ราชอาณาจักรเครือจักรภพ
ราชอาณาจักรเครือจักรภพ (อังกฤษ: Commonwealth realm) คือรัฐเอกราชภายในเครือจักรภพแห่งประชาชาติที่มีสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรทรงเป็นประมุขและใช้ลำดับการสืบราชบัลลังก์แบบเดียวกับรัฐสมาชิกอื่น ๆ ในเครือจักรภพ[1][2] ข้อมูลเมื่อ 2012[update] ซึ่งมีด้วยกันทั้งหมด 16 รัฐ รวมพื้นที่ทั้งหมด (ไม่นับรวมการอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนแอนตาร์กติก) 18.8 ล้านตารางกิโลเมตร (7.3 ล้านตารางไมลส์) และมีประชากรรวมกันกว่า 137 ล้านคน[3] โดยรัฐที่มีประชากรมากที่สุดหกลำดับแรก ได้แก่ สหราชอาณาจักร, แคนาดา, ออสเตรเลีย, ปาปัวนิวกินี, นิวซีแลนด์ และจาเมกา
อาณาจักรในเครือจักรภพทั้งหมดล้วนแล้วแต่เคยเป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักรด้วยกันทั้งสิ้น ยกเว้นเพียงแต่สหราชอาณาจักรและปาปัวนิวกินี (ก่อนได้รับเอกราชเคยเป็นเพียงดินแดนสองแห่งที่ถูกปกครองโดยอาณานิคมออสเตรเลีย) พระราชบัญญัติเวสต์มินสเตอร์มีผลบังคับใช้ในปี พ.ศ. 2474 นับเป็นการสถาปนาอาณาจักรในเครือจักรภพขึ้นเป็นครั้งแรกโดยการให้เอกราชทางนิติบัญญัติแก่อาณานิคมหลายแห่ง ซึ่งในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 หรือต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้กลายมาเป็นเขตปกครองตนเองเรียบร้อยแล้ว และจึงกลายมาเป็นอาณาจักรในเครือจักรภพด้วยการที่สหราชอาณาจักรการมอบเอกราชให้โดยตรง
เป็นช่วงเวลาหนึ่งแล้วที่การใช้คำว่า เขตปกครอง ยังคงมีไว้เพื่อใช้หมายถึงอาณาจักรที่ไม่ได้อยู่ในเครือจักรภพอังกฤษ แม้ว่าสถานะอย่างเป็นทางการของเขตปกครองเหล่านั้นจะเปลี่ยนไปแล้วก็ตาม มีบางครั้งที่การเรียกใช้ชื่อดังกล่าวปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน แต่พบได้น้อยครั้งลงอย่างต่อเนื่องเมื่อคำว่า อาณาจักร ถูกนำมาใช้อย่างเป็นทางการพร้อมกับที่สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เสด็จขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2495 ซึ่งบังคับให้ต้องใช้สถานะที่ถูกต้องตามกฎหมายพร้อมด้วยพระราชอิสริยยศและพระราชนามแบบปัจจุบันในแต่ละประเทศ[1] อย่างไรก็ตามคำว่า อาณาจักรในเครือจักรภพ เป็นเพียงคำอธิบายอย่างไม่เป็นทางการ ไม่ใช่คำที่ใช้อย่างเป็นทางการ
สมาชิกในปัจจุบันแก้ไข
- แอนติกาและบาร์บูดา - 1981
- ออสเตรเลีย - 1931
- บาฮามาส - 1973
- บาร์เบโดส - 1966
- เบลีซ - 1981
- แคนาดา - 1931
- เกรเนดา - 1974
- จาเมกา - 1962
- นิวซีแลนด์ - 1931
- ปาปัวนิวกินี - 1975
- เซนต์คิตส์และเนวิส - 1983
- เซนต์ลูเชีย - 1979
- เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ - 1979
- หมู่เกาะโซโลมอน - 1978
- ตูวาลู - 1978
- สหราชอาณาจักร - 1931
สมาชิกในอดีตแก้ไข
- ซีลอน - 1948-1972
- ฟีจี - 1970-1987
- แกมเบีย - 1965-1970
- กานา - 1957-1960
- กายอานา - 1966-1970
- อินเดีย - 1947-1950
- ไอร์แลนด์ - 1931-1949
- เคนยา - 1963-1964
- มาลาวี - 1964-1966
- มอลตา - 1964-1974
- มอริเชียส - 1968-1992
- ไนจีเรีย - 1960-1963
- ปากีสถาน - 1947-1956
- เซียร์ราลีโอน - 1961-1971
- แอฟริกาใต้ - 1931-1961
- แทนกันยีกา - 1961-1962
- ตรินิแดดและโตเบโก - 1962-1976
- ยูกันดา - 1962-1963
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ 1.0 1.1 "What is a Commonwealth Realm?". Royal Household. สืบค้นเมื่อ 6 October 2009.
- ↑ Royal Household. "Her Majesty the Queen". Queen's Printer. สืบค้นเมื่อ 23 January 2011.
- ↑ Figures totaled from 2011 CIA World Fact Book
บรรณานุกรมแก้ไข
- Bogdanor, V.; The Monarchy and the Constitution; Oxford: Oxford University Press; 1995
- Cox, Noel; "The Theory of Sovereignty and the Importance of the Crown in the Realms of The Queen"; Oxford University Commonwealth Law Journal; Vol. 2, No. 2; 2002
- Forsey, Eugene; Royal Power of Dissolution on Parliament in the British Commonwealth; Toronto: Oxford University Press; 1968 [1943]
- Maitland, F; "The Crown as a Corporation"; Law Quarterly Review; Vol. 17, No. 131; 1901
- McIntyre; P.; "The Strange Death of Dominion Status", Journal of Imperial and Commonwealth History; Vol. 27, No. 2; 1999; 193–212