ก็อดเซฟเดอะคิง

(เปลี่ยนทางจาก ก็อดเซฟเดอะคิง/ควีน)

ก็อดเซฟเดอะคิง หรือ ก็อดเซฟเดอะควีน (ขึ้นอยู่กับว่าผู้ครองราชสมบัติเป็นชายหรือหญิง) เป็นเพลงชาติหรือเพลงสรรเสริญพระบารมีในราชอาณาจักรเครือจักรภพกับดินแดนของตน และดินแดนภายใต้อธิปไตยของสหราชอาณาจักรส่วนใหญ่[1][2] ไม่มีใครทราบชื่อผู้แต่งเพลง และมันอาจมีที่มาจาก plainchant แต่บางครั้งยกตำแหน่งผู้แต่งให้กับจอห์น บูลล์

ก็อดเซฟเดอะคิง
คำแปล: ขอพระเจ้าทรงคุ้มครององค์ราชา
สกอร์ดนตรีของเพลงก็อดเซฟเดอะคิง/ควีน ในยุคแรก ตีพิมพ์ในนิตยสาร The Gentleman's Magazine เมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 1745 โดยชื่อเพลงตามที่ปรากฏในหน้าสารบัญของหนังสือดังกล่าวคือ "God save our lord the king: A new song set for two voices".

เพลงชาติของ

ชื่ออื่น"ก็อตเซฟเดอะควีน"
(ใช้เมื่อประมุขเป็นพระราชินีนาถ)
ทำนองไม่ทราบ
รับไปใช้กันยายน 1745; 279 ปีที่แล้ว (1745-09)
ตัวอย่างเสียง
"ก็อดเซฟเดอะคิง/ควีน" (บรรเลง)

"ก็อดเซฟเดอะคิง/ควีน" เป็นเพลงชาติของสหราชอาณาจักร โดยพฤตินัย และเป็นหนึ่งในสองเพลงชาติของนิวซีแลนด์ตั้งแต่ ค.ศ. 1977 เช่นเดียวกันกับดินแดนของสหราชอาณาจักรบางส่วนที่มีเพลงชาติของตนเอง และเป็นเพลงสรรเสริญพระบารมีของประเทศที่กล่าวถึงก่อนหน้า ออสเตรเลีย (ตั้งแต่ ค.ศ. 1984), แคนาดา (ตั้งแต่ ค.ศ. 1980),[3] เบลีซ (ตั้งแต่ ค.ศ. 1981),[4] แอนทีกาและบาร์บิวดา (ตั้งแต่ ค.ศ. 1981),[5] บาฮามาส (ตั้งแต่ ค.ศ. 1973)[6] และราชอาณาจักรเครือจักรภพส่วนใหญ่

ในประเทศที่ไม่เคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิบริติช ทำนองเพลง "ก็อดเซฟเดอะคิง/ควีน" กลายเป็นพื้นฐานของเพลงปลุกความรักชาติหลายเพลง ถึงแม้ว่ายังคงเชื่อมโยงกับพระราชพิธีก็ตาม[7] ทำนองเพลงนี้ยังคงมีให้เห็นใน "โอเบินอัมยุงเงินไรน์" เพลงชาติประเทศลีชเทินชไตน์ และ "ค็องเงอซังเงิน" เพลงสรรเสริญพระบารมีของประเทศนอร์เวย์ ในสหรัฐ ทำนองนี้ถูกใช้ใน "มายคันทรี 'ทิสออฟที" (มีอีกชื่อว่า "อเมริกา") เพลงปลุกความรักชาติ และเคยถูกใช้ใน 'ไฮล์เดียร์อิมซีเกอร์ครันทซ์' เพลงชาติจักรวรรดิเยอรมันใน ค.ศ. 1871 ถึง 1918 และ "โมลิทวารุสคิคฮ์" เพลงชาติรัสเซียใน ค.ศ. 1816 ถึง 1833 ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพลงนี้มีชื่อว่า "Rufst du, mein Vaterland"

