเดินทางกลับมาจากยูกันดา[8] ด้วยปรากฏการณ์นี้ควบคู่กับอัตราการเกิดสูงและการอพยพจากชนบทเข้าเมืองมากขึ้น[10] ทำให้คิกาลีเพิ่มประชากรอย่างรวดเร็วและเติบโตเร็วกว่าแต่ก่อน[8]

จากสำมะโน ค.ศ. 2012 ร้อยละ 51.7 ของประชากรเป็นเพศชาย[nb 1] Rwanda Environment Management Authority สันนิษฐานว่าอัตราชายหญิงที่ต่างมากอาจจะมาจากผู้ชายมีแนวโน้มที่จะอพยพเข้าเมืองเพื่อหางาน ในขณะที่ผู้หญิงยังคงอยู่ในชนบท[11] ร้อยละ 73 ของประชากรมีอายุน้อยกว่า 30 ปี[11] และร้อยละ 94 มีอายุน้อยกว่า 50 ปี[nb 2] ใน ค.ศ. 2018 คะแนนดัชนีการพัฒนามนุษย์ของคิกาลีอยู่ที่ 0.632[2][12]

ศาสนาในเมืองคิกาลี (สำมะโน ค.ศ. 2012)[13]

  ไม่มีศาสนา (3.2%)
  อื่น ๆ (0.3%)
  ไม่ระบุ (1.6%)

จากสำมะโน ค.ศ. 2012 ประชากรส่วนใหญ่ในเมืองนับถือศาสนาคริสต์ โดยร้อยละ 42.1 ระบุว่านับถือนิกายโปรเตสแตนต์ ร้อยละ 36.8 นับถือนิกายโรมันคาทอลิก ศาสนาอิสลามร้อยละ 5.7 พยานพระยะโฮวาร้อยละ 1.2 และนับถือศาสนาอื่นร้อยละ 0.3 ส่วนคนที่ไม่นับถือศาสนามีร้อยละ 3.0[13]

หมายเหตุ แก้

  1. จาก NISR 2012a, p. 6: 586,123 / 1,132,686 = ร้อยะล 51.7
  2. จาก NISR 2012a, p. 64: ผลรวมทุกส่วนถึงช่วง 45–49 และแบ่งด้วย 1,132,686

อ้างอิง แก้

  1. REMA 2013, p. 11.
  2. 2.0 2.1 "Global Data Lab: Sub-national HDI". Institute for Management Research, Radboud University. สืบค้นเมื่อ 11 May 2020.
  3. "World Weather Information Service – Kigali". World Meteorological Organization. สืบค้นเมื่อ 12 November 2015.
  4. 4.0 4.1 NISR 2012a, p. 10.
  5. NISR 2012a, p. 15.
  6. Tumwebaze, Peterson (26 July 2007). "Kigali, vast area through 100 years". The New Times. สืบค้นเมื่อ 23 May 2018.
  7. REMA 2013, p. 21.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 "State of the Art Report for RurbanAfrica, Work Package 3: City Dynamics" (PDF). UCPH Department of Geosciences and Natural Resource Management. pp. 2–4. สืบค้นเมื่อ 24 January 2021.
  9. REMA 2013, p. 1.
  10. REMA 2013, p. viii.
  11. 11.0 11.1 REMA 2013, p. 29.
  12. "Human Development Index (HDI)". UNDP. สืบค้นเมื่อ 3 January 2021.
  13. 13.0 13.1 NISR 2014, p. 19.

บรรณานุกรม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้