กำจร สถิรกุล อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย คนที่ 11[1] และเป็นอดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[2]

กำจร สถิรกุล
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
ดำรงตำแหน่ง
14 กันยายน พ.ศ. 2527  – 5 มีนาคม พ.ศ. 2533
ก่อนหน้านายนุกูล ประจวบเหมาะ
ถัดไปนายชวลิต ธนะชานันท์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด19 สิงหาคม พ.ศ. 2476
อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
เสียชีวิต9 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 (77 ปี)
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสพาณี สถิรกุล

ประวัติ แก้

นายกำจร สถิรกุล หรือ ดร.กำจร สถิรกุล เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2476 ที่อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นบุตรคนที่ 4 จาก 5 คน ของนายส่อง และนางห่วง สถิรกุล เกิดในครอบครัวคหบดี มีบรรพบุรุษเป็นชาวจีนแต้จิ๋ว แซ่เฮง (หวัง) นายส่องผู้เป็นบิดาเสียชีวิตตั้งแต่นายกำจรยังเล็ก นายกำจรย้ายเข้ามาเรียนที่กรุงเทพในระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย มีผลการเรียนดีเลิศ สอบชั้นมัธยม 6 ได้คะแนนเป็นลำดับที่ 30 ของประเทศ สอบเข้าเรียนระดับอุดมศึกษาที่คณะบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นรุ่นที่ 10 ของคณะ และได้รับทุนศุลกากรไปศึกษาต่อระดับปริญญาตรีและโทด้านเศรษฐศาสตร์ที่ มหาวิทยาลัยมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกาก่อนเดินทางกลับประเทศไทยมารับราชการที่กรมศุลกากร ต่อมาได้สมรสกับคุณพาณี คุณวิศาลซึ่งได้พบรักกันขณะที่มาช่วยดูงานด้านการเงินที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยสาขาเพลินจิต และย้ายเข้ามาอยู่บ้านหลังแรกที่ซอยมั่นสิน มีบุตรชายหนึ่งคนคือนายสาธิษฐิ์  สถิรกุล จนเมื่อพ้นจากการรับราชการจึงได้ย้ายมาอยู่ที่อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี หลาน นส ภัทร์ณิชา สถิรกุล และ นาย ภวัต สถิรกุล

งานอดิเรก แก้

การสะสมพระเครื่อง แก้

ดร.กำจร สถิรกุล สนใจในพุทธศิลป ชื่นชอบการแสวงหาพระเครื่องมาสะสม นายกำจรจะพกแว่นขยายสำหรับส่องพระเครื่องติดตัวและใช้เวลายามว่างเดินชมตลาดพระเครื่องอยู่เสมอจนเป็นที่รู้กันดีในหมู่เพื่อนและคนสนิท พระเครื่องที่นายกำจรเช่ามานั้นแม้จะชอบแต่นายกำจรก็ไม่ได้ยึดติดหรือหวงและมักมอบให้ผู้อื่นเป็นของขวัญหากเห็นว่าจะมีคุณค่าหรือเป็นประโยชน์แก่ผู้นั้น ในงานฉลองวันเกิดอายุครบ 72 ปี นายกำจรยังได้นำพระเครื่องที่สะสมไว้กว่าหนึ่งพันองค์แจกให้ผู้มาร่วมงาน นายกำจร เคยร่วมสร้างจตุคามรามเทพรุ่นแรกๆก่อนที่จะได้รับความนิยม โดยมอบพระปิดตาพังพระกาฬให้เพื่อเป็นต้นแบบ

พระสมเด็จพิมพ์นิยม พระกริ่ง พระหลวงพ่อทวด และ ของเก่า ๆ ที่น่าสนใจ

งานภาพวาดสีน้ำมัน แก้

ดร.กำจร สถิรกุล เริ่มวาดภาพสีน้ำมันตั้งแต่สมัยที่เรียนอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาแต่ไม่ได้มีโอกาสวาดอีกเลยจนหลังเกษียณอายุราชการจึงได้เริ่มวาดอีกครั้ง งานภาพนามธรรมสีนำมันของนายกำจรเป็นที่นิยมในหมู่นักสะสมงานศิลปะรวมไปถึงนักธุรกิจและผู้บริหารของธนาคารและสถาบันการเงิน นายกำจรได้วาดภาพไว้ทั้งสิ้นราว 600 ภาพและเกือบทั้งหมดได้มอบให้นำไปประมูล โดยรายได้จากการประมูลทั้งหมดได้นำไปบริจาคเพื่อการกุศลแก่หน่วยงานที่ทำประโยชน์แก่สังคม อาทิ มูลนิธิรัฐบุรุษฯ มูลนิธิ TISCO[3] โรงพยาบาลชลประทาน โครงการสร้างบ้านให้พ่อหลวง (ปากพนัง) โครงการเด็กออทิสติก โรงเรียนสาธิตเกษตร รวมทั้งสิ้นเป็นมูลค่ากว่า 10 ล้านบาท

ปัจจุบันจัดแสดงภาพอยู่ใน art gallary ของ EGCO,TISCO, Bank of Thailand.