ในภาษาไทยไม่นิยมแปลชื่อเพลงนี้ออกมาโดยตรง แต่มักเรียกทับศัพท์ว่า ก็อดเซฟเดอะคิง หรือ ก็อดเซฟเดอะควีน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เพลงสรรเสริญพระบารมีอังกฤษ ตามลักษณะของเพลง

ประวัติ

แก้

เนื้อร้องที่ใช้ในสหราชอาณาจักร

แก้

เนื้อร้องสำนวนมาตรฐาน

แก้
"God Save the King"
(เนื้อร้องสำนวนมาตรฐาน)

God save our gracious King!
Long live our noble King!
God save the King!
Send him victorious,
Happy and glorious,
Long to reign over us:
God save the King!

O Lord our God arise,
Scatter his enemies,
And make them fall:
Confound their politics,
Frustrate their knavish tricks,
On Thee our hopes we fix:
God save us all.

Thy choicest gifts in store,
On him be pleased to pour;
Long may he reign:
May he defend our laws,
And ever give us cause,
To sing with heart and voice,
God save the King!

"God Save the King"
(เนื้อร้องแปลภาษาไทย)

ขอพระเจ้าโปรดทรงคุ้มครององค์ราชาผู้ทรงศักดิ์
ขอพระองค์ผู้สง่างามจงทรงพระเจริญ
ขอพระเจ้าโปรดทรงคุ้มครององค์ราชา
จงบันดาลให้พระองค์ทรงชัย
เกษมสำราญและรุ่งโรจน์
ทรงคุ้มเกล้าชาวเรายิ่งนาน
ขอพระเจ้าโปรดทรงคุ้มครององค์ราชา

โอ้ พระเป็นเจ้า โปรดทรงบันดาล
ให้มวลปัจจามิตรของพระองค์จงแตกพ่าย
และพินาศไปสิ้น
กโลบายของพวกมันจงแพ้พ่าย
เลห์กลมันจงร่วนเร
ในพระองค์ เราขอยึดมั่น
พระเจ้าทรงคุ้มครองผองเราทั้งมวล

พระพรอันประเสริฐทั้งมวลที่ทรงมี
ได้โปรดประทานแด่พระองค์ท่าน
ขอพระองค์จงทรงราชย์ยิ่งยง
ขอพระองค์ทรงปกปักษ์กฎเกณฑ์เรา
และยังผลให้เรา
ขับขานด้วยดวงใจและน้ำเสียง
ขอพระเจ้าโปรดทรงคุ้มครององค์ราชา

เนื้อร้องของเพลงก็อดเซฟเดอะควีนไม่มีสำนวนใดที่กำหนดไว้แน่นอนว่าเป็นฉบับราชการ อย่างไรก็ตาม สำนวนบทร้องทั้ง 3 บทดังที่แสดงไว้ ณ ที่นี้เป็นสำนวนที่มีการถือกันว่าเป็น "สำนวนมาตรฐาน" ของสหราชอาณาจักร ซึ่งไม่เพียงปรากฏในนิตยสาร Gentleman's Magazine ในปี ค.ศ. 1754 เท่านั้น แต่ยังปรากฏการตีพิมพ์ในหนังสืออื่น ๆ ด้วย เช่น ในหนังสือ The Book of English Songs: From the Sixteenth to the Nineteenth Century (1851),[8] National Hymns: How They are Written and how They are Not Written (1861),[9] Household Book of Poetry (1882),[10] and Hymns Ancient and Modern, revised version (1982)[11] สำนวนร้องฉบับเดียวกันซึ่งได้เว้นการตีพิมพ์บทร้องบทที่ 2 นี้ยังปรากฏในงานพิมพ์ต่าง ๆ เช่นในหนังสือ Scouting for boys (1908),[12] และในเว็บไซต์ "Monarchy Today" ของรัฐบาลสหราชอาณาจักร[13]

