การอัญเชิญพระศพลงจากกางเขน

การอัญเชิญพระศพลงจากกางเขน[1] (อังกฤษ: Descent from the Cross/Deposition from the Cross หรือ Deposition; กรีก: Αποκαθελωσις, “Apokathelosis”) เป็นฉากที่สร้างในศิลปะเช่นจิตรกรรม หรือ ประติมากรรม เนื้อความมาจากพระวรสารนักบุญจอห์นซึ่งบรรยายการอัญเชิญพระศพพระเยซูลงจากกางเขนหลังจากที่มีการตรึงพระเยซูที่กางเขนแล้ว โดยโยเซฟแห่งอาริมาเธียและนิโคเดมัส (Nicodemus) (ยอห์น 19:38-42 เก็บถาวร 2008-04-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน)

“ชะลอร่างจากกางเขน” โดย รอสโซ ฟิโอเร็นทิโน (Rosso Fiorentino) ค.ศ. 1521 ที่มหาวิหารโวลเทอรรา ในประเทศอิตาลี
“ชะลอร่างจากกางเขน” โดยโรเจียร์ แวน เดอ เวย์เด็น ประมาณปี ค.ศ. 1435 สีน้ำมันบนไม้โอ้ค, 220 x 262 เซนติเมตร ที่พิพิธภัณฑ์ปราโด, มาดริด
“ชะลอร่างจากกางเขน” ไม้แกะทาสีที่มหาวิหารโวลเทอรรา ในประเทศอิตาลี

ที่มาของงานศิลปะ

แก้

หัวข้อนี้เริ่มเป็นที่นิยมสร้างกันในศิลปะแบบไบแซนไทน์เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 9 และทางยุโรปตะวันตกใน คริสต์ศตวรรษที่ 10 การนำร่างพระเยซูลงจากกางเขนเป็นฉากที่ 13 ในชุดทางสู่กางเขน

คนอื่น ๆ ที่ร่วมในการอัญเชิญพระศพลงจากกางเขนตามที่กล่าวถึงในพระวรสารก็ได้แก่นักบุญยอห์นอัครทูต บางครั้งก็เป็นภาพประคองพระแม่มารีย์ผู้กำลังเป็นลม เช่นในงานของโรเจียร์ แวน เดอ เวย์เด็น (Van der Weyden) และมารีย์ชาวมักดาลา นอกจากนั้นพระวรสารก็ยังกล่าวถึงผู้หญิงคนอื่น ๆ อีกหลายคนที่มาดูเหตุการณ์ตรึงกางเขน รวมทั้งผู้หญิงสามคนที่เรียกว่า มารีย์ทั้งสาม (Three Marys) ซึ่งคือมารีย์ สะโลเม ที่กล่าวในพระวรสารนักบุญมาระโก (มาระโก 15:40 เก็บถาวร 2008-04-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน), แมรี--มารีย์มารดาของพระเยซูและมารีย์ชาวมักดาลาผู้เป็นพยานในการนำร่างพระเยซูไปฝัง (มาระโก 15:47 เก็บถาวร 2008-04-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน) ศิลปินมักจะรวมสตรีที่กล่าวถึงนี้และบุรุษที่มิได้กล่าวนามในภาพเขียนหรือประติมากรรมด้วย[2]

การวิวัฒนาการของภาพ

แก้

ฉากการอัญเชิญพระศพลงจากกางเขนในยุคกลางจะเป็นฉากในชุดชีวิตของพระเยซู -- พระทรมานของพระเยซู (Passion of Jesus) ซึ่งเป็นฉากระหว่างพระเยซูถูกตรึงกางเขนและ พระเยซูถูกบรรจุ (Entombment of Christ) องค์ประกอบของการวางรูปจะมีด้วยกันหลายแบบตั้งแต่เมื่อเริ่มมีความนิยมทำกัน รูปเคารพอื่น ๆ ที่ใกล้เคืยงกับหัวข้อ “การอัญเชิญพระศพลงจากกางเขน” ก็ได้แก่ภาพปีเอตาหรือ “ความโศกเศร้า” (Lamentation) ซึ่งจะเป็นพระแม่มารีย์ประคองพระศพพระเยซู ปีเอตะอาจจะเป็นงานที่ใช้แทรกระหว่างงานที่กล่าวนี้โดยเฉพาะงานประติมากรรม หรือภาพการ “แบกร่างพระเยซู” ที่เป็นภาพแสดงให้เห็นการนำร่างพระเยซูไปยังที่ฝัง และ “การเจิมพระเยซู” ที่แสดงให้เห็นร่างพระเยซูนอนราบบนที่ไว้ศพหรือแท่นหิน รูปหลังนี้มีความสำคัญในศิลปะของคริสตจักรออร์ทอดอกซ์จะเป็นภาพที่ทำบนผ้าปักอย่างงดงามที่เรียกว่า “Epitaphios” ซี่งจะใช้ในพิธีวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ก่อนเทศกาลอีสเตอร์

เมื่อมาถึงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาหัวเรื่องนี้ก็เป็นที่นิยมในการทำเป็นฉากประดับแท่นบูชาหลังแท่นบูชาเอก เพราะลักษณะองค์ประกอบของภาพจากแนวดิ่งและแนวขวางของกางเขนเป็นลักษณะที่ทำจัดทำให้สวยงามค่อนข้างยาก ฉากการนำร่างพระเยซูลงจากกางเขนของรอสโซ ฟิโอเร็นทิโนจิตรกรแมนเนอริสต์ถือกันว่าเป็นงานชิ้นสำคัญที่สุดของรอสโซ และฉากแท่นบูชาโดยจาโกโป ปอนตอร์โม[1] (Jacopo Pontormo) ก็เป็นงานชิ้นเอกอีกชิ้นหนึ่งเช่นกัน ทั้งปีเตอร์ พอล รูเบนส์ และ แรมบรังด์ ก็เขียนภาพนี้หลายครั้ง

อ้างอิง

แก้
  1. พระคริสตธรรมคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาใหม่ ฉบับ 1971 (ฉบับเรียงพิมพ์ 1998), ยอห์น 19:40.

    เขาอัญเชิญพระศพพระเยซูลงมา เอาผ้าป่านกับเครื่องหอมพันพระศพนั้น ตามธรรมเนียมฝังศพของพวกยิว

  2. G Schiller, Iconography of Christian Art, Vol. II,1972 (English trans from German), Lund Humphries, London, p.164, ISBN 853313245 (การสร้างรูปเคารพของศิลปะคริสต์ศาสนา, เล่ม 2 โดย จี ชิลเลอร์)

ข้อมูลเพิ่มเติม

แก้

ศิลปะแบบต่าง ๆ และสมัยต่าง ๆ

แก้