ประวัติการทำงาน แก้

ดร.กำจร สถิรกุล เริ่มงานครั้งแรกเข้ารับราชการที่กรมศุลกากรเป็นผู้เชี่ยวชาญพิเศษ  สร้างความเปลี่ยนแปลงในวงการพิกัดอัตราศุลกากร อีกทั้งนำทีมเจรจา GATT และเวทีสำคัญอื่น ๆ มากมาย จึงได้รับการปรับเลื่อนขั้นอย่างต่อเนื่องจนถึงตำแหน่งรองอธิบดีด้านบริหาร ก่อนจะย้ายไปเป็นผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และที่สุดได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นตำแหน่งสุดท้ายก่อนอำลาวงการราชการ ในปี พ.ศ. 2536

ประวัติการทำงานโดยสรุป แก้

[4]

พ.ศ. 2500 นักเรียนเก่าดีเด่น วชิราวุธวิทยาลัย/ ได้รับทุน กพ. ไปเรียนต่อ ป ตรี/โท/เอก ที่ The University of Michigan, Ann Arbor, USA / ได้รับเลือกเป็นประธานนักเรียนไทย
พ.ศ. 2515  ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกในสภานิติบัญญัติ
พ.ศ. 2517 ได้รับเลือกเป็นสมาชิกในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
พ.ศ. 2506 – 2527 เป็นกรรมการในคณะกรรมการพิกัดอัตราศุลกากร
พ.ศ. 2520 ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการในคณะกรรมการปิโตรเลียมภายใต้ พ.ร.บ. การปิโตรเลียม พ.ศ. 2514
พ.ศ. 2522 ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
พ.ศ. 2522 ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย
พ.ศ. 2524 ได้รับแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการบริหารของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
พ.ศ. 2525 ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการของบริษัทการบินไทย จำกัด
พ.ศ. 2525 ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการของธนาคารแห่งประเทศไทย
พ.ศ. 2525 ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
22 เม.ย. พ.ศ. 2528 ได้รับแต่งตั้งเป็นวุฒิสมาชิก
8-11 ต.ค. พ.ศ. 2528 เข้าร่วมการประชุมสภาผู้ว่าการฯ ประจำปี 2528 ณ โซล สาธารณรัฐเกาหลี ในฐานะผู้ว่าการของประเทศไทยในกองทุนการเงินระหว่างประเทศ สมาชิกกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ฯ และกรรมการสมทบในคณะกรรมการชั่วคราว
พ.ศ. 2523 – 2525 รองอธิบดี กรมศุลกากร กระทรวงการคลัง
พ.ศ. 2525 – 13 ก.ย. 2527 ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง

2527-2532 ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย 2534-2540 ประธานกรรมการ unicord tuna canning

ผลงาน แก้

ถาวรวัตถุ: แก้

* ช่วยคุณพิสิทฐ์ นิมนามเหมินทร์ สร้างพระประธาน พระพุทธชินราช ที่วัดเกาะเสือ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
* สมทบทุนสร้าง ตึกปัญญานัทนะ โรงพยาบาลชลประทาน
* ริเริ่มบูรณะวังบางขุนพรหม
* โครงการสร้างบ้านให้พ่อหลวง (หัวงาน ปากพนัง)
* ร่วมสร้างรูปเหมือนเจ้าแม่ลิ้วก่อเหนี่ยว ทองคำ ทูลเกล้าถวายพ่อหลวง
* ร่วมออกแบบ บัตรธนาคารมูลค่า 60 บาท (รุ่นสี่เหลี่ยมจัตุรัส)

อื่น ๆ: แก้

* จัดทำระบบพิกัดอัตราศุลกากรที่สมบูรณ์ทันสมัยฉบับแรกของประเทศ
* เป็นผู้แทนเจรจาให้ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก GATT
* แก้ไขวิกฤตการทางการเงินของประเทศ ในสมัยของพลเอก เปรม ติณสูลานนท์
* การนำเอาระบบ basket มาใช้ในการดูแลค่าเงินบาท

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. "ผู้ว่าการจากอดีตถึงปัจจุบัน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-06-22.
  2. "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญํติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-22. สืบค้นเมื่อ 2011-06-12.
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-18. สืบค้นเมื่อ 2011-06-12.
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2019-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๑๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๖, ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๑๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๙๐, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๓๑
ก่อนหน้า กำจร สถิรกุล ถัดไป
นุกูล ประจวบเหมาะ    
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
(14 กันยายน พ.ศ. 2527 - 5 มีนาคม พ.ศ. 2533)
  ชวลิต ธนะชานันท์