ในหนังสือ "God Save the Queen" ของอลัน มิชี (Alan Michie) ซึ่งตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1952 หลังการสวรรคตของพระเจ้าจอร์จที่ 6 แต่อยู่ในช่วงก่อนพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ได้กล่าวว่า ที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติครั้งแรก ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงลอนดอนในเดือนมกราคม ค.ศ. 1946 และพระเจ้าจอร์จที่ 6 ซึ่งเสด็จพระราชดำเนินเพื่อเป็นเกียรติแก่ที่ประชุมนั้น "กำหนดให้เขียนบทร้องที่ 2 ของเพลง "ก็อดเซฟเดอะคิง" ซึ่งมีลักษณะที่ก้าวร้าวขึ้นใหม่ ให้มีจิตวิญญาณแห่งภราดรภาพแก่ชาติต่าง ๆ มากขึ้น" ("ordered the belligerent imperious second stanza of 'God Save the King' rewritten to bring it more into the spirit of the brotherhood of nations.")

การขับร้องบทเพลงก็อดเซฟเดอะควีนสำนวนมาตราในสหราชอาณาจักรนิยมขับร้องเฉพาะเพียงบทแรกเท่านั่นแม้ในงานพิธีการที่เป็นทางการ มีน้อยครั้งมากที่จะมีการขับร้องบทที่ 3 เพิ่มเติมอีกบทหนึ่ง ในงานพิธีปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ที่กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ได้มีการขับร้องเพลงก็อดเซฟเดอะควีนเนื่องจากสหราชอาณาจักรรับเป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิกในปี ค.ศ. 2012 โดยบทร้องของเพลงก็อดเซฟเดอะควีนนั้น ได้ใช้บทร้องบทที่ 4 ของเพลงดังกล่าว ซึ่งประพันธ์โดยวิลเลียม ฮิกซ์ตัน (William Hixton) แทนที่บทร้องที่ 2 และบทร้องที่ 3 ของสำนวนมาตรฐาน

เนื้อร้องสำนวนอื่น ๆ

แก้

สำนวนวิลเลียม ฮิกซ์ตัน

แก้

บทร้องเพลงก็อดเซฟเดอะควีน สำนวนประพันธ์โดยวิลเลียม ฮิกซ์ตัน ประพันธ์ขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1836 เนื้อร้องบทที่ 4 ของสำนวนนี้ได้มีการขับร้องต่อจากเนื้อร้องสำนวนมาตรฐานบทแรก ในพิธีปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 ระหว่างพิธีเชิญธงชาติสหราชอาณาจักรขึ้นสู่ยอดเสา

สำนวนสันติภาพ

แก้

บทร้องก็อดเซฟเดอะควีนซึ่งลดความรู้สึกแบบทหารในเนื้อเพลงลงไปฉบับนี้มีชื่อว่า "สำนวนสันติภาพแบบทางการ ค.ศ. 1919" ("Official peace version, 1919") ได้มีการตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือเพลงสวด (hymn) ชื่อว่า Songs of Praise เมื่อปี ค.ศ. 1925[14] บทร้องดังกล่าวถือเป็นบทร้อง "แบบทางการ" จากการที่มีการรับรองโดยสภาองคมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร (Her Majesty's Most Honourable Privy Council) ในปี ค.ศ. 1919 [15] อย่างไรก็ดี บทร้องดังกล่าวในปัจจุบันนี้ไม่เป็นที่รู้จักมากนัก แม้จะยังคงมีการตีพิมพ์อยู่บ้างในหนังสือเพลงสวดบางเล่มก็ตาม[16]

สำนวนภาษาอื่น ๆ

แก้

เนื้อร้องที่แสดงข้างล่างนี้ เป็นภาษที่นิยมใช้พูดกันในสหราชอาณาจักร

สำนวนที่ใช้ในกลุ่มประเทศเครือจักรภพ

แก้

สำนวนแคนาดา ภาษาฝรั่งเศส

แก้

ในแคนาดา ใช้เพลง โอแคนาดา เป็นเพลงชาติ ส่วน "ก็อดเซฟเดอะควีน" ใช้เป็นเพลงสรรเสริญพระบารมีสำหรับพระมหากษัตริย์แห่งแคนาดา พระราชวงศ์ และ ใช้เป็นเพลงคำนับของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งแคนาดา รวมถึงใช้ในวันที่ระลึกทหารผ่านศึก

สำนวนของชนเผ่าอะบอริจิน

แก้

ในออสเตรเลีย ใช้เพลง แอดวานซ์ออสเตรเลียแฟร์ เป็นเพลงชาติ ส่วน "ก็อดเซฟเดอะควีน" ใช้เป็นเพลงสรรเสริญพระบารมีสำหรับพระมหากษัตริย์แห่งออสเตรเลีย พระราชวงศ์ และ ใช้เป็นเพลงคำนับของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งแคนาดา รวมถึงใช้ในวันที่ระลึกทหารผ่านศึก และ วันแอนแซก (วันทหารผ่านศึกออสเตรเลียนิวซีแลนด์)

สำนวนของชนเผ่าเมารี

แก้

ในนิวซีแลนด์ ใช้เพลง ก็อดดีเฟนด์นิวซีแลนด์ เป็นเพลงชาติ ส่วน "ก็อดเซฟเดอะควีน" ใช้เป็นเพลงสรรเสริญพระบารมีสำหรับพระมหากษัตริย์แห่งนิวซีแลนด์ พระราชวงศ์ และ ใช้เป็นเพลงคำนับของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งนิวซีแลนด์ รวมถึงใช้ในวันที่ระลึกทหารผ่านศึก และ วันแอนแซก

สำนวนของอะโครติรีและเดเคเลีย

แก้

ก็อดเซฟเดอะควีน สำนวนกรีกใช้ในดินแดนอะโครติรีและเดเคเลีย โดยแปลมาจากสำนวนฉบับภาษาอังกฤษ. เพลงชาติสำนวนนี้ยังไม่มีการใช้อย่างเป็นทางการ

ดูเพิ่ม

แก้

สื่อ

แก้
  • หากไม่ได้ยินเสียง โปรดดูเพิ่มที่ วิกิพีเดีย:วิธีใช้สื่อ

อ้างอิง

แก้
  1. "National Anthem". The official website of The British Monarchy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 September 2014. สืบค้นเมื่อ 21 August 2014.
  2. "Isle of Man". nationalanthems.info. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 September 2010. สืบค้นเมื่อ 17 August 2010.
  3. MacLeod, Kevin S. (2008), A Crown of Maples (PDF) (1 ed.), Ottawa: Queen's Printer for Canada, p. I, ISBN 978-0-662-46012-1, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-03-27, สืบค้นเมื่อ 25 June 2010
  4. The World Factbook, Central Intelligence Agency, 2012, p. 79
  5. The World Factbook, Central Intelligence Agency, 2012, p. 32
  6. The World Factbook, Central Intelligence Agency, 2012, p. 59
  7. "United Kingdom – God Save the Queen". NationalAnthems.me. สืบค้นเมื่อ 23 November 2011.
  8. Mackay, Charles (1851). The Book of English Songs: From the Sixteenth to the Nineteenth Century. pp. 203.
  9. White, Richard Grant (1861). National Hymns: How They are Written and how They are Not Written. Rudd & Carleton. pp. 42.
  10. Dana, Charles Anderson (1882). Household Book of Poetry. pp. 384.
  11. Hymns Ancient and Modern, Revised Version. SCM-Canterbury Press Ltd. 1982. p. 504. ISBN 0907547060.
  12. Baden-Powell, Robert (1908). Scouting for Boys. p. 341.
  13. "Monarchy Today website". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (HTML)เมื่อ 2020-12-04. สืบค้นเมื่อ 2007-04-01.
  14. Dearmer, Percy; Vaughan Williams, Ralph (1906). The English Hymnal with Tunes. Oxford University Press. p. 724.Hymn No. 560 "National Anthem"
  15. Scholes p.412
  16. "Forgotten National Anthem Sung at Halesowen Service". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-29. สืบค้นเมื่อ 2007-03-30. Article in the Black Country Bugle describes it as an "unusual and little known version of the national anthem...taken from the order of service for the blessing of Halesowen’s borough charter...on Sunday, 20th September, 1936."
  17. https://www.canada.ca/fr/patrimoine-canadien/services/symboles-titres-royaux/hymne-royal.html

